ข้าพเจ้า นางสาวทัตติยา ชุบรัมย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ HS03
เมื่อวันที่ วันที่ 20 สิงหาคม 2564 เวลา 09.00 น. อาจารย์ประจำกลุ่มได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนเข้าร่วมการอบรมกิจกรรมแปรรูป เพื่อสร้างความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์
กิจกรรมการแปรรูปขนม มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมบ้าบิ่นของพี่มาลีและขนมกล้วยฉาบชองแม่อารมณ์ จากเดิมที่เป็นอยู่ให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เช่นการแปรรูปสูตรขนมบ้าบิ่นให้มีความมันน้อยลง และจะต้องใส่บรรจุภัณฑ์แบบไหน เพื่อรักษาผลิตภัณฑ์ให้อยู่ได้นานมากยิ่งขึ้น และจะต้องทำอย่างไร เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
วันที่ 20 สิงหาคม 2564 อาจารย์ประจำกลุ่มได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนเข้าร่วมการอบรมกิจกรรมแปรรูป เพื่อสร้างความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์ โดยอาจารย์ประจำกลุ่มจะแบ่งผู้ปฏิบัติงานออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกคือกลุ่มนักศึกษาเป็นกลุ่มที่ต้องถ่ายทอดสดวีดีโอจากทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ส่งไปยังที่ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยจะถ่ายทอดสดขั้นตอนและวิธีการทำขนมบ้าบิ่น ซึ่งจะมีอาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมอาหารและแปรรูป มาสอนขั้นตอนและวีธีการทำขนมบ้าบิ่นให้กับคุณพี่มาลี ส่วนทางด้านตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ สถานที่ที่ใช้ถ่ายทอดสดเพื่อถ่ายส่งไปยังมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คือบ้านกอล์ฟเป็นหัวหน้ากลุ่มของผู้ปฏิบัติงาน และในทางส่วนนี้จะมีอาจารย์ประจำกลุ่มคอยดูแล ผู้ปฏิบัติงานกลุ่มบัณฑิตและกลุ่มประชาชน ซึ่งได้รับมอบหมายให้มาประจำที่ บ้านกอล์ฟ ซึ่งจะต้องมาช่วยพี่มาลีและแม่อารมณ์แปรรูปขนม และในการถ่ายทดสดครั้งนี้เราจะมาทำการแปรรูปขนมบ้าบิ่น โดยมีส่วนผสมที่ต้องใช้ดังนี้
- กะทิ
- น้ำตาลมะพร้าว
- แป้งข้าวเหนียว
- แป้งท้าวยายม่อม
- มะพร้าวทึนทึกขูด
- น้ำมัน (ใช้ทากระทะ)
วิธีทำ
- ผสมน้ำกะทิ น้ำตาลมะพร้าว คนจนน้ำตาลละลาย
- ใส่แป้งข้าวเหนียวและแป้งท้าวยายม่อม คนให้เข้ากันอีกครั้ง เสร็จแล้วก็ใส่มะพร้าวขูดลงไปแล้วคลุกให้เข้ากัน
- เตรียมกระทะเชฟล่อนใส่น้ำมันลงไป ไม่ต้องเยอะมาก เปิดไฟกลาง เมื่อกระทะร้อนดีแล้ว ตักขนมแล้วหยอดลงไปขนานชิ้นพอดีคำ
- ทำให้สุกทั้งสองด้าน เสร็จแล้วก็นำขึ้นมาใส่จาน
ผลิตภัณฑ์ที่เรานำมาแปรรูป มีอยู่ 2 อย่าง ได้แก่ ขนมบ้าบิ่นของพี่มาลีและขนมกล้วยฉาบของแม่อารมณ์ สำหรับการแปรรูปของขนมบ้าบิ่น คือ จากสูตรเดิมคือใช้กระทะธรรมดาในการทอดและใช้น้ำมันเยอะ เพื่อไม่ให้มันติดกระทะ สิ่งที่เปลี่ยนก็คือ เปลี่ยนมาใช้กระทะเชฟล่อนในการทอด และลดปริมาณน้ำมันลง เพื่อไม่ให้ขนมมันจนเกินไปและเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคด้วย และเปลี่ยนมาใส่บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับขนมบ้าบิ่น และสำหรับขนมกล้วยฉาบของแม่อารมณ์ รสชาติดีอยู่และ เราก็จะเปลี่ยนแค่บรรจุภัณฑ์ จากเดิมใส่ถุงพลาสติก และมัดปาดถุงด้วยยาง เราเปลี่ยนมาใช้ถุงซิปล็อค ถุงซิปล็อค มีข้อดีคือ ช่วยป้องกันอากาศ ความชื้น ฝุ่นละออง ทำให้สินค้าด้านในถุงคงความสด กรอบ อร่อย ยืดอายุของสินค้าได้ยาวนานขึ้น ซึ่งเราสามารถอัดไนโตรเจนลงไปในถุงซิปล็อคและปิดซิปล็อค และซีลเหนือซิปล็อคได้อีกด้วย ซึ่งการอัดไนโตรเจนนี้ยิ่งทำให้สินค้ามีอายุนานขึ้น นอกจากนั้นการเลือกใช้ถุงซิปเป็นแพคเกจจิ้งยังทำให้สินค้าดูดี มีมาตรฐาน ขึ้นห้างได้ วางโชว์ตามร้านได้ ดูดี น่าซื้อและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าอีกด้วย
