ข้าพเจ้านายรุ่งโรจน์ ราชนาคา เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน กลุ่มประชาชน ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร : การแปรรูปขนมไทย (HS03) ขอนำเสนอการปฏิบัติงาน ประจําเดือน กรกฎาคม – สิงหาคม  2564 มีดังนี้

ตอนนี้ดูเหมือนว่าสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า  หรือที่เรารู้จักกันอีกชื่อก็คือ โควิด-19 (COVID-19)  จะยังไม่หยุด ทั้งยังพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และก็กว้างขึ้นเรื่อย ๆ

ซึ่งแม้ว่าตอนนี้การแพร่ระบาด COVID-19 ในไทยจะอยู่ที่ระยะ 2 แต่ถ้าเราไม่รู้จักวิธีป้องกัน ประเทศไทยของเราก็จะเข้าสู่ระยะที่ 3 ซึ่งจะแพร่กระจายอย่างรวดเร็วมาก ๆ และเมื่อถึงตอนนั้นเราก็ยังไม่แน่ใจว่าประเทศของเราจะรับมือได้ไหวแค่ไหน

ดังนั้นก่อนทุกอย่างจะสายเกินไป เราอยากแนะนำให้เจ้าของธุรกิจและทุก ๆ คนป้องกันตัวเองกับคนรอบข้างให้ห่างไกลจากเชื้อไวรัสโคโรน่าให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ วิธีป้องกันเชื้อ COVID-19 ก็มี 12 ข้อด้วยกันดังนี้ :

 

แนวปฏิบัติในการป้องกัน COVID-19

1. ล้างมือบ่อย ๆ – ล้างมือบ่อย ๆ ถูให้สะอาดทุกซอกทุกมุม แนะนำให้ล้างด้วยน้ำสบู่ หรือถ้าเป็นเจลล้างมือก็ต้องมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์อย่างน้อย 70% วิธีนี้จะช่วยฆ่าเชื้อไวรัสที่อาจแฝงอยู่บนมือของคุณได้

2. เว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) – อยู่ให้ห่างจากคนที่จามหรือไอที่ระยะ 1-3 เมตรเพื่อความปลอดภัยสูงสุด เพราะทุกครั้งที่มีการจามหรือไอ จะมีละอองฝอยเล็ก ๆ กระจายออกมาจากจมูกหรือปาก ซึ่งอาจมีไวรัสโคโรน่าหรือไวรัสชนิดอื่น ๆ ตามมาก็ได้ ถ้าคุณอยู่ใกล้คนที่จามหรือไอมากเกินไป คุณก็จะสูดเอาฝอยละอองที่ว่านี้เข้าไป และถ้าคนที่จามหรือไอมีเชื่อ COVID-19 คุณก็จะมีโอกาสติดแน่นอน นอกจากนี้ Social Distancing ก็ยังหมายถึงการลดกิจกรรมทางสังคม หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนแน่นหนา และเลี่ยงกิจกรรมที่มีคนรวมตัวกันมาก ๆ (mass gathering) ด้วย

3. เลี่ยงการสัมผัสตา จมูก และปาก – มือที่เราหยิบจับสิ่งของอาจจะสัมผัสไวรัสโดยที่เราไม่รู้ตัว ซึ่งเมื่อไวรัสปนเปื้อนมาแล้วก็จะแพร่เชื้อผ่านตา จมูก หรือปากของเรา ทำให้ไวรัสเข้าสู่ร่างกายและคุณป่วยได้ ดังนั้นอย่าจับตา จมูก และปากโดยที่ไม่ได้ล้างมือเป็นอันขาด

4. ปิดปากและจมูกเมื่อจามหรือไอ – สอดส่องดูแลสุขอนามัยของคุณและคนใกล้ตัว ปิดปากและจมูกด้วยกระดาษทิชชู่ทุกครั้งที่จามหรือไอ จากนั้นก็ให้ทิ้งทันที เพราะฝอยลออองจากการจามหรือไอเป็นตัวแพร่เชื้อไวรัสชั้นดี ซึ่งหากคุณทำตามนี้แล้วก็จะป้องกันผู้คนรอบข้างไม่ให้ติดไข้ ติดหวัด หรือติด COVID-19 จากคุณได้

