สวัสดีค่ะ ดิฉัน นางสาวทิพย์วรรณ เธียรวรรณ์ เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ต.หนองยายพิมพ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ หลักสูตร: HS01 การส่งเสริมและการพัฒนาการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด ดิฉันและทีมงานได้ปฏิบัติงานและดำเนินการทำกิจกรรมต่างๆ ประจำเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน พ.ศ. 2564 ดังต่อไปนี้
เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09.30 น. อาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมงานผู้ปฏิบัติงานทั้งหมด 3 ตำบล ได้แก่ ต.หนองยายพิมพ์ ต.หนองกง และ ต.หนองโสน ได้ช่วยกันเตรียมจอบและเสียม มาขุดหลุมเตรียมปลูกต้นไม้ ณ โรงเรียนบ้านหนองยายพิมพ์ ต.หนองกง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ในโครงการรวมใจปลูกต้นไม้ ปลูกธรรมะวันวิสาขบูชา 2564 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยผู้ปฏิบัติงานทั้ง 3 ตำบล และกลุ่มชาวบ้านในชุมชนใกล้เคียง ช่วยกันขุดหลุมตามจุดที่ปักไว้ และขุดให้ได้ขนาดความกว้าง ความลึก ที่เหมาะสม เพื่อสะดวกในการปลูกต้นไม้ โดยได้ดำเนินการเสร็จไปอย่างราบลื่น จากนั้นได้รับประทานอาหารกลางวันร่วมกันและเดินทางกลับบ้านโดยสวัสดิภาพ
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09.00 น. อาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมงานผู้ปฏิบัติงาน ต.หนองยายพิมพ์ และ ต.หนองกง ได้ร่วมทำปุ๋ยหมักชีวภาพอัดเม็ด ณ โรงปุ๋ยอัดเม็ด บ้านหนองยายพิมพ์ หมู่ที่ 1 ต.หนองยายพิมพ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งมีวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักชีวภาพอัดเม็ด โดย นางสาวฉะไมพร แผ้วพลสง ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านบ้านหนองยายพิมพ์ และมีผู้ช่วยในการทำปุ๋ย 3 คน ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพอัดเม็ด โดยอาจารย์ประจำหลักสูตรได้แบ่งการทำปุ๋ยหมักชีวภาพอัดเม็ด ออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน เพื่อสะดวกในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพอัดเม็ด และให้ผู้ปฏิบัติงานได้ปฏิบัติงานร่วมกันทุกคนในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพอัดเม็ดในครั้งนี้ ในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพอัดเม็ดจะมีผู้ช่วยคอยบอกและให้คำแนะนำขั้นตอนการทำตามลำดับ ซึ่งจะแบ่งผู้ช่วยประจำกลุ่ม กลุ่มละ 1 คน ในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพอัดเม็ด โดยมีขั้นตอนการทำปุ๋ยหมักชีวภาพอัดเม็ด ดังนี้
- วัตถุดิบ อุปกรณ์ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพอัดเม็ด
- มูลสัตว์ (มูลวัว) 1,000 กก.
- ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) 2 กก.
- ปุ๋ยหินฟอสเฟส (0-3-0) 25 กก.
- จอบ
- เครื่องชั่ง
- น้ำ, บัวรดน้ำ
- ขั้นตอนการทำปุ๋ยหมักชีวภาพอัดเม็ด
- เตรียมสถานที่ โดยใช้ลานที่มีพื้นเสมอกันเป็นที่ผสมปุ๋ย เพื่อสะดวกในการเกลี่ยคลุกเคล้าผสมปุ๋ย
- เทมูลสัตว์ตากแห้ง 1,000 กก. ปุ๋ยยูเรีย 2 กก. และปุ๋ยหินฟอสเฟส 25 กก. กองรวมกันบนลานที่ผสมปุ๋ย ใช้จอบเกลี่ยคลุกเคล้าให้เข้ากัน
- ใช้บัวรดน้ำ รดลงบนกองปุ๋ย แล้วใช้จอบเกลี่ยคลุกเคล้าผสมให้เข้ากันกลับไปมา จากนั้นใช้มือบีบดู หากไม่แห้งหรือไม่เปียกเกินไปให้เพิ่มน้ำอีกได้ ให้มีความชื้น 50 % แล้วใช้จอบเกลี่ยกลับไปมาจนเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นลองใช้มือบีบดูอีกรอบ ถ้าเป็นก้อน ไม่มีน้ำไหลออกมาตามง่ามมือ ก็เป็นอันใช้ได้
- ทำกองปุ๋ยให้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความสูงไม่เกิน 1 ฟุต (ถ้าสูงมากจะเกิดความร้อนจะทำให้จุลินทรีย์ตาย) จากนั้นนำผ้าใบที่เตรียมไว้ปิดกองปุ๋ยทิ้งไว้ในที่ร่มและกลับกองปุ๋ยที่หมักไว้ ทุกๆ 7 วัน จำนวน 3 ครั้ง ใช้เวลาในการหมัก 24 วัน และนำปุ๋ยไปตากแดด 1 วัน
