ข้าพเจ้า นางสาวเจนจิรา จันทร์นพคุณ กลุ่มประชาชน

หลักสูตร : ส่งเสริมอาชีพและพัฒนาขนม HS03  ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ประจำเดือน : ตุลาคม

ตามที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่องของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย มีการการพบผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่จะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น แต่ทางผู้ปฏิบัติงานยังคงต้องดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายจาก กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และดำเนินงานตามแผนที่ทาง อาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมงานผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลบ้านสิงห์ ต่อไปเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การดำเนินงานจึงต้องเป็นไปในรูปแบบของการเฝ้าระวัง ป้องกัน และเว้นระยะห่างจากสังคม ตามสถานการณ์และมาตรการการเฝ้าระวังโรคระบาดของจังหวัด

       

เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2564 ได้เข้าร่วมประชุม Online ผ่าน Google meet กับอาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมงานผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลบ้านสิงห์ เพื่อแนะนำผู้ร่วมงานคนใหม่ ชี้แจงและแนะนำในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในระบบ otou โดยผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องลงพื้นที่เก็บข้อมูลสำหรับที่พักอาศัย และแบ่งกลุ่มเก็บข้อมูลสำหรับโรงเรียน ศาสนสถาน และตลาด ตามจำนวนที่กำหนดให้ดังนี้

การเก็บข้อมูลที่อยู่อาศัย

  • กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ เก็บข้อมูลที่พักอาศัยจำนวน 50 หลังคาเรือน
  • กลุ่มประชาชน เก็บข้อมูลที่พักอาศัยจำนวน 30 หลังคาเรือน
  • กลุ่มนักศึกษา เก็บข้อมูลที่พักอาศัยจำนวน 20 หลังคาเรือน

การเก็บข้อมูลกลุ่มศาสนสถาน มอบหมายให้กลุ่มประชาชนเป็นผู้รับผิดชอบ

การเก็บข้อมูลกลุ่มโรงเรียนและตลาด มอบหมายให้กลุ่มบัณฑิตจบใหม่เป็นผู้รับผิดชอบ

         

เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564 ได้เข้าร่วมประชุม Online ผ่าน Google meet กับอาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมงานผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลบ้านสิงห์ เพื่อวางแผนการจัดกิจกรรมการอบรมการจัดทำอุปกรณ์ป้องทำกันตนเองมีการสาธิตการน้ำมันเหลือง ยาหม่อง สเปร์ยสมุนไพรป้องกันยุง โดยแบ่งให้นักศึกษารับผิดชอบในการเตรียมสาร สมุนไพรต่าง ๆ  ส่วนบัณฑิตจบใหม่จัดเตรียมสถานที่ในการจัดกิจกรรมการอบรม และการชี้แจงรายละเอียดการเก็บข้อมูลแบบสอบถาม U2T-SORI (Social Return On Investment) ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลการประเมินศักยภาพและผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้

  • ตำบลเป้าหมาย
  • ลูกจ้างโครงการ
  • ครอบครัวลูกจ้าง
  • ชุมชนภายใน
  • ชุมชนภายนอก
  • อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ
  • เจ้าหน้าที่โครงการ (USI)
  • ผู้แทนตําบล
  • หน่วยงานภาครัฐ
  • อปท.
  • เอกชนในพื้นที่

โดยข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้สัมภาษณ์และกรอกข้อมูลผ่านระบบ ในหัวข้อ ลูกจ้างโครงการ กลุ่มเป้าหมาย ประชาชน โดยแบบสอบถามนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของการดำเนินกิจกรรม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (U2T) โดยในการปฏิบัติหน้าที่ลูกจ้างโรงการครั้งนี้ ท่านได้รับประโยชน์/การเปลียนแปลงระดับใด ข้าพเจ้าได้สัมภาษณ์ข้อมูลจาก นายรุ่งโรจน์ ราชนาคา ผู้ปฏิบัติงาน กลุ่มประชาชน ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

           

เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้า อาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมงานผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลบ้านสิงห์ ได้เข้าร่วมอบรมการจัดทำอุปกรณ์ป้องกันตนเองจากสมุนไพร ณ ศาลาประชาคมบ้านหนองบัวลาย มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมการอบรม ได้แก่ ตัวแทนแต่ละหมู่บ้านจำนวน 2 คน กลุ่มนักศึกษา บัณฑิตจบใหม่และประชาชน โดยมีวิทยากรที่บรรยายการอบรม คือ ดร.สุกัญญา ทองขัน และดร.สุภาวรัตน์ ทัพสุริย์ อาจารย์จากสาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งในการอบรมครั้งนี้จะเป็นการสาธิตการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร เช่น สเปรย์กันยุงสมุนไพร น้ำมันเหลือง และยาหม่องไพล

       

         

