ที่ศาลาประชาคม บ้านโพธิ์ทอง หมู่ 14 ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

อธิบายรายละเอียด ในการกรอกแบบสอบถาม แก่ผู้เข้าร่วมประชุม

ผู้เข้าร่วมประชุมทำแบบสอบถาม ด้วยความสนใจ

แนะนําตัวเองในที่ประชุม

นายรุ่งโรจน์ ราชนาคา ประเภทประชาชน ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ลงสำรวจแบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 เวลา 18.15น – 19.45น ทำการลงพื้นที่สำรวจ หมู่บ้านโพธิ์ทอง หมู่ 14 ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 30 ราย โดยได้จัดประชุมร่วมกับผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชน ผมได้กล่าวแนะนำตัวเอง และชี้แจงรายละเอียด ของการมาเก็บแบบสอบถามในครั้งนี้ ซึ่งได้ทำการสอบถาม ชื่อ นาม-สกุล ของผู้เข้าร่วมประชุม สอบถามเพศชายเพศหญิง อายุ การนับถือศาสนา โดยส่วนใหญ่แล้วนับถือศาสนาพุทธ รวมถึงระดับการศึกษาซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จบการศึกษา ระดับชั้นประถม สอบถามถึงจำนวนสมาชิกในครัวเรือน โดยแยกเป็นชายและหญิงมีจำนวนเท่าใด สอบถามถึงจำนวนบุตรหลานที่อยู่ด้วยกันในครัวเรือน แยกชายและหญิง สอบถามจำนวนบุตรหลานที่กำลังศึกษาอยู่ ในระดับการศึกษาภาคบังคับหรือ ม. 3 ว่ามีจำนวนเท่าใด สอบถามถึงอาชีพของผู้เข้าร่วมประชุมมีอาชีพเป็นเกษตรกร ซึ่งอาชีพหลักเป็นการทำนา ทำไร่มันสำปะหลัง และมีบางครัวเรือนมีการเลี้ยงสัตว์เช่นวัว,ควาย,หมู,ไก่ ซึ่งสถานที่ทำงานของผู้เข้าร่วมประชุมอยู่ในพื้นที่อำเภอที่อาศัยอยู่คืออำเภอนางรอง จุดเด่นของหมู่บ้านโพธิ์ทองนี้ได้แก่การจักสาน การทำบายศรี การทำเกษตร และการทำขนม สอบถามถึงในแต่ละครัวเรือนมีกลุ่มเปราะบางหรือไม่ เช่นผู้ป่วยติดเตียงผู้คนไร้สัญชาติผู้ที่อยู่ชายแดนส่วนใหญ่แล้วจะไม่พบหรือไม่มี ในด้านวิถีการผลิตอาชีพที่ทำรายได้สูงสุดของครัวเรือนของหมู่บ้านโพธิ์ทอง แน่นอนย่อมมาจากอาชีพเกษตรซึ่งมาจากการทำนา ทำไร่มันสำปะหลัง และช่วงเวลาของการผลิตทำเป็นช่วงเวลา 1 ครั้ง ใน 1 ปี ต้องรอฤดูฝนเท่านั้น เป้าหมายของการผลิตครัวเรือน ตอบคำถามว่าเพื่อใช้บริโภคอุปโภคและจำหน่าย ผลผลิตในชุมชนนี้ จำหน่ายในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง ต้นทุนในการผลิตแต่ละครัวเรือน ย่อมมีที่มาที่ไปแตกต่างกันไป ได้แก่ บางรายมีค่าเช่าที่ดิน ค่าจ้างแรงงาน ค่าวัตถุดิบในการผลิต ในการซื้อเมล็ดพันธุ์ต้นกล้า ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าอาหารเลี้ยงสัตว์ วัตถุดิบอื่นๆเป็นต้น ถามถึงแหล่งที่มาของเงินทุนทุกรายตอบว่ากู้ยืมมาเป็นส่วนใหญ่ รายได้จากการผลิตของแต่ละครัวเรือนนั้นมีไม่เท่ากัน ผลผลิตหลักทางการเกษตรของชุมชนคือการทำนาทำไร่มันสำปะหลัง การมีส่วนร่วมในการผลิตของชุมชนนี้คือการรับจ้าง ภาวะด้านรายได้ของครัวเรือนที่มาของรายได้ครัวเรือนหลักมาจากการทำเกษตรการทำนาซึ่งเป็นอาชีพหลัก ว่างจากการทำนาจึงมีการรับจ้างบ้างในบางครัวเรือน รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อเดือนโดยประมาณอยู่ที่ 5,000 บาท ส่วนทรัพย์สินของครัวเรือนนั้น บางคนเป็นเจ้าของที่ดินทำกินเอง