ข้าพเจ้านางสาวนิภาพรรณ  แสนเดช (ประเภทบัณฑิตจบใหม่)
ตำบลบ้านสิงห์ หลักสูตรการส่งเสริมและพัฒนาการทำขนมไทย HS03

การลงพื้นที่ปฏิบัติงาน
เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09:00 น. ณ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

♦♦♦ สืบเนื่องมาจากเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาข้าพเจ้าได้รับผิดชอบลงพื้นที่สำรวจเก็บรวบรวมข้อมูลแบบฟอร์ม 01 ข้อมูลพื้นฐานระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน จำนวน 35 ชุด, แบบฟอร์ม 02 แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 จำนวน 100 ชุด และแบบฟอร์ม 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ (Emerging infectious diseases) จำนวน 40 ชุด ณ หมู่ที่ 3 บ้านสิงห์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งการปฏิบัติงานในเดือนมีนาคม เป็นการลงพื้นที่สำรวจเก็บรวบรวมข้อมูลต่อจากเดือนกุมภาพันธ์ คือ แบบฟอร์ม 01 จำนวน 70 ชุด แบบฟอร์ม 02 จำนวน 100 ชุด และแบบฟอร์ม 06 จำนวน 70 ชุด

♦♦♦ ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบลงพื้นที่สำรวจเก็บรวบรวมข้อมูล หมู่ที่ 3 บ้านสิงห์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หมู่บ้านสิงห์ มีจำนวน 67 หลังคาเรือน จำนวนประชากรชายประมาณ 134 คน ประชากรหญิงประมาณ 147 คน รวมประมาณ 281 คน และเนื่องจากในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ข้าพเจ้าได้มีการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลแล้ว ตามจำนวนที่ได้รับมอบหมาย ทำให้จำนวนประชากร และจำนวนครัวเรือนในหมู่บ้านสิงห์ มีจำนวนไม่เพียงพอต่อการสำรวจข้อมูลในเดือนมีนาคม จำนวนครัวเรือนในหมู่บ้านสิงห์มีทั้งหมด 67 หลังคาเรือน แบบฟอร์ม 01 เก็บรวบรวมไปแล้วจำนวน 35 หลังคาเรือน คงเหลืออีก 32 หลังคาเรือน แบบฟอร์ม 02 จำนวน 100 ชุด  และแบบฟอร์ม 06 จำนวน 40 ชุด คงเหลืออีก 27 หลังคาเรือน จึงทำให้มีการลงสำรวจเก็บข้อมูลเพิ่มเติมในหมู่ที่ 4 บ้านโคกไม้แดง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ บ้านโคกไม้แดง มีจำนวน 192 ครัวเรือน จำนวนประชากรชายประมาณ 382 คน ประชากรหญิงประมาณ 369 คน รวมประมาณ 753 คน ข้าพเจ้าจึงลงพื้นที่กับทีมงานที่รับผิดชอบบ้านโคกไม้แดงอยู่ก่อนแล้ว โดยได้ไปพูดคุยและสอบถามกับชาวบ้านหลายๆ ท่านไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มวัยทำงาน และกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งเป็นคนในพื้นที่ ที่อยู่อาศัยทำมาหากินในหมู่บ้าน และสำรวจเก็บรวบรวมข้อมูลให้ครบถ้วนตามจำนวนที่ได้รับผิดชอบ ในการนี้ข้าพเจ้าจะนำข้อมูลดังกล่าวส่งต่อส่วนกลางต่อไป

 

 

 

                                รูปปั้นสิงห์

 

 

 

 

 

 

สรุปผลการเก็บข้อมูล 

⇒ แบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน (แบบฟอร์ม 01)

ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป ส่วนมากผู้ตอบแบบสอบถามจะเป็นผู้สูงอายุ เนื่องจากเก็บข้อมูลในเวลากลางวัน ผู้คนในวัยอื่นจะไปทำงาน และไปศึกษา จึงทำให้ไม่ค่อยมีคนอยู่บ้าน ด้านภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือนและชุมชน ในการประกอบอาชีพของคนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนาทำไร่ ปลูกมันสัมปะหลัง จะทำช่วง เดือนมิถุนายน – เดือนธันวาคม และการเลี้ยงสัตว์ เช่น โค(วัว) ไก่ และทำอาชีพรับจ้าง เนื่องจากไม่มีพื้นที่ในการทำการเกษตร ทางด้านรายได้และรายจ่ายของครัวเรือน ซึ่งรายได้มาจากอาชีพที่ทำเป็นหลัก ส่วนใหญ่มีพื้นที่ทำกินเป็นของตนเอง มีรถจักยานยนต์ทุกครัวเรือน ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมของชุมชน  ความโดดเด่นของตำบลบ้านสิงห์ คือ วัดโพธิ์คงคา แหล่งทรัพยากรที่สำคัญในชุมชน คือ วัด ปัญหาที่พบในชุมชนคือ เสียงดัง เนื่องจากมักจะมีกลุ่มวัยรุ่นขับรถเล่นในตอนกลางคืน ไฟฟ้าส่องสว่างตามถนน ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ประชาชนส่วนใหญ่ส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ด้านการท่องเที่ยวของชุมชน คือ วัด (วัดโพธิ์คงคา) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีของคนในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง สภาพและความต้องการของชุมชน  คือ พัฒนาเศรษฐกิจในชุมชน เพื่อเพิ่มรายได้และสร้างโอกาสให้คนในชุมได้ยกระดับเศรษฐกิจในชุมชนให้ดีขึ้น

⇒ แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 (แบบฟอร์ม 02)

ข้อมูลทั่วไป  ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุ และคนวัยทำงาน เป็นคนในชุมชนมาแต่เดิม จึงไม่มีความเสี่ยงต่อโรคติดต่อ เมื่อเกิดปัญหาด้านสุขภาพจะไปรับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นส่วนใหญ่ โรคประจำตัวก็จะมีในผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ การประเมินความเสี่ยงจากพฤติกรรม ชาวบ้านในชุมชนบ้านสิงห์ไม่ค่อยได้เดินทางไปไหน ส่วนใหญ่จะมีแค่การประชุมในหมู่บ้าน การไปวัด มีการสวมหน้ากากอนามัยไปยังสถานที่ต่างๆ จึงทำให้ไม่ค่อยมีความเสี่ยง ความเข้าใจเกี่ยวกับโควิด-19 ชาวบ้านส่วนใหญ่จะทราบถึงปัญหานี้ดีอยู่แล้ว แต่จะมีบางส่วนที่ไม่ทราบและไม่เข้าใจในบางเรื่อง เช่น ไม่ทราบว่าโควิด-19 ไม่สามารถติดต่อทางพัสดุจากการส่งของหรือนำเข้าสินค้าจากแหล่งที่มีการระบาด ส่วนใหญ่จะพบกับผู้สูงอายุ อาจด้วยสาเหตุที่ไม่ค่อยได้ติดตามข่าวสารต่างๆ ความรู้สึกและการรับรู้ที่เกิดขึ้นหลังมีการแพร่ระบาด ชาวบ้านส่วนใหญ่จะไม่ค่อยรู้สึกอะไรเลย เนื่องจากตนไม่ได้เดินทางไปไหน และบางส่วน รู้สึกเครียดบ้างเล็กน้อย เพราะมีลูกหลานไปทำงานต่างจังหวัด และไม่สามารถกลับมาบ้านได้ ผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ผลกระทบจากโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อรายได้ของชุมชนบ้านสิงห์และโคกไม้แดงในระดับปานกลาง เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในพื้นที่ จึงไม่ค่อยลำบากในการเดินทาง และไม่ค่อยมีความเสี่ยงต่อโรคโควิด-19

⇒ แบบฟอร์ม 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ (Emerging infectious diseases)

แบบสำรวจชุดที่ 1 สำหรับที่พักอาศัย

มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกัน หากพบว่ามีไข้ ร่วมกับไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบากอย่างใดอย่างหนึ่ง และอาจมีอาการ ท้องเสียร่วมด้วย ให้รีบไปพบแพทย์ทันที มีการดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์โดยเฉพาะก่อนเตรียม ปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหารหลังเข้าห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งสกปรก หลังเยี่ยมผู้ป่วยในสถานพยาบาล หลังสัมผัสหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยง และหลังกลับจากนอกบ้าน รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ และใช้ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ช้อนแก้วน้ำ หลอดดูดน้ำและเมื่อกลับจากการทำภารกิจหรือกิจกรรมนอกบ้าน ให้ล้างมือ ชำระร่างกาย เปลี่ยนเครื่องแต่งกายทันที

