ผม นายปริวัติ จำเนียรกูล ตำบลบ้านสิงห์ หลักสูตรส่งเสริมและพัฒนาขนมไทย HS03 ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่ปฎิบัติงานที่บ้านหนองขาม ในการสำรวจปฎิบัติงานในช่วง เดือน พฤษภาคม 2564  ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งยังคงพบ การระบาดของโรคกระจายในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ จึงจำเป็นต้องกำหนดแนวทางการดำเนินงาน เฝ้าระวัง ป้องกันโรค ให้สอดคล้องกับสถานการณ์โรคอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ และมีประสิทธิภาพทั้งในระดับชุมชนและโรงพยาบาล เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของจังหวัดบุรีรัมย์ ในส่วนของตำบลบ้านสิงห์นั้นก็ได้มีการทำงานตามกฎของรัฐบาลอย่างเคร่งครัดไม่ว่าในร้านอาหาร หรือ บ้านเรือนที่อยู่อาศัย ในส่วนการสำรวจ ผู้กักตัวนั้น ตำบลบานสิงห์ได้ทำพื้นที่กักตัวอยู่ที่วัดโพธ์คงคา เพื่อลองรับประชาชน หรือนักเรียนที่จะกลับมาจาก พื้นที่เสี่ยงอื่น ๆ และได้มีระบบคัดแยก กักตัวอย่างเคร่งคัด

 

ผมนั้นจึงต้องวางแผนการดำเนินงานอย่างรอบคอบและระมัดระวัง การดำเนินงานในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 ได้รับฟังคำชี้แจงการดำเนินงานผ่านระบบออนไลน์ โดยการทำแบบสอบถามในด้านต่าง ๆ ในระบบ  ได้แก่ เกษรตกรในชุมชน สุขภาพ ร้านอาหาร ความเป็นอยู่ในชุมชน  รายได้ ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง หรือจุดอ่อนของชุมชนนั้น ๆ และเป็นแนวทางการวางแผนพัฒนา เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคม จึงเป็นสิ่งสําคัญ ช่วยให้สามารถทราบข้อมูลต่าง ๆ ในแต่ละชุมชนได้อย่างตรงตามวัตถุประสงค์มากยิ่งขึ้น โดยข้อมูลต่าง ๆ จะถูกนํานําไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  และกิจกรรมที่น่าสนใจและพลาดไม่ได้คือ งานบุญผ้าป่าปาฐกถาชุมชนผ่านระบบออนไลน์ ที่มีบุลคลมากความสามารถคือ ท่าน ดร. วิวัฒน์ ศัลยกำธร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บรรยายในหัวข้อ เรื่องกสิกรรมธรรมชาติบนรากฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่มั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืน และอีกท่านหนึ่งคือ อาจารย์โจน จันได คนต้นเรื่องศูนย์พันพรรณ การสร้างบ้านดินเป็นคนต้นเรื่องหรือผู้ก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเองและศูนย์เมล็ดพันธ์ บรรยายหัวข้อกสิกรรมธรรมชาติตามศาสตร์พระราชาทางเลือกทางรอดในโลกยุคโรคไวรัสระบาด และได้เนื้อหาส่ระความรู้ต่างๆมากมายที่สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ถือเป็นประโยชน์อย่างมากในเหตุการณ์บ้านเมืองของเราในสถานการณ์ปัจจุบัน

 

ในส่วนของการจัดงานบุญทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อสมทบทุนสร้างศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรองและการศึกษาพิเศษ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้อำเภอนางรองมีศูนย์การเรียนรู้ศาสตร์พระราชาและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหลักสูตรพัฒนาอาชีพต่าง ๆ ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องความสำคัญของการเรียนรู้ดังกล่าว คณะกรรมการจัดงานและศรัทธาสาธุชนได้ร่วมกันจัดงานทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อสมทบทุนสร้างศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง การเก็บแบบสอบถามเพิ่มเติม หมู่บ้านหนองขาม หมู่ที่ 2  โดยการทำแบบสอบถามในด้านต่าง ๆ ของแบบฟอมร์ ได้แก่ เกษรตกรในชุมชน สุขภาพ ความเป็นอยู่ในชุมชน  รายได้ ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน เพิ่มเติม เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง หรือจุดอ่อนของชุมชนนั้น ๆ และเป็นแนวทางการวางแผนพัฒนา เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคม ในการเก็บข้อมูลเบื้องต้นในชุมชน

 