มีบ้านเป็นของตนเอง มีรถจักรยานยนต์ไว้ใช้งาน บางคนมีรถยนต์ มีสัตว์เลี้ยงเช่นวัวควายและหมู ภาวะด้านรายจ่ายของครัวเรือนรายจ่ายหลักของครัวเรือนนั้นมาจากค่าใช้จ่ายในการผลิตภาคเกษตร ซึ่งจะแตกต่างกันไป ค่าซื้ออาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือน ค่าผ่อนรถ ค่าใช้จ่ายในการศึกษาของบุตรหลานก็จะแตกต่างกันไปรวมถึงค่าน้ำค่าไฟ ค่าใช้จ่ายอื่นๆเป็นต้น ถามถึงภาวะหนี้สินของครัวเรือน จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม ล้วนแล้วแต่มีหนี้สินทั้งนั้น แหล่งที่มาของหนี้สินดังกล่าวได้แก่ค่าใช้จ่ายในการทำเกษตร ค่าซื้อยานพาหนะ ซื้อสิ่งอำนวยความสะดวก ค่าใช้จ่ายด้านอาหาร ค่าใช้จ่ายในการศึกษาของบุตรหลาน รวมถึงค่าซื้อโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน ภาวะการออมเงินของครัวเรือนส่วนใหญ่แล้วไม่ค่อยมีเงินออม แต่ก็มีบางครัวเรือนที่มีการออมเงิน โดยสถาบันการออมเงินได้แก่ ธนาคารออมสินและธนาคาร ธ.ก.ส. ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมของชุมชน ที่โดดเด่นได้แก่วัดโพธิ์คงคา วัดภูม่านฟ้า และลำห้วย ชุมชนนี้มีปัญหาในด้านสิ่งแวดล้อมคือการใช้สารเคมีทางการเกษตร เสียงดังจากการ ปรับแต่งเครื่องรถมอเตอร์ไซค์ของกลุ่มวัยรุ่นในหมู่บ้าน สภาพที่อยู่อาศัยชำรุดทรุดโทรม และแสงสว่างไม่เพียงพอตามท้องถนนที่ใช้สัญจรไปมา การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชนนี้มีการรณรงค์ให้คัดแยกขยะรีไซเคิล มีการจัดการมลพิษภาวะหรือมลพิษต่างๆ มีการรณรงค์ให้มีการจัดเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง สภาวะทางสังคมของชุมชนมีปัญหา ได้แก่ มีการแพร่ระบาดของยาเสพติด มีปัญหาความยากจน ของคนในชุมชน มีปัญหาเรื่องวัยรุ่น เกี่ยวกับการจัดแต่งเครื่องยนต์ รถจักรยานยนต์ให้มีเสียงดัง การจัดการปัญหาด้านสังคมของชุมชนนี้มีการจัดการโดยการใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด กำหนดกฎกติกาข้อตกลงของชุมชน มีวิธีการเจรจากับผู้ที่เกี่ยวข้อง มีการจัดประชุมเวทีประชาคมเพื่อแก้ปัญหา รวมถึงผู้นำชุมชนเข้ามาไกล่เกลี่ยในบางราย รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐ เข้ามาอำนวยความสะดวกเช่นเจ้าหน้าที่ตำรวจข้าราชการ ประชาชนในชุมชนนี้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาชุมชน อันได้แก่การมีส่วนร่วมในการประชุม มีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาชุมชน มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นต่อการแก้ปัญหาของชุมชนมีการติดตามและประเมินผลงานของโครงการต่างๆ ในชุมชน มีการตรวจสอบการใช้งบประมาณของหมู่บ้านเป็นต้น แหล่งสถานที่ท่องเที่ยวของชุมชนนี้ ได้แก่ วัดคงคา และวัดภูม่านฟ้า ถามถึงสภาพความต้องการของชุมชนของหมู่บ้านโพธิ์ทองหมู่ 14 แห่งนี้ คือการแก้ไขปัญหาความยากจน แหล่งน้ำอุปโภคบริโภคไม่เพียงพอ ถนนหนทางชำรุด ไม่ได้รับการแก้ไขให้ดี ความต้องการหรือข้อเสนอแนะของชุมชนแห่งนี้ ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าต้องการกองทุน เงินยืมปลอดดอกเบี้ย เพื่อมาใช้จ่าย ในการดำรงชีพในอนาคตต่อไป.

อื่นๆ

เมนู