ข้าพเจ้านางสาวลภัสรดา ศรีศักดิ์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลบ้านสิงห์
หลักสูตร: การแปรรูปขนมเพื่อสร้างรายได้ในชุมชน
ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลประจำเดือนตุลาคม พ.ศ.2564
ในพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
อบรมการพัฒนาทักษะผ่านระบบ e-Learning 4 ด้าน
1) ด้านดิจิทัล Digital Literacy
2) ด้านภาษาอังกฤษ Language Literacy
3) ด้านการเงิน Financial Literacy
4) ด้านสังคม Social Literacyโดยให้มีระยะเวลาการฝึกอบรม 1 เดือน รวมทั้งสิ้นทักษะละไม่ต่ำกว่า 20 ชั่วโมง พร้อมได้รับใบประกาศนียบัตรครบทุกทักษะ
วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายประชุมผ่าน Google meet ในเวลา 10:00 น. เพื่อพูดคุยมอบหมายแผนงานในเดือนตุลาคม
รายละเอียดในการประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ชี้แจงและมอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินตนเองและบุคคลในครอบครัว เช่น การสังเกตอาการ และการดูแลสุขอนามัยตนเองและบุคคลในครอบครัวในช่วงที่มีโรคระบาดโควิด 19 เป็นต้น รวมทั้งการสำรวจสถานที่คือพักอาศัย ศาสนสถาน โรงเรียนและตลาด โดยได้มอบหมายงานให้ผู้ปฏิบัติงานรับผิดชอบดังนี้
1. การจัดเก็บข้อมูลที่พักอาศัย
– กลุ่มบัณฑิตจัดเก็บข้อมูลจำนวน 50 หลังคาเรือน
– กลุ่มประชาชนจัดเก็บข้อมูลจำนวน 30 หลังคาเรือน
– กลุ่มนักศึกษาจัดเก็บข้อมูลจำนวน 20 หลังคาเรือน
2. การจัดเก็บข้อมูลศาสนสถานมอบหมายให้กลุ่มประชาชนเป็นผู้รับผิดชอบ
3. การจัดเก็บข้อมูลโรงเรียนและตลาดให้กลุ่มบัณฑิตรับผิดชอบโดยแบ่งการจัดเก็บข้อมูลออกเป็น 2 กลุ่ม
สำรวจข้อมูลสำหรับที่พักอาศัยในหมู่ 7 บ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 50 ชุด
ในการปฏิบัติงานด้านการสำรวจข้อมูลนั้น ด้านผู้ปฏิบัติงานได้ติดต่อประสานงานกับผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 บ้านหนองบัวรายเพื่อขออนุญาตเข้าสำรวจข้อมูลในพื้นที่ และผู้ใหญ่บ้านได้ให้ความร่วมมือกับผู้ปฏิบัติงานเป็นอย่างดี จากการสำรวจข้อมูลสำหรับที่พักอาศัยพบว่าประชาชนในหมู่บ้านหนองบัวรายส่วนใหญ่มีการดูแลป้องตนเองต่อโรคระบาดดังนี้
1. มีการประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนว่า
-เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือหากติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรงหรือไม่
-ในการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือไม่
-ตนเองหรือบุคคลในครัวเรือนมีการเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ระบาดหรือไม่
2. มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกันหากพบว่ามีไข้ร่วมกับไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็วหายใจเหนื่อยหรือหายใจลำบากอย่างใดอย่างหนึ่งและอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วยให้รีบไปพบแพทย์ทันที
3. มีการดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์โดยเฉพาะก่อนเตรียมปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งสกปรก หลังเยี่ยมผู้ป่วยในสถานพยาบาล หลังสัมผัสหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยงและหลังกลับจากนอกบ้าน
4. มีการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่และใช้ช้อนส่วนตัว
5. ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกันเช่นผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ช้อน แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ6.เมื่อกลับจากการทำภารกิจหรือกิจกรรมนอกบ้านให้ล้างมือ ชำระร่างกาย เปลี่ยนเครื่องแต่งกายทันที
สำรวจข้อมููลสำหรับสถานศึกษาในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ตำบลบ้านสิงห์มีสถานศึกษาจำนวน 5 แห่งได้แก่
1.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองกง
2.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านสิงห์
3.โรงเรียนบ้านสิงห์ราษฎร์นุสรณ์
4.โรงเรียนบ้านหนองกง
5.โรงเรียนสิงวิทยาคม
แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ที่กำลังกลับมาแพร่ระบาดอย่างหนักในช่วงนี้ทำให้มีประชาชนติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการป้องกันกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดมาตรการณ์โดยให้สถานศึกษาปรับรูปแบบการเรียนการสอนเป็นแบบออนไลน์ทั้งหมด ทางด้านผู้ปฏิบัติงานได้ประสานงานกับทางด้านผู้อำนวยการโรงเรียนและอาจารย์ที่เกี่ยวข้องเพื่อสอบถามข้อมูลพบว่าโรงเรียนในตำบลบ้านสิงห์มีมาตรการณ์ในการรับมือกับโรคระบาดดังนี้
1. ด้านความปลอดภัยเพื่อการลดการแพร่เชื้อโรค
-มีมาตรการคัดกรองวัดไข้ให้กับนักเรียน ครู และผู้เข้ามาติดต่อทุกคนก่อนเข้าสถานศึกษา
-มีการสังเกตอาการเสียงโควิด 19 เช่น ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ เหนื่อยหอบ หายใจลำบาก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รู้รส พร้อมบันทึกผล สำหรับนักเรียน ครู และผู้เข้ามาติดต่อทุกคนในสถานศึกษา
-มีการจัดเตรียมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยสำรองไว้ให้กับนักเรียนร้องขอ และมีการจัดวางเจลแอลกอฮอล์สำหรับใช้ทำความสะอาดมือบริเวณทางเข้าอาคารเรียน หน้าประตูห้องเรียน ทางเข้าโรงอาหารอย่างเพียงพอ
-มีการจัดโต๊ะเรียนเก้าอี้นักเรียน ที่นั่งในโรงอาหาร ที่นั่งพัก โดยจัดเว้นระยะห่างระหว่างกันอย่างน้อย 1-2 เมตร (ยึดหลัก social distancing) มีการทำสัญลักษณ์แสดงจุดตำแหน่งชัดเจนในการจัดเว้นระยะห่างระหว่างกัน
-การกำหนดให้ใช้ของใช้ส่วนตัวไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ ช้อน ส้อม แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ผ้าเช็ดหน้า
2. ด้านการเรียนรู้
-มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์แนะนำการปฏิบัติเพื่อสุขอนามัยที่ดี เช่น วิธีล้างมือที่ถูกต้อง การสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล
-การการตรียมความพร้อมการจัดการเรียนการสอนโดยการคำนึงถึงการเรียนรู้ตามวัยและสอกคล้องกับการพัฒนาการด้านสังคม อารมณ์และสติปัญญา
