ข้าพเจ้านางสาวนิภาพรรณ  แสนเดช (ประเภทบัณฑิตจบใหม่)
ตำบลบ้านสิงห์ หลักสูตรการส่งเสริมและพัฒนาการทำขนมไทย HS03

ลงพื้นที่ประจำเดือนเมษายน

  • วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2564 เข้าร่วมพิธียกเสาเอกเสาโท ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านโคกว่าน
  • วันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2564 จัดสถานที่เข้าร่วมอบรมการค้นคว้าข้อมูลเเละวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์ตำบลบ้านสิงห์
  • วันที่ 8 เมษายน พ.ศ.2564 เข้าร่วมอบรมการค้นคว้าข้อมูลเเละวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์ตำบลบ้านสิงห์

พิธียกเสาเอกเสาโท ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านโคกว่าน

                  พิธียกเสาเอกเสาโท ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านโคกว่าน เริ่มตั้งแต่เวลา 08: 00 น. มีพิธีการทางสงฆ์ การทำพิธีตามความเชื่อของคนโบราณที่สืบทอดต่อๆ กันมา การใส่เงินลงไปในหลุมทั้งธนบัตรและเหรียญเพื่อความเป็นสิริมงคล การร่วมรับประทานอาหารกลางวัน บรรยากาศในงานอบอวนไปด้วยความยินดี รอยยิ้มและเสียงหัวเราะของผู้คนที่มาเข้าร่วมพิธี หลังจากเสร็จพิธีต่างๆ แล้ว ก็มีการร่วมประชุมกับท่านอาจารย์และทีมงานเกี่ยวกับการทำป้ายชื่อเพื่อนำไปใช้ในการทำงานลงพื้นที่ และเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ สร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้นกับชาวบ้านในการให้ข้อมูล

ภาพพิธียกเสาเอก เสาโท ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านโดกว่าน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ 

             

วันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2564 จัดสถานที่เข้าร่วมอบรมการค้นคว้าข้อมูลเเละวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์ตำบลบ้านสิงห์

เนื่องจากวันที่ 8 เมษายน พ.ศ.2564 จะมีการเข้าร่วมการจัดเวทีอบรมการค้นคว้าข้อมูลเเละวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์ตำบลบ้านสิงห์ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ จึงทำให้ต้องมีการเตรียมการประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง ชาวบ้านที่ทำขนมไทย และเตรียมสถานที่เพื่อใช้ในการอบรม ทำกิจกรรมต่างๆ มีการเรียนเชิญตัวแทนชุมชนในพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ที่มีการทำผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับขนมไทยมาร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องขนมไทยที่โดดเด่นภายในชุมชน

วันที่ 8 เมษายน พ.ศ.2564 เข้าร่วมการจัดเวทีอบรมการค้นคว้าข้อมูลเเละวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์ตำบลบ้านสิงห์

คณะผู้ปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและพัฒนาสังคมแบบบูรณาการเล็งเห็นความสำคัญและต้องการที่จะส่งเสริมพัฒนา การแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ทำจากขนมไทย ซึ้งในพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นขนมไทยมากมาย โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ คณะผู้ปฏิบัติงานจึงอยากส่งเสริมขนมไทยในพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ให้เป็นที่รู้จักและสามารถเป็นอาชีพเสริมที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยังยืนมากขึ้น จึงได้เรียนเชิญตัวแทนชุมชนในพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ที่มีการทำผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับขนมไทยมาเข้าร่วมอบรมการค้นคว้าข้อมูลเเละวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์ ซึ้งแต่ละหมู่บ้านในตำบลบ้านสิงห์จะมีผลิตภัณฑ์แตกต่างกันออกไป บางหมู่บ้านมีผลิตภัณฑ์ที่ทำจากขนมไทยและบางหมู่บ้านไม่มี ดังนี้

