ข้าพเจ้านางสาวนิภาพรรณ  แสนเดช (ประเภทบัณฑิตจบใหม่)
ตำบลบ้านสิงห์ หลักสูตรการส่งเสริมและพัฒนาการทำขนมไทย HS03

การลงพื้นที่ประจำเดือนพฤษภาคม

  • วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2564 เข้าร่วมประชุมออนไลน์ เพื่อเตรียมความพร้อมในการลงพื้นที่ฏิบัติงาน
  • วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2564 เข้าร่วมการประชุมงานบุญผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชนออนไลน์ “ยักษ์ จับ โจน”
  • วันที่ 14 พฤษภาคม ลงพื้นที่ปฏิบัติงานสำรวจข้อมูลชุมชนบ้านสิงห์

“เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อาจารย์ประจำหลักสูตรจึงได้มีการนัดหมายประชุมผ่าน Google meet ในวันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม 2564 ในเวลา 11:00 น. เพื่อพูดคุยและมอบหมายงานในเดือนพฤษภาคม ซึ่งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) ระลอกที่ 3 ส่งผลกระทบกับทุกอำเภอในจังหวัดบุรีรัมย์ จึงจำเป็นต้องกำหนดแนวทางการดำเนินงาน เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรคให้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของจังหวัดบุรีรัมย์ การดำเนินงานจึงต้องปฎิบัติตามนโยบายและมาตรฐานของ ศบค. เพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019″

วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2564 เข้าร่วมการประชุมงานบุญผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชนออนไลน์ “ยักษ์ จับ โจน” ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านโคกว่าน ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ และรับชมการบรรยาย โดยมีการการถ่ายทอดสดจากช่อง HUSOC-BRU Channel ในหัวข้อ “งานบุญผ้าป่า ปาฐกถาชุมชนออนไลน์ ยักษ์ จับ โจน”

งานบุญผ้าป่า ปาฐกถาชุมชนออนไลน์ ยักษ์ จับ โจน โดยมีท่านธัชกร  หัตถาธยากูล ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นประธานในพิธี ซึ่งการจัดทอดผ้าป่าในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้อำเภอนางรองมีศูนย์กลางการเรียนรู้ศาสตร์พระราชา และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงเป็นศูนย์ฝึกอบรมพัฒนาสัมมาชีพต่าง ๆ และเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาดูงานด้านกสิกรรมธรรมชาติบนรากฐานแห่งเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่มั่นคงและยังยืน ผ่านทางออนไลน์ เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 เกิดการระบาดละลอกที่ 3 ทางคณะกรรมการจัดงานทอดผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชน จึงได้ปรับกิจกรรมเป็นแบบออนไลน์เกือบทั้งหมด จะมีเฉพาะพิธีทอดผ้าป่าเท่านั้นที่จะประกอบพิธี ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์รับฟังสัมโมทนียกถา จากเจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวง เจ้าคณะตำบลหนองกง พระอาจารย์ทองใส พระครูพิสุทธิพัฒนาภิรมย์ ซึ่งนอกจากการถ่ายทอดสดผ่านทาง YouTube ช่อง HUSOC-BRU Channel แล้วทางวัดยังมีการถ่ายทอดสดผ่านทางคลื่นวิทยุของทางวัดให้ชาวบ้านและประชาชนทั่วไปได้รับฟังอีกด้วย และรับฟังการบรรยายจากอีกสองท่านคือ ดร.ยักษ์ วิวัฒน์ ศัลยกำธร ประธานมูลนิธิกสิกกรมธรรมชาติ ในหัวข้อเรื่อง “ปาฐกถาพิเศษ กสิกรรมธรรมชาติบนรากฐานแห่งเศรษฐกิจพอเพียง สู่การพัฒนาอย่างมั่นคงและยั่งยืนในยุค world Disruption” ซึ่งได้ถ่ายทอดความรู้ ความเป็นมาและความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านการเล่าประสบการณ์ที่ได้ร่วมทำงานในโครงการต่าง ๆ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 และ ในหลวงรัชกาลที่ 10 และฟังบรรยายจากอีกหนึ่งท่าน คือ อาจารย์โจน จันได ซึ่งเชี่ยวชาญด้านการใช้ประโยชน์จากหญ้าแห่งสวนพันพรรณ และการสร้างบ้านดิน ในหัวข้อ “กสิกรรมธรรมชาติตามศาสตร์พระราชา ทางเลือกทางรอดในยุค Viral Disruption” ปณิทานชีวิตของ โจน จันได กับการก่อตั้ง พันพรรณ เพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์พืชผัก สะสมความอุดมสมบูรณ์แห่งแผ่นดิน ท่านกล่าวถึงยุคของการบริโภคนิยม ซึ่งในสภาวะการเช่นนี้ การได้ฟังการบรรยายทำให้เรามีเวลาได้คิด ทบทวนหลักในการใช้ชีวิตที่เรียบง่ายตามหลักเศษรฐกิยจพอเพียงของพ่อหลวงรัชกาลที่ 9 ให้ได้นำมาปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์และนำพาชีวิตให้อยู่ได้อย่างมีความสุข

