ข้าพเจ้านางสาว เจตจิรา แก้วพลงาม ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาลัย 1 ตำบล
(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
การประชุมออนไลน์มอบหมายแผนงานในเดือนตุลาคม
วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2564 เวลา 10.00 นาฬิกา ได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ผ่าน Google meet โดยได้แนะนำผู้ปฏิบัติการใหม่ให้อบรมการพัฒนาทักษะผ่านระบบ e-Learning 4 ด้านและมีการแจ้งรายละเอียดให้ผู้ปฏิบัติงานสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินตนเองและบุคคลในครอบครัว เช่น การสังเกตอาการ และการดูแลสุขอนามัยตนเองและบุคคลในครอบครัวในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นต้น รวมทั้งการสำรวจสถานที่คือพักอาศัย ศาสนสถาน โรงเรียนและตลาด โดยได้มอบหมายงานให้ผู้ปฏิบัติงานรับผิดชอบดังนี้
- การจัดเก็บข้อมูลที่พักอาศัย
– กลุ่มบัณฑิตจัดเก็บข้อมูลจำนวน 50 หลังคาเรือน
– กลุ่มประชาชนจัดเก็บข้อมูลจำนวน 30 หลังคาเรือน
– กลุ่มนักศึกษาจัดเก็บข้อมูลจำนวน 20 หลังคาเรือน
- การจัดเก็บข้อมูลศาสนสถานมอบหมายให้กลุ่มประชาชนเป็นผู้รับผิดชอบ
3. การจัดเก็บข้อมูลโรงเรียนและตลาดให้กลุ่มบัณฑิตรับผิดชอบ
อบรมการพัฒนาทักษะผ่านระบบ e-Learning 4 ด้าน
1) ด้านดิจิทัล Digital Literacy
2) ด้านภาษาอังกฤษ Language Literacy
3) ด้านการเงิน Financial Literacy
4) ด้านสังคม Social Literacy
โดยให้มีระยะเวลาการฝึกอบรม 1 เดือนก่อนการเริ่มปฏิบัติงาน รวมทั้งสิ้นทักษะละไม่ต่ำกว่า 20 ชั่วโมง พร้อมได้รับใบประกาศนียบัตรครบทุกทักษะ
สำรวจข้อมูลสำหรับที่พักอาศัยในหมู่ 4 บ้านโคกไม้แดง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 50 ชุด
ในการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลข้าพเจ้าได้ติดต่อประสานงานกับผู้ใหญ่บ้านหรือผู้นำชุมชนในการดำเนินการสำรวจพบว่า ประชากรในหมู่บ้านมีการประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือน มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกันหากพบว่ามีไข้ร่วมกับไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็วหายใจเหนื่อยหรือหายใจลำบากอย่างใดอย่างหนึ่งและอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วยให้รีบไปพบแพทย์ทันที มีการดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์โดยเฉพาะก่อนเตรียมปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งสกปรก หลังเยี่ยมผู้ป่วยในสถานพยาบาล หลังสัมผัสหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยงและหลังกลับจากนอกบ้าน มีการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่และใช้ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกันเช่นผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ช้อน แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ และเมื่อกลับจากการทำภารกิจหรือกิจกรรมนอกบ้านให้ล้างมือ ชำระร่างกาย เปลี่ยนเครื่องแต่งกายทันทีโดยภาพรวมยังถือว่ามีการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้เป็นอย่างดีซึ่งจะเห็นได้จากการที่ไม่มีประชากรในชุมชนที่ได้รับเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เลย
การประชุมออนไลน์มอบหมายแผนงานเพิ่มเติม
วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2564 เวลา 16.00 นาฬิกา ได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ผ่าน Google meet ในการประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ชี้แจงและมอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานได้สำรวจข้อมูลแบบสอบถามโดยแบ่งเป็น 10 ประเภท คือ
1.ตำบลเป้าหมาย 2.ลูกจ้างโครงการ
3.กลุ่มเป้าหมาย 4.ครอบครัวลูกจ้างโครงการ
5.ชุมชนภายใน 6.ชุมชนภายนอก
7.ผู้แทนตำบล 8.หน่วยงานภาครัฐ
9.หน่วยงาน อปท. 10.เอกชนในพื้นที่
และให้ผู้ปฏิบัติงานเข้ารับการอบรมการจัดทำอุปกรณ์ป้องกันตนเองโดยผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2564 เวลา 13.30 นาฬิกา โดยได้มอบหมายให้กลุ่มบัณฑิตจบใหม่จัดเตรียมสถานที่ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2564 เวลา 14.00 นาฬิกา
อบรมการจัดทำอุปกรณ์ป้องกันตนเอง ณ ศาลากลาง หมู่บ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์
วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2564 การจัดอบรมการทำอุปกรณ์ป้องกันตนเอง ณ ศาลากลาง หมู่บ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์ ในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากวิทยากรอาจารย์ประจำสาขาวิชาเคมี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มาร่วมถ่ายทอด อบรมให้ความรู้แก่ชาวบ้านตำบลบ้านสิงห์ โดยได้ทำเป็นสเปรย์กันยุงสมุนไพร น้ำมันเหลือ และยาหม่องไพล ตามลำดับ
1.สเปรย์ไล่ยุงสมุนไพร
ส่วนประกอบ
1) เอทิลแอลกอฮอล์ 1 ลิตร
2) ตะไคร้หอมหั่นฝอย 100 กรัม
3) ผิวมะกรูด 50 กรัม
4) การบูร 50 กรัม
วิธีทำ
1) นำตะไคร้หอมและเปลือกมะกรูดหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำมาห่อด้วยผ้าขาวบาง
2) แช่มะกรูดและตะไคร้ในเอทิลแอลกอฮอล์ เติมการบูร 50 กรัม ปิดฝาหมักทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ (เขย่าทุกวัน)
3) กรอกใส่ขวดพร้อมนำไปใช้งาน
2.น้ำมันเหลือง
ส่วนประกอบการเตรียมน้ำมันไพล
1) ไพล 200 กรัม
2) ขมิ้น 50 กรัม
3) น้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์ม 100 กรัม
วิธีทำ
นำไพลและขมิ้นที่แก่จัด มาปลอกเปลือกไพลและขมิ้นหั่นเป็นชิ้นบาง (คล้ายกับการทำกล้วยฉาบ) จากนั้นนำไปทอดในน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์ม โดยใช้ไฟกลาง จนกระทั่งไพลและขมิ้นกรอบเหลือง (ระวังอย่าให้ไหม้) กรองเอาน้ำมันจะได้น้ำมันไพล (จะได้น้ำมันไพลประมาณ 70-80 มิลลิลิตร
ส่วนประกอบของน้ำมันเหลือง
1) เมนทอล 120 กรัม
2) การบูร 80 กรัม
3) พิมเสน 40 กรัม
4) นํ้ามันไพล 200 มิลลิลิตร
วิธีทํา
ผสมเมนทอล การบูร และพิมเสน คนให้ละลาย (ถ้าละลายไม่หมดสามารถเพิ่มเมนทอลลงไปทีละน้อย) แล้วจึงเติมน้ำมันไพล และเทลงขวดบรรจุเพื่อนําไปใช้งาน
3.ยาหม่องไพล
ส่วนประกอบ
1) วาสลีน 120 กรัม
2) พารากิน 80 กรัม
3) น้ำมันไพล 60 มิลลิลิตร
4) พิมเสน 20 กรัม
5) เมนทอล 20 กรัม
6) การบูร 20 กรัม
7) นํ้ามันยูคาลิปตัส 30 มิลลิลิตร
8) นํ้ามันระกำ 100 มิลลิลิตร
วิธีทํา
1) ชั่งพาราฟินและวาสลินลงภาชนะ แล้วนำมาให้ความร้อน จะสังเกตเห็นว่าพาราฟินและวาสลินจะเริ่มละลาย (ใส)
2) ผสมเมนทอล การบูร พิมเสน น้ำมันระกำ นํ้ามันยูคาลิปตัส และน้ำมันสมุนไพร คนจนสารละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
3) เมื่อพาราฟินและวาสลินใสจนเป็นเนื้อเดียวกันให้เติมของผสมระหว่างเมนทอล การบูร พิมเสนน้ำมันระกำและน้ำมันยูคาลิปตัส จากข้อ 2) แล้วคนให้เป็นเนื้อเดียวกัน
