1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS03 - ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง
  4. โครงการ​ยก​ระดับ​เศรษฐกิจ​และ​สังคม​ราย​ตำบล​แบบ​บูรณ​าการ​ (1 ตำบล​ 1 มหา​วิทยา​ลัย​) HS03-คณะ​มนุษยศาสตร์​และ​สังคม​ศาสตร์​ ตำบล​บ้าน​สิงห์​ อำเภอ​นาง​รอง​ จังหวัด​บุรี​รัมย์ มหาวิทยาลัย​ราชภัฏ​บุรี​รัมย์ เดือนตุลาคม

โครงการ​ยก​ระดับ​เศรษฐกิจ​และ​สังคม​ราย​ตำบล​แบบ​บูรณ​าการ​ (1 ตำบล​ 1 มหา​วิทยา​ลัย​) HS03-คณะ​มนุษยศาสตร์​และ​สังคม​ศาสตร์​ ตำบล​บ้าน​สิงห์​ อำเภอ​นาง​รอง​ จังหวัด​บุรี​รัมย์ มหาวิทยาลัย​ราชภัฏ​บุรี​รัมย์ เดือนตุลาคม

โครงการ​ยก​ระดับ​เศรษฐกิจ​และ​สังคม​ราย​ตำบล​แบบ​บูรณ​าการ​ (1 ตำบล​ 1 มหา​วิทยา​ลัย​)

HS03-คณะ​มนุษยศาสตร์​และ​สังคม​ศาสตร์​ ตำบล​บ้าน​สิงห์​ อำเภอ​นาง​รอง​ จังหวัด​บุรี​รัมย์

มหาวิทยาลัย​ราชภัฏ​บุรี​รัมย์

บทความประจำเดือนตุลาคม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) “บ้านหนองจันทร์แดง หมู่ที่ 9” ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ในส่วนขอการจัดกิจกรรมในครั้งนี้เป็นไปตามมาตรการการป้องกัน โควิด ตามมาตรการของรัฐบาล อย่างเคร่งคัด

ข้าพเจ้า นายพนม  กลิ่นหอม ประเภทบัณฑิตจบใหม่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ รับผิดชอบลงพื้นที่ในบ้านหนองจันทร์แดง หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ในเดือนตุลาคมนี้ ข้าพเจ้าได้วางแผนการทำงานและได้ทำการลงพื้นที่เพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูล ในพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ดังนี้

2 ตุลาคม พ.ศ.2564

เวลา 10:00 น. อาจารย์ธิดารัตน์ คีมกระโทก อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกท่านเข้าร่วมการประชุมออนไลน์ เพื่อรับทราบแนวทางการปฏิบัติงานที่เหลืออีก 3 เดือน ผ่านช่องทาง Google Meet และมีการต้อนรับและแนะนำตัวสำหรับผู้ปฏิบัติงานคนใหม่ที่จะเข้ามาทำงานร่วมกัน รวมถึงอธิบายวิธีและแนวทางในการปฏิบัติงาน การลงเวลาปฏิบัติงาน และการเขียนบทความให้กับผู้ปฏิบัติงานใหม่ได้รับทราบและเข้าใจ

5 ตุลาคม พ.ศ.2564

เวลา 16:00 น. อาจารย์ธิดารัตน์ คีมกระโทก อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกท่านเข้าร่วมการประชุมออนไลน์ ผ่านช่องทาง Google Meet เนื่องจากมีงานใหม่ล่าสุดเข้ามา จึงมีการนัดหมายประชุมเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งงานล่าสุดที่ผู้ปฏิบัติงานทุกท่านได้รับมอบหมาย คือ แบบสอบถาม : โครงการการติดตามประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมโครงการ U2T โดยอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ทำการแบ่งหน้าที่ให้ผู้ปฏิบัติงานทำแบบสอบถามตามความเหมาะสมของแต่ละท่าน