ภาพประกอบกิจกรรม

 

จากการประชุมผ่าน Google meet ในวันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม 2564 ผู้ปฏิบัติงานได้มีการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แหล่งท่องเที่ยว ที่พัก/โรงแรม ร้านอาหารในท้องถิ่น อาหารที่น่าสนใจประจำท้องถิ่น เกษตรกรในท้องถิ่น พืชในท้องถิ่น สัตว์ในท้องถิ่น ภูมิปัญญาในท้องถิ่น แหล่งน้ำในท้องถิ่น และบันทึกข้อมูลลงในแอพพลิเคชั่นของ U2T โดยแบ่งตามหมู่บ้านที่ได้รับผิดชอบ ได้มีการพูดคุยสอบถามถึงปัญหาในการลงพื้นที่ เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ทำให้ในบางพื้นที่ไม่สามารถเข้าไปเก็บข้อมูลได้ หากลงพื้นที่ต้องขออนุญาตผู้นำชุมชนก่อนและดูแลป้องกันตนเองโดยการสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาจึงต้องวางแผนการดำเนินงานอย่างรอบคอบและระมัดระวังให้มากที่สุด

การเก็บแบบสอบถาม หมู่ที่ 3 หมู่บ้านสิงห์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยการทำแบบสอบถามในด้านต่าง ๆ ของแบบฟอร์ม ได้แก่ การสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แหล่งท่องเที่ยว ที่พัก/โรงแรม ร้านอาหารในท้องถิ่น อาหารที่น่าสนใจประจำท้องถิ่น เกษตรกรในท้องถิ่น พืชในท้องถิ่น สัตว์ในท้องถิ่น ภูมิปัญญาในท้องถิ่น และแหล่งน้ำในท้องถิ่น

  • การสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่หมู่ที่ 3 หมู่บ้านสิงห์ ไม่มีผู้ที่เดินทางย้ายกลับบ้าน และไม่มีผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างจังหวัด
  • แหล่งท่องเที่ยว ในพื้นที่หมู่ที่ 3 หมู่บ้านสิงห์ มีสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและเชิงประวัติศาสตร์ คือ วัดโพธิ์คงคา และโครงกระดูกมนุุษย์ 2000 ปี ซึ่งได้มีการขุดพบในหมู่บ้านเมื่อนานมาแล้ว
  • ที่พัก/โรงแรม ไม่มีที่พักและโรงแรมเนื่องจากพื้นที่หมู่ที่ 3 หมู่บ้านสิงห์ มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก
  • ร้านอาหารในท้องถิ่น มีร้านก๋วยเตี๋ยวในหมู่บ้านจำนวน 1 ร้าน ร้านค้าร้านขายของชำ 2 ร้าน
  • เกษตรกรในท้องถิ่น มีจำนวนมากเนื่องจากส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกร ปลูกพืชผัก และทำนาทำไร่ ปลูกมันสำปะหลัง
  • พืชในท้องถิ่น มีหลากหลายชนิด เช่น ต้นกล้วย มะขาม ขนุน น้อยหน่า ส้มโอ ลำไย มะม่วง มะม่วงหาวมะนาวโห่ มะพร้าว ไผ่ มะยม ต้นจันทร์ เป็นต้น
  • สัตว์ในท้องถิ่น มีหลากหลายชนิด คือ ไก่ สุนัข โค(วัว) นก แมว เป็นต้น
  • ภูมิปัญญาในท้องถิ่น มีการทำจักสาน และทำไม้กวาดทางมะพร้าว
  • แหล่งน้ำในท้องถิ่น มีแม่น้ำไหลผ่านหมู่บ้าน ชื่อฝายห้วยน้อย ซึ่งชาวบ้านจะใช้ในการทำการเกษตรและการเพาะปลูก

ภาพประกอบการลงพื้นที่การเก็บสำรวจข้อมูล

   

          

    

วิดีโอประกอบการจัดกิจกรรมต่างๆ

 

 

อื่นๆ

เมนู