น้ำมันเหลือง

การเตรียมน้ำมันไพล

ส่วนประกอบ  1. ไพล 200 กรัม  2. ขมิ้น 50 กรัม  3. น้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์ม 100 กรัม

วิธีทำ : นำไพลและขมิ้นที่แก่จัดมาปอกเปลือกไพลและขมิ้นหั่นเป็นชิ้นบาง (คล้ายกับการทำกล้วยฉาบ) จากนั้นนำไปทอดในน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์มโดยใช้ไฟกลางจนกระทั่งไพลและขมิ้นกรอบเหลือง (ระวังอย่าให้ไหม้) กรองเอาน้ำมันจะได้น้ำมันไพล (จะได้น้ำมันไพลประมาณ 70 – 80 มิลลิลิตร)

ส่วนประกอบของน้ำมันเหลือง 1. เมนทอล 120 กรัม  2. การบูร 80 กรัม  3. พิมเสน 40 กรัม  4. น้ำมันไพล 200 กรัม

วิธีทำ : ผสมเมนทอล การบูร และพิมเสน ลงในบีกเกอร์ ใช้ไม้พายคนให้ละลาย (ถ้าละลายไม่หมดสามารถเพิ่มเมนทอลลงไปทีละน้อย) แล้วจึงเติมน้ำมันไพล คนให้ส่วนผสมทุกอย่างละลายและเข้ากัน เมื่อส่วนผสมทุกอย่างเข้ากันหมดแล้วให้เทลงขวดบรรจุเพื่อนำไปใช้งาน

ยาหม่องไพล

ส่วนประกอบ 1. วาสลิน 120 กรัม  2. พาราฟิน 80 กรัม  3. น้ำมันไพล 60 กรัม  4. พิมเสน 20 กรัม  5. เมนทอล 20 กรัม

6. การบูร 20 กรัม  7. น้ำมันยูคาลิปตัส 30 มิลลิลิตร  8. น้ำมันระกำ 100 มิลลิลิตร

วิธีทำ : 1. ชั่งพาราฟินและวาสลินลงภาชนะ แล้วนำมาให้ความร้อนจะสังเกตเห็นว่าพาราฟินและวาสลินจะเริ่มละลาย (ใส)  2. ผสมเมนทอล การบูร พิมเสน น้ำมันระกำ น้ำมันยูคาลิปตัส และน้ำมันสมุนไพร คนจนละลายเป็นเนื้อเดียวกัน 3. เมื่อพาราฟินและวาสลินใสจนเป็นเนื้อเดียวกันให้เติมของผสมระหว่างเมนทอล การบูรพิมเสน น้ำมันระกำ และน้ำมันยูคาลิปตัส จากข้อ 2. แล้วคนให้เป็นเนื้อเดียวกัน 4. เทสารละลายที่ได้ใส่ภาชนะที่บรรจุยาหม่องตั้งทิ้งไว้จนยาหม่องแข็งตัว

หมายเหตุ

  • ไม่ควรใช้ความร้อนที่สูงเกินไป จะทำให้กลิ่นระเหยหมดและอาจทำให้เกิดไฟลุกไหม้ได้
  • การให้ความร้อนที่มีเปลวไฟ ให้ทำการตุ๋นในน้ำร้อนเพื่อป้องกันการเกิดไฟลุกไหม้
  • สามารถปรับเพิ่มได้ตามอัตราส่วน เมื่อต้องการยาหม่องในปริมาณที่มากขึ้น

สเปรย์กันยุง

ส่วนประกอบ 1. เอทิลแอลกอฮอล์  2. ตะไคร้หอมหั่นฝอย  3. ผิวมะกรูด 50 กรัม  4. การบูร 50 กรัม

วิธีทำ : 1. นำตะไคร้หอมและเปือกมะกรูดหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำมาห่อด้วยผ้าขาวบาง 2. แช่มะกรูดและตะไคร้ในเอทิลแอลกอฮอล์ เติมการบูร 50 กรัม ปิดฝาหมักทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ (เขย่าทุกวัน)

หมายเหตุ การทำสเปรย์กันยุงนั้นต้องใช้เวลาในการหมัก 1 สัปดาห์ ทางวิทยากรจึงอธิบายวิธีการทำและส่วนประกอบที่ต้องใช้และนำส่วนที่ทางวิทยากรจัดทำไว้แล้ว มาให้ชาวบ้านและผู้ปฏิบัติงานบรรจุลงขวด

จากการปฏิบัติงานในเดือนนี้ ทางทีมผู้ปฏิบัติงานยังคงมีการดำเนินงานต่อเนื่องตามแผน การส่งเสริมอาชีพและพัฒนาขนมไทย และปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จลุล่วงและดียิ่งขึ้น ตามรูปแบบมาตรการการเฝ้าระวังสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ 

 

อื่นๆ

เมนู