ข้าพเจ้านางสาวพัชรียา ลามั่น ประเภทนักศึกษา ตำบลบ้านสิงห์

หลักสูตรการส่งเสริมและพัฒนาการทำขนมไทย HS03

ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลประจำเดือนมีนาคม ดิฉันได้รับหน้าที่ในการลงพื้นเก็บข้อมูล ในวันที่ 12 มีนาคม 2564 ณ หมู่ที่ 2 บ้านหนองขาม 126 หลังคาเรือน ซึ่งได้สำรวจข้อมูลดังนี้

  • แบบฟอร์ม 01 ข้อมูลพื้นฐานระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน จำนวน 20 ชุด
  • แบบฟอร์ม 02 แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 จำนวน 100 ชุด
  • แบบฟอร์ม 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ (Emerging infectious diseases) จำนวน 20 ชุด

จากการสำรวจแบบฟอร์ม 01 ข้อมูลพื้นฐานระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน พบว่า

ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป (ผู้ให้ข้อมูล)

ในการสำรวจผู้ที่ให้ข้อมูลจะเป็นผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ คนในชุมชนนับถือศาสนาพุทธ การศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และว่างงานเป็นส่วนมาก

ตอนที่ 2 ภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือนและชุมชน

ในการสำรวจพบว่า อาชีพที่ทำรายได้สูงสุดของครัวเรือนคือ ทำนา ทำไร่มันสำปะหลัง รับจ้าง และเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ไก่ เพื่อใช้ในการบริโภค อุปโภค และได้มีต้นทุนในการผลิตในการใช้จ่ายค่าแรงงาน ค่าวัตถุดิบ เช่น เมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือก ค่าปุ๋ย ค่าต้นมันสำปะหลัง ค่ายาฉีดเชื้อรา ค่าอาหารสัตว์ และค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในการไถนาเพื่อเพาะปลูกข้าว โดยที่มาของรายได้ของครัวเรือนจะมาจากอาชีพหลักและรับจ้าง ซึ่งคนในชุมชนจะมีรายได้อยู่ประมาณ 5,000 – 10,000 บาทต่อเดือน รายจ่ายของครัวเรือนจะเป็นค่าอาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือน การศึกษา และค่าใช้จ่ายในการผลิตเป็นหลัก

ตอนที่ 3 ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมของชุมชน

จากการสำรวจพบว่า อัตลักษณ์ของตำบลบ้านสิงห์สิ่งที่คนในชุมชนชุมนึกถึงเป็นอันดับแรกๆ คือ ขนมไทย เช่น ขนมทองม้วน ขนมดอกจอก และแหล่งทรัพยาการของชุมชนคือวัดและลำห้วยน้อย ปัญหาสิ่งแวดล้อมในนชุมชนคือ ปัญหาระบบน้ำประปาเนื่องจากน้ำประปาไม่ไหล

ตอนที่ 4 ด้านการท่องเที่ยวของชุมชน

ชุมชนไม่มีการจัดการด้านท่องเที่ยว เนื่องจากชุมชนไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวมีเพียงวัด ซึ่งไม่ได้มีการพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ทำให้ชุมชนเป็นเพียงแค่ทางผ่าน

ตอนที่ 5 สภาพและความต้องการของชุมชน

ชุมชนมีปัญหาเรื่องน้ำประปาและถนนในการเดินทางที่ไม่สะดวก จึงมีความต้องการให้พัฒนาน้ำประปาให้มีน้ำใช้ตลอด และพัฒนาถนนให้ไม่เป็นหลุมเป็นบ่อ

 

แบบฟอร์ม 02 แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19

จากการสำรวจแบบฟอร์ม 02 แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 พบว่า ผู้ให้ข้อมูลตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุ และคนวัยทำงานเมื่อคนในชุมชนมีปัญหาด้านสุขภาพจะไปรับบริการสุขภาพที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นส่วนมากเนื่องจากบ้านหนองขามอยู่ใกล้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและได้มีการดูแลจากผู้นำชุมชน อสม. ซึ่งในการใช้ชีวิตประจำวันของคนในชุมชนจะเป็นเพียงแค่การประกอบอาชีพในพื้นที่จึงทำให้ไม่ได้เป็นกลุ่มเสี่ยงมีการป้องกันสวมหน้ากากอนามัยบางเวลาไม่ได้สวมใส่ตลอดเวลา และคนในชุมชนทราบถึงอาการของโรคติดต่อไวรัสโคโรนา 2019 ว่ามีอาการเป็นเช่นไรจึงได้มีการเฝ้าระวังโดยการล้างมือสวมหน้ากากอนามัย

แบบฟอร์ม 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ (Emerging infectious diseases)

จากการสำรวจแบบฟอร์ม 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ (Emerging infectious diseases) แบบสำรวจชุดที่ 1 สำหรับที่พักอาศัย พบว่า จากการลงพื้นที่เดือนมีนาคม หมู่ 2 บ้านหนองขาม ในชุมชนได้มีการประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือน โดยการสังเกตอาการของบุคคลว่ามีว่ามีไข้ ร่วมกับไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น หายใจเร็ว หายใจเหนื่อยอย่างใดอย่างหนึ่งจะดำเนินการพบแพทย์ทันที และในชุมชนยังมีการรักษาสุขอนามัยป้องกันการเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ด้วยการล้างมือด้วยน้ำสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์มีการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ และป้องกันโดยการไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นช้อน แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดการติดเชื้อโควิด-19

        จากการสำรวจเก็บข้อมูลแบบฟอร์ม 01 02 และ06 ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุเนื่องจากคนวัยทำงาน และวัยรุ่นจะออกไปประกอบอาชีพเพื่อหารายได้ ซึ่งคนในชุมชนจะประกอบอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้างเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้ไม่ได้ออกไปนอกพื้นที่มากนักจึงไม่เป็นกลุ่มเสี่ยงในการเฝ้าระวังโควิด- 19 ชาวบ้านมีการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 โดยการล้างมือด้วยสบู่และเจลแอลกอฮอล์ สวมใส่หน้ากากอนามัยเวลาพบเจอผู้คนจำนวนมาก และคนในชุมชนมีความรู้ถึงอาการของโควิด-19 เพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรค

 

 

 

อื่นๆ

เมนู