ข้าพเจ้า นายปริญญา ไทยสืบชาติ ( ประเภทกลุ่มประชาชน ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ) หลักสูตรการส่งเสริมอาชีพและการพัฒนาขนม ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

         ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19) ซึ่งยังคงพบ เหตุการณ์การระบาดของโรคกระจายในหลายพื้นที่ทั่วจังหวัดบุรีรัมย์และในประเทศ เป็นจำนวนมากที่ต้องเฝ้าระวังในด้านต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องกำหนดแนวทางการดำเนินงาน เฝ้าระวัง ป้องกันโรค ฯ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์โรคอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ และมีประสิทธิภาพทั้งใน ระดับการป้องกันตนเองในการปฏิบัติหน้าที่ การลงพื้นที่เก็บข้อมูล และที่สำคัญต้องดำเนินการตามมติเห็นชอบออกข้อสั่งการแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชน และโรงพยาบาล พร้อมแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกันโรค การปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับประกาศการเฝ้าระวังและการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19) ของจังหวัดบุรีรัมย์

        ประเด็นที่น่าสนใจคือการประชุมผ่านระบบออนไลน์และมอบหมายงานให้แก่ผู้ปฎิบัติงานใหม่ที่เข้าร่วมโครงการเพื่อต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากขนม การติดตามการมีส่วนร่วมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่อบรมเกี่ยวกับการให้ความรู้ในเรื่องการป้องกันตนเองจากโควิด 19 และอีกหนึ่งการต่อยอดที่สำคัญ คือ การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร เช่น การทำสเปรย์กันยุงจากสมุนไพรพื้นบ้าน และกิจกรรมน่าน่าสนใจอย่างยิ่ง คือ งานเสาวนาเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล : ทางเลือกและทางรอดในยุค New Normal แนวคิดการจัดการน้ำ “โคก หนอง นา โมเดล” 

        วันที่ 5 ตุลาคม 2564  ได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ผ่าน Google meet  ร่วมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรผู้ดูแลโครงการและโดยมีสาระสำคัญในการประชุมได้มอบหมายงานให้แก่ผู้ปฏิบัติงานใหม่ที่เข้าร่วมโครงการเพื่อต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากขนม โดยแบ่งพื้นที่ในแต่ละหมู่บ้านให้ผู้ปฏิบัติงานดำเนินการติดตามการแปรรูปผลิตภัณฑ์ขนมจากผู้ปฏิบัติที่รับผิดชอบอยู่แล้ว และการเก็บแบบสอบถาม เกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19 โดยแบ่งให้บัณฑิตจบใหม่จำนวน 50 ชุด ประชาชน 30 ชุด และนักศึกษา 20 ชุด และการตอบแบบสอบถามการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตําบลแบบบูรณาการ 1 ตําบล 1 มหาวิทยาลัย (U2T) จัดทําขึ้นเพื่อชี้แจงการตอบแบบสอบถามของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดําเนินโครงการ U2T โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของโครงการ ฯ และสามารถนําผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไปใช้ เพื่อพัฒนา และให้ตอบโจทย์ความคุ้มค่าของการลงทุนและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม รวมทั้งนําไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อพัฒนากลไกการบริหาร การติดตามและการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม  ต่อมาได้แบ่งการเก็บข้อมูลแบบสอบถาม ครั้งนี้จะเก็บข้อมูลจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วยเสียในการดําเนินโครงการทั้งหมด 11 กลุ่ม รวมทั้งสิ้น 11 แบบสอบถาม โดยแบ่งให้ผูปฏิบัติงานรับผิดชอบเก็บแบบสอบถามผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างรอบด้านเพื่อพัฒนาและต่อยอดได้ดังนี้ 

    1. กลุ่มตำบลเป้าหมาย 

       2. กลุ่มลูกจ้างโครงการ 

       3. ครอบครัวลูกจ้างโครงการ

       4. ชุมชนภายใน

       5. ชุมชนภายนอก

       6. อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ

       7. เจ้าหน้าที่โครงการ USI

       8. ผู้แทนตำบล

      9. หน่วยงานภาครัฐ

      10. หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

      11. เอกชนในพื้นที่ 

 

การติดตามแบบสอบถามผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดย ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบ ในหัวข้อ ที่ 9 หน่วยงานของรัฐ

       โดยผู้ตอบแบบสอบถามคือ  นายบรรจบ  ลอยประโคน ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานในเรื่องการอบรมให้ความรู้ โดยท่านผู้อำนวยการอธิบายในภาพรวมดังนี้ 

         บทบาทหน้าที่การดำเนินการภายไต้โครงการ โดยได้ร่วมดำเนินการอบรมให้ความรู้ด้านการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้จัดทำแนวทางการปฏิบัติด้านสาธารณสุข เพื่อการจัดมาตราการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ให้หน่วยงาน บุคลากร และประชาชนทั่วไป เพื่อคุ้มครอง ป้องกันสุขภาพของประชาชน ตลอดจนการจัดสภาพแวดล้อมในสถานที่ต่าง ๆ เพื่อควบคุมป้องกันโรค มิให้แพร่กระจายไปสู่คนหมู่มากและสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคได้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 

ข้อเสนอแนะ ข้อเน้นย้ำให้ประชาชนดูเเลตนเองให้ห่างไกลจากโควิด 19 และฉีดวัคชีนให้ครบโดส สวมหน้ากากอานามัยในขณะไปปฏิบัติภารกิจนอกสถานที่ สร้างความเข้าใจให้คนในครอบครัวตระหนักถึงความสำคัญและความปลอยภัย

 

 

        อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

       ผมอยากอธิบายให้เข้าใจถึงคุณค่าแห่งภูมิปัญญา และวัฒนธรรม การใช้สมุนไพรแก้ปัญหาความเจ็บไข้ได้ป่วยที่นับเป็นภูมิปัญญาอันทรงคุณค่า ที่บรรพบุรุษได้ลองผิดลองถูกค้นคว้าตามธรรมชาติเหนือสิ่งอื่นใด  จนกระทั่งสั่งสมเป็นองค์ความรู้สืบทอดให้ลูกหลานได้ใช้ประโยชน์มาจนถึง ปัจจุบัน องค์ความรู้เหล่านี้มีทั้งส่วนที่มิได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร และบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ ตำราการบันทึก หรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ เหล่านี้ล้วนแสดงถึงภูมิปัญญาอันชาญฉลาดที่มุ่งแก้ไขโรคภัยไข้เจ็บ โดยมิได้ลืมการสั่งสอนอบรมให้ตั้งต้นอยู่ในความดีความงามตามแนวทางของ พระพุทธศาสนาอันเป็นวัฒนธรรมประจำชาติ สมุนไพรนับว่าเป็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติอย่างแท้จริง สมุนไพรก่อเกิดตามธรรมชาติ และพัฒนาคู่เคียงกับการแสวงหาทางออกในด้านสุขภาพของมนุษย์ สมุนไพรมีความหมาย และทรงคุณค่าหลายมิติแตกต่างกันไปตามยุคสมัยของสังคมโลก และสังคมไทย แม้โลกยุคใหม่จะพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ยาแผนใหม่จากสารเคมีหลายชนิดได้เข้ามาแทนที่สมุนไพรมิใช่ว่าจะทดแทนคุณค่า ของสมุนไพรที่มีอยู่ได้ดีคุณค่าของสมุนไพรกำลังได้รับความสำคัญ และพัฒนาให้เป็นระบบครบวงจร อันทำให้สมุนไพรมีคุณค่าในการพัฒนาสังคมไทยได้หลายมิติ และอย่างยั่งยืนในอนาคต