14 ตุลาคม พ.ศ.2564

จากการที่ได้รับมอบหมายทำแบบสอบถาม : โครงการการติดตามประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมโครงการ U2T หัวข้อที่ได้รับมอบหมายคือ ตำบลเป้าหมาย จึงทำการลงพื้นที่เพื่อหาข้อมูล โดยผู้ที่ให้ข้อมูลในครั้งนี้ คือ นางมาลี ขาวสระ ซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ขนมบ้าบิ่นที่เข้าร่วมโครงการการพัฒนาขนมในครั้งนี้ด้วย

15 ตุลาคม พ.ศ.2564

มีการจัดการอบรมการจัดทำอุปกรณ์ป้องกันตัวเอง จากผลิตภัณฑ์สมุนไพร โดยการจัดการอบรมในครั้งนี้ได้จัดขึ้น ณ ศาลากลางหมู่บ้าน “บ้านหนองบัวราย” มีผู้เข้าร่วมเป็นตัวแทนจากแต่ละหมู่บ้านในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวนหมู่บ้านละ 2 คน มีผู้ดำเนินงานในโครงการทั้งหมด อาจารย์ประจำโครงการ รวมไปถึงวิทยากรที่มาแนะนำและสาธิตวิธีการทำสเปรย์ไล่ยุง น้ำมันเหลือง และยาหม่อง เพื่อให้ความรู้และสอนวิธีการทำและนำไปใช้ให้แก่ผู้ที่มาเข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้

ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ที่มีการอบรมในครั้งนี้ มีส่วนประกอบและวิธีกรทำ ดังนี้

1.สเปรย์กันยุงสมุนไพร

ส่วนประกอบ

  1. เอทิลแอลกอฮอล์ 1 ลิตร
  2. ตะไคร้หอมหั่นฝอย 100 กรัม
  3. ผิวมะกรูด 50 กรัม
  4. การบูร 50 กรัม

วิธีทำ

นำตะไคร้หอมและเปลือกมะกรูดหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำมาห่อด้วยผ้าวบาง  แช่มะกรูดและตะไคร้ในเอทิลแอลกอฮอล์ เติมการบูร50 กรัม ปิดฝาหมักทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ (เขย่าทุกวัน)  กรอกใส่ขวดพร้อมนำไปใช้งาน

2.น้ำมันเหลือง

ส่วนประกอบ

  1. ไพล 200 กรัม
  2. ขมิ้น 50 กรัม
  3. น้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์ม 100 กรัม

วิธีทำและการเตรียมน้ำมันไพรเพื่อใช้เป็นส่วนประกอบ

นำไพลและขมิ้นที่แก่จัด มาปลอกเปลือกไพลและขมิ้นหั่นเป็นชิ้นบาง (คล้ายกับการทำกล้วยฉาบ) จากนั้นนำไปทอดในน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์ม โดยใช้ไฟกลาง จนกระทั่งไพลและขมิ้นกรอบเหลือง (ระวังอย่าให้ไหม้) กรองเอาน้ำมันจะได้น้ำมันไพล (จะได้น้ำมันไพลประมาณ 70-80 มิลลิลิตร)

ส่วนประกอบของน้ำมันเหลือง

  1. เมนทอล 120 กรัม
  2. การบูร 80 กรัม
  3. พิมเสน 40 กรัม
  4. น้ำมันไพล 200 มิลลิลิตร

วิธีทำ

ผสมเมนทอล การบูร และพิมเสน คนให้ละลาย (ถ้าละลายไม่หมดสามารถเพิ่มเมนทอลลงไปทีละน้อย) แล้วจึงเติมน้ำมันไพล และเทลงขวดบรรจุเพื่อนำไปใช้งาน

3.ยาหม่องไพล

ส่วนประกอบ

  1. วาสลีน 120 กรัม
  2. พาราฟิน 80 กรัม
  3. น้ำมันไพล 60 มิลลิลิตร
  4. พิมเสน 20 กรัม
  5. เมนทอล 20 กรัม
  6. การบูร 20 กรัม
  7. น้ำมันยูคาลิปตัส 30 มิลลิลิตร
  8. น้ำมันระกำ 100 มิลลิลิตร