3. ด้านสวัสดิภาพและการคุ้มครอง
-มีการจัดเตรียมแผนรองรับการจัดการการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนป่วย กักตัว หรือกรณีปิดโรงเรียน
-มีการจัดเตรียมแนวปฏิบัติการสื่อสารเพื่อลดการรังเกียจและการตรีตราทางสังคม (Social stigma)
-มีการตรวจสอบประวัติเสี่ยงของนักเรียนและบุคลากรรวมทั้งตรวจสอบเรื่องการกักตัวให้ครบ 14 วัน ก่อนมาทำการเรียนการสอนปกติ และทุกวันเปิดเรียน
-มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติตามระเบียบสำหรับนักเรียน ครูและบุคลากรที่สงสัยติดเชื้อหรือป่วยด้วยโรคโควิด 19 โดยไม่ถือเป็นวันลาหรือวันหยุดเรียน
4. ด้านนโยบาย
-มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ความรู้การป้องกันโรคโควิด 19 แก่นักเรียน ครู บุคลากรและผู้ปกครองโดยการประชุมชี้แจงหรือผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างน้อย 1 ครั้ง ก่อนหรือวันแรกของการเปิดเรียน
-มีนโยบายและแนวทางการป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ของสถานศึกษาอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรหรือมีหลักฐานชัดเจน
5. ด้านการบริหารการเงิน
-มีแผนการใช้งบประมาณในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ตามความจำเป็นและเหมาะสม
-มีการจัดหาซื้อวัสดุอุปกรณ์ป้องกันโรคโควิด 19 สำหรับนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษา เช่น หน้ากากผ้าหรือหน้ากาก อนามัย เจลแอลกอฮอล์ สบู่
-มีการจัดหาบุคลากรเพิ่มเติมในการดูแลนักเรียนและการจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา
วันอังคารที่ 5 ตุลาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายประชุมผ่าน Google meet ในเวลา 16:00 น. เพื่อพูดคุยมอบหมายแผนงานเพิ่มเติมรวมถึงการเตรียมตัวลงพื้นที่ในเดือนตุลาคม
รายละเอียดในการประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ชี้แจงและมอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานได้สำรวจข้อมูลแบบสอบถามโดยแบ่งเป็น 10 ประเภท คือ
1.ตำบลเป้าหมาย 2.ลูกจ้างโครงการ
3.กลุ่มเป้าหมาย 4.ครอบครัวลูกจ้างโครงการ
5.ชุมชนภายใน 6.ชุมชนภายนอก
7.ผู้แทนตำบล 8.หน่วยงานภาครัฐ
9.หน่วยงานอปท. 10.เอกชนในพื้นที่
และการดำเนินงานลงพื้นที่ให้ทางผู้ดำเนินการผสานงานติดต่อกับตัวแทนชุมชนในพื้นที่ หมู่บ้านละ 2 คนเข้ารับการอบรมภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2564 เวลา 13.30 น. เรื่องการจัดทำอุปกรณ์ป้องกันตนเอง และได้มอบหมายงานให้ผู้ปฏิบัติงานรับผิดชอบในส่วนของงานตนเอง โดยได้มอบหมายให้กลุ่มบัณฑิตจัดเตรียมสถานที่ในวันที่ 14 ตุลาคม 2564 เวลา 14.00น.
วันศุกร์ที่ 15 เดือนตุลาคม 2564อบรมการจัดทำอุปกรณ์ป้องกันตนเอง ณ ศาลากลาง หมู่บ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์