     วันที่ 15 ตุลาคม 2564  เวลา 13.30 น. อาจารย์ประจำหลักสูตร และผู้ปฏิบัติงานตำบลบ้านสิงห์ พร้อมตัวแทนประชาชนในแต่ละหมู่บ้านจำนวนหมู่บ้านละ 2 ท่าน ได้เข้าร่วมอบรมการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ณ ศาลากลางหมู่บ้าน บ้านหนองบัวราย หมู่ 7 ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ วิทยากรผู้ทำการสาธิตการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร 2 ท่านคือ ดร.สุกัญญา ทองขัน และ ดร. สุภาวรัตน์ ทัพสุรีย์ เป็นวิทยากรการอบรมในครั้งนี้มาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเคมี    ในส่วนแรกของการอบรมจะเป็นการแบ่งกลุ่ม แต่ละกลุ่มจะประกอบไปด้วยประชาชน และผู้ปฏิบัติงาน โดยแบ่งกลุ่มทั้งหมดออกเป็น 5 กลุ่ม ซึ่งอุปกรณ์ในการอบรมจะถูกเตรียมไว้แล้ว และผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรที่จะทำทั้งหมดมี 3 อย่างคือ สเปรย์กันยุงสมุนไพร น้ำมันเหลือง  และยาหม่องไพล โดยส่วนประกอบต่าง ๆ และขั้นตอนการทำมีดังนี้ 

    1. สเปรย์กันยุง

              ส่วนประกอบ

                    1) เอทิลแอลกอฮอล์ 

                    2) ตะไคร้หอมหั่นฝอย 

                    3) ผิวมะกรูด 50 กรัม

                    4) การบูร 50 กรัม

        วิธีทำ : 1) นำตะไคร้หอมและเปือกมะกรูดหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำมาห่อด้วยผ้าขาวบาง

                    2) แช่มะกรูดและตะไคร้ในเอทิลแอลกอฮอล์ เติมการบูร 50 กรัม ปิดฝาหมักทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ (เขย่าทุกวัน)

       คุณสมบัติสรรพคุณสเปรย์กันยุง และยาทากันยุงที่ดี
          1. สามารถออกฤทธิ์ป้องกันยุง
          2. สามารถออกฤทธิ์ได้นานหลายชั่วโมง โดยไม่ขึ้นกับความเข้มข้น และไม่มีผลข้างเคียงต่อร่างกาย
         3. ไม่ทำให้เกิดอาการระคายเคือง ผดผื่นหรือการอักเสบแก่ผิวหนัง 
         4. ไม่มีกลิ่นเหม็นหรือกลิ่นฉุนของส่วนผสม ให้กลิ่นหอมน่าใช้ของสมุนไพร
         5. ไม่ทำให้เกิดสีบริเวณผิวหนังเมื่อฉีดพ่น

 

        2.น้ำมันเหลือง

              ส่วนประกอบของน้ำมันเหลือง

                   1) เมนทอล 120 กรัม

                   2) การบูร 80 กรัม

                   3) พิมเสน 40 กรัม

                   4) น้ำมันไพล 200 กรัม

        วิธีทำ : ผสมเมนทอล การบูร และพิมเสน ลงในบีกเกอร์ ใช้ไม้พายคนให้ละลาย  แล้วจึงเติมน้ำมันไพล คนให้ส่วนผสมทุกอย่างละลายและเข้ากัน เมื่อส่วนผสมทุกอย่างเข้ากันหมดแล้วให้เทลงขวดบรรจุเพื่อนำไปใช้งาน นำไพลและขมิ้นที่แก่จัดมาปอกเปลือกไพลและขมิ้นหั่นเป็นชิ้นบางจากนั้นนำไปทอดในน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์มโดยใช้ไฟกลางจนกระทั่งไพลและขมิ้นกรอบเหลือง  กรองเอาน้ำมันจะได้น้ำมันไพล

      คุณสมบัติสรรพคุณน้ำมันเหลือง 

เป็นต้ำรับยำสมุนไพรโบราณ ใช้ภายนอก สูดดมแก้วิงเวียน แก้เมารถ แก้เมาเรือ ทำแก้แมลงกัดต่อย แก้ฟกช้ำ แก้เคล็ด แก้ขัดยอก

 