วิธีทำ

  1. ชั่งพาราฟินและวาสลีนลงภาชนะ แล้วนำมาให้ความร้อน จะสังเกตเห็นว่าพาราฟินและวาสลีนจะเริ่มละลาย
  2. ผสมเมนทอล การบูร พิมเสน น้ำมันระกำ น้ำมันยูคาลิปตัส และนำมันสมุนไพร คนจนสารละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
  3. เมื่อพาราฟินและวาสลินใสจนเป็นเนื้อเดียวกันให้เติมของผสมระหว่างเมนทอล การบูร พิมเสนน้ำมันระกำ และยูคาลิปตัส จากข้อ 2 แล้วคนให้เป็นเนื้อเดียวกัน
  4. เทสารละลายที่ได้ใส่ภาชนะที่บรรจุยาหม่อง ตั้งทิ้งไว้จนยาหม่องแข็งตัว

หมายเหตุ

  • ไม่ควรใช้ความร้อนสูงเกินไป จะทำให้กลิ่นระเหยหมดและอาจทำให้เกิดไฟลุกไหม้ได้
  • การให้ความร้อนที่มีเปลวไฟ ให้ทำการตุ๋นในน้ำร้อนเพื่อป้องกันการเกิดไฟลุกไหม้
  • สามารถปรับเพิ่มได้ตามอัตราส่วน เมื่อต้องการยาหม่องในปริมาณที่มากขึ้น

เกร็ดความรู้

  1. การบูร มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาว ออกฤทธิ์ร้อน สรรพคุณ ช่วยบรรเทาโรคตาแดง ขับเสมหะ ขับลม
  2. เมนทอล มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีกลิ่นหอม บรรเทาอาการหวัด คัดจมูก แก้ไข้ แก้ไอ ลดการอักเสบในลำคอ บรรเทาอาการปวดศีรษะ
  3. พิมเสน มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวขุ่น มีกลิ่นหอม ใช้สูดดม แก้วิงเวียนศีรษะ ใช้ทาแก้ปวดเมื่อยแก้เคล็ดขัดยอก
  4. พาราฟิน ใช้เป็นส่วนผสมเพื่อทำให้น้ำมันแข็งตัว
  5. วาสลีน ใช้เป็นส่วนผสมเพื่อทำให้เกิดความลื่นมัน และสะดวกในการทานวด
  6. น้ำมันระกำ เป็นน้ำมันใส มีกลิ่นหอม มีสรรพคุณแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อแก้เคล็ดขัดยอก
  7. น้ำมันยูคาลิปตัส สรรพคุณ แก้หวัดคัดจมูก ขับเสมหะ แก้โรคหอบหืด

หลังจากจัดอบมการจัดทำอุปกรณ์ป้องกันตนเองแล้วเสร็จ คณะอาจารย์ประจำหลักสูตร วิทยากร และผู้ปฏิบัติงาน ร่วมกับประชาชนตำบลบ้านสิงห์ร่วมกันถ่ายภาพ และได้แจกผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรให้กับผู้ที่เข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่เหลือก็นำไปมอบให้ผู้นำชุมชนตำบลบ้านสิงห์ต่อไป

  1. การฝึกอบรมทักษะต่าง ๆ

อบรมการพัฒนาทักษะผ่านระบบ e-Learning 4 ด้าน

  • ด้านดิจิทัล Digital Literacy
  • ด้านภาษาอังกฤษ Language Literacy
  • ด้านการเงิน Financial Literacy
  • ด้านสังคม Social Literacy

โดยให้มีระยะเวลาการฝึกอบรม 1 เดือน รวมทั้งสิ้นทักษะละไม่ต่ำกว่า 20 ชั่วโมง พร้อมได้รับใบประกาศนียบัตรครบทุกทักษะ