จากการแปรรูปและการพัฒนาขนมบ้าบิ่นและขนมกล้วยฉาบ ทำให้เราได้เรียนรู้ว่า ขนมบ้าบิ่นสามารถลดน้ำมันในการทอดให้น้อยลงได้ รสชาติขนมจะยังคงอร่อยไม่เปลี่ยนและสามารถ และสามารถเก็บไว้ได้นานกว่าขนมบ้าบิ่นที่มีความมันมาก ๆ สำหรับขนมกล้วยฉาบ ก็ไก้พัฒนาบรรจุภัณฑ์จากเดิมที่ใส่ถุงพลาสติก และใช้ยางรัดปากถุงไว้ ก็เปลี่ยนมาใช้ถุงที่มีซิปล็อค เพื่อกันอากาศไม่ให้เข้า ทำให้ขนมมีความกรอบ อร่อย และเพื่อเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ได้อีกด้วย
กิจกรรมที่ได้ทำตั้งแต่เริ่ม จนถึงปัจจุบันว่ามีอะไรบ้าง
– เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 ได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลแบบสอบถาม 01 แบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคลครัวเรือนและชุมชน ณ หมู่บ้านโคกไม้แดง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 35 หลังครัวเรือน
– เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2564 ได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลแบบสอบถาม 01 แบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคลครัวเรือนและชุมชน จำนวน 35 หลังครัวเรือน แบบสอบถาม 02 แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด -19 จำนวน 100 คน และแบบสอบถาม 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ จำนวน 35 หลังครัวเรือน ณ หมู่บ้านโคกไม้แดง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
– เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มีการนัดหมายผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ตำบลบ้านสิงห์และหนองโบสถ์ เข้าร่วมพิธียกเสาร์เอก เสาโท ณ ศาลาเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
– เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้ขอนัดหมายประชุมผ่าน google meet เพื่อพูดคุยวางแผนการทำงานในเดือนเมษายน
– เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตร ได้มีการนัดหมายผู้ปฏิบัติงาน
เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป จะมีการจัดอบรมการค้นหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์พื้นฐาน ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ ซึ่งได้มีการมอบหมายให้ปฏิบัติงานดังนี้
1.ให้สมาชิกที่รับผิดชอบในแต่ละหมู่บ้าน เรียนเชิญสมาชิกในหมู่บ้านที่สำรวจที่มีการแปรรูปขนม เช่น กล้วยฉาบ กล้วยอบเนย หรือขนมชนิดอื่นมาหมู่บ้านละ 3 คน ยกเว้นบ้านหนองขามเรียนเชิญมาทั้งกลุ่ม
2.ให้สมาชิกที่มานำผลิตภัณฑ์ตัวอย่างที่กำลังดำเนินงานมาด้วย อย่างมากกลุ่มละไม่เกิน 200 บาท ทางโครงการจะจ่ายค่าผลิตภัณฑ์ในวันที่อบรม
3.กลุ่มบัณฑิตและประชาชน รบกวนประสานกับพี่เย็น พัฒนาชุมชนของ อบต.และไปดำเนินการจัดสถานที่ ในวันที่ 7 เมษายน รบกวนประสานพี่เย็นให้เรียบร้อย
4.ขอให้ทีมนักศึกษาลงทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการให้เรียบร้อย
5.มอบหมายทีม admin ดำเนินการถ่ายภาพและอัดวีดิโอในการอบรมครั้งนี้
6.ขอให้ทุกคนพร้อมกัน เวลา 8.30 น.เพื่อเตรียมความพร้อม
7.มอบหมายให้ทีมบัณฑิตช่วยเสิร์ฟอาหารว่างและดูแลอาหารกลางวัน
