การแปรรูปเพื่อสร้างความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์ขนม
ข้าพเจ้านายรุ่งโรจน์ ราชนาคา เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน กลุ่มประชาชน ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร :การส่งเสริมและพัฒนาการทำขนม (HS03) ขอนำเสนอการปฏิบัติงาน ประจําเดือน สิงหาคม – กันยายน 2564 มีดังนี้
มาอีกแล้ว โควิดสายพันธุ์ใหม่ ‘มิว’ ใกล้ไทยขึ้นเรื่อย ๆ พบเคสแรกในญี่ปุ่นแล้ว WHO หวั่น ต้านทานวัคซีน-หลบหลีกภูมิคุ้มกันได้
องค์การอนามัยโลก (WHO) กำลังเฝ้าระวังไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่ชื่อ ‘มิว’ ซึ่งอาจเป็นการกลายพันธุ์ที่มีศักยภาพในการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากการติดเชื้อหรือการฉีดวัคซีน
WHO ได้จัดให้สายพันธุ์มิว หรือที่นักวิทยาศาสตร์รู้จักในชื่อของ B.1.621 เป็นสายพันธุ์ที่ต้องจับตามอง (Variants of interest) ในรายงานประจำสัปดาห์ที่มีการเผยแพร่เมื่อวานนี้ (1 ก.ย.)
จากการศึกษาเบื้องต้น พบว่าการกลายพันธุ์ของสายพันธุ์นี้สามารหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันจากธรรมชาติ จากวัคซีน และจากการติดเชื้อได้ดีกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม โดยจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ว่าสายพันธุ์มิวนั้นดื้อต่อวัคซีนและการรักษาในปัจจุบันหรือไม่
ล่าสุด กระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นยืนยัน 2 เคสแรกในประเทศที่ติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์มิวแล้ว
เคสแรกคือ ผู้หญิงอายุ 40 ปี ที่เดินทางมาจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. และเคสที่ 2 คือ ผู้หญิงอายุ 50 ปี ที่เดินทางมาจากสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 5 ก.ค. จากรายงานระบุว่าทั้งสองรายไม่แสดงอาการ
สายพันธุ์มิว ค้นพบครั้งแรกในประเทศโคลัมเบีย เมื่อเดือน ม.ค. และได้รับการยืนยันแล้วอย่างน้อย 39 ประเทศ แม้การแพร่ระบาดของสายพันธุ์ดังกล่าวทั่วโลกต่ำกว่า 0.1% แต่การแพร่ระบาดในโคลัมเบียและเอกวาดอร์ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบัน WHO กำลังเฝ้าระวังสายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variants of concern) อยู่ 4 สายพันธุ์ คือ
1.เดลต้า ที่ระบาดครั้งแรกในอินเดียและเป็นสายพันธุ์ที่แพร่หลายที่สุดในปัจจุบัน
2. อัลฟ่า ที่พบครั้งแรกในสหราชอาณาจักร
3.เบต้า ที่พบครั้งแรกในแอฟริกาใต้
4.แกมมา ที่พบครั้งแรกในบราซิล โดยสายพันธุ์ในกลุ่มข้างต้นถูกกำหนดให้เป็นสายพันธุ์ที่ติดต่อได้ง่าย อันตราย ดื้อต่อวัคซีนและการรักษามากกว่า
โควิดสายพันธุ์เดลต้าคืออะไรแพร่พันธุ์ได้รวดเร็วแค่ไหน
โควิดสายพันธุ์เดลต้า (Delta) มีความสามารถในการแพร่กระจายเชื้อได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์อังกฤษ อีกทั้งยังมีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์เดลต้า พลัส (Delta Plus) ที่สามารถหลบภูมิคุ้มกันได้ ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัดหรือคล้ายอาการของโควิด-19 สายพันธุ์ทั่วไป โควิดสายพันธุ์เดลต้ายังเป็นที่จับตามองต้องเฝ้าระวังมากเป็นพิเศษในประเทศไทยเนื่องจากมีแนวโน้มของยอดผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้มากยิ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว
วันที่ 19 สิงหาคม 2564
