ข้าพเจ้านางสาวอุทัยทิพย์ บุญญาคุณานนต์ ประเภทประชาชน ต.หนองยายพิมพ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ หลักสูตร : การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด HS01
จากการประชุมในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ห้องประชุม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อาคาร 25 ชั้น 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ข้าพเจ้าและกลุ่มประชาชน ต.หนองยายพิมพ์ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตร HS01 ให้ลงพื้นที่ทำแบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ (แบบฟอร์ม 06) ตลาด ศาสนสถาน และโรงเรียน ในต.หนองยายพิมพ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2564
จากการที่ข้าพเจ้าและทีมงานกลุ่มประชาชนต.หนองยายพิมพ์ ได้ลงพื้นที่จริงนั้นพบว่าในต.หนองยายพิมพ์ ไม่มีตลาดประจำตำบล หากต้องการจะทำการจับจ่ายใช้สอย ทำการซื้อ-ขาย ชาวบ้านในต.หนองยายพิมพ์ จะไปที่ตลาดบ้านสิงห์ ตลาดชำนิและตลาดนางรอง
ศาสนสถาน (วัด) ของต.หนองยายพิมพ์ มีทั้งหมด 7 แห่ง ดังนี้
1. วัดหนองยายพิมพ์
2. วัดป่ามหาวัน
3. วัดป่าอัมพวันคุณานุสรณ์
4. วัดหนองโจด
5. สำนักสงฆ์เสม็ดหนองปรือ
6. สำนักสงฆ์ป่าจาน
7. วัดศรัทธาประชาบูรณะ
จากการสำรวจศาสนสถานทั้งหมดในตำบลหนองยายพิมพ์นั้นพบว่าในทุกวัดมีมาตรการเกี่ยวกับการป้องกันโรคระบาดเป็นอย่างดี มีการคัดกรองพระสงฆ์และผู้เข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนา มีการกำหนดให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสวมหน้ากากและจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันตนเองที่จำเป็นจัดที่ล้างมือพร้อมเจลแอลกอฮอล์สำหรับทำความสะอาดมือในบริเวณต่างๆ มีการทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันทุกวัน รวมถึงทำความสะอาดห้องส้วม ลูกบิดประตู ก๊อกน้ำ อ่างล้างมือ ในทุกครั้งที่ทางวัดมีการประกอบกิจกรรมทางศาสนาจะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาอำนวยความสะดวก เช่น หากที่วัดมีการจัดงานศพ จะมีเจ้าหน้าที่อสม.มาตั้งโต๊ะจุดคัดกรองประชาชนที่มาเข้าร่วมงานศพ มีการตรวจวัดไข้ วัดอุณหภูมิ และมีเจลแอลกอฮอล์สำหรับล้างทำความสะอาดมือไว้บริการ
จากนั้นได้ลงพื้นที่สำรวจโรงเรียนในตำบลหนองยายพิมพ์ซึ่งมีทั้งหมด 5 แห่งดังนี้
1. โรงเรียนพิมพ์รัฐประชาสรรค์
2. โรงเรียนบ้านหนองยายพิมพ์
3. โรงเรียนบ้านบุตาสุ่มหนองโจด
4. โรงเรียนบ้านก้านเหลือง
5. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอบต.หนองยายพิมพ์
จากการลงพื้นที่สำรวจโรงเรียนในต.หนองยายพิมพ์ และจัดการทำแบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ พบว่าทางโรงเรียนได้มีมาตรการด้านความปลอดภัยจากการลดการแพร่เชื้อโรคมีการคัดกรอง วัดไข้ สังเกตอาการเสี่ยง covid-19 มีนโยบายกำหนดให้นักเรียน ครูและผู้เข้ามาในโรงเรียน ต้องสวมหน้ากากอนามัย มีการจัดเตรียมหน้ากากสำรองไว้ให้นักเรียนและผู้ที่ไม่มีหน้ากากอนามัย มีจุดล้างมือด้วยสบู่อย่างเพียงพอ มีการจัดวางเจลแอลกอฮอล์สำหรับใช้ทำความสะอาดมือ บริเวณทางเข้าอาคารเรียน หน้าประตูห้องเรียน ทางเข้าโรงอาหาร มีการจัดโต๊ะเรียน เก้าอี้นักเรียน ที่นั่งในโรงอาหาร โดยจัดเว้นระยะห่างระหว่างกันอย่างน้อย 1-2 เมตร โดยยึดหลัก social distancing มีการทำสัญลักษณ์แสดงจุดตำแหน่งชัดเจนในการจัดเว้นระยะห่างระหว่างกัน มีการทำความสะอาดห้องเรียน ห้องต่างๆ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอนก่อนและหลังใช้งานทุกครั้ง เช่นห้องคอมพิวเตอร์ ห้องดนตรี อุปกรณ์กีฬา มีการทำความสะอาดบริเวณจุดสัมผัสเสี่ยงร่วมกันทุกวัน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ราวบันได กลอนประตู มือจับประตู-หน้าต่าง มีถังขยะแบบฝาปิดในห้องเรียน มีมาตรการให้เว้นระยะห่างการเข้าแถวทำกิจกรรม มีการกำหนดให้ใช้ของส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น มีห้องพยาบาลหรือพื้นที่สำหรับแยกผู้มีอาการเสี่ยงทางระบบทางเดินหายใจ มีนักเรียนแกนนำด้านสุขภาพ จิตอาสา เป็นอาสาสมัครในการช่วยดูแลสุขภาพเพื่อนนักเรียนด้วยกัน มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ความรู้การป้องกันโรค covid-19 แก่นักเรียน ครู บุคลากรและผู้ปกครอง โดยการประชุมชี้แจงก่อนเปิดเรียน มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา มีการแต่งตั้งคณะทำงานป้องกันการเผยแพร่ระบาดโรค covid-19 และกำหนดบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน มีแผนการใช้งบประมาณในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค covid-19 ตามความจำเป็นและเหมาะสม มีการจัดซื้อจัดหาวัสดุอุปกรณ์ป้องกันโรค covid-19 สำหรับนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษา มีการประสานแสวงหาแหล่งทุนสนับสนุนจากหน่วยงานองค์กรต่างๆ แต่ไม่มีการจัดหาบุคลากรเพิ่มเติมในการดูแลนักเรียน เนื่องจากยังไม่มีการจัดสรรงบประมาณในส่วนนี้
ในการนี้ข้าพเจ้าได้คีย์ข้อมูลดังกล่าวส่งต่อส่วนกลางเพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงสถิติและเขียนเรียบเรียงในเชิงวิชาการต่อไป
https://youtu.be/NKolP9LfZ7M