ชื่อผู้ปฏิบัติงาน นางสาวปัทมพร  ทุมทอง
ประเภท นักศึกษา
HS03 ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ผลการปฏิบัติงานประจำเดือน ตุลาคม 2564

อบรมการพัฒนาทักษะผ่านระบบ e-Learning 4 ด้าน

1) ด้านดิจิทัล Digital Literacy
2) ด้านภาษาอังกฤษ Language Literacy
3) ด้านการเงิน Financial Literacy
4) ด้านสังคม Social Literacy

โดยให้มีระยะเวลาการฝึกอบรม เดือน ทักษะละไม่ต่ำกว่า 20 ชั่วโมง พร้อมได้รับใบประกาศนียบัตรครบทุกทักษะ

       จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (COVID-19) องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ถือเป็นพื้นที่เสี่ยงสูง ทำให้การลงพื้นที่ในการปฏิบัติงานแต่ละครั้งมีความยากมากขึ้น เนื่องจากการลงพื้นที่สอบถามข้อมูลจะต้องใกล้ชิดกับคนในชุมชน ในการปฏิบัติงานทุกครั้งจะต้องปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ตามที่ประกาศจังหวัดบุรีรัมย์กำหนดไว้
การปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม มีดังนี้

วันที่ 5 ตุลาคม 2564

       ประชุมร่วมกับคณะอาจารย์และผู้ปฏิบัติงาน ตำบล ได้แก่ตำบลบ้านสิงห์และตำบลหนองโบสถ์ ผ่านระบบ google meets.     

       รายละเอียดในการประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ชี้แจงและมอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานได้สำรวจข้อมูลแบบสอบถามโดยแบ่งเป็น 10 ประเภท คือ

1.ตำบลเป้าหมาย                                

2.ลูกจ้างโครงการ

3.กลุ่มเป้าหมาย                                  

4.ครอบครัวลูกจ้างโครงการ

5.ชุมชนภายใน                                    

6.ชุมชนภายนอก

7.ผู้แทนตำบล                                     

8.หน่วยงานภาครัฐ

9.หน่วยงานอปท.                               

10.เอกชน

       อาจารย์ประจำคณะฯ มอบหมายงานให้ กลุ่มบัณฑิต กลุ่มนักศึกษาและกลุ่มประชาชน เพื่อแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ในการจัดสถานที่ที่จะจัดอบรมขึ้นในวันที่ 15 ตุลาคม 2564 ณ ศาลาประชาคมบ้านหนองบัวราย 

วันที่ 8-9 ตุลาคม 2564

      อาจารย์ประจำหลักสูตรได้มอบหมายหน้าที่ให้กลุ่มนักศึกษา ตำบลบ้านสิงห์จัดเตรียมอุปกรณ์ในการฝึกอบรบการจัดทำอุปกรณ์ป้องกันตัวเอง ได้แก่ หั่นไพล หั่นขมิ้น หั่นตะไคร้ หันผิวมะกรูด เพื่อใช้ในการผลิตยาหม่องไพล น้ำมันเหลือง และสเปรย์กันยุงสมุนไพร

วันที่ 14 ตุลาคม 2564

       หัวหน้าหลักสูตรมอบหมายให้กลุ่มนักศึกษาตำบลบ้านสิงห์และตำบลหนองโบสถ์ เตรียมหั่นขมิ้น ไพล มะกรูด ตะไคร้  และให้จัดเตรียมหน้ากากอนามัย เพื่อนำไปมอบให้ผู้ใหญ่บ้านที่หมู่บ้านในตำบลสิงห์และตำบลหนองโบสถ์

 

       แบบสอบถาม U2T-SROI โครงการติดตามประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมโครงการ U2T จากการมอบหมายงาน โดยให้แต่ละคนกรอกข้อมูลในระบบตามกลุ่มที่ได้รับหมาย  ซึ่งข้าพเจ้าได้กลุ่มลูกจ้างโครงการ  กรอกลงในระบบ 