ส่งเอกสารรายงานผลการปฎิบัติงานประจำเดือน และประชุมนัดแนะการจัดอบรม การทำขนมไทยในวันที่ 20 สิงหาคม 2564 ณ บ้านสิงห์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวับุรีรัมย์
โดยในวันนั้น จะมีการถ่ายทอดลิ้งก์สัญญาณ ไปยังห้องประชุมที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
วันที่ 20 สิงหาคม 2564
การนำผลิตภัณฑ์คือขนมกล้วยทอดมันทอด ของพี่อารมณ์
นำมาพัฒนาต่อยอดใส่ซองกันชื้น ปรับปรุงซองบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสม และสวยงามเป็นที่ต้องตาต้องใจกลับกลุ่มลูกค้า
จัดอบรมทำขนมบ้าบิ่น โดยพี่มาลีเจ้าของผลิตภัณฑ์
“บ้าบิ่นมะพร้าวอ่อน” ขนมไทยสมัยโบราณ ที่ปัจจุบันใคร ๆ ก็ติดใจ เหนียวนุ่มหนึบ หวานไม่มาก คู่กับมะพร้าวอ่อนกำลังดี โอ้ย! ฟินมาก ยิ่งกินอุ่น ๆ ยิ่งชอบ หอมมะพร้าวและกะทิที่มีชื่อว่า ขนมบ้าบิ่น ซึ่งหลาย ๆ คนคิดว่าการทำขนมไทยเป็นเรื่องยากไม่จิงเลย เราจะมาสอนวิธีทำแบบง่าย ๆ กันเลยครับ
ส่วนผสม
1.แป้งข้าวเหนียว 1/2 ถ้วย
2.แป้งสาลี 1/2 ถ้วย
3.หัวกะทิ 3/4 ถ้วย
4.น้ำตาลมะพร้าว (แล้วแต่ชอบความหวาน) 1/2 ถ้วย
5.มะพร้าวอ่อนขูดเส้น 1 ถ้วย
(สีตามชอบ หรือจะเป็นสีธรรมชาติ เช่นใบเตย แครอท ฟักทอง อัญชัญ)
วิธีทำ
1.นำกะทิและน้ำตาลผสมให้เข้ากัน
2.นำไปเทใส่แป้ง คนให้เข้ากัน
3.ใส่เนื้อมะพร้าวอ่อนลงไป (พร้อมสี) คนให้เข้ากัน ที่สำคัญต้องหนืดไม่เหลว **ขั้นตอนนี้สามารถชิมรสชาติแป้งได้**
4.อุ่นกะทะให้ร้อน ตักแป้งใส่พิมพ์ตามชอบ อย่าให้หนามาก กลับทั้งสองด้าน หรือ หากไม่หนามาก ไม่ต้องกลับก็สวยไปอีกแบบ
วันที่ 24-25 สิงหาคม 2564
ลงพื้นที่ หมู่ 14 บ้านโพธิ์ทอง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์เพื่อจัดเก็บข้อมูลลงระบบ ตามที่ได้รับมอบหมายงานจากอาจารย์ประจำหลักสูตร
สรุปบทเรียนและกิจกรรมที่ได้รับจากการปฏิบัติงาน
เดือนกุมภาพันธ์
วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 เวลา 18.15น – 19.45น ทำการลงพื้นที่สำรวจ หมู่บ้านโพธิ์ทอง หมู่ 14 ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 30 ราย โดยได้จัดประชุมร่วมกับผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชน ผมได้กล่าวแนะนำตัวเอง และชี้แจงรายละเอียด ของการมาเก็บแบบสอบถามในครั้งนี้ ซึ่งได้ทำการสอบถาม ชื่อ นาม-สกุล ของผู้เข้าร่วมประชุม สอบถามเพศชายเพศหญิง อายุ การนับถือศาสนา โดยส่วนใหญ่แล้วนับถือศาสนาพุทธ รวมถึงระดับการศึกษาซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จบการศึกษา ระดับชั้นประถม สอบถามถึงจำนวนสมาชิกในครัวเรือน โดยแยกเป็นชายและหญิงมีจำนวนเท่าใด สอบถามถึงจำนวนบุตรหลานที่อยู่ด้วยกันในครัวเรือน แยกชายและหญิง สอบถามจำนวนบุตรหลานที่กำลังศึกษาอยู่ ในระดับการศึกษาภาคบังคับหรือ ม. 3 ว่ามีจำนวนเท่าใด สอบถามถึงอาชีพของผู้เข้าร่วมประชุมมีอาชีพเป็นเกษตรกร ซึ่งอาชีพหลักเป็นการทำนา ทำไร่มันสำปะหลัง และมีบางครัวเรือนมีการเลี้ยงสัตว์เช่นวัว ควาย หมู ไก่ ซึ่งสถานที่ทำงานของผู้เข้าร่วมประชุมอยู่ในพื้นที่อำเภอที่อาศัยอยู่คืออำเภอนางรอง จุดเด่นของหมู่บ้านโพธิ์ทองนี้ได้แก่การจักสาน การทำบายศรี การทำเกษตร และการทำขนม สอบถามถึงในแต่ละครัวเรือนมีกลุ่มเปราะบางหรือไม่ เช่นผู้ป่วยติดเตียงผู้คนไร้สัญชาติผู้ที่อยู่ชายแดนส่วนใหญ่แล้วจะไม่พบหรือไม่มี ในด้านวิถีการผลิตอาชีพที่ทำรายได้สูงสุดของครัวเรือนของหมู่บ้านโพธิ์ทอง
เดือนมีนาคม
ลงพื้นที่ปฏิบัติงานสำรวจเก็บข้อมูลเพิ่มเติมจากเดือนกุมภาพันธ์ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ตามแบบฟอร์ม 06 ในกลุ่มของประชาชนมีด้วยกันทั้งหมด 5 ท่าน และได้ประสานงานร่วมลงพื้นที่พร้อมกัน ในการรับผิดชอบให้สำรวจสำหรับศาสนสถานในพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ ซึ่งสถานที่ดังกล่าวมีทั้งหมด 6 แห่งได้แก่
1. วัดโพธิ์คงคา หรือวัดบ้านสิงห์
2. วัดหนองทะยิง
3. วัดบ้านหนองกง
4. สำนักสงฆ์พุทธบาทศิลาภูม่านฟ้า
5. สำนักปฏิบัติธรรมวัดตามุมเวฬวนาราม
6. ที่พักสงฆ์หนองสองห้อง
การป้องกันและการรับมือกับเหตุการณ์
– กรณีมีกิจกรรมทางศาสนา เจ้าหน้าที่วัด หรือ ผู้ที่เป็นเจ้าภาพงานต่าง ๆ จะประสานไปยัง สาธารณสุข หรือ อสม. ประจำหมู่บ้าน เพื่อตรวจคัดกรองผู้เข้าร่วมงาน ตรวจวัดอุณหภูมิ ให้การล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ ต้องสวมหน้ากากอานามัยตลอดระยะเวลา และมีการลงทะเบียนก่อนเข้าร่วมงาน และเมื่อเข้า ร่วมงาน ก็จะมีการจัดเก้าอี้ ด้ายการเว้นระยะห่าง อย่างน้อง 1-2 เมตร
– กรณีไม่มีกิจกรรมทางศาสนา ทางเจ้าหน้าที่วัด ก็ จะทำความสะอาดภายในบริเวณวัด อย่างน้อยเดือนละ 1 – 2 ครั้ง และดำเนินการตามมารตการตามกระทรวงสาธารณสุขกำหนด
– กรณีปิดวัด ดำเนินการตามมารตการตามกระทรวงสาธารณสุขกำหนด
เดือนเมษายน
พิธียกเสาเอกเสาโทศาลาเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม 2564 พิธียกเสาเอก-เสาโท ศาลาเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ โดยมีกำหนดการดังนี้
เวลา 09:00 น. พร้อมกัน ณ บริเวณประกอบพิธียกเสาเอก-เสาโท
เวลา 09.19 น. ประกอบพิธีทางศาสนา
– ประธานฝ่ายสงฆ์ พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรมย เจ้าอาวาสวัดตาไก้พลวงและเจ้าคณะตำบลหนองกง
– ประธานฝ่ายฆราวาส นางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง
– ประธานยกเสาเอก ดร.สนธยา ไกรรณภูมิ รองประธานคณะกรรมการส่งเสริมกิจกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
– ประธานยกเสาโท นายวุฒินันท์ ประสงค์ทรัพย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเย้ยปราสาท
เวลา 10:00 น. พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์และถวายภัตตาหารเพล
เวลา 12:00 น. รับประทานอาหารร่วมกัน
หลังจากเสร็จพิธี อาจารย์ประจำหลักสูตรได้ประชุมชี้แจงเกี่ยวกับการเตรียมการทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อสร้างศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง และทำการนัดหมายการประชุมสรุปผลการปฏิบัติงาน
เดือนพฤษภาคม
วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม 2564 เวลา11.00 น ร่วมประชุมออนไลน์กับคณะอาจารย์ประจำหลักสูตร และคณะเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตำบลบ้านสิงห์ ผ่านระบบ google meet
ตามแผนงานจาก สป.อว. ที่ต้องทำการสำรวจข้อมูลชุมชน เพื่อทำความเข้าใจก่อนการปฏิบัติงาน
รายละเอียดของการประชุม อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มอบหมายงานการลงพื้นทำแบบสำรวจลงระบบจัดเก็บข้อมูล U2T แก่ผู้ปฏิบัติงานตำบลบ้านสิงห์ซึ่งข้อมูลที่ต้องทำการสำรวจประกอบไปด้วย
1. ผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด
2. แหล่งท่องเที่ยว
3. ที่พัก/โรงแรม
4. ร้านอาหารในท้องถิ่น
5. อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น
6. เกษตรกรในท้องถิ่น
7. พืชในท้องถิ่น
8. สัตว์ในท้องถิ่น
9. ภูมิปัญญาท้องถิ่น
10. แหล่งน้ำในท้องถิ่น
เวลา 12.00 น ปิดการประชุมออนไลน์