- หลังจากตากเสร็จแล้วนำปุ๋ยมาตีในเครื่องตีโดยใช้เครื่องตีดินร่วน เพื่อให้ปุ๋ยมีลักษณะที่ร่วนซุยเหมาะแก่การนำมาอัดเม็ด จากนั้นนำปุ๋ยที่ร่วนซุยใส่ในเครื่องอัดเม็ด หลังจากอัดเม็ดเสร็จ นำไปตากแดดให้แห้ง เพื่อนำมาบรรจุใส่กระสอบ แล้วใช้เครื่องซีลกระสอบปุ๋ย เพื่อไม่ให้อากาศเข้าสู่ภายในกระสอบ สามารถเก็บไว้ใช้ได้นาน และจำหน่าย
- ประโยชน์การทำปุ๋ยหมักชีวภาพอัดเม็ด
ช่วยทำให้ดินร่วนซุย ลดค่าความเป็นกรดในดิน บำรุงต้นพืชให้แข็งแรง เพิ่มผลผลิตดีขึ้น ใช้กับพืชได้ทุกชนิด
หลังจากที่ได้เรียนรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพอัดเม็ดเป็นที่เรียบร้อย อาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมงานผู้ปฏิบัติงานได้เดินทางไปรับประทานอาหารร่วมกันที่ ศาลากลางหมู่บ้าน บ้านหนองยายพิมพ์ หมู่ที่ 1 เมื่อรับประทานอาหารร่วมกันเสร็จเป็นที่เรียบร้อย ดิฉันและทีมงานได้ร่วมกันถ่ายคลิป VDO รณรงค์การฉีดวัคซีน เพื่อชาติป้องกันโรค COVID-19 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนใช้ชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยและเข้ารับการฉีดวัคซีน ภายใต้แนวคิดที่ว่า “รวมพลังวัคซีน หยุดเชื้อเพื่อชาติ ลดการระบาดโควิด” จากนั้นอาจารย์ประจำหลักสูตรได้มอบหมายงานและแบ่งงานให้ผู้ปฏิบัติงาน กลุ่มนักศึกษา กลุ่มประชาชน และกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ต.หนองยายพิมพ์ ลงพื้นที่ติดสติ๊กเกอร์ตามจุดต่างๆ ของชุมชน, แจกหน้ากากอนามัย และสเปรย์แอลกอฮอล์
นอกจากนี้ดิฉันได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเกษตรกรในท้องถิ่นเพิ่มเติมลงในระบบ U2T พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าว และเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย และหมู เป็นต้น และมีพื้นที่ในการทำเกษตรค่อนข้างมากพอสมควร มีรายได้เฉลี่ยต่อปีประมาณ 15,000 บาท ส่วนใหญ่จะมีจำนวนแรงงานที่ใช้ในการทำเกษตรประมาณ 2 คน ส่วนใหญ่จะใช้ระบบหรือเทคโนโลยีทุ่นแรง เช่น เกษตรกรที่ปลูกข้าวจะใช้รถไถ (แทรกเตอร์) ทุ่นแรง เนื่องจากการเพิ่มจำนวนของประชากรที่ทำให้ความต้องการอาหารและผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ถ้าเกษตรยังคงใช้วิธีการผลิตแบบเดิม ที่อาศัยแรงงานจากคน และจากสัตว์ก็จะทำให้งานไม่เสร็จตามทันเวลาที่กำหนด และได้ปริมาณผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชากรผู้บริโภค เนื่องจากการเตรียมดินเพื่อปลูกด้วยแรงงานสัตว์นั้นล่าช้า เสร็จไม่ทันตามเวลาที่ต้องการหรือไม่ทันต่อฤดูกาลเพาะปลูก ดังนั้น การนำเอารถแทรกเตอร์และเครื่องทุ่นแรงทางการเกษตรมาใช้ในการเตรียมดิน และเพาะปลูกแทนแรงงานคนและสัตว์ จะทำให้ประสิทธิภาพในการสูงขึ้น เพราะสามารถทำงานได้รวดเร็ว ได้ปริมาณงานมากขึ้น ส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง ได้ผลตอบแทนคุ้มค่า รถแทรกเตอร์และเครื่องทุ่นแรงทางการเกษตรจึงนับได้ว่ามีความสำคัญต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรมอย่างยิ่ง การลงพื้นที่ในทุกครั้งตลอดทั้งเดือนชาวบ้านได้ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลที่เป็นจริงทุกประการและตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
จากการปฏิบัติงานประจำเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้กระบวนการทำงานเป็นทีม ความสามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังได้รู้จักขั้นตอนการทำปุ๋ยหมักชีวภาพอัดเม็ดที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และได้เรียนรู้หรือความรู้ใหม่เพิ่มเติมเกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดโรค COVID-19 และเห็นถึงการเข้าร่วมฉีดวัคซีน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ตัวเองและสังคมให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติและปลอดภัย