ดิฉัน นางสาวธัญญลักษณ์  หอมโลก กลุ่มงานบัณฑิตจบใหม่ ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร HS01 การส่งเสริมและการพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพอักเม็ด  ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ) ดิฉันได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานประจำเดือน พฤศจิกายน  พ.ศ. 2564 ดังต่อไปนี้

            วันที่  28  ตุลาคม พ.ศ. 2564 ได้เข้าร่วม เสวนาออนไลน์ ผ่านระบบ ZOOM  เรื่อง  “Quadruple Helix  : จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” เวลา 09.00 โดยมีผู้ร่วมเสวนา ดังนี้

1.นายคำเดื่อง ภาษี ประธานปราชญ์ชาวนบุรีรัมย์

                        2.รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาท เนืองเม จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

3.นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา นายกเทศมนตรีตำบลอิสาณ

4.นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้า จังหวัดบุรีรัมย์

5.รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ดำเนินการเสวนาโดย อาจารย์ชมพู  อิสริยาวัฒน์ รองคณบดีฝ้ายพันธกิจชุมชนสัมพันธ์และภูมิทัศน์

           นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา นายกเทศมนตรีตำบลอิสาณ  กล่าวว่า การพัฒนาชุมชนให้ยั่งยืน คือ การเปลี่ยนแปลงคน ชุมชนให้ดีขึ้นโดยใช้ความร่วมมือระหว่าง หน่วยงานภาครัฐ เอกชน คนในชุมชนต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้กับชุมชน “น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี” แต่ในด้านความเป็นอยู่ของประชาชนจะทำอย่างไรให้ประชาชนอยู่ดีกินดีและมีสิ่งแวดล้อมที่ดี จึงได้มีการทำชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste) เพื่อทำให้ชุมชนหน้าอยู่ เกิดจากความร่วมมือในทุกภาคส่วน เกิดภาคีเครือข่ายการเรียนรู้ และเกิดความรู้ รัก สามัคคีกันในชุมชน

            รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาท เนืองเม จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า แนวคิด SDGs ย่อมาจาก Sustainable Development Goals–SDGs หรือ “เป้าหมายการพัฒนาที่ ยั่งยืน”  มีทั้งหมด 17 เป้าหมาย โดยองค์การสหประชาชาติแบ่งทั้ง 17 ข้อ โดยมีมิติความยั่งยืน  นั่นคือ สังคม  เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม  มิติสังคมที่ประกอบด้วยเป้าหมาย 5 ข้อ ได้แก่ ขจัดความยากจน  ขจัดความหิวโหย  การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี  การศึกษาที่เท่าเทียม และความเท่าเทียมทางเพศ

            นายคำเดื่อง ภาษี ประธานปราชญ์ชาวนบุรีรัมย์ กล่าวว่า เมื่อโลกเปลี่ยนไป แต่ทำไมเรายังไม่เปลี่ยนแปลง คนเรามักจะทำแต่สิ่งเดิม คือ รู้ว่ามีทรัพยากร อากาศ น้ำ ก็พากันไปแย่งชิงกันนำออกมาใช้ ไม่ปลูกเพิ่มหรือทดแทนเข้าไปทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย เกิดปัญหาก็ต้องมองหาวิธีแก้ไข โดยเริ่มต้นจาก “ไม่อดไม่อยาก” ไม่อดไม่อยากอะไร ไม่อดไม่อยากทรัพยากร ปัจจัย 4  เราต้องเปลี่ยนวิธีคิดก่อน คนส่วนใหญ่จะกระทำ 3 อย่าง คือ ทำในสิ่งที่ไม่รู้ ทำในสิ่งที่ไม่รัก ทำแล้วไม่จบ ในทางกลับกันถ้าเราทำในสิ่งที่เรารู้ ทำในสิ่งที่รัก ทำแล้วจบ จะทำให้เราไม่อดไม่อยาก พอมี พอดีและรู้จักแบ่งปัน ทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

            นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้า จังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า โลกใบนี้ไม่เหมือนเดิมแล้ว ถ้าเรายังคิดอะไรแบบเดิมมันช้า เราต้องพร้อมที่จะปรับตัว เริ่มจากเราต้องสร้าง Smart People จะต้องรู้ให้ทัน ตามให้ทัน ทันจิตใจ ทันโลก ก้าวเข้าสู่การเป็น Smart City เราต้องมองภาพเดียวกันมีเป้าหมายเดียวกัน วิธีการต่างกันได้ แต่รัฐ เอกชน มหาลัย ชุมชน ต้องมองภาพเดียวกัน ถ้าคนสามารถแยกออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ไม่รู้แต่หัวใจเต็มเปลี่ยม กลุ่มที่รู้บ้างแต่หัวใจเต็มเปลี่ยม กลุ่มที่รู้และทำได้แต่ยังไม่ถึงเป้าหมาย 3 กลุ่มนี้ เปรียบเหมือนปรัชญา 3H คือ Heart, Head, Hand  3 กลุ่มนี้จะเดินหน้าขับเคลื่อนได้อย่างไร ถ้าขาดหัวใจ ดังนั้นเราต้องสร้างคนที่หัวใจ แต่สิ่งสำคัญมีหัวใจ มีความรู้ แต่ไม่ลงมือทำทุกอย่างจะเป็นศูนย์ จึงจำเป็นที่นำคนที่มีหัวใจ มีความรู้และพร้อมลงมือทำมาร่วมกันพัฒนาชุมชน

            รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม   กล่าวถึง ความหมายของ  “Quadruple Helix  : จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” Quadruple Helix  รากศัพท์มาจากภาษากรีก Quadruple แปลว่า 4  Helix  แปลว่า แกน, เกลียว เป็นการปรับบริบทของกลุ่มมหาวิทยาลัย โดยมีเปาหมาย คือ การสร้างและพัฒนาคนในศตวรรษที่ 21 การสร้างองค์ความรู้วัฒนธรรมเพื่อขัดเคลื่อนประเทศ และการทำงานแบบจตุรภาคี คือ มหาวิทยาลัย ภาครัฐ เอกชน ชุมชน เพื่อสร้างอัตลักษณ์แนวทางของกลุ่มเชื่อมโยงกันด้วยแนวทางการศึกษา SCG เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

           การพัฒนาที่ยั่งยืนเริ่มจากการเปลี่ยนความคิดให้พร้อมที่จะปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลก พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ และนำมาปรับใช้ในการพัฒนา การพัฒนายังคงต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามาสนับสนุนส่งเสริมเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

                          

           ในวันที่ 30 ตุลาคม พ. ศ. 2564  มีการลงพื้นที่อบรมหลักสูตร การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพ ณ ศาลาบ้านหนองกง หมู่ 1  ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีนายประทวน  ดำเสนา ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของกลุ่มและการทําปุ๋ยหมักชีวภาพ  ในปี พ.ศ. 2552 ได้ตั้งกลุ่มปุ๋ยหมัก  ระยะแรกที่ผลิตจะใช้เป็นปุ๋ยคอก 100%  ในการผลิตครั้งแรกจำนวนที่ผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของชุมชนและกลุ่มลูกค้า เพราะเป็นปุ๋ยคอกใช้ในการรองพื้นก่อนการเพาะปลูก ใช้ในการปรับสภาพดินให้มีความเหมาะสมทำให้สามารถปลูกพืชได้ผลผลิตดี ต่อมารับการสนับสนุนจากทางกระทรวงวิทยาศาสตร์ กลุ่มหมอดิน หน่วยงานจากภาครัฐ  โดยให้ความรู้ในการหมักปุ๋ยและมีสูตรในการผลิต สูตรปุ๋ย ว ว. 6- 3-3 (เร่งต้น) คือ แม่ปุ๋ย 46-0-0 จำนวน 11 กิโลกรัม  แม่ปุ๋ย 18-46-0 จำนวน 7 กิโลกรัม แม่ปุ๋ย 0-0-60 จำนวน 5 กิโลกรัม ปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 77 กิโลกรัม รวม 100 กิโลกรัม จะได้ 2 กระสอบ กระสอบละ 50 กิโลกรัม ราคา 400 บาท ในการอบรมจะแบ่งออกเป็น 3 ฐานการเรียนรู้ ได้แก่  การบดปุ๋ย การผสมสูตรปุ๋ย และการอัดเม็ด

วิธีทำ

1.นำปุ๋ยคอก มาผสมกับกากน้ำตาล ปุ๋ยยูเรีย จุลินทรีย์ และแร่ฟอสเฟต ผสมให้เข้ากันหมักรวมกันไว้  15-30 วัน แล้วทำการกลับไปกลับไปกลับมา 3 ครั้ง  ในระยะ 1-2 เดือน เพื่อให้เชื่อโรคต่าง ๆ ตายแล้ว นำมาเก็บไว้ในโรงเรือน

2. นำปุ๋ยที่หมักแล้วมาเข้าเครื่องตีป่นหรือเครื่องบดให้ละเอียด

3. นำปุ๋ยที่ผ่านการบดละเอียดมาแล้วมาเข้าเครื่องผสมผ่านความชื้นโดยใช้สูตร คือ แม่ปุ๋ย 46-0-0 จำนวน 11 กิโลกรัม  แม่ปุ๋ย 18-46-0 จำนวน 7 กิโลกรัม แม่ปุ๋ย 0-0-60 จำนวน 5 กิโลกรัม ผสมให้เข้ากัน

4. นำเข้าเครื่องอัดเม็ด และนำปุ๋ยที่ได้ไปตากแห้งก่อนบรรจุถุงเพื่อจำหน่าย

ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์

                 1. ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ช่วยปรับสภาพในดินดีขึ้น แก้ดินสภาพเสื่อม แก้ดินขาดธาตุอาหาร แก้ดินเป็นกรด

                 2. แก้ดินเสียเนื่องจากใช้ปุ๋ยเคมีมาก ๆ เป็นเวลานาน

                 3. ช่วยให้รากพืชแข็งแรง พืชกอใหญ่ ต้นใหญ่

                 4. บำรุงช่อดอกให้ยาวสมบูรณ์ บำรุงลูกโตเร็ว

                 5. ช่วยให้ผลผลิตมาก น้ำหนักดี คุณภาพดี ขายได้ราคา

 6. ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคเชื้อราในดิน

                  

                                  

                                 

                                   

อื่นๆ

เมนู