อาจารย์ประจำโครงการได้มอบหมายให้คณะผู้ปฏิบัติงานกลุ่มบัณฑิตจบใหม่และประชาชน เป็นตัวแทนในการเข้าร่วมอบรม โดยเรียนเชิญตัวแทนชุมชนในตำบลบ้านสิงห์มาร่วมอบรมในครั้งนี้ด้วย ในการอบรมแบ่งผู้เข้าร่วมอบรมตามหมู่บ้านเป็น 5 กลุ่มใหญ่ โดยมีคณะผู้ปฏิบัติงานกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ นักศึกษาและประชาชนเข้าร่วมกลุ่มตามหมู่บ้านที่ได้รับมอบหมายปฏิบัติงาน และได้มีผู้เชี่ยวชาญด้านการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร อาจารย์ประจำสาขาวิชาเคมี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มาร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้อบรม โดยเริ่มทำสเปรย์ไล่ยุงสมุนไพรเป็นอย่างแรก ต่อมาเป็นน้ำมันเหลือง และยาหม่องไพล ตามลำดับ
1. สเปรย์ไล่ยุงสมุนไพร
ส่วนประกอบ
1) เอทิลแอลกอฮอล์ 1 ลิตร
2) ตะไคร้หอมหั่นฝอย 100 กรัม
3) ผิวมะกรูด 50 กรัม
4) การบูร 50 กรัม
วิธีทำ
1) นำตะไคร้หอมและเปลือกมะกรูดหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำมาห่อด้วยผ้าขาวบาง
2) แช่มะกรูดและตะไคร้ในเอทิลแอลกอฮอล์ เติมการบูร 50 กรัม ปิดฝาหมักทิ้งไว้
1 สัปดาห์ (เขย่าทุกวัน)
3) กรอกใส่ขวดพร้อมนำไปใช้งาน
2. น้ำมันเหลือง
ส่วนประกอบการเตรียมน้ำมันไพล
1) ไพล 200 กรัม
2) ขมิ้น 50 กรัม
3) น้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์ม 100 กรัม
วิธีทำ
นำไพลและขมิ้นที่แก่จัด มาปลอกเปลือกไพลและขมิ้นหั่นเป็นชิ้นบาง (คล้ายกับการทำกล้วยฉาบ) จากนั้นนำไปทอดในน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์ม โดยใช้ไฟกลาง จนกระทั่งไพลและขมิ้นกรอบเหลือง (ระวังอย่าให้ไหม้) กรองเอาน้ำมันจะได้น้ำมันไพล (จะได้น้ำมันไพลประมาณ 70-80 มิลลิลิตร
ส่วนประกอบของน้ำมันเหลือง
1) เมนทอล 120 กรัม
2) การบูร 80 กรัม
3) พิมเสน 40 กรัม
4) นํ้ามันไพล 200 มิลลิลิตร
วิธีทํา
ผสมเมนทอล การบูร และพิมเสน คนให้ละลาย (ถ้าละลายไม่หมดสามารถเพิ่มเมนทอลลงไปทีละน้อย) แล้วจึงเติมน้ำมันไพล และเทลงขวดบรรจุเพื่อนําไปใช้งาน
3. ยาหม่องไพล
ส่วนประกอบ
1) วาสลีน 120 กรัม
2) พารากิน 80 กรัม
3) น้ำมันไพล 60 มิลลิลิตร
4. พิมเสน 20 กรัม
5) เมนทอล 20 กรัม
6) การบูร 20 กรัม
7) นํ้ามันยูคาลิปตัส 30 มิลลิลิตร
8) นํ้ามันระกำ 100 มิลลิลิตร
วิธีทํา
1) ชั่งพาราฟินและวาสลินลงภาชนะ แล้วนำมาให้ความร้อน จะสังเกตเห็นว่าพาราฟินและวาสลินจะเริ่มละลาย (ใส)
2) ผสมเมนทอล การบูร พิมเสน น้ำมันระกำ นํ้ามันยูคาลิปตัส และน้ำมันสมุนไพร คนจนสารละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
3) เมื่อพาราฟินและวาสลินใสจนเป็นเนื้อเดียวกันให้เติมของผสมระหว่างเมนทอล การบูร พิมเสนน้ำมันระกำและน้ำมันยูคาลิปตัส จากข้อ 2) แล้วคนให้เป็นเนื้อเดียวกัน
4) เทสารละลายที่ได้ใส่ภาชนะที่บรรจุยาหม่อง ตั้งทิ้งไว้จนยาหม่องแข็งตัว
หมายเหตุ
1. ไม่ควรใช้ความร้อนที่สูงเกินไป จะทำให้กลิ่นระเหยหมดและอาจทำให้เกิดไฟลุกไหม้ได้
2. การให้ความร้อนที่มีเปลวไฟ ให้ทำการตุ๋นในน้ำร้อนเพื่อป้องกันการเกิดไฟลุกไหม้
3. สามารถปรับเพิ่มได้ตามตราส่วน เมื่อต้องการยาหม่องในปริมาณที่มากขึ้น
เกร็ดความรู้
1. การบูร มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาว ออกฤทธิ์ร้อน สรรพคุณ ช่วยบรรเทาโรคตาแดง ขับเสมหะ ขับลม
