ข้าพเจ้า นางสาวทัตติยา ชุบรัมย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ HS03
ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงาน เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 09.00 น. ณ หมู่บ้านโคกไม้แดง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
บทนำ
จากการประชุมกับอาจารย์ประจำหลักสูตร เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564 ณ องค์การส่วนตำบล ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีการให้ประชาชน นักศึกษาและบัณฑิตจบใหม่ ลงพื้นที่สำรวจหมู่บ้านโคกไม้แดง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยเก็บข้อมูลแบบสอบถามภายในชุมชนเจ้าของพื้นที่ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน จากกลุ่มตัวอย่าง 35 หลังครัวเรือนที่ตอบแบบสอบถาม โดยนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของชุมชนของท่าน จึงใคร่ขอความกรุณาผู้ตอบแบบสอบถามได้ให้ข้อมูลที่เป็นจริงและตอบคำถามในทุกคำถาม เพื่อประโยชน์แก่การพัฒนาชุมชนตามเป้าหมาย
เนื้อเรื่อง
ข้าพเจ้าได้เข้าไปเก็บแบบสอบถามในหมู่บ้านโคกไม้แดง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 35 หลังครัวเรือน จากการสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพ เกษตรกร ทำไร่ ทำนา และประกอบอาชีพค้าขายและรับจ้างทั่วไปเป็นบางส่วน รายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 2,000-7,000 บาทต่อเดือน แต่ละครัวเรือนมีประชากรอาศัยอยู่ 3-6 คนต่อครัวเรือน วุฒิภาวะการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา และมีที่ดินทำกินของตนในพื้นที่อยู่ที่ประมาณ 5-20 ไร่ รายได้ส่วนใหญ่มาจากการขายมัน รองลงมาก็จะมาจากการขายข้าว เงินรายได้ที่ได้จากการขายข้าวและมันจะได้เป็นรอบปี ถ้าปีไหนที่แห้งแล้งปลูกมันไม่ได้ปลูกข้าวไม่ดีชาวบ้านก็จะไม่มีรายได้ ต้องไปรับจ้างทั่วไป ได้รายได้วันต่อวันอย่างน้อยเฉลี่ยวันละ 250 บาทต่อวัน ชาวบ้านส่วนใหญ่กู้ยืมเงิน ธกส. มาทำการเกษตรเป็นส่วนมาก ไม่มีเงินออมเพราะต้องเอาเงินไปหมุนใช้ในแต่ละเดือน ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่มีเงินออม ส่วนปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมจะมีปัญหาเสียงดังรบกวนที่เกิดจากรถราบนท้องถนน เพราะหมู่บ้านส่วนใหญ่จะอยู่ติดถนนใหญ่ และปัญหาในช่วงปัจจุบันนี้ชาวบ้านในหมู่บ้านขาดแคลนน้ำสะอาดไม่มีน้ำใช้สอย ปัญหาทางด้านสังคมก็จะเกิดปัญหาทางด้านยาเสพติด วัยรุ่นเกิดเหตุทะเลาะวิวาท ขับขี่รถจักรยานยนต์เสียงดังรบกวนชาวบ้านในตอนกลางคืน หมู่บ้านมีปัญหาความยากจนเกือบทุกหลังครัวเรือน ส่วนผลิตภัณฑ์ที่เด่นในหมู่บ้านก็จะเป็นการปลูกมัน เพราะชาวบ้านปลูกมันกันเกือบทุกหลัง ซึ่งในหมู่บ้านในฤดูผลผลิตด้วยการที่ปลูกมันทุกหลัง มันจึงเกิดปัญหาขายไม่ได้บ้างปล่อยทิ้งไว้บ้าง ไม่ได้นำผลผลิตดังกล่าวมาแปรรูปหรือยืดอายุการเก็บรักษาเลย จึงทำให้หมู่บ้านโคกไม้แดงเกิดปัญหาความยากจนเพราะไม่รู้จักใช้ทรัพยากรที่มีในหมูบ้านให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สรุป
การทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน จึงเป็นความพยายามเล็ก ๆ ของกลุ่มคนทำงานในหลายส่วน ที่จะหาคำตอบว่าวิถีชีวิตสมัยใหม่ ที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมในชุมชนเป็นอย่างไร ประชาชนเรียนรู้ที่จะใช้ทรัพยากรที่มีในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างไร การพัฒนาชุมชนจึงนับเป็นเป้าหมายประการหนึ่งของการพัฒนาที่ยั่งยืนของหมู่บ้านโคกไม้แดง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ การแก้ปัญหาสังคมที่ยั่งยืนในระยะยาวนั้น ต้องเป็นการพัฒนาในทิศทางใดที่จะไปด้วยกันได้ หรือลดความสูญเสียให้น้อยที่สุด อาจกล่าวได้ว่ากระบวนการทำงาน การพัฒนาชุมชนของหมู่บ้านโคกไม้แดงคือความพยายามที่จะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในหมู่บ้านมาพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงอย่างยั่งยืน