วันที่ 15 ตุลาคม 2564

       คณะอาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้ปฏิบัติงาน กลุ่มบัณฑิต กลุ่มนักศึกษาและกลุ่มประชาชน ตำบลบ้านสิงห์  พร้อมกับตัวแทนประชาชนทั้ง 14 หมู่บ้านเข้าร่วมอบรม ณ ศาลาประชาคมบ้านหนองบัวราย “การฝึกอบรมการจัดทำอุปกรณ์ป้องกันตนเอง” ช่วยกันผลิตยาหม่องไพล น้ำมันเหลือง และสเปรย์กันยุงสมุนไพร ผู้เข้าร่วมได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี โดยผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ที่มีการอบรมในครั้งนี้ มีส่วนประกอบและวิธีการทำดังนี้

สเปรย์กันยุงสมุนไพร

  

เตรียมวัตถุดิบ ประกอบด้วย

1.ตะไคร้หอมหั่น 100 กรัม

2.ผิวมะกรูดหั่น 50 กรัม

3.การบูร 10 กรัม

4.เอทิลแอลกอฮอล์ หรือแอลกอฮอลล์ล้างแผล 1 ลิตร

5.ผ้าขาวบางขนาด 25*25 ซม. 1 ผืน โหลแก้วพร้อมฝาปิด 1 ใบ และขวดสเปรย์ตามชอบ 

วิธีทำ

1.นำตะไคร้หอมและผิวมะกรูดที่เตรียมไว้ห่อด้วยผ้าขาวบาง ผูกให้เรียบร้อย จากนั้นใส่ลงในโหลแก้ว

2.เติมเอทิลแอลกอฮอลล์ ปิดฝาให้สนิท หมั่นคนเช้า-เย็นเป็นเวลา 7 วัน

3.พอครบ 7 วัน นำห่อผ้าออก แล้วเติมการบูรลงไป

4.บรรจุในขวดสเปรย์พร้อมปิดฉลากให้สังเกตได้ชัด ป้องกันการหยิบใช้ผิด

น้ำมันไพล (น้ำมันเหลือง)


วัสดุอุปกรณ์
1) ไพล 120 กรัม
2) น้ำมันงา หรือน้ำมันมะพร้าว 200 กรัม
3) กำรบูร 80 กรัม
4) พิมเสน 40 กรัม
5) เมนทอล 120 กรัม
วิธีทำ/ขั้นตอน
1) หั่นไพลบาง ๆ ทอดในน้ำมันงา หรือน้ำมันมะพร้าว ด้วยไฟอ่อน ๆ ประมาณ2 – 3 ชั่วโมง จนเหลืองกรอบ
2) ก่อนยกลงจากเตาไฟทิ้งไว้สักครู่
3) น้ำการบูร พิมเสน เมนทอล น้ำมันไพล กวนผสมให้เข้ากัน
4) บรรจุขวดเพื่อนำไปใช้งาน

ยาหม่องไพล

 

วัตถุดิบ
1. วาสลีน 120 กรัม

2. เมนทอล 20 กรัม

3. พิมเสน 20 กรัม

4. การบูร 20 กรัม

5. น้ำมันระกำ 100 มิลลิลิตร

6. น้ำมันยูคำลิปตัส 30 มิลลิลิตร

7. น้ำมันไพล 60 มิลลิลิตร

8. พาราฟิน 80 กรัม

วิธีทำ

1. ชั่งพาราฟินและวาสลีนลงภาชนะ แล้วนำมาให้ความร้อนจะสังเกตเห็นว่าพาราฟินและวาสลีนจะเริ่มละลายใส                                                                                             

2. ผสมเมนทอล การบูรพิมเสน น้ำมันระกำ น้ำมันยูคาลิปตัส และน้ำมันสมุนไพร คนจนสารละลายเป็นเนื้อเดียวกัน                                                                                     

3. เมื่อพาราฟินและวาสลีนใสจนเป็นเนื้อเดียวกันให้เติมของผสมระหว่างเมนทอล การบูร พิมเสนน้ำมันระกำและน้ำมันยูคาลิปตัส จากข้อ 2 แล้วคนให้เป็นเนื้อเดียวกัน     