2. เมนทอล มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีกลิ่นหอม บรรเทาอาการหวัด คัดจมูก แก้ไข้ แก้ไอ ลดการอักเสบในลำคอ บรรเทาอาการปวดศีรษะ
3. พิมเสน มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวขุ่น มีกลิ่นหอม ใช้สูดดม แก้วิงเวียนศีรษะ ใช้หาแก้ปวดเมือยแก้เคล็ดขัดยอก
4. พาราฟิน ใช้เป็นส่วนผสมเพื่อให้นํ้ามันแข็งตัว
5. วาสลีน ใช้เป็นส่วนผสมเพื่อทำให้เกิดความลื่นมัน และสะดวกในการทานวด
6. น้ำมันระกำ เป็นน้ำมันใส มีกลิ่นหอม มีสรรพคุณแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แก้เคล็ดขัดยอก
7. น้ำมันยูคาลิปตัส สรรพคุณ แก้หวัดคัดจมูก ขับเสมหะ ขับลม แก้โรคหอบหืด
สรุปผลการปฏิบัติงาน
การปฏิบัติงานภายในเดือนตุลาคมในส่วนแรกเป็นการปฏิบัติงานออนไลน์ เนื่องด้วยเป็นสถานการณ์โรคระบาด Covid-19 จึงเป็นการดีในการมีเวลาเพิ่มพูนความรู้ ในการอบรมการพัฒนาทักษะผ่านระบบ e-Learning 4 ด้าน ดังนี้
1) ด้านดิจิทัล Digital Literacy
2) ด้านภาษาอังกฤษ Language Literacy
3) ด้านการเงิน Financial Literacy
4) ด้านสังคม Social Literacy
โดยให้มีระยะเวลาในการฝึกอบรมเป็นเวลา1เดือน รวมทั้งสิ้นทักษะละไม่ต่ำกว่า 20 ชั่วโมง พร้อมได้รับใบประกาศนียบัตรครบทุกทักษะ หลังจากอบรมครบทุกทักษะแล้วทำให้เพิ่มพูนความรู้ในด้านต่าง ๆ มากขึ้นและสามารถนำไปใช้ต่อยอดในชีวิตประจำวันได้ดียิ่งขึ้น
- ในส่วนของการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในช่วงโรคระบาดCovid-19นั้น ทางด้านผู้ปฏิบัติงานได้มีการตื่นตัวและระมัดระวังในการปฎิบัติหน้าที่ลงพื้นที่เป็นอย่างมาก เพื่อให้สอดคล้องกับทางมาตรการการป้องกันเชื้อไวรัสCovid-19ของทางภาครัฐและเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ทางโครงการ ทางผู้ปฏิบัติงานจึงทุ่มเทแรงกายแรงใจสุดความสามารถในการหาข้อมูล และด้วยความร่วมมือที่ดีจากประชาชนในหมู่บ้าน รวมไปถึงหน่วยงานรัฐ การปฏิบัติงานจึงลุล่วงได้เป็นอย่างดี
- การทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร เป็นส่วนของการลงพื้นที่อบรมการจัดทำอุปกรณ์ป้องกันตนเอง ในโครงการแปรรูปขนมเพื่อสร้างรายได้ในชุมชน ซึ่งมีวิทยากรเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาเคมี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มาเป็นวิทยากรช่วยให้ประชาชนมีความรู้ความสามารถด้านการใช้สมุนไพรใกล้ตัวมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ “ไพล หรือ ว่านไพล” เนื่องจากไพลจะมีน้ำมันหอมระเหย จึงจะช่วยรักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำ ข้อเท้าแพลง ช่วยลดอาการอักเสบ แก้ปวด บวม เส้นตึง ปวดเมื่อย แล้วยังช่วยรักษาโรคผิวหนังได้ดี รวมไปถึงสามารถช่วยให้ประชาชนนำความรู้ความสามารถจากการอบรมเรื่องการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรที่ได้รับ ไปต่อยอดในการสร้างสินค้า รายได้ ช่วยเหลือประชาชนและชุมชนในช่วงโรคระบาด Covid-19 ได้อีกด้วย