ผลิตภัณฑ์ของตำบลบ้านสิงห์

  • หมู่ที่ 1 ไม่มีผลิตภัณฑ์ที่ทำจากขนมไทย
  • หมู่ที่ 2 บ้านหนองขาม ผลิตภัณฑ์ได้แก่ ขนมทองม้วน ดอกจอก กล้วยฉาบ มันทอด มันฉาบ รังแตน ข้าวแต๋น รังนก
  • หมู่ที่ 3 ไม่มีผลิตภัณฑ์ที่ทำจากขนมไทย
  • หมู่ที่ 4 บ้านโคกไม้แดง ผลิตภัณฑ์ได้แก่ กล้วยฉาบ ดอกจอก มะขามแก้ว ลอดช่อง มันเชื่อม ถั่วเคลือบ
  • หมู่ที่ 5 บ้านหนองตาชี ผลิตภัณฑ์ได้แก่ ขนมโดนัท
  • หมู่ที่ 6 ไม่มีผลิตภัณฑ์ที่ทำจากขนมไทย
  • หมู่ที่ 7 ไม่มีผลิตภัณฑ์ที่ทำจากขนมไทย
  • หมู่ที่ 8 บ้านหนองกง ผลิตภัณฑ์ได้แก่ ขนมตาล ขนมต้ม ขนมบ้าบิ่น
  • หมู่ที่ 9 บ้านหนองจันทร์แดง ผลิตภัณฑ์ได้แก่ ขนมสอดไส้ กะหรี่ปั๊บ ถั่วแปบ
  • หมู่ที่ 10 ไม่มีผลิตภัณฑ์ที่ทำจากขนมไทย
  • หมู่ที่ 11 บ้านหนองโคลน ผลิตภัณฑ์ได้แก่ กล้วยฉาบ มันฉาบ ขนมตาล กล้วยอบเนย กล้วยปาปิก้า ไข่เต่า
  • หมู่ที่ 12 บ้านหนองม่วง ผลิตภัณฑ์ได้แก่ มะพร้าวเผา ขนมต้ม ข้าวหลาม
  • หมู่ที่ 13 บ้านหนองสองห้อง ผลิตภัณฑ์ได้แก่ ขนมดอกจอก
  • หมู่ที่ 14 บ้านโพธิ์ทอง ผลิตภัณฑ์ได้แก่ ขนมโดนัท ขนมสอดไส้

หมู่บ้านในตำบลบ้านสิงห์มีผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันออกไป และจากการเข้าร่วมอบรมการค้นคว้าข้อมูลเเละวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์ ซึ้งได้ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดว่าผลิตภัณฑ์ใดที่สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดได้ สามารถสรุปผลิตภัณฑ์ได้ 4 ชนิด คือ ขนมบ้าบิ่น ขนมทองม้วน กะหรี่ปั๊บ ขนมจากกล้วย เช่น กล้วยฉาบ

ปัญหาและอุปสรรคในการผลิต                                                                                                                                                       สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา-19 ทำให้ลูกค้าไม่สามารถมารับสินค้าได้ตามปกติ และเนื่องจากมะพร้าวเป็นวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการทำขนมไทยเกือบทุกประเภท ราคาของมะพร้าวที่แพงขึ้นจากเดิม จึงทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น แต่ราคาของผลิตภัณฑ์เท่าเดิม เพราะหากปรับราคาขึ้นจะทำให้ขายได้ยากขึ้น กล้วยหายากหากรับซื้อจากที่อื่นรสชาติและคุณภาพของกล้วยอาจไม่ตรงตามที่ต้องการ และขาดแรงงานในการเเปรรูปผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ทำการเกษตรและรับจ้างเป็นหลัก ขาดช่องทางการจัดจำหน่ายที่ยังไม่ขยายวงกว้างมากนัก

การพัฒนาผลิตภัณฑ์                                                                                                                                                                      บรรจุภัณฑ์ที่น่าสนใจ แปลกตา หรือความสวยงาม รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ เพิ่มรูปร่างตัวผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายน่าสนใจมากขึ้น การเพิ่มรสชาติ วิธีการและขั้นตอนในการผลิตที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นจากชุมชนสามารถยืดอายุและเก็บรักษาไว้ได้นานยิ่งขึ้น เพราะเมื่อผลิตภัณฑ์เก็บรักษาได้นานโอกาสในการจัดจำหน่ายก็จะเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

ภาพการเข้าร่วมอบรมค้นคว้าข้อมูลเเละวิเคราห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์ตำบลบ้านสิงห์ 

        

สำหรับการอบรมทักษะทั้ง 4 หลักสูตรในเดือนเมษายน ข้าพเจ้าได้เข้าฝึกอบรมในระบบออนไลน์ในรายวิชาสำหรับโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งมหาวิทยาลัย   เป็นจำนวน 4 หลักสูตร และสามารถผ่านตามเกณฑ์การวัดผลทั้ง 4  หลักสูตรแล้ว ได้แก่

  1. ด้านดิจิทัล Digital Literacy
  2. ด้านภาษาอังกฤษ Language Literacy
  3. ด้านการเงิน Financial Literacy
  4. ด้านสังคม Social Literacy

ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ และเพิ่มพูนความมีระเบียบวินัยในการทำงาน การทำงานเป็นทีมเป็นหมู่คณะ การร่วมมือร่วมแรงกันในการทำงานต่างๆเพื่อให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพ การตรงต่อเวลา รักษาเวลาในการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพิ่มพูนประสบการณ์ ด้านระบบดิจิทัล การจัดการทางการเงิน การลงทุน และสังคม สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานในโครงการที่ได้รับผิดชอบ  และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

ทั้งนี้ ขอขอบพระคุณส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน ทั้งภาคประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่ให้ความร่วมมือเข้าร่วมอบรมการค้นคว้าข้อมูลเเละวิเคราห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์ตำบลบ้านสิงห์ จนได้มาซึ่งข้อมูล ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ

วิดีโอประกอบการจัดกิจกรรมต่างๆ

อื่นๆ

เมนู