8.แต่งกายให้เรียบร้อย พร้อมปฏิบัติงาน
– เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 ข้าพเจ้าได้ลงไปสำรวจพื้นที่ หมู่ 4 หมู่บ้านโคกไม้แดง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด- 19 ว่ามีย้ายกลับมากี่คน มีแหล่งท่องเที่ยวในหมู่บ้านจำนวนกี่แห่ง มีโรงแรม/ที่พักหรือไม่ มีเกษตรกรในท้องถิ่นจำนวนเท่าไหร่ พืชในท้องถิ่นมีมากน้อยเพียงใด สัตว์ในท้องถิ่นมีกี่ชนิด ภูมิปัญญาในท้องถิ่นที่มีคืออะไร และแหล่งน้ำในท้องถิ่นมีกี่แห่ง
– เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 ได้เข้าร่วมรับชมการถ่ายทอดสดบุญผ้าป่าปาฐกถาชุมชน ออนไลน์ “ยักษ์จับโจน” ผ่านช่องทาง youtube
– เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2564 อาจารย์ประจำกลุ่มได้นัดหมายผู้ปฏิบัติงานเฉพาะกลุ่มบัณฑิตและกลุ่มประชาชนของตำบลบ้านสิงห์ ไปพร้อมกันที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ เป็นการอบรมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และให้ผู้ปฏิบัติงานประสานงานกับกลุ่มขนมที่เกี่ยวข้อง เช่น กลุ่มขนมกล้วยฉาบ บ้าบิ่น ทองม้วน รวมทั้งขนมใส่ไส้ โดยให้ผู้ที่ทำขนม นำตัวอย่างขนมมาพร้อมกับโลโก้ที่มี โดยมีงบสนับสนุนกลุ่มละ 200 บาท และ 1 กลุ่ม สามารถมาได้ไม่เกินกลุ่มละ 2 คน โดยกลุ่มนักศึกษาจะประชุมผ่าน live ในช่องทาง line ในการอบรม อาจารย์ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับ การออกแบบโลโก้และการออกแบบบรรจุภัณฑ์
– เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2564 อาจารย์ประจำกลุ่มได้มีการนัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนไปถ่ายทำวีดีโอเกี่ยวกับมาตรการป้องกันโควิด -19 และการฉีดวัคซีน Sinovac ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบลบ้านสิงห์ ซึ่งมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ท่านปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล และผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบลบ้านสิงห์ เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ในวีดีโอ และมีกิจกรรมหลังหลังจากถ่ายวีดีโอเสร็จ ให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคน ได้ช่วยกันทำความสะอาดในบริเวณโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบลบ้านสิงห์
– เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2564 อาจารย์ประจำกลุ่มนัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนให้ไปเข้าร่วมโครงการรวมใจต้นไม้ปลูกธรรมะวิสาขบูชา 2564 ที่โรงเรียนบ้านหนองยายพิมพ์ ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยให้ผู้ปฏิบัติงานไปพร้อมกันที่โรงเรียนบ้านหนองยายพิมพ์
– เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2564 อาจารย์ประจำกลุ่มได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานไปกรอกสเปรย์แอลกอฮอล์ที่อาคาร 25 ชั้น 1 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ และดิฉันเป็นหนึ่งในผู้ปฏิบัติงานที่ไปกรอกสเปรย์แอลกอฮอล์ เพื่อที่จะเอาสเปรย์ไปแจกชาวบ้านภายในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
– เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2564 อาจารย์ประจำกลุ่มได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคน เข้าร่วมการอบรมการรณรงค์การฉีดวัคซีน โดยมีการอบรมที่ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ โดยมีเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบลบ้านสิงห์ มาอบรม จากนั้นจะแจกสเปรย์แอลกอฮอล์ในพื้นที่ทั้ง 14 หมู่บ้าน และให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนที่รับผิดชอบประจำหมู่บ้านแต่ละหมุ่บ้านช่วยประสานให้ตัวแทนหมู่บ้านมารับสเปรย์แอลกอฮอล์ไปแจกประชาชนในหมู่บ้าน
– เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2564 ได้ลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลแบบสอบถาม 06 แบบสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ จำนวน 50 หลังครัวเรือน ในพื้นที่หมู่ 4 หมู่บ้านโคกไม้แดง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
– เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2564 อาจารย์ประจำกลุ่มได้มีการนัดหมายการประชุมเพื่อชี้แจง การจัดเก็บข้อมูลในระบบ otou ผ่านทาง google meet และในการประชุมครั้งนี้ อาจารย์ได้พูดเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลในระบบ otou และได้มีการแบ่งงานดังนี้
การจัดเก็บข้อมูลในเดือน มิถุนายน (ย้อนหลัง) และ เดือน กรกฎาคม 2564
1.การจัดเก็บข้อมูลการสำรวจสำหรับที่อยู่อาศัย
1.1 กลุ่มบัณฑิตจัดเก็บข้อมูลคนละ 50 หลังครัวเรือน และเก็บของเดือน มิถุนายน (ย้อนหลัง) ในจำนวนที่เท่ากัน
1.2 กลุ่มประชาชนจัดเก็บข้อมูลคนละ 30 หลังครัวเรือน และเก็บของเดือน มิถุนายน (ย้อนหลัง) ในจำนวนที่เท่ากัน
1.3 กลุ่มนักศึกษาจัดเก็บข้อมูลคนละ 20 หลังครัวเรือน และเก็บของเดือน มิถุนายน (ย้อนหลัง) ในจำนวนที่เท่ากัน
2.การจัดเก็บข้อมูลการสำรวจสำหรับศาสนสถาน ให้กลุ่มประชาชนเป็นกลุ่มที่รับผิดชอบ
3.การจัดเก็บข้อมูลการสำรวจสำหรับโรงเรียนและตลาด ให้กลุ่มบัณฑิตเป็นกลุ่มที่รับผิดชอบ โดยการแบ่งการจัดเก็บออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 สำหรับการสำรวจโรงเรียน และ กลุ่มที่ 2 สำหรับการสำรวจตลาด
– เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2564 ดิฉันได้ออกไปสำรวจการเก็บข้อมูลสำหรับที่อยู่อาศัย และข้อมูลในแบบสำรวจประกอบไปด้วยคำถามที่คลอบคลุมเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด -19 เพื่อที่เราจะได้ประเมินได้ว่า ชาวบ้านในหมู่บ้านโคกไม้แดง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ดูแลสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัวเป็นอย่างไร มีความเสี่ยงในการที่จะติดเชื้อหรือไม่
– เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 เวลา 09.00 น. ดิฉันได้ออกไปสำรวจการเก็บข้อมูลสำหรับโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีทั้งหมด 3 โรงเรียนด้วยกัน ได้แก่ โรงเรียนบ้านหนองกง โรงเรียนสิงหวิทยาคม และโรงเรียนบ้านสิงห์ (ราษฎร์อนุสรณ์) ซึ่งดิฉันและเพื่อน ๆ กลุ่มบัณฑิตอีก 3 คน ก็ได้มีการตกลงกันว่าให้รับผิดชอบคนละ 1 โรงเรียน เพื่อที่จะได้รวดเร็วในการสำรวจเก็บข้อมูล ซึ่งดิฉันได้รับผิดชอบในการสำรวจเก็บข้อมูลของโรงเรียนบ้านสิงห์ (ราษฎร์อนุสรณ์)
– เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 อาจารย์ประจำกลุ่มได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนไปบริจาคของในนาม U2t ให้ศูนย์กักกันที่วัดบ้านสิงห์ และวัดบ้านหนองทะยิง ของที่นำไปบริจาคก็จะเป็นของที่จำเป็นต่อผู้ที่กักกันและบุคลากรที่เฝ้าดูแล เช่น มาม่า ปลากระป๋อง นมเปรี้ยว ขนม น้ำเปล่า เป็นต้น
– เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2564 เวลา 19.30 น. อาจารย์ประจำกลุ่มได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคน ประชุมออนไลน์ผ่านทาง google meet เพื่อพูดถึงเกี่ยวกับการปฎิบัติงานในเดือนสิงหาคม และเมื่อถึงเวลานัดหมาย อาจารย์ประจำกลุ่มก็ได้พูดถึงเกี่ยวกับงานที่จะต้องปฏิบัติในเดือนสิงหาคม ดังนี้ ให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนลงพื้นที่เก็บข้อมูลในระบบ U2t โดย
1.การจัดเก็บข้อมูลสำหรับที่อยู่อาศัย
1.1 กลุ่มบัณฑิต จัดเก็บข้อมูล จำนวน 50 คน
1.2 กลุ่มประชาชน จัดเก็บข้อมูล จำนวน 30 คน
1.3 กลุ่มนักศึกษา จัดเก็บข้อมูล จำนวน 20 คน
2.การจัดเก็บข้อมูลสำหรับศาสนสถาน ให้กลุ่มประชาชนเป็นกลุ่มที่รับผิดชอบ
3.การจัดเก็บข้อมูลสำหรับโรงเรียนและตลาด ให้กลุ่มบัณฑิตเป็นกลุ่มที่รับผิดชอบ โดยแบ่งการจัดเก็บออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.ตลาด 2.โรงเรียน โดยในการจัดเก็บข้อมูลอาจารย์ประจำกลุ่มจะส่งบาร์โค้ดของแต่ละเดือนให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้สแกนเก็บข้อมูลได้ง่ายขึ้น และบาร์โค้ดสำรวจข้อมูลที่อาจารย์ส่งให้ผู้ปฏิบัติงานจะมีทั้งหมด 4 โค้ด ประกอบไปด้วยบาร์โค้ดสำหรับสำรวจโรงเรียน สำหรับสำรวจศาสนสถาน สำหรับสำรวจที่พักอาศัย และ สำหรับสำรวจตลาด
– เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2564 ดิฉันได้ออกไปสำรวจการเก็บข้อมูลสำหรับที่อยู่อาศัยของหมู่บ้านโคกไม้แดง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นจำนวน 50 คน และข้อมูลในแบบสำรวจประกอบไปด้วยคำถามที่คลอบคลุมเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด -19 และข้อมูลในการประเมิน
– เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2564 เวลา 09.00 น. ดิฉันได้ออกไปสำรวจการเก็บข้อมูลสำหรับโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีทั้งหมด 3 โรงเรียนด้วยกัน ได้แก่ โรงเรียนบ้านหนองกง โรงเรียนสิงหวิทยาคม และโรงเรียนบ้านสิงห์ (ราษฎร์อนุสรณ์) ซึ่งดิฉันได้รับผิดชอบในการสำรวจเก็บข้อมูลของโรงเรียนบ้านสิงห์ (ราษฎร์อนุสรณ์)
– เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2564 อาจารย์ประจำกลุ่มได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนเข้าร่วมการอบรมกิจกรรมแปรรูป เพื่อสร้างความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์
กระบวนการที่ท่านนำมาใช้ในการปฏิบัติว่ามีหลักการทำงานอย่างไรจึงประสบความสำเร็จ
1) การวิเคราะห์งาน ข้าพเจ้าจะต้องศึกษารายละเอียดของงานที่จะทำว่ามีลักษณะอย่างไร มีรายละเอียดปลีกย่อยอะไรบ้าง เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการกำหนดวัตถุประสงค์ พร้อมกับกำหนดวิธีการทำในขั้นการวางแผนในการทำงาน
2) การวางแผนในการทำงาน ข้าพเจ้าวางแผนการทำงาน เพื่อกำหนดแนวทางในการปฏิบัติงานไว้ล่วงหน้าว่าจะทำอะไร ทำเมื่อไร ทำวิธีใด ใครเป็นผู้ทำ กำหนดระยะเวลาในการทำงานเสร็จเมื่อใด แล้วจึงกำหนดภาระงานหรือหน้าที่ความรับผิดชอบของข้าพเจ้า ได้แก่ รายการงานที่ต้องปฏิบัติ เวลาปฏิบัติงาน และผู้รับผิดชอบ
3) การปฏิบัติงาน เมื่อข้าพเจ้าได้รับมอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบแล้วให้ลงมือปฏิบัติงานจริงตามแผนที่วางไว้
4) การประเมินผลการทำงาน หลังจากข้าพเจ้าปฏิบัติงานเสร็จแล้ว ก็ได้ตรวจสอบผลการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ ผลงานมีข้อดีหรือข้อบกพร่องอย่างไร และควรปรับปรุงผลงานส่วนใดบ้าง ถ้าพบข้อบกพร่องในส่วนใดจะต้องหาวิธีการปรับปรุงแก้ไขทันที
ความรู้ที่ท่านได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