แบบสำรวจชุดที่ 4 สำหรับโรงเรียน
ตำบลบ้านสิงห์ มีโรงเรียนทั้งหมด 5 โรงเรียน 
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1. ศูนย์เด็กเล็กบ้านหนองกง
2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านสิงห์
โรงเรียนในสังกัดอื่นๆ
1. โรงเรียนบ้านสิงห์ (ราษฎร์อนุสรณ์)
2. โรงเรียนบ้านหนองกง
3. โรงเรียนสิงหวิทยาคม
การลงพื้นที่สำรวจเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับโรงเรียน ในแบบสำรวจอ้างอิงตามแนวทางปฏิบัติของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สามารถแบ่งออกเป็น 6 มิติ ดังนี้
มิติที่ 1 ความปลอดภัยจากการลดการแพร่เชื้อโรค
ทางสถานศึกษามีมาตรการคัดกรองวัดไข้ ให้กับนักเรียน ครู และผู้เข้ามาติดต่อ ทุกคนก่อนเข้าสถานศึกษา มีมาตรการสังเกตอาการเสียงโควิด 19 เช่น ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ เหนื่อยหอบ หายใจลำบาก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รู้รส พร้อมบันทึกผล สำหรับนักเรียน ครู และผู้เข้ามาติดต่อ ทุกคน ก่อนเข้าสถานศึกษา มีนโยบายกำหนดให้นักเรียน ครู และผู้เข้ามาในสถานศึกษาทุกคนต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย และปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขทุกประการ
มิติที่ 2 การเรียนรู้
มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์แนะนำการปฏิบัติเพื่อ สุขอนามัยที่ดี เช่น วิธีล้างมือที่ถูกต้อง การสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล เป็นต้น หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวกับโรคโควิด และการตรียมความพร้อมการจัดการเรียนการสอน
มิติที่ 3 การครอบคลุมถึงเด็กด้อยโอกาส
มีการเตรียมหน้ากากผ้า สำรองสำหรับเด็กเล็ก มีการปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทการเข้าถึงการเรียนรู้ในสถานการณ์การระบาดของโรค โควิด 19 และมีมาตรการดูแลนักเรียนที่มีความบกพร่องด้านการพัฒนาการ การเรียนรู้ หรือด้านพฤติกรรมอารมณ์ รวมถึงภาวะสมาธิสั้น และเด็กออทิสติก ที่สามารถ เรียนร่วมกับเด็กปกติ
มิติที่ 4 สวัสดิภาพและการคุ้มครอง
มีการตรวจสอบประวัติเสื่ยงของนักเรียนและบุคลากร รวมทั้งตรวจสอบเรื่องการกักตัวให้ครบ 14 วัน ก่อนมาทำการเรียนการสอนปกติ และทุกวันเปิดเรียน มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติตามระเบียบสำหรับนักเรียน ครู และบุคลากรที่สงสัยติดเชื้อหรือป่วยด้วยโรคโควิด 19 โดยไม่ถือเป็นวันลาหรือวันหยุดเรียน
มิติที่ 5 นโยบาย
มีมาตรการการจัดการความสะอาดบนรถรับ -ส่งนักเรียน เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล จัดที่นั่งบนรถหรือมีสัญลักษณ์จุดตำแหน่งชัดเจน
มิติที่ 6 การบริหารการเงิน
มีการจัดหาซื้อวัสดุอุปกรณ์ป้องกันโรคโควิด 19 สำหรับนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษา เช่น หน้ากากผ้าหรือหน้ากาก อนามัย เจลแอลกอฮอล์ สบู่ และมีแผนการใช้งบประมาณในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ตามความจำเป็นและเหมาะสม
                    
ทั้งนี้ ขอขอบพระคุณส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน ทั้งภาคประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามอย่างดียิ่ง จนได้มาซึ่งข้อมูล ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ

 

อื่นๆ

เมนู