วันพุธที่ 12 พฤษภาคม 2564 งานบุญผ้าป่าปาฐกถาชุมชน ยักษ์ จับ โจน ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนางรอง โดยจัดพิธีผ่านระบบออนไลน์ ดิฉันและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน U2T ได้เข้าร่วมชมการถ่ายทอดสดผ่านช่อง HUSOC-BRU Channel โดยมีกำหนดการดังนี้
เวลา 9.00 น. -พิธีเปิดงานบุญผ้าป่า-ปาฐกถาชุมชนผ่านระบบออนไลน์ โดยนายธัชกร หัตถาธยากูล ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์
เวลา 9.40 -11.00 น. ปาฐกถาพิเศษผ่านระบบออนไลน์ เรื่อง “กสิกรรมธรรมชาติบนรากฐานปรัชญาแห่งเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในยุค world Disruption” โดยดร.ยักษ์ ฯพณฯ วิวัฒน์ ศัลยกำธร ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เวลา 11.00 น. ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์
เวลา 11.30 น. พิธีทอดผ้าป่าสามัคคี ณ ศูนย์เรียนรู้บ้านโคกว่าน
เวลา 13.00 -14.15 น. บรรยายพิเศษผ่านระบบออนไลน์เรื่องกสิกรรมธรรมชาติตามศาสตร์พระราชา : ทางเลือกและทางรอดในโลกยุค Viral Disruption โดย คุณโจน จันได ผู้เชี่ยวชาญในการสร้างบ้านดิน และผู้ก่อตั้งพันพรรณ-ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเองและศูนย์เมล็ดพันธุ์
มิถุนายน 2564
วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน 2564 ข้าพเจ้าลงพื้นที่หมู่ 14 บ้านโพธิ์ทอง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อสำรวจข้อมูลเข้าระบบ U2T โดยมีหัวข้อที่ต้องสำรวจดังนี้
1. ผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์ covid 19
2. แหล่งท่องเที่ยว
3. ที่พัก/โรงแรม
4. ร้านอาหารในท้องถิ่น
5. อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น
6. เกษตรกรในท้องถิ่น
7. พืชในท้องถิ่น
8. สัตว์ในท้องถิ่น
9. ภูมิปัญญาท้องถิ่น
10. แหล่งน้ำในท้องถิ่น
วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน 2564 เวลา 09.00 น ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์
นายบรรจบ ลอยประโคน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านสิงห์พร้อมด้วย นางสาววิไลวัลย์ ต้องกระโทก นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสิงห์ คณะอาจารย์ประจำหลักสูตร ผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลบ้านสิงห์ และผู้แทนประชาชนแต่ละหมู่บ้านเข้าร่วมประชุมอบรม
รณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เพื่อรณรงค์การลงทะเบียนเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับประชาชน ให้เป็นไปตามเป้าหมาย
เดือนกรกฎาคม
วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 ได้เข้าร่วมประชุม Online ผ่าน Google meet กับอาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมงานผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลบ้านสิงห์ เพื่อชี้แจงและวางแผนในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในระบบ otou โดยผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องลงพื้นที่เก็บข้อมูลสำหรับที่พักอาศัย และแบ่งกลุ่มเก็บข้อมูลสำหรับโรงเรียน ศาสนสถาน และตลาด ตามจำนวนที่กำหนดให้ดังนี้
การเก็บข้อมูลที่อยู่อาศัย
กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ เก็บข้อมูลที่พักอาศัยจำนวน 50 หลังคาเรือน
กลุ่มประชาชน เก็บข้อมูลที่พักอาศัยจำนวน 30 หลังคาเรือน
กลุ่มนักศึกษา เก็บข้อมูลที่พักอาศัยจำนวน 20 หลังคาเรือน
การเก็บข้อมูลกลุ่มศาสนสถาน มอบหมายให้กลุ่มประชาชนเป็นผู้รับผิดชอบ