4) เทสารละลายที่ได้ใส่ภาชนะที่บรรจุยาหม่อง ตั้งทิ้งไว้จนยาหม่องแข็งตัว
หมายเหตุ
- ไม่ควรใช้ความร้อนที่สูงเกินไป จะทำให้กลิ่นระเหยหมดและอาจทำให้เกิดไฟลุกไหม้ได้
- การให้ความร้อนที่มีเปลวไฟ ให้ทำการตุ๋นในน้ำร้อนเพื่อป้องกันการเกิดไฟลุกไหม้
- สามารถปรับเพิ่มได้ตามตราส่วน เมื่อต้องการยาหม่องในปริมาณที่มากขึ้น
เกร็ดความรู้
- การบูร มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาว ออกฤทธิ์ร้อน สรรพคุณ ช่วยบรรเทาโรคตาแดง ขับเสมหะ ขับลม
- เมนทอล มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีกลิ่นหอม บรรเทาอาการหวัด คัดจมูก แก้ไข้ แก้ไอ ลดการอักเสบในลำคอ บรรเทาอาการปวดศีรษะ
- พิมเสน มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวขุ่น มีกลิ่นหอม ใช้สูดดม แก้วิงเวียนศีรษะ ใช้หาแก้ปวดเมือยแก้เคล็ดขัดยอก
- พาราฟิน ใช้เป็นส่วนผสมเพื่อให้นํ้ามันแข็งตัว
- วาสลีน ใช้เป็นส่วนผสมเพื่อทำให้เกิดความลื่นมัน และสะดวกในการทานวด
- น้ำมันระกำ เป็นน้ำมันใส มีกลิ่นหอม มีสรรพคุณแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แก้เคล็ดขัดยอก
- น้ำมันยูคาลิปตัส สรรพคุณ แก้หวัดคัดจมูก ขับเสมหะ ขับลม แก้โรคหอบหืด
สรุปบทเรียนทึ่ได้รับจากการปฏิบัติงาน
- ในช่วงระยะแรกของการปฏิบัติงานในเดือนตุลาคม ได้มีการอบรมการพัฒนาทักษะผ่านระบบ e-Learning 4 ด้าน ดังนี้
1) ด้านดิจิทัล Digital Literacy
2) ด้านภาษาอังกฤษ Language Literacy
3) ด้านการเงิน Financial Literacy
4) ด้านสังคม Social Literacyโดยให้มีระยะเวลาในการฝึกอบรมเป็นเวลา 1 เดือนก่อนการเริ่มปฏิบัติงาน รวมทั้งสิ้นทักษะละไม่ต่ำกว่า 20 ชั่วโมง พร้อมได้รับใบประกาศนียบัตรครบทุกทักษะ หลังจากอบรมครบทุกทักษะแล้วทำให้เพิ่มพูนความรู้ในด้านต่าง ๆ มากขึ้นพร้อมที่จะถ่ายทอดหรือต่อยอดให้แก่ชุมชนดังกล่าว และเนื่องจากข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้เริ่มปฏิบัติงานเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2564 ที่ผ่านมาจึงทำให้มีเวลาในการเรียนรู้งานน้อยแต่ข้าพเจ้าก็พยายามที่จะเรียนรู้อย่างสุดความสามารถ - การลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสำรวจนั้น เนื่องจากช่วงนี้สถานการณ์ยังไม่เป็นปกติอาจทำให้ยากต่อการดำเนินงานแต่ข้าพเจ้าและชาวบ้านก็ไม่ได้ประมาทในการปฏิบัติงานแต่อย่างใดมีการป้องกันตนเองอยู่เสมอในการหาข้อมูล และด้วยความร่วมมือที่ดีจากประชาชนในหมู่บ้าน รวมไปถึงหน่วยงานรัฐ จึงทำให้สามารถปฏิบัติงานลุล่วงสำเร็จได้ด้วยดี
- การจัดอบรมทำอุปกรณ์ป้องกันตนเอง ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ได้รับเกียรติจากวิทยากรอาจารย์ประจำสาขาวิชาเคมี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มาถ่ายทอดความรู้ด้านการใช้สมุนไพรล้วนมีคุณประโยชน์มากมายสามารถรักษาโรคบางชนิดได้ โดยไม่ต้องใช้ยาแผนปัจจุบัน ซึ่งบางชนิดอาจมีราคาแพง และต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก บางครั้งอาจหาซื้อได้ยากในท้องถิ่นนั้น ตัวสมุนไพรให้ผลการรักษาได้ดีใกล้เคียงกับยาแผนปัจจุบัน และให้ความปลอดภัยแก่ผู้ใช้มากกว่ายาแผนปัจจุบันสามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่นแถมยังช่วยส่งเสริมสร้างรายได้ให้คนในชุมชนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019