ข้าพเจ้า นางสาวพนิดา สนทนา กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตรการส่งเสริมอาชีพและการพัฒนาขนมไทย รับผิดชอบลงพื้นที่ในหมู่ 1 บ้านหนองดุม ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
บทความประจำเดือน ตุลาคม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
วันเสาร์ ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2564
อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายประชุมออนไลน์ผ่านทาง Google meet เพื่อพูดคุยนัดหมายการปฎิบัติงานเดือนตุลาคมและแนวทางการปฎิบัติงานที่เหลือภายใน 3 เดือนนี้ โดยได้ต้อนรับและแนะนำผู้ปฎิบัติงานใหม่และได้มอบหมายงานให้ผู้ปฎิบัติงานใหม่ได้รับผิดชอบแต่ละหมู่บ้านที่ยังไม่ได้เก็บข้อมูลได้ทั่วถึง สุดท้ายได้แนะนำการปฎิบัติงาน การลงเวลาการปฎิบัติงาน การเขียนบทความ
วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ 2564
อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายประชุมออนไลน์เป็นกรณีพิเศษผ่านทาง Google meet ในเวลา 16.00 น. โดยได้มีงานใหม่เข้ามา ซึ่งงานใหม่ล่าสุดที่ผู้ปฎิบัติงานได้รับมอบหมาย คือ การทำแบบสอบถามโครงการการติดตามประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมโครงการ U2T ซึ่งหัวข้อกลุ่มเป้าหมายที่จะแบ่งหน้าที่ให้ผู้ปฏิบัติงานทำแบบสอบถามมีดังนี้ 1. ตำบลเป้าหมาย 2. ลูกจ้างโครงการ 3. ครอบครัวลูกจ้าง 4. ชุมชนภายใน 5.ชุมชนภายนอก 6. อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ 7. เจ้าห้าที่โครงการ (USI) 8. ผู้แทนตำบล 9. หน่วยงานภาครัฐ 10. อปท. 11. เอกชนในพื้นที่ โดยอาจารย์ประจำลักสูตรได้แบ่งหัวข้อกลุ่มเป้าหมายตามความเหมาะสมของผู้ปฎิบัติงาน
วันพฤหัสบดี ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2564
โดยได้ลงพื้นที่จากการได้รับมอบหมายให้ทำแบบสอบถามโครงการติดตามประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมโครงการ U2T หัวข้อที่ได้รับมอบหมาย คือ เอกชนในพื้นที่ ลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย คือ บริษัท ห้างร้าน หรือกิจการในพื้นที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จึงได้ลงพื้นที่เพื่อหาข้อมูลและเลือกร้านค้าเอกชนในพื้นที่ คือ ร้านอาหารครัวลีลาวดี โดยทางร้านจะจำหน่ายประเภท อาหารตามสั่ง ก๋วยเตี๋ยว หมูกะทะและเครื่องดื่ม ซึ่งทางโครงการ U2T ได้มาสนับสนุนสินค้าทางร้านอาหารครัวลีลาวดี เพื่อใช้ในการจัดพักเที่ยงในช่วงการจัดอบรม ทางร้านครัวลีลาวดีจึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการการติดตามประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมโครงการ U2T และสุดท้ายได้รับมอบหมายให้ติดต่อประสานงานโดยให้ตัวแทนหมู่บ้าน ของตำบลบ้านสิงห์ หมู่บ้านละ 2 ท่าน เพื่อเข้าอบรมการจัดทำอุปกรณ์ป้องกันตัวเอง จากผลิตภัณฑ์สมุนไพรในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ 2564 ณ ศาลากลาง หมู่บ้านหนองบัวราย หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
วันศุกร์ ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2564
ได้จัดอบรมการจัดทำอุปกรณ์ป้องกันตัวเอง จากผลิตภัณฑ์สมุนไพร โดยการจัดอบรม ณ ศาลากลางหมู่บ้านบ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยผู้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้เป็นตัวแทนหมู่บ้านละ 2 ท่าน ในตำบลบ้านสิงห์ และผู้ร่วมโครงการ อาจารย์ประจำโครงการและ ดร. สุกัญญา ทองขัน ดร.สุภาวรัตน์ ทัพสุริย์ มาร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้และสอนขั้นตอนการทำสเปรย์ไล่ยุงสมุนไพร น้ำมันเหลือง และยาหม่องไพล
ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร
- สเปรย์กันยุงสมุนไพร
ส่วนประกอบ
เอทิลแอลกอฮอล์ 1 ลิตร
ตะไคร้หอมหั่นฝอย 100 กรัม
ผิวมะกรูด 50 กรัม
การบูร 50 กรัม
วิธีทำ
- นำตะไคร้หอมและเปลือกมะกรูดหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำมาห่อด้วยผ้าขาวบาง
- แช่มะกรูดและตะไคร้ในเอทิลแอลกอฮอล์ เติมการบูร 50 กรัม ปิดฝาหมักทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ (เขย่าทุกวัน)
- กรอกใส่ขวดพร้อมนำไปใช้งาน
- น้ำมันเหลือง
การเตรียมน้ำมันไพล
ส่วนประกอบ
ไพล 200 กรัม
ขมิ้น 50 กรัม
น้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์ม 100 กรัม
วิธีทำ
นำไพลและขมิ้นที่แก่จัด มาปลอกเปลือกไพลและขมิ้นหั่นเป็นชิ้นบาง (คล้ายกับการทำกล้วยฉาบ) จากนั้นนำไปทอดในน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์ม โดยใช้ไฟกลาง จนกระทั่งไพลและขมิ้นกรอบเหลือง (ระวังอย่าให้ไหม้) กรองเอาน้ำมันจะได้น้ำมันไพล (จะได้น้ำมันไพลประมาณ 70-80 มิลลิลิตร)
ส่วนประกอบของน้ำมันเหลือง
เมนทอล 120 กรัม
การบูร 80 กรัม
พิมเสน 40 กรัม
น้ำมันไพล 200 มิลลิลิตร
วิธีทำ
ผสมเมนทอล การบูร และพิมเสน คนให้ละลาย (ถ้าละลายไม่หมดสามารถเพิ่มเมนทอลลงไปทีละน้อย) แล้วจึงเติมน้ำมันไพล และเทลงขวดบรรจุเพื่อนำไปใช้งาน
- ยาหม่องไพล
ส่วนประกอบ
วาสลิน 120 กรัม
พาราฟิน 80 กรัม
น้ำมันไพล 60 มิลลิลิตร
พิมเสน 20 กรัม
เมนทอล 20 กรัม
การบูร 20 กรัม
น้ำมันยูคาลิปตัส 30 มิลลิลิตร
น้ำมันระกำ 100 มิลลิลิตร
วิธีทำ
- ชั่งพาราฟินและวาสลินลงภาชนะ แล้วนำมาให้ความร้อน จะสังเกตเห็นว่าพาราฟินและวาสลินจะเริ่มละลาย (ใส)
- ผสมเมนทอล การบูร พิมเสน น้ำมันระกำ น้ำมันยูคาลิปตัส และนำมันสมุนไพร คนจนสารละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
- เมื่อพาราฟินและวาสลินใสจนเป็นเนื้อเดียวกันให้เติมของผสมระหว่างเมนทอล การบูร พิมเสนน้ำมันระกำ และยูคาลิปตัส จากข้อ 2 แล้วคนให้เป็นเนื้อเดียวกัน
- เทสารละลายที่ได้ใส่ภาชนะที่บรรจุยาหม่อง ตั้งทิ้งไว้จนยาหม่องแข็งตัว
หมายเหตุ
-
- ไม่ควรใช้ความร้อนสูงเกินไป จะทำให้กลิ่นระเหยหมดและอาจทำให้เกิดไฟลุกไหม้ได้
- การให้ความร้อนที่มีเปลวไฟ ให้ทำการตุ๋นในน้ำร้อนเพื่อป้องกันการเกิดไฟลุกไหม้
- สามารถปรับเพิ่มได้ตามอัตราส่วน เมื่อต้องการยาหม่องในปริมาณที่มากขึ้น
เกร็ดความรู้
- การบูร มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาว ออกฤทธิ์ร้อน สรรพคุณ ช่วยบรรเทาโรคตาแดง ขับเสมหะ ขับลม
- เมนทอล มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีกลิ่นหอม บรรเทาอาการหวัด คัดจมูก แก้ไข้ แก้ไอ ลดการอักเสบในลำคอ บรรเทาอาการปวดศีรษะ
- พิมเสน มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวขุ่น มีกลิ่นหอม ใช้สูดดม แก้วิงเวียนศีรษะ ใช้ทาแก้ปวดเมื่อยแก้เคล็ดขัดยอก
- พาราฟิน ใช้เป็นส่วนผสมเพื่อทำให้น้ำมันแข็งตัว
- วาสลิน ใช้เป็นส่วนผสมเพื่อทำให้เกิดความลื่นมัน และสะดวกในการทานวด
- น้ำมันระกำ เป็นน้ำมันใส มีกลิ่นหอม มีสรรพคุณแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อแก้เคล็ดขัดยอก
- น้ำมันยูคาลิปตัส สรรพคุณ แก้หวัดคัดจมูก ขับเสมหะ แก้โรคหอบหืด
ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลสำหรับที่พักอาศัยในหมู่ 1 บ้านหนองดุม ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 50 ชุด
1. มีการประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนว่า
- เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือหากติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรงหรือไม่ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง หรือไม่
- ในการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ปฏิบัติงานในสถานบันเทิง/สถานบริการต่างๆ เป็นต้น หรือไม่
- ตนเองหรือบุคคลในครัวเรือนมีการเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ระบาด
2. มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกัน หากพบว่ามีไข้ ร่วมกับไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบากอย่างใดอย่างหนึ่ง และอาจมีอาการ ท้องเสียร่วมด้วย ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
ตำบลบ้านสิงห์ มีโรงเรียนทั้งหมด 5 โรงเรียน
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- ศูนย์เด็กเล็กบ้านหนองกง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านสิงห์
โรงเรียนในสังกัดอื่น ๆ
- โรงเรียนบ้านสิงห์ (ราษฎร์อนุสรณ์)
- โรงเรียนบ้านหนองกง
- โรงเรียนสิงหวิทยาคม
การลงพื้นที่สำรวจเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับโรงเรียน
- มีมาตรการคัดกรองวัดไข้และอาการเสี่ยงก่อนเข้าสถานศึกษา
- สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
- จัดจุดล้างมือหรือเจลแอลกอฮอล์อย่างเพียงพอ
- จัดระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1-2 เมตร
- ทำความสะอาดห้องเรียน/พื้นผิวสัมผัสร่วม เปิดหน้าต่างประตู ระบายอากาศ
- ไม่จัดกิจกรรมรวมกลุ่มคนจำนวนมาก ลดเวลาทำกิจกรรม
- ควบคุมทางเข้า-ออก ลงทะเบียนด้วยแอปพลิเคชันที่ทางราชการกำหนด หรือใช้การบันทึกข้อมูลรายงาน
- จัดให้มีการแนะนำผู้ที่อยู่ในสถานศึกษาทุกกลุ่ม ตรวจตรา ควบคุม กำกับการเรียนการสอน ทำกิจกรรมตามมาตรการควบคุมหลักอย่างเคร่งครัด
- มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์แนะนำการปฏิบัติเพื่อ สุขอนามัยที่ดี เช่น วิธีล้างมือที่ถูกต้อง การสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล เป็นต้น
สรุป เนื่องจากสถานการณ์โควิด – 19 ยังไม่หมดไปทำให้การลงพื้นที่เพื่อสอบถามข้อมูลในชุมชนจึงต้องระมัดระวังอย่างต่อเนื่อง การปฎิบัติตัวก่อนไปลงพื้นที่จึงคำนึงถึงความปลอดภัยของทั้งผู้ปฎิบัติงานและผู้ให้ข้อมูล โดยมีการป้องกันเบื้องต้นคือ การฉีดวัคซีนป้องกันโควิดครบ 2 เข็ม และสวมหน้ากากอนามัย ยืนห่างจากผู้ให้ข้อมูล 2 เมตร ในการลงพื้นที่สอบถามข้อมูลของหมู่ที่ 1 บ้านหนองดุมในเดือนตุลาคม คนในชุมชนให้ความร่วมมือ แต่เนื่องสถานการณ์โควิดทำให้บางบ้านยังไม่ให้ความร่วมมือมากนัก จึงยากต่อการสอบถามข้อมูล แต่ผู้ปฎิบัติงานเองจึงต้องรีบเร่งเก็บข้อมูลเพื่อที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ สุดท้ายนี้ในการจัดอบรมการจัดทำอุปกรณ์ป้องกันตัวเอง จากผลิตภัณฑ์สมุนไพรในเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้ารวมอบรมเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากสามารถนำความรู้ที่ได้จากการทำสมุนไพรไล่ยุง ยาเหลืองไพร ยาหม่อง มาใช้ในครัวเรือนหรือจำหน่ายได้เพื่อเพิ่มรายได้ของคนในชุมชน และในการจัดอบรมในครั้งนี้เป็นที่น่าสนใจของคนในชุมชนและชื่นชอบกับผลิตภัณฑ์ในครั้งนี้เป็นอย่างมาก สุดท้ายนี้ขอขอบคุณอาจารย์ประจำหลักสูตร และ ดร. สุกัญญา ทองขัน ดร.สุภาวรัตน์ ทัพสุริย์ ที่ได้ให้ความรู้ในการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 7 บ้านหนองบัวรายที่ได้อนุเคราะห์สถานที่ในการจัดอบรม ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