จากการสอบถามข้อมูลชุมชนและพบว่าข้อมูลการจัดการแหล่งน้ำในชุมชน มีอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กอยู่ในชุมชนซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำที่ใช้อุปโภค และมีการจัดการน้ำโดยผู้นำชุมชน การเปิดน้ำหรือให้ใช้น้ำเป็นการใช้และมีการส่งท่อไปยังในครัวเรือนเพื่อให้ใช้ในกิจวัตรประจำวัน แต่ไม่ได้นำไปใช้ทางการเกษตรเนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำนั้นมีเฉพาะเจาะจงไว้ให้ใช้เพื่ออุปโภค แต่แหล่งน้ำที่ใช้ในการทำการเกษตรนั้นได้ใช้น้ำจากคลองลำห้วยน้อยเป็นลำห้วยที่รอการปล่อยน้ำมาจากเขื่อนลำนางรอง และบางพื้นที่นั้นรอน้ำฝน  และได้ทำการสำรวจเกษตรกรในหมู่บ้านได้พบว่านอกจากการปลูกหมันสำปะหลัง ปลูกข้าว และทำขนมไทยต่าง ๆ แล้วก็ยังมีอาชีพหลักเพิ่มเติม คืออาชีพเลี้ยงสัตว์ ประกอบไปด้วย สุกร โค กระบือ และไก่ แต่ก็ไม่ได้มีหลายครอบครัวที่เลี้ยงแต่มีครอบครัวที่เลี้ยงอยู่ประมาณ 20 เปอร์เซ็นของจำนวนครัวเรือนทั้งหมดในหมู่บ้าน ส่วนพืชพันธ์ส่วนใหญ่ที่พบในชุมชน ก็จะมีผักต่างๆที่ปลูกไว้รับประทาน ไม้ยืนต้นก็จะมี มะพร้าว กล้วย มะม่าง หม่อน และก็ผลไม้ชนิดอื่น ๆ ที่หาได้ในท้องถิ่น ก็สามารถนำมาพัฒนานาปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน โดยมีผู้นำชุมชนเป็นผู้ขับเคลื่อนและวางแผนเพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านและชุมชน มีความเป็นอยู่ทีดี

 

 

จากปัญหาที่เกิดจากการแพร่ระบาด ไวรัสโคโรนา-19 จึงทำให้การเก็บข้อมูลล่าช้า โดยกระผมได้รับผิดชอบออกเก็บแบบสอบถาม และจัดเก็บข้อมูล เพื่อบันทึกลงในระบบเก็บข้อมูล ในเขตพื้นที่ชุมชนที่รับผิดชอบ  เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 19  จึงทำให้การลงพื้นที่เก็บข้อมูลเป็นไปด้วยความยากลำบาก จึงทำให้ต้องมีการวางแผนการลงพื้นที่  และอธิบายทำความเข้าใจกับผู้ที่ให้ข้อมูลเพื่อที่จะทำให้ได้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนโครงการเป็นไปอย่างต่อเนื่องและบรรลุวัตถุประสงค์แต่ก็เก็บข้อมูลได้ เกือบ 50 เปอร์เซ็น ของเกษตกรในหมู่บ้านแล้ว

ปัญหาที่พบ คือ การเก็บข้อมูลเกษตรกรไม่สามารถที่จะนำเราไปชี้จุด หรือพื้นที่ของตนได้ เนื่องจากพื้นที่ของเกษตรกรอยู่ห่างใกลจากตัวบ้านและด้วยภารกิจที่ต้องทำในแต่ละวันเกษตรไม่สดวกนำพาเราไปได้ และด้วยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 19 จึงทำให้กังวลต่อการเดินทางบ้าง ผลกระทบที่เกิดขึ้นคนในชุมชนไม่สามารถที่ใช้ชีวิตได้ตามต้องการ ถึงแม้สถานการณ์เริ่มดีขึ้นแล้วก็ตาม สำหรับเดือนพฤษภาคม เนื่องด้วยสถานการณ์โควิดที่เเพร่ระบาดมากขึ้น จึงมีการป้องกันที่มากขึ้นตามไปด้วย จากมาตราการต่าง ๆ ทำให้ในเดือนนี้ยังไม่สามารถจัดการเเปรรูปขนมได้พวกเราจึงได้สำรวจข้อมูลเพิ่มเติมในตำบลบ้านสิงห์ ไม่ว่าจะเป็น ทางด้านเกษตรกรในท้งถิ่น ทางด้านพืชในท้องถิ่น ทางด้านสัตว์ในท้องถิ่น ด้านเเหล่งน้ำในท้องถิ่นเเละทางด้านร้านอาหารในท้องถิ่น เป็นต้น เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาศึกษาเเละพัฒนาทางด้านต่าง ๆ ทั้งหมดนี้เพื่อการต่อยอดผลิตภัณฑ์ของคนในตำบลบ้านสิงห์ ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

 

อื่นๆ

เมนู