5. ถ้ามีไข้ ไอ และหายใจลำบาก ให้พบแพทย์ทันที – ถ้ารู้สึกไม่สบายให้อยู่บ้านเท่านั้น ถ้ามีไข้ ไอ และอาการหายใจลำบากให้พบแพทย์ทันที แนะนำให้โทรสอบถามทางโรงพยาบาลก่อนเพื่อขอคำแนะนำและแนวทางกางปฏิบัติตัวเพื่อปกป้องตัวคุณเองและป้องกันไม่ให้คนอื่นติดเชื้อ

6. เลี่ยงการเดินทาง  เลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง ถ้าจะให้ดีอยู่แต่บ้านจะปลอดภัยที่สุด

7. ดูแลตัวเองเมื่อออกนอกบ้าน  สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ใช้บริการรถโดยสาธารณะ ทั้งรถไฟฟ้า MRT, BTS รถเมล์ รถจักรยานยนต์ หรือแม้กระทั่งแท็กซี่กับแกรบ (Grab) พกเจลล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์อย่างไม่ต่ำกว่า 70% เพื่อทำความสะอาดมือที่สัมผัสกับราวโหนรถเมล์ ที่จับบนรถไฟฟ้า และรถบริการส่วนบุคคลต่าง ๆ

8. เลี่ยงการใกล้ชิดกับสัตว์ – ไม่ควรใกล้ชิดหรือสัมผัสสัตว์ต่าง ๆ โดยไม่มีการป้องกัน เพราะอาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อได้

9. ใส่ใจเรื่องการทานอาหาร – กินอาหารที่สุกและสะอาด ห้ามแชร์อาหาร หรือใช้ช้อนส้อม จานชาม และหลอดเดียวกัน กินอาหารจานเดียวของใครของเรา

10. รักษาสุขภาพให้ดีอยู่เสมอ – รักษาร่างกายให้แข็งแรงด้วยการทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทั้ง 5 หมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

11. พบใครไม่กักตัว โทรแจ้งสายด่วนควบคุมโรคทันที – หากเพื่อนบ้านของคุณเพิ่งกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยงแต่ไม่กักตัว 14 วัน สามารถโทรแจ้งสายด่วนควบคุมโรคได้ทันทีที่ 1422 แต่หากโทรไม่ติดให้แจ้งเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลใกล้บ้านแทน

12. ติดตามข่าวสารและให้ความรู้พนักงาน – สำหรับเจ้าของธุรกิจ ควรติดตามข่าวสารและอัพเดตข้อมูลเป็นประจำเพื่อให้ความรู้พนักงานในการดูแลและป้องกันตัวเองจาก COVID-19 อย่างถูกต้อง รวมถึงแจ้งแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจในการรับมือ COVID-19 ของร้านเพื่อลดความตื่นตระหนก

วิธีป้องกันเชื้อไวรัสโคโรน่าทั้ง 12 ข้อนี้จะช่วยลดความเสี่ยง COVID-19 ได้บางส่วนเท่านั้นหากทุกคนไม่ปฏิบัติตามและเฝ้าระวัง แล้วโอกาสที่เชื้อโควิดจะแพร่กระจายก็ยังสูงอยู่เหมือนเดิม ดังนั้นฝากให้เจ้าของธุรกิจ ผู้ประกอบการ และผู้อ่านทุกคนทำตาม 12 ข้อนี้ พร้อมกับดูแลสุขภาพตัวเองเพื่อให้ประเทศไทยของเราเข้าสู่การแพร่ระบาดในระยะที่ 3 ช้าที่สุด

” แนวทางการกักตัว “

การกักกัน

การกักตัวจะใช้เมื่อคุณอาจมีความเป็นไปได้ในการจะติดเชื้อแต่ไม่พบอาการใด ๆ

การแยกกักตัวคือผู้ป่วยมีอาการและติดเชื้อโรค

การกักตัวเพื่อเฝ้าระวัง

การกักตัวเพื่อเฝ้าระวัง คือการกักตัวในขณะที่ทำการติดตามการการติดเชื้อ แล้วคุณต้องปฏิบัติตามกฏ

คำแนะนำที่ใช้กับการกักตัวจนกระทั่งจะทราบว่าคุณจำเป็นต้องกักตัวหรือไม่

บางครั้ง บริษัทหรือองค์กรเองก็ตัดสินใจที่จะส่งบุคคลกลับบ้านหากเกิดการติดเชื้อในขณะที่ประเมินสถานการณ์แต่บางครั้งก็ทำตามคำแนะนำของทีมติดตาม ไม่ได้ออกใบรับรองกรณีขาดงานในการกักตัวเพื่อเฝ้าระวัง