4. เทสารละลายที่ได้ใส่ภาชนะที่บรรจุยาหม่อง ตั้งทิ้งไว้จนยาหม่องแข็งตัว

เกร็ดความรู้
การบูร มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาว ออกฤทธิ์ร้อน สรรพคุณ ช่วยบรรเทาโรคตาแดง ขับเสมหะ ขับลม
เมนทอล มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีกลิ่นหอม บรรเทาอาการหวัด คัดจมูกแก้ไข้ แก้ไอ ลดการอักเสบในลำคอ บรรเทาอาการปวดศีรษะ
พิมเสน มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวขุ่น มีกลิ่นหอม ใช้สูดดม แก้วิงเวียนศีรษะใช้ทาแก้ปวดเมื่อย แก้เคล็ดขัดยอก
พาราฟิน ใช้เป็นส่วนผสมเพื่อทำให้น้ำมันแข็งตัว
วาสลีน ใช้เป็นส่วนผสมเพื่อทำให้เกิดความลื่นมัน และสะดวกในการทานวด
น้ำมันระกำ เป็นน้ำมันใส มีกลิ่นหอม มีสรรพคุณแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อแก้เคล็ดขัดยอก
น้ำมันยูคาลิปตัส สรรพคุณ แก้หวัดคัดจมูก ขับเสมหะ ขับลม แก้โรคหอบหืด

สรุปการปฏิบัติงาน

ผลการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม 2564 ในส่วนแรกเป็นการปฏิบัติงานออนไลน์ เนื่องด้วยเป็นสถานการณ์โรคระบาด Covid-19  ในการอบรมการพัฒนาทักษะผ่านระบบ e-Learning 4 ด้าน ดังนี้ 

1) ด้านดิจิทัล Digital Literacy  

2) ด้านภาษาอังกฤษ Language Literacy             

3) ด้านการเงิน Financial Literacy

4) ด้านสังคม Social Literacy

โดยให้มีระยะเวลาในการฝึกอบรมเป็นเวลา1เดือน รวมทั้งสิ้นทักษะละไม่ต่ำกว่า 20 ชั่วโมง พร้อมได้รับใบประกาศนียบัตรครบทุกทักษะ หลังจากอบรมครบทุกทักษะแล้วสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

     การลงพื้นที่ครั้งแรกของผู้ปฏิบัติงานใหม่เป็นกิจกรรมที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการทำสมุนไพรทั้ง 3 ชนิด (ยาหม่องไพล น้ำมันเหลืองและสเปรย์กันยุงสมุนไพร) โดยมีเกร็ดความรู้และวิธีการอย่างละเอียดทุกขั้นตอน ได้ทำงานกับคณะอาจารย์ กลุ่มผู้ปฏิบัติงานและทีมชาวบ้านได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ซึ่งปัจจุบันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องเฝ้าระวังและควรปฏิบัติตามมารตราการการป้องกันไวรัสอย่างเคร่งครัด

สิ่งที่ได้เรียนรู้

1. ได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น  วัฒนธรรมขององค์กร

2. ได้ฝึกตัวเองให้เป็นคนที่มีระเบียบวินัยมากขึ้น

3. ได้ฝึกตนเองเรื่องความรับผิดชอบต่อหน้าที่ต่องานที่ได้รับมอบหมาย

4. ได้มีโอกาสรู้จักผู้คนมากมายมากขึ้นได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จากการทำงานมากมาย

5. ได้ประสบการณ์จริงจากการทำงานจากการทำงาน

6. ได้เรียนรู้การปฏิบัติตัวในขณะลงพื้นที่เสี่ยงโควิด

แผนปฏิบัติงานต่อไป

ดำเนินงานตามแผนการตามที่ได้รับมอบหมาย

ลงพื้นที่เก็บข้อมูลต่างๆให้ครบตามเป้าหมาย

และปฏิบัติตามคำสั่งคณะอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มอบหมายให้

 

อื่นๆ

เมนู