        3. ยาหม่องไพล

ส่วนประกอบ

                   1) วาสลิน 120 กรัม

                   2) พาราฟิน 80 กรัม

                   3) น้ำมันไพล 60 กรัม

                   4) พิมเสน 20 กรัม

                   5) เมนทอล 20 กรัม

                   6) การบูร 20 กรัม

                   7) น้ำมันยูคาลิปตัส 30 มิลลิลิตร

                   8) น้ำมันระกำ 100 มิลลิลิตร

วิธีทำ :  1) ชั่งพาราฟินและวาสลินลงภาชนะ แล้วนำมาให้ความร้อนจะสังเกตเห็นว่าพาราฟินและวาสลินจะเริ่มละลาย 

                   2) ผสมเมนทอล การบูร พิมเสน น้ำมันระกำ น้ำมันยูคาลิปตัส และน้ำมันสมุนไพร คนจนละลายเป็นเนื้อเดียวกัน

                   3) เมื่อพาราฟินและวาสลินใสจนเป็นเนื้อเดียวกันให้เติมของผสมระหว่างเมนทอล การบูรพิมเสน น้ำมันระกำ และน้ำมันยูคาลิปตัส จากข้อ 2) แล้วคนให้เป็นเนื้อเดียวกัน

                   4) เทสารละลายที่ได้ใส่ภาชนะที่บรรจุยาหม่องตั้งทิ้งไว้จนยาหม่องแข็งตัว

         คุณสมบัติสรรพคุณยาหม่องไพล 

บรรเทาอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัด ยอก อาการอักเสบของกล้ามเนื้อ และแมลงกัดต่อย   ฟกช้ำ อักเสบ แก้ปวดบวม

สาระสำคัญ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร คือ การนำส่วนของพืชสมุนไพรมาผสม ปรุง หรือแปรสภาพอื่น ๆ เช่น บดละเอียด โดยการเปลี่ยนแปลงสถานะของสมุนไพร ให้แตกต่างไปจากเดิม เพื่อประโยชน์ในการใช้งานที่ หลากหลายมากขึ้น เมุนไพรมีหลายชนิด และมีสรรพคุณทางยาที่แตกต่างกันทางรูป รสชาติ กลิ่น สี เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญเพื่อให้การแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพรมีคุณภาพดี ตลอดจนการเก็บรักษา ผลิตภัณฑ์ ให้มีคุณภาพใกล้เคียงผลิตภัณฑ์เดิมมากที่สุด เนื่องจากผลิตภัณฑ์บางประเภทไม่สามารถ คงสภาพอยู่ได้นาน การแปรรูปจึงเป็นการคงไว้ซึ่งคุณค่า

         กิจกรรมอื่นที่น่าสนใจ วัน 17 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00 น. เริ่มเปิดงานเสาวนาเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคกหนองนาโมเดล : ทางเลือกและทางรอดในยุค New Normal แนวคิดการจัดการน้ำ “โคก หนอง นา โมเดล” 

โครงการโคก หนอง นา โมเดล เป็นการสร้างความมั่นคง ในแหล่งทำกินด้านการเกษตรเลี้ยงสัตว์ สู้กับภัยแล้ง ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ให้หันกลับมาอุดมสมบูรณ์ โดยปรับปรุงพื้นที่รองรับ ฝนธรรมชาติ และการเชื่อมโยงวงจรชีวิต พืช สัตว์ ให้เดินทางร่วมกันได้

               ประโยชน์ของทฤษฎีใหม่

                – ประชาชนพออยู่พอกินในระดับประหยัด เลี้ยงตนเองได้ ไม่อดอยาก ตามหลักปรัชญาของ “เศรษฐกิจพอเพียง”

                – ในหน้าแล้งก็สามารถนำน้ำที่เก็บกักไว้ในสระมาปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย เช่น ถั่วต่างๆ ได้ โดยไม่ต้องอาศัยชลประทาน

                – ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาล ก็สามารถสร้างรายได้ให้ร่ำรวยได้

               – ในกรณีที่เกิดอุทกภัย ก็สามารถฟื้นตัว และช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง โดยราชการไม่ต้องช่วยเหลือมากนัก

 

อื่นๆ

เมนู