กักตัวในบ้าน

สิ่งสำคัญคือต้องปฏิบัติตาม คำแนะนำในการกักตัวที่บ้าน สถานที่กักตัวจะต้องเหมาะสมกับการกักตัว และผู้ที่ถูกกักตัวจะต้องอยู่ที่นั่นตลอดเวลาที่ถูกกักตัวอย่างไรก็ตาม สามารถที่จะพักหนึ่งคืนใกล้กับเขตชายแดน ในสถานที่กักกันที่เหมาะสม ก่อนออกเดินทางไปยังสถานที่พำนักสุดท้ายหลังจากเดินทางมาถึงประเทศไม่อนุญาตให้เดินทางระหว่างที่พักหรือข้ามพื้นที่โดยไม่จำเป็นและเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องรายงานเรื่องนี้ต่อกรมการป้องกันพลเรือนต.ย. ในแชทออนไลน์ covid.is

ที่อยู่อาศัยที่ใช้ในการกักตัวจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดดังสิ่งต่อไปนี้:

ห้องเดี่ยวหรือห้องครอบครัวเดี่ยว

ห้องน้ำแยกแต่ละห้อง /ยูนิตต้องมีเตียง /ที่นอนสำหรับแต่ละคนหรือต้องนำมาด้วยตนเอง ห้องครอบครัวต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะมีระยะห่าง1 เมตร ระหว่างเตียงนอน

ครัวแยกสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับปรุงอาหาร/ รับประทานอาหาร

คนอื่น ๆไม่สามารถอยู่ในยูนิต / อพาร์ทเมนต์ / ห้องเดียวกันได้เว้นแต่จะปฏิบัติภายใต้กฎการกักตัวเดียวกัน

 ไม่อนุญาตให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น

ดังนั้นผู้ที่อยู่ในการกักตัวจำเป็นต้องได้รับ ความช่วยเหลือด้านปัจจัยต่างๆฯลฯ

หากทั้งบ้านถูกกักตัวเพื่อนหรือญาติสามารถดูแลสิ่งของเครื่องใช้และทิ้งสิ่งของเหล่านั้นไว้หน้าประตูได้แต่ไม่ควรสัมผัสโดยตรงกับบุคคลที่อยู่ในการกักตัว

หากมีบริการจัดส่งอาหารถึงบ้านและสิ่งของจำเป็นอื่นๆ ในพื้นที่ก็สามารถใช้บริการระหว่างการกักตัวได้ บุคคลที่อยู่ในการกักตัวควรระบุว่ากำลังทำการกักตัวและสินค้าควรทิ้งไว้ที่ประตูหน้า

ล่าสุด สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในไทยวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นเป็นวันละสองหมื่นราย

วันที่ 19 กรกฎาคม 2564

ส่งรายงานแผนการปฏิบัติงานประจำเดือนกรกฎาคม ชั้น 2 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

วันที่ 24 กรกฎาคม 2564

เข้าร่วมการประชุมออนไลน์ กับคณะอาจารย์ที่ดูแลเกี่ยวกับการเขียนบทความ ลงในเว็บไซต์

โดยมีการแนะนำให้กับผู้ปฏิบัติงาน ได้เขียนบทความให้ถูกต้อง ใส่ลิงค์ที่อยู่ของเว็บไซต์ และลิงก์ของ YouTube ประจำแต่ละตำบล แนะนำให้มีการเขียนใบลาสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ลืมลงเวลา ในการปฏิบัติงานในวันนั้นๆ และได้กำชับให้ผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบบทความและรูปภาพให้ถูกต้องก่อนนำเสนอ

วันที่ 31 กรกฎาคม 2564

ลงพื้นที่บริจาคสิ่งของร่วมกับคณะอาจารย์ และผู้ปฏิบัติการโดยมีผู้ปฏิบัติงานกลุ่มประชาชนนักศึกษา และกลุ่มบัณฑิตจบใหม่

ร่วมลงพื้นที่บริจาคสิ่งของ อาหารแห้ง ขนมและของใช้ที่จำเป็น ให้แก่จุดกักตัวโควิด 19 วัดโพธิ์คงคา ตำบลบ้านสิงห์

อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยสถานที่แห่งนี้ใช้เป็นที่กักตัว เฝ้าระวังดูอาการของผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง และมีแนวโน้มว่าจะติดเชื้อไวรัส covid 19 ได้ มีจำนวนผู้ที่ถูกกักตัวอยู่สถานที่แห่งนี้ 8 ราย

ในเวลาต่อมาคณะของข้าพเจ้า ได้เดินทางลงพื้นที่เพื่อบริจาคสิ่งของที่ศูนย์ประสานงานการเฝ้าระวัง covid 19

ณ วัดป่าหนองทะยิง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

โดยมีรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ และปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ เป็นผู้รับมอบ

สถานที่แห่งนี้ ใช้เป็นพื้นที่เฝ้าระวังสูงสุด โดยมีผู้ติดเชื้อแล้ว 7 ราย

วันที่ 14 สิงหาคม 2564

ประชุมออนไลน์ร่วมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้ปฏิบัติงาน ทั้ง 2 ตำบล

โดยมีตำบลบ้านสิงห์และตำบลหนองโบสถ์ เข้าร่วมประชุมออนไลน์ อาจารย์ได้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการเขียนบทความ

การจัดการทำรายงานแผนปฏิบัติงานประจำเดือน พร้อมทั้งมอบหมายงานให้กับผู้ปฏิบัติงานการจัดเก็บข้อมูลในเดือน สิงหาคม 2564

1.การจะเก็บข้อมูลที่อยู่อาศัย

1.1บัณฑิต จัดเก็บ 50 คน

1.2กลุ่มประชาชน จัดเก็บจำนวน 30 คน

1.3 นักศึกษา จัดเก็บ 20 คน

2.กลุ่มศาสนสถาน ให้ประชาชน รับผิดชอบ

3.กลุ่มโรงเรียนและตลาด ให้ทีมบัณฑิตรับผิดชอบ แบ่งการจัดเก็บ ออกเป็น 2 กลุ่ม

พร้อมกับสรุปปิดท้ายการประชุมและมีการนัดแนะการจัดส่งรายงาน การจัดสถานที่อบรม และวันที่นัดอบรม

ดังนี้

– ส่งบทความและใบรายงานผลให้ตรวจ ในวันที่ 17 สิงหาคม 2564

– ส่งใบรายงานผลฉบับจริงในวันที่ 19 หรือ 20 สิงหาคม 2564(รอฟังอาจารย์แจ้งอีกครั้ง )

– วันที่ 19 สิงหาคม 2564 จัดเตรียมสถานที่ ที่จะจัดอบรม(สถานที่แจ้งอีกครั้ง)

– วันที่ 20 สิงหาคม 2564 จัดอบรมอบรม (สถานที่แจ้งอีกครั้ง)

– อาจจะเก็บข้อมูลเพิ่ม ผ่าน PM  (แจ้งอีกครั้ง)

สรุป

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส covid-19 ทางภาครัฐและตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จึงมาตรการในการส่งเสริมรณรงค์ให้ประชาชนป้องกันและดูแลตัวเอง ในการสวมหน้ากากอนามัยและการล้างมือบ่อย ๆ การใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ อยุ่ให้ห่างกัน1-2 เมตร หลีกเลี่ยงการเดินทางโดยไม่จำ และติดตามข่าวสารจากภาครัฐอย่างสม่ำเสมอ

ในการลงพื้นที่ปฏิบัติงานในครั้งนี้ ข้าพเจ้าเองก็เกิดความวิตกกังวลเล็กน้อย

กับการลงพื้นที่ ทั้งมอบสิ่งของและออกสำรวจจัดเก็บข้อมูล เพราะในสถานการณ์ทุกวันนี้

ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด 19 เพิ่มมากขึ้นทุกวัน แทบทุกพื้นที่ ประกอบกับตัวข้าพเจ้าเองนั้น

ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดติดเชื้อไวรัสดังกล่าวนี้เลย

แต่ก็ป้องกันตนเอง ด้วยการสวมหน้ากากอนามัยฉีดพ่นแอลกอฮอล์ล้างมือ เมื่อสัมผัสกับสิ่งของต่างๆ

ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง ไม่ประมาท และพร้อมที่จะปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

อื่นๆ

เมนู