  1. สิ่งที่ได้เรียนรู้ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ

การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมทีม เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ ที่ต้องการดำเนินงานโดยความร่วมมือของทุกคน การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก เพราะจะช่วยให้ทุกคนในทีมสามารถปฏิบัติงาน ร่วมกัน อย่างเข้าใจบทบาทของตนเอง และทำให้ผลงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จุดมุ่งหมายเดียวกัน ซึ่งจะทำให้การตัดสินใจและการทำงานมีทิศทางที่ชัดเจน และเป็นเอกภาพ ไม่ใช่แต่ละคน ต่างปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตน โดยไม่ทราบความต้องการและแผนงานของทีม ดังนั้น จำเป็นต้องจัดสรรเวลาในการกำหนดเป้าหมายการทำงานเป็นทีมร่วมกัน โดยการจัดประชุมทีมและหารือเรื่องเป้าหมายที่ได้รับจากผู้บังคับบัญชาหรือจากองค์กร และให้สมาชิกทีมได้มีโอกาสเสนอความคิดเห็น หาแนวทางการปฏิบัติ หาวิธีการทำงาน และทราบกำหนดงาน ตัวชี้วัดความสำเร็จ อุปกรณ์เครื่องมือสนับสนุน และเป้าหมาย ของงานโดยพร้อมเพรียงกันทั้งทีม เพื่อให้บรรลุเป้า

  1. แผนการปฏิบัติงานต่อไป

1.ลงพื้นที่ปฏิบัติงานในส่วนที่ได้รับมอบหมาย และนําความ​รู้​และ​ข้อมูล​ที่​ได้จากการลงพื้น​ที่​ปฏิบัติ​งานมา​พัฒนา​และ​ก่อ​ให้​เกิด​ประโยชน์​ต่อ​ชาว​บ้าน​ใน​ชุมชน​ตำบล​บ้าน​สิงห์ ควบคู่กับการช่วยเหลือและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19)

2.กำหนดเป้าหมายความสำเร็จในแบบของเราเอง ความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นความสำเร็จในการทำงาน การเรียน หรืออะไรก็ตาม ไม่ได้จะต้องเป็นไปตามสิ่งที่คนอื่นคิดเสมอไป ความสำเร็จของเรา เราควรเป็นผู้กำหนดเป้าหมาย และเส้นทางการเดินทาง เพื่อที่เราจะสามารถบรรลุความสำเร็จของเราได้ เพราะว่าเป้าหมายเป็นสิ่งสำคัญ

3.เวลาทำงาน คิดอะไรออกให้รีบจดบางครั้งบางที ความคิดดี ๆ โผล่มา ไม่ว่าจะเป็นตอนขับรถ ก่อนนอน นั่งทานข้าวกลางวัน หากไม่รีบจดไว้ดีไม่ดีจะลืมเอาได้ บางครั้งเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการทำงาน การพกสมุดจดเล็ก ๆ ติดตัวไว้ หรือจะใช้แอปในโทรศัพท์มือถืออัดเสียงเอาไว้

4.มีความอดทนและขยันหมั่นเพียรในการทำงาน การมีความอดทนอดกลั้น เพียรพยายามในการทำงาน เป็นพลังที่จะส่งเสริมให้เราไปสู่ความสำเร็จได้ คือ อดทนต่อพฤติกรรมคำพูด อดทนต่อความเครียดความเหนื่อยในการทำงาน อดทนต่อสถานการณ์ที่เลวร้าย รู้จักปรับตัว และคิดหาทางแก้ไขปัญหาได้จะสามารถทำให้เราเผชิญปัญหาต่าง ๆ ได้ และประสบความสำเร็จในการทำงานและการใช้ชีวิตในที่สุด

5.ไม่หยุดเรียนรู้พัฒนาตนเอง การที่จะสามารถประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้ จะต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ไม่มีการหยุดนิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของบุคลิกการวางตัว การแต่งกาย พฤติกรรม วิธีการทำงาน ความเข้าใจในการทำงานในหน้าที่ของตนเอง วิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และการประเมินความสามารถของตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน อะไรที่เราควรเรียนรู้เพิ่มเติมก็ควรจะต้องค้นคว้าหาเวลาเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อเป็นการพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไป

ลิงค์วีดีโอ https://www.youtube.com/watch?v=RInFFU3zpjI

ไฟล์แนบ

อื่นๆ

เมนู