1.ความรู้ที่ได้จากกิจกรรมการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล
– ทำให้รู้ข้อมูลต่างๆของหมู่บ้าน เช่น ข้อมูลด้านปกครอง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษาและวัฒนธรรม
– ทำให้สามารถรู้ปัญหาของหมู่บ้านและวิธีการแก้ไขปัญหา
– ทำให้เราสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อคนในชุมชน
– เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาหมู่บ้าน
2.ความรู้ที่ได้จากกิจกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์
– ทำให้ได้รู้ถึงวิธีการทำขนมบ้าบิ่นว่ามีวิธีการทำอย่าไรและมีส่วนผสมอะไรบ้างในการทำ
– ทำให้ได้รู้ว่าขนมกล้วยฉาบสามารถใส่บรรจุภัณฑ์ต่างๆได้ตามความเหมาะสม
– ทำให้ได้รู้ว่า โลโก้ แบบไหนที่เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
– ทำให้ได้รู้ว่าบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์มีหลายรูปแบบ
3.ความรู้ที่ได้จากการทำงานเป็นทีม
– ทำให้ได้รู้ว่า การทำงานเป็นทีมสามารถช่วยให้การทำงานบรรลุเป้าหมายไปได้ด้วยดี
– ทำให้ได้รู้ว่าการทำงานเป็นทีมช่วยสร้างพลังในการทำงาน
– ทำให้ได้รู้ว่า การทำงานเป็นทีมจะช่วยให้ผลออกมาดี
ปัญหา/อุปสรรค ที่ท่านพบในการปฏิบัติงาน
- ขาดความพร้อมในการทำงาน ยังทำตัวเป็นเด็กๆ ทำงานแบบเด็ก ๆ ไม่มีความรับผิดชอบมากพอ
- ไม่ชำนาญในงานที่ทำ เนื่องจากเพิ่งเรียนจบ และงานที่ได้รับมักเป็นสิ่งที่แปลกใหม่ ไม่เคยทำ ไม่เคยเรียนมาก่อน เรื่องความชำนาญจึงเป็นอุปสรรคอย่าง
- ขาดกำลังใจ เวลาที่เจอกับงานยาก บางครั้งเราอาจรู้สึกท้อแท้และหมดกำลังใจ จนคิดว่าเราไม่มีความสามารถ เราไม่อาจทำมันให้สำเร็จได้อย่างที่อาจารย์ประจำกลุ่มต้องการ
4.ขาดมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี เราขาดมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น ไม่ว่าจะด้วยความขี้อาย พูดน้อย หรือมั่นใจในตัวเองมากจนไม่สนใจผู้อื่น คิดว่าตนเองสามารถอยู่คนเดียว ทำงานคนเดียวได้ จึงทำตัวไม่น่ารัก ไม่น่าเอ็นดู และในที่สุดก็จะถูกโดดเดี่ยวจากเพื่อนร่วมงาน
วิธีการแก้ไขปัญหา เพื่อทำให้การปฏิบัติงานลุล่วงไปด้วยดี
1.มีความพร้อมในการทำงาน เมื่อเราก้าวเข้าสู่โลกของการทำงาน เราควรบอกตัวเองว่าตอนนี้คุณคือผู้ใหญ่แล้ว เราไม่ใช่เด็กอีกต่อไป เราจะต้องรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่
-
2.
- ควรมีความชำนาญในงานที่ทำ เมื่อเรียนรู้มันสักระยะหนึ่ง เราจะชินกับมัน และสามารถทำงานได้อย่างสบายใจขึ้น
- ต้องมีกำลังใจ เราควรจะเติมความมั่นใจให้ตัวเองให้เต็ม และหมั่นเติมอยู่เรื่อยๆ อย่าปล่อยให้ความรู้สึกขาดกำลังใจมาบั่นทอนเรา
3.
4.มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี เราควรที่รู้จักเข้าหาผู้อื่น ต้องมีนิสัยร่าเริง หัดเข้าหาผู้อื่นบ้าง เมื่อต้องการความช่วยเหลือใด ๆ ก็จะมีแต่คนยินดีให้ความช่วยเหลือ
ท่านคิดว่าควรมีการเพิ่มกิจกรรมใด เพื่อทำให้การปฏิบัติงานในชุมชนเกิดการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริง
ใช้ของดีในชุมชนสร้างเป็นรายได้ เชื่อว่าทุกชุมชน ทุกหมู่บ้านจะต้องมีของดีเป็นของตัวเองอยู่แล้ว การเลือกนำเอาของดีดังกล่าวมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น นำมาแปรรูป นำมาดัดแปลงเป็นงานฝีมือ และอื่น ๆ โดยให้ชาวบ้านในชุมชนร่วมแรงร่วมใจกันทำพร้อมแบ่งรายได้อย่างเท่าเทียมเพียงแค่นี้ก็สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนบ้านเกิดแบบง่าย ๆ โดยไม่ต้องออกไปไหนด้วยซ้ำ