สวัสดีค่ะ ดิฉัน นางสาวทิพย์วรรณ เธียรวรรณ์ เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ต.หนองยายพิมพ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ หลักสูตร: HS01 การส่งเสริมและการพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์) ดิฉันและทีมงานได้ปฏิบัติงานและดำเนินการทำกิจกรรมต่างๆ ประจำเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ดังต่อไปนี้
เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09.00-12.00 น. ดิฉันและทีมงานผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์ ตำบลหนองกง และตำบลหนองโสน ได้เข้าร่วมเสวนาออนไลน์ “Quadruple Helix: จตุภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” ผ่านระบบ Zoom เพื่อรับฟังการเสวนาในครั้งนี้ โดยมีวิทยากรผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ นายคำเดื่อง ภาษีประธานปราชญ์ชาวบ้านบุรีรัมย์, รองศาสตราจารย์ ดร. ประสาท เนืองเฉลิม จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา นายกเทศมนตรีตำบลอิสาณ, นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้า จังหวัดบุรีรัมย์ และรองศาสตราจารย์ ดร. อัครพนท์ เนื้อไม้หอม โดยตัวดิฉันชอบ การเสวนาของท่าน นายคำเดื่อง ภาษีประธานปราชญ์ชาวบ้านบุรีรัมย์ ที่กล่าวถึงการใช้ชีวิตบ้านนอกของคนอีสานที่มีความสุขด้วยการลงมือทำในสิ่งที่ชอบ มีอาหารกินมากมายตามฤดูกาล เช่น ฤดูแหย่ไข่มดแดงมาแกงใส่ผักหวาน ฤดูจับกบ จับเขียดมาทำอาหาร คนอยู่บ้านนอกมีแต่อาหารดีๆ ให้ทำกิน อยู่แล้วมีความสุข อยู่แล้วไม่อดตาย เป็นต้น
เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 09.00 .น. ดิฉันและทีมงานผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์ และตำบลหนองกง ได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ เพื่อรับฟังการชี้แจงและแบ่งงาน โดยมี อาจารย์พลอยไพลิน ศรีวิเศษ เป็นผู้ชี้แจงและแบ่งงานในครั้งนี้ โดยอาจารย์ได้มอบหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูล CBD เพิ่มข้อมูลที่ผ่านมา ได้แก่
- ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน 6. เกษตรกรในท้องถิ่น
- แหล่งท่องเที่ยว 7. พืชในท้องถิ่น
- ที่พัก/โรงแรม 8. สัตว์ในท้องถิ่น
- ร้านอาหารในท้องถิ่น 9. ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น 10. แหล่งน้ำในท้องถิ่น
โดยเลือกจุดที่เด่นของตำบล 3 หมวด จาก 10 หมวด ที่กล่าวมาข้างต้น คือ แหล่งท่องเที่ยว ภูมิปัญญาท้องถิ่น และอาหาร ทำ Power Point โดยเนื้อหาประกอบด้วย จุดวิเคราะห์ จุดอ่อน เพื่อนำเสนอข้อมูลผ่าน Dash board (PowerBI) หรือ G-map ซึ่งกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ได้รับผิดชอบ “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” และอาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายให้ส่งงานตามที่กำหนด และให้ผู้ปฏิบัติงานเก็บข้อมูลเกษตรกรในท้องถิ่นเพิ่มเติมและคีย์ข้อมูลลงระบบ U2T เพื่อให้ตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 15.30 น. ดิฉันและทีมงานทีมงานผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองยายพิมพ์ ได้ร่วมกันเสนอข้อมูล แลกเปลี่ยนความคิด ผ่าน Google Meet เพื่อวิเคราะห์ปัญหารายพื้นที่ของตำบลหนองยายพิมพ์ โดยแต่ละหมู่บ้านมีภูมิปัญญาที่มีลักษณะเด่นแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ได้แก่ 1) ด้านงานหัตถกรรม เช่น การทอผ้าไหม, ปั้นดินเผา, ทอเสื่อกก/เสื่อไหล และการสานกระเป๋าจากซองกาแฟ เป็นต้น 2) ด้านการแพทย์และสมุนไพร เช่น หมอพรามหมณ์ และหมอเป่าสมานกระดูก 3) ด้านการเก็บรักษาและถนอมอาหาร เช่น ข้าวแต๋น, กล้วยฉาบ และการแปรูปหมูกระจก พัฒนาและต่อยอดเป็นสินค้า OTOP เนื่องจากเกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ มีทักษะการพัฒนาปรับเปลี่ยนได้เหมาะสมกับยุคสมัย 4) ด้านวัฒนธรรม เช่น ภาษาถิ่น ได้แก่ ภาษาส่วย ภาษาไทยโคราช และภาษาอีสาน เป็นต้น
เมื่อวันที่ 9-12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 09.00 น. ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเกษตรกรในท้องถิ่น ดิฉันได้รับผิดชอบ บ้านก้านเหลือง หมู่ที่ 7 ต.หนองยายพิมพ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ โดยชาวบ้านสวนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร โดยการปลูกข้าว และปลูกพืชผักสวนครัว เช่น ปลูกมะเขือ, กล้วย, ผักชี, ตะไคร้, กวางตุ้ง และมะนาว เป็นต้น ส่วนใหญ่จะปลูกไว้ทานเอง เนื่องสถานการณ์ COVID-19 เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการอุปโภค/บริโภค ซึ่งในฤดูกาลนี้ผักสวนครัวมีราคาแพงชาวบ้านจึงหันมาปลูกผักไว้ทานเอง เพื่อลดค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือนและสามารถจำหน่ายภายในชุนชนและนอกชุมชน ซึ่งเป็นการเสริมรายได้ให้ครัวเรือน ในการทำเกษตรในปัจจุบันจะใช้เทคโนโลยีในการทุ่นแรง เพื่อประหยัดเวลา สะดวก สบาย เป็นต้น โดยชาวบ้านในบางส่วนใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ทำเอง และปุ๋ยเคมี อันเนื่องจากต้องการผลผลิตที่รวดเร็วที่ช่วย เร่งดอก เร่งผล และเร่งใบ เป็นต้น เพื่อให้ได้ผลผลิตตามต้องการ
จากการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้กระบวนการทำงานเป็นทีม การวางแผนการทำงาน และได้ความรู้ในการใช้ชีวิตอีสานที่มีความสุขด้วยการลงมือทำในสิ่งที่ชอบ อีกทั้งยังได้เห็นถึงความเป็นอยู่ของคนอีสานที่หากินตามธรรมชาติ และได้ทราบถึงปัญหาของชาวบ้านที่หันมาปลูกผักไว้ทานเอง เนื่องสถานการณ์ COVID-19 ในปัจจุบัน