ดิฉัน นางสาววรลักษณ์ ไกรษร กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์

หลักสูตร : ส่งเสริมอาชีพและพัฒนาขนมไทย HS03  

เดือนกรกฎาคม

เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคระบาด โควิด-19 ที่แพร่ระบาดอย่างรุนแรงและมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างมากและรวดเร็วในช่วงนี้นั้นทำให้การปฏิบัติงานเกิดการติดขัดบ้างเล็กน้อย แต่การปฏิบัติงานช่วงปลายเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม ก็ดำเนินไปได้ตามเป้าหมายโดยมีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามที่อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มอบหมายงานให้ โดยมีรายละเอียดจากการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้

21 – 30 มิถุนายน 64  ดิฉันได้ลงพื้นที่ ณ บ้านหนองม่วง หมู่ 12 ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ โดยเป็นการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเกษตรกร ร้านอาหารในท้องถิ่น สัตว์ในท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น พืชในท้องถิ่น และแหล่งน้ำในท้องถิ่น โดยเป็นการเก็บข้อมูลผ่านทาง  Application https://cbd.u2t.ac.th/ จาก สป.อว. ในส่วนที่ยังสำรวจและเก็บข้อมูลไม่หมด ซึ่งมีข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้

” ร้านอาหารในท้องถิ่น “ จากการสำรวจพบว่ามีร้านอาหารทั้งหมด 3 ร้าน โดยแบ่งข้อมูลของแต่ละร้านได้ดังนี้

  1. ร้านป้าชำนาญ เมนูที่มีในร้านคือก๋วยเตี๋ยวและน้ำแข็งใส สามารถนำเด็กเล็กเข้าใช้บริการได้นั่งทานในร้านได้ (แต่ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 จะให้บริการแบบซื้อกลับบ้านมากกว่า) มีที่จอดรถ จำนวน 5 คัน จำนวนที่นั่งประมาณ 5 – 6 คน เวลาเปิดให้บริการคือ 06.00 – 20.00 น.และเปิดให้บริการทุกวัน
  2. ร้านป้ามานะ เมนูที่มีในร้านคือก๋วยเตี๋ยวและไก่ทอด สามารถนำเด็กเล็กเข้าใช้บริการได้นั่งทานในร้านได้ (แต่ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 จะให้บริการแบบซื้อกลับบ้านมากกว่า) มีที่จอดรถ จำนวน 5 คัน จำนวนที่นั่งประมาณ 7 – 8 คน เวลาเปิดให้บริการคือ 06.00 – 20.00 น.และเปิดให้บริการทุกวัน
  3. ร้านพี่จาม เมนูที่มีในร้านคือ ก๋วยเตี๋ยว ส้มตำ อาหารตามสั่ง เช่น ข้าวผัด ข้าวกะเพราหมูสับ สามารถนำเด็กเล็กเข้าใช้บริการได้นั่งทานในร้านได้ ช่วงสถานการณ์โรคระบาด โควิด-19 มีมาตรการป้องกันคือการนั่งเว้นระยะห่างในการนั่งรับประทานอาหาร และการซื้อกลับไปทานที่บ้าน มีที่จอดรถจำนวน 3 คัน นั่งทานในร้านได้ประมาน 10 คน เวลาที่เปิดให้บริการคือ 08.00 – 15.00 น. และเปิดให้บริการทุกวัน

 

 

” อาหารน่าสนใจประจำถิ่น “ คือ ขนมบ้าบิ่น เป็นอาหารประเภท : อาหารหวาน  ส่วนผสม : มะพร้าว  แป้งข้าวเหนียว น้ำตาลทราย เกลือ กะทิ

 

” เกษตรกรในท้องถิ่น “

ประเภทของการเกษตร โดยรวมเกษตรกรในหมู่บ้านจะทำนา ปลูกมันสำปะหลัง เป็นส่วนใหญ่ และเลี้ยงสัตว์ร่วมด้วยในบางรายซึ่งจะนิยมเลี้ยง วัว ควาย  เพื่อจำหน่าย และเพื่อใช้เป็นอาหาร พื้นที่ในการทำการเกษตรในแต่ละรายจะไม่เท่ากันแต่โดยเฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 5 – 50 ไร่ รายได้เฉลี่ยต่อปีจะอยู่ที่ 10,000 – 100,000 บาท ซึ่งการทำเกษตรในบางรายมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย คือ รถไถนา รถเกี่ยวข้าว และยังไม่ได้เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้ารับชม

