ดิฉัน นางสาวพรสวรรค์ โกศล ( กลุ่มนักศึกษา )
การปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ประจำเดือนตุลาคม 2564
1. วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม 2564 ประชุมแผนการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคมและแผนการปฏิบัติงานในเดือนถัดไป แนะนำผู้ปฏิบัติงานใหม่และแบ่งหน้าที่การรับผิดชอบงานประจำหมู่บ้าน การลงเวลาปฏิบัติงานลงเข้างานและลงออกงาน การอบรมทักษะทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการเงิน ด้านดิจิทัล ด้านภาษาอังกฤษ และด้านสังคม แนะนำวิธีการเขียนบทความประจำเดือน การใช้คำ การใช้ภาษาในการเขียนบทความ
ชี้แจงแผนการปฏิบัติงานในการลงพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ ได้แก่ กิจกรรมอบรมการป้องกันตนเองที่ทำจากสมุนไพร กิจกรรมประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมการตลาดแปรรูปขนมไทย กิจกรรมอบรมการสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการติดตามผลหลังจากอบรม กิจกรรมการพัฒนา คือ ด้านการอาชีพหรือผลิตภัณฑ์ ด้านสุขภาพ ด้านยกระดับการท่องเที่ยว และด้านจิตอาสาสิ่งแวดล้อม
2. วันอังคารที่ 5 ตุลาคม 2564 มีเนื้อหาในการประชุม ดังนี้
1) การติดตามการอบรม 4 ทักษะ ของผู้ปฏิบัติงานใหม่
2) ประชุมชี้แจงการลงพื้นที่เพื่ออบรมในวันที่ 15 ตุลาคม 2564 เป็นการทำสเปรย์กันยุงสมุนไพร น้ำมันเหลือง ยาหม่องไพล โดยมีการนัดหมายกลุ่มนักศึกษาเพื่อมาจัดเตรียมสาร และสมุนไพรที่จะใช้ในการอบรมสาธิต
3) การประกวดภาพถ่ายหรือภาพที่ประทับใจ โดยแต่ละตำบลมีอาหารประจำท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตำบลอย่างไร
4) แบบสอบถาม U2T-SROI เป็นแบบสอบถามโครงการติดตามประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมโครงการ U2T เพื่อนำผลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาพิจารณาสำหรับการวางแผนของโครงการ
การตอบแบบสอบถาม การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (U2T) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของโครงการ ฯ และสามารถนำผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไปใช้ 1) พัฒนา Framework ของการประเมินผลตอบแทนทางสังคม (SIA/SROI) ที่เหมาะสม 2) ประเมินผลตอบแทนทางสังคม (SROI) ของโครงการ เพื่อตอบโจทย์ความคุ้มค่าของการลงทุนและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม รวมทั้งนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อพัฒนากลไกการบริหาร การติดตามและการประเมินผลลัพธ์ทางสังคม (Social Impact Assessment : SIA / Social Return on Investment : SROI) โดยการเก็บข้อมูลแบบสอบถามครั้งนี้จะเก็บข้อมูลจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วยเสียในการดำเนินโครงการทั้งหมด 11 กลุ่ม รวมทั้งสิ้น 11 แบบสอบถาม ทั้งนี้ คณะผู้เก็บข้อมูลได้ทำการศึกษาถึงข้อมูลของการดำเนินโครงการ ฯ เพื่อกำหนดขอบเขตในการดำเนินการสอบถามผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ และนำไปสู่การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ทั้งรูปแบบการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) การประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) และแบบสอบถาม (Questionnaires) หลังจากการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือกระบวนการเก็บข้อมูลไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งเป็นหลักสำคัญของฐานข้อมูลที่จะนำไปพัฒนาต่อยอดโครงการในอนาคตต่อไป
3. วันที่ 8, 9 และ 14 ตุลาคม 2564 นักศึกษาเตรียมสมุนไพร ซึ่งสมุนไพรที่จัดเตรียม คือ ตะไคร้หอมและผิวมะกรูดหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อนำไปใช้ในการหมักเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ปอกเปลือกไพลและขมิ้นสำหรับการทำน้ำมันไพล
การเตรียมสมุนไพรวันที่ 8 ตุลาคม 2564
การเตรียมสมุนไพรวันที่ 9 ตุลาคม 2564
การเตรียมสมุนไพรวันที่ 14 ตุลาคม 2564
4. วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม 2564 อบรมการป้องกันตนเองที่ทำจากสมุนไพร ณ ศาลาประชาคม หมู่บ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ วิทยากรที่บรรยายการอบรม ดร.สุกัญญา ทองขัน และ ดร.สุภาวรัตน์ ทัพสุริย์ อาจารย์จากสาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งการอบรมที่มีการสาธิต คือ สเปรย์กันยุงสมุนไพร น้ำมันเหลือง และยาหม่องไพล วิธีการทำดังนี้
ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร
- สเปรย์กันยุงสมุนไพร
ส่วนประกอบ
- เอทิลแอลกอฮอล์ 1 ลิตร
- ตะไคร้หอมหั่นฝอย 100 กรัม
- ผิวมะกูด 50 กรัม
- การบูร 50 กรัม
วิธีทำ
- นำตะไคร้หอมและเปลือกมะกูดหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำมาห่อด้วยผ้าขาวบาง
- แช่มะกรูดและตะไคร้ในเอทิลแอลกอฮอล์ เติมการบูร 50 กรัม ปิดฝาหมักทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ (เขย่าทุกวัน)
- กรอกใส่ขวดพร้อมนำใช้งาน
- น้ำมันเหลือง
การเตรียมน้ำมันไพล
ส่วนประกอบ
-
- ไพล 200 กรัม
- ขมิ้น 50 กรัม
- น้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์ม 100 กรัม
วิธีทำ
นำไพลและขมิ้นที่แก่จัด มาปลอกเปลือกไพลและขมิ้นหั่นเป็นชิ้นบาง (คล้ายกับการทำกล้วยฉาบ) จากนั้นนำไปทอดในน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์ม โดยใช้ไฟกลาง จนกระทั่งไพลและขมิ้นกรอบเหลือง (ระวังอย่าให้ไหม้) กรองเอาน้ำมันจะได้น้ำมันไพล (จะได้ประมาณ 70-80 มิลลิลิตร)
ส่วนประกอบของน้ำมันเหลือง
- เมนทอล 120 กรัม
- การบูร 80 กรัม
- พิมเสน 40 กรัม
- น้ำมันไพล 200 มิลลิลิตร
วิธีทำ
ผสมเมนทอล การบูร และพิมเสน คนให้ละลาย (ถ้าละลายไม่หมดสามารถเพิ่มเมนทอลลงไปทีละน้อย) แล้วจึงเติมน้ำมันไพล และเทลงขวดเพื่อนำไปใช้งาน
- ยาหม่องไพล
ส่วนประกอบ
- วาสลิน 120 กรัม
- พาราฟิน 80 กรัม
- น้ำมันไพล 60 มิลลิลิตร
- พิมเสน 20 กรัม
- เมนทอล 20 กรัม
- การบูร 20 กรัม
- น้ำมันยูคาลิปตัส 30 มิลลิลิตร
- น้ำมันระกำ 100 มิลลิลิตร
วิธีทำ
- ชั่งตวงพาราฟินและวาสลินภาชนะ แล้วนำมาให้ความร้อน จะสังเกตเห็นว่าพาราฟินและวาสลินจะเริ่มละลาย (เปลี่ยนเป็นสีใส)
- ผสมเมนทอล การบูร พิมเสน น้ำมันระกำ น้ำมันยูคาลิปตัส และน้ำมันไพล คนจนสารละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
- เมื่อพาราฟินและวาสลินใสจนเป็นเนื้อเดียวกันให้เติมของผสมระหว่างเมนทอล การบูร พิมเสน น้ำมันระกำ และน้ำมันยูคาลิปตัส จากข้อ 2) แล้วคนให้เป็นเนื้อเดียวกัน
- เทสารละลายที่ได้ใส่ภาชนะที่บรรจุยาหม่อง ตั้งทิ้งไว้จนยาหม่องแข็งตัว
หมายเหตุ
- ไม่ควรใช้ความร้อนที่สูงเกิน จะทำให้กลิ่นระเหยหมดและอาจทำให้เกิดไฟลุกไหม้ได้
- การให้ความร้อนที่มีเปลวไฟ ให้ทำการตุ๋นในน้ำร้อนเพื่อป้องกันการเกิดไฟลุกไหม้
- สามารถปรับเพิ่มได้ตามอัตราส่วน เมื่อต้องการยาหม่องในปริมาณที่มากขึ้น
เกร็ดความรู้
- การบูร มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาว ออกฤทธิ์ร้อน สรรพคุณช่วยบรรเทาโรคตาแดง ขับเสมหะ ขับลม
- เมนทอล มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีกลิ่นหอม บรรเทาอาการหวัด คัดจมูก แก้ไข้ แก้ไอ ลดการอักเสบในลำคอ บรรเทาอาการปวดศีรษะ
- พิมเสน มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวขุ่น มีกลิ่นหอม ใช้สูดดม แก้วิงเวียนศีรษะ ใช้ทาแก้ปวดเมื่อยแก้เคล็ดขัดยอก
- พาราฟิน ใช้เป็นส่วนผสมเพื่อทำให้น้ำมันแข็งตัว
- วาสลิน ใช้เป็นส่วนผสมเพื่อทำให้เกิดความลื่นมัน แสะดวกในการทานวด
- น้ำมันระกำ เป็นน้ำมันใส มีกลิ่นหอม มีสรรพคุณแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แก้เคล็ดขัดยอก
- น้ำมันยูคาลิปตัส สรรพคุณแก้หวัดคัดจมูก ขับเสมหะ ขับลม แก้โรคหอบหืด
ภาพบรรยายกาศการอบรม
5. แบบสอบถาม U2T-SROI โครงการติดตามประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมโครงการ U2T จากการมอบหมายงานโดยให้แต่ละคนกรอกข้อมูลในระบบตามกลุ่มที่ได้รับหมาย ซึ่งข้าพเจ้าได้กลุ่มเป้าหมายครอบครัวลูกจ้าง
6. การเก็บข้อมูลที่ได้รับผิดชอบ การลงพื้นที่ปฏิบัติงาน เพื่อสำรวจข้อมูลและจัดเก็บข้อมูลลงใน U2T Tracker ซึ่งมีรายละเอียดการมอบหมายงานประจำเดือนตุลาคม ดังนี้
- การเก็บข้อมูลกลุ่มที่พักอาศัย
1.1.1 กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ เก็บข้อมูลที่พักอาศัยจำนวน 50 หลังคาเรือน
1.2.1 กลุ่มประชาชน เก็บข้อมูลที่พักอาศัยจำนวน 30 หลังคาเรือน
1.3.1 กลุ่มนักศึกษา เก็บข้อมูลที่พักอาศัยจำนวน 20 หลังคาเรือน
- การเก็บข้อมูลกลุ่มศาสนสถาน มอบหมายให้กลุ่มประชาชนเป็นผู้รับผิดชอบ
- การเก็บข้อมูลกลุ่มโรงเรียนและตลาด มอบหมายให้กลุ่มบัณฑิตจบใหม่เป็นผู