การเก็บข้อมูลกลุ่มโรงเรียนและตลาด มอบหมายให้กลุ่มบัณฑิตจบใหม่เป็นผู้รับผิดชอบ โดยมีการแบ่งกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ออกเป็น 2 กลุ่ม เพื่อเก็บข้อมูล
วันที่ 9 – 14 กรกฎาคม 2564 ได้ลงเก็บข้อมูล บ้านโพธิ์ทอง ม.14 ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เป็นการเก็บข้อมูลสำหรับที่พักอาศัย
เดือนสิงหาคม
วันที่ 14 สิงหาคม 2564
ประชุมออนไลน์ร่วมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้ปฏิบัติงาน ทั้ง 2 ตำบล
โดยมีตำบลบ้านสิงห์และตำบลหนองโบสถ์ เข้าร่วมประชุมออนไลน์ อาจารย์ได้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการเขียนบทความ
การจัดการทำรายงานแผนปฏิบัติงานประจำเดือน พร้อมทั้งมอบหมายงานให้กับผู้ปฏิบัติงานการจัดเก็บข้อมูลในเดือน สิงหาคม 2564
1.การจะเก็บข้อมูลที่อยู่อาศัย
1.1บัณฑิต จัดเก็บ 50 คน
1.2กลุ่มประชาชน จัดเก็บจำนวน 30 คน
1.3 นักศึกษา จัดเก็บ 20 คน
2.กลุ่มศาสนสถาน ให้ประชาชน รับผิดชอบ
3.กลุ่มโรงเรียนและตลาด ให้ทีมบัณฑิตรับผิดชอบ แบ่งการจัดเก็บ ออกเป็น 2 กลุ่ม
พร้อมกับสรุปปิดท้ายการประชุมและมีการนัดแนะการจัดส่งรายงาน การจัดสถานที่อบรม และวันที่นัดอบรม
กระบวนการที่ท่านนำมาใช้ในการปฏิบัติว่ามีหลักการทำงานอย่างไรจึงประสบความสำเร็จ
กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน
ถ้าเราไม่มีเป้าหมาย ก็เหมือนการเดินสเปะสะปะ ไม่ตรงทาง
เป้าหมายที่ชัดเจน จะช่วยให้คุณมุ่งสู่จุดหมายได้เร็วขึ้น และ ไม่หลงทาง
เป้าหมายที่ดี ควรมีระยะเวลากำหนดไว้ด้วย
การวางแผนงาน เป็นการลงรายละเอียดว่าจะต้องทำอะไรบ้าง
ในแต่ละวันเราต้องทำอะไรบ้าง
และเพื่อเป็นการเตือนตัวเราด้วย
ว่าเรามีงานอะไรต้องทำ
เราก็มีเทคนิคการจัดลำดับงาน
โดยเรียงตามความสำคัญ งานสำคัญ เร่งด่วน ทำก่อนอันดับแรก
ความรู้ที่ท่านได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ
1. มีความรู้ทางวิชาการด้านต่าง ๆ ที่น่าสนใจเพิ่มมากขึ้น
2. สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการเรียนไปใช้ในการประกอบอาชีพและการพัฒนาวิชาชีพของตน
3. นำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันของตนอย่างมีคุณภาพ
4. เข้าใจความเป็นอยู่ของคนในชุมชน
5. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อคนในชุมชนและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาหมู่บ้าน
ปัญหา/อุปสรรคที่ท่านพบในการปฏิบัติงาน
ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการปฏิบัติงาน
คือความไม่เข้าใจของครัวเรือนเกี่ยวกับกิจกรรมของโครงการ การมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ ยังขาดการเอาใจใส่ และถูกมองว่าโครงการต่าง ๆ ที่นำมาพัฒนาสู่ชุมชนมักจะไม่ประสบผลสำเร็จตามที่คาดหวัง
วิธีการแก้ไขปัญหาเพื่อทำให้การปฏิบัติงานลุล่วงไปได้ด้วยดี
การแก้ไขปัญหาเพื่อให้การปฏิบัติงานสำเร็จลุล่วง มีการชี้แจงรายละเอียดของโครงการต่าง ๆ ให้ประชาชนรับทราบและเข้าใจ เข้าถึงชุมชนเพื่อเผยแพร่ข่าวสารให้ดียิ่งขึ้น
ท่านคิดว่า ควรมีการเพิ่มกิจกรรมใด เพื่อทำให้การปฏิบัติงานในชุมชน เกิดการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริง
การเพิ่มกิจกรรมที่จะทำให้ประชาชนในชุมชนให้ความสนใจ จัดอบรมให้ความรู้เชิงวิชาการ และสะท้อนให้เห็นปัญหาพร้อมกับความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนในชุมชน พร้อมทั้งจัดตั้งกองทุนกู้ยืมระยะดอกเบี้ยเพื่อเป็นทุนในการประกอบอาชีพเสริม ที่จะเกิดผลอย่างยั่งยืนต่อไป