 

” พืชในท้องถิ่น “

พืชในท้องถิ่นที่พบโดยส่วนใหญ่ คือ กล้วย มะพร้าว มะนาว มะม่วง กระท้อน มะม่วงหาวมะนาวโห่ มะขาม ตะไคร้ ข่า มะยม โดยปลูกเพื่อเอาไว้ใช้เป็นอาหารและจำหน่าย จำนวนที่พบในท้องถิ่นโดยประมาณคือ 70 ต้น โดยส่วนใหญ่จะปลูกในสวนของตัวเอง

 

” สัตว์ในท้องถิ่น “

สัตว์เลี้ยงในท้องถิ่นที่พบคือ วัว  เป็นสัตว์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จำนวนสัตว์เพศผู้ที่พบโดยประมาณคือ 120 ตัว จำนวนสัตว์เพศเมียที่พบโดยประมาณคือ 90 ตัว โดยการเลี้ยงของชาวบ้านส่วนใหญ่คือการเลี้ยงไว้จำหน่าย เลี้ยงไว้เป็นอาหาร และเลี้ยงไว้เพื่อทำเป็นพ่อพันธุ์/แม่พันธุ์

ควาย เป็นสัตว์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จำนวนสัตว์เพศผู้ที่พบโดยประมาณคือ 50 ตัว จำนวนสัตว์เพศเมียที่พบโดยประมาณคือ50  ตัว โดยการเลี้ยงของชาวบ้านส่วนใหญ่คือการเลี้ยงไว้จำหน่าย เลี้ยงไว้เป็นอาหาร และเลี้ยงไว้เพื่อทำเป็นพ่อพันธุ์/แม่พันธุ์

เป็ด จำนวนที่พบโดยรวมในหมู่บ้านคือ 70 ตัว โดยเป็นการเลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหารมนุษย์ เลี้ยงไว้จำหน่าย และเลี้ยงไว้เป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์

ไก่ จำนวนที่พบโดยรวมในหมู่บ้านคือ 120 ตัว โดยเป็นการเลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหารมนุษย์ เลี้ยงไว้จำหน่าย และเลี้ยงไว้เป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์

 

” ภูมิปัญญาท้องถิ่น “

ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่พบคือ เครื่องจักสาน แห เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ทางการเกษตร ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมาตั้งแต่ดั้งเดิม ส่วนการประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ มีเฉพาะในชุมชนเท่านั้น

 

” แหล่งน้ำในท้องถิ่น “

จากการสำรวจ พบแหล่งน้ำที่ชาวบ้านใช้ในการทำการเกษตรเป็นหลัก 2 ที่คือ

  1. หนองน้ำบ้านหนองม่วง เป็นแหล่งน้ำประเภทหนองน้ำ ช่วงฤดูฝนจะมีน้ำมากคือช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ช่วงเวลาน้ำน้อยคือช่วงหน้าเเล้งเดือนตุลาคม-มีนาคม คุณภาพของน้ำยังน้อยมากซึ่งสามารถใช้ในการทำการเกษตรได้เท่านั้น ไม่สามารถนำมาใช้เพื่ออุปโภคบริโภคได้
  2. ห้วยลำปลายมาศ เป็นแหล่งน้ำประเภทห้วย ช่วงฤดูฝนจะมีน้ำมากคือช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ช่วงเวลาน้ำน้อยคือช่วงหน้าแล้งเดือนตุลาคม-มีนาคม คุณภาพของน้ำยังน้อยมากซึ่งสามารถใช้ในการทำการเกษตรและอุตสาหกรรมได้เท่านั้น ไม่สามารถนำมาใช้เพื่ออุปโภคบริโภคได้

 

7 กรกฎาคม 64 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดผู้ปฏิบัติงานทุกคนให้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ผ่านทางระบบ Google meet เพื่อเป็นการชี้แจงและวางแผนในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในระบบ otou โดยผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องลงพื้นที่เก็บข้อมูลสำหรับที่พักอาศัย และแบ่งกลุ่มเก็บข้อมูลสำหรับโรงเรียน ศาสนสถาน และตลาด ตามจำนวนที่กำหนดให้ครบถ้วน

8 – 10 กรกฎาคม 64 ดิฉันได้ลงเก็บข้อมูล บ้านหนองม่วง ม.12 ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เป็นการเก็บข้อมูลสำหรับที่พักอาศัย ซึ่งจากการสำรวจมีข้อมูลดังนี้

  1. ในแต่ละครัวเรือนมีการสำรวจประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนตลอดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือหากติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรงหรือไม่เช่นผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง เป็นต้น และมีการสำรวจว่าบุคคลในครัวเรือนมีการทำงานในที่เสี่ยงหรือเดินทางกลับจากที่เสี่ยงหรือไม่
  2. มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกันหากพบว่ามีไข้ ร่วมกับมีไอ หรือมีอาการต่าง ๆ ที่เข้าค่ายเสี่ยงติดโรคโควิด-19 จะให้รีบไปพบแพทย์ทันที
  3. มีการดูแลสุขอนามัยตลอดโดยการล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือน้ำสบู่ ทั้งก่อนปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งสกปรก และหลังกลับจากนอกบ้านทุกครั้ง
  4. ส่วนใหญ่จะรับประธานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ และใช้ช้อนส่วนตัวในการรับประทานอาหาร
  5. ส่วนใหญ่บุคคลในครัวเรือนจะแยกของใช้ส่วนตัวกัน เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า แต่ในบางครัวเรือนจะยังใช้แก้วน้ำร่วมกับคนในครัวเรือนอยู่เมื่อกลับจากทำภารกิจหรือกิจกรรมนอกบ้านจะเปลี่ยนเสื้อผ้า ล้างมือ หรืออาบน้ำโดยทันที

 

10 – 11 กรกฎาคม 64 ดิฉันและผู้ปฏิบัติงานในกลุ่มได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลสำหรับตลาด ที่ตลาดนัดเย็นบ้านโคกไม้แดง และตลาดนัดสี่แยกบ้านหนองขาม โดยมีข้อมูลดังนี้

  • มีการกำหนดทางเข้าออกอย่างชัดเจน และมีการคัดกรองพนักงาน เจ้าหน้าที่ และผู้รับบริการ พร้อมทำสัญลักษณ์ให้กับผู้ที่ผ่านการคัดกรอง หากพบว่ามีอาการไข้หรือวัดอุณหภูมิได้ ตั้งแต่ 37.5 องศา เซลเซียสขึ้นไป ร่วมกับ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจ ลำบาก อย่างใดอย่างหนึ่ง และอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วย แนะนำไปพบแพทย์ทันทีและห้ามเข้าไปซื้อของในตลาด
  • มีมาตรการให้ผู้ค้าและผู้ใช้บริการต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ใช้บริการ
  • จัดให้มีที่ล้างมือด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์ ให้บริการแก่ผู้ค้าและผู้ซื้ออย่างเพียงพอ
  • มีการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อโควิดตามช่องทางต่าง ๆ และสื่อสาร เน้นย้ำประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบกิจการเจ้าของร้าน  แผงในตลาด รวมถึงผู้ช่วยขายทั้งชาวไทยและแรงงาน ต่างด้าว ให้สังเกตอาการตนเอง หรือถ้าได้เดินทางไป หรือเกี่ยวข้องกับแหล่งที่เกิดการระบาด แนะนำให้ไป ตรวจคัดกรอง COVID-19 โดยเร็วที่สุด

 

อย่างไรก็ตามในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคระบาด โควิด-19 ที่กำลังระบาดอย่างหนักและมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างมากและรวดเร็วนี้ ดิฉันขอให้ทุกคนระมัดระวังในการเดินทางไปในที่ต่าง ๆ และป้องกันตัวเองจากโรคระบาด โควิด-19 ให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือ หรือการเว้นระยะห่าง  เพื่อตัวเองและสังคม Stay at home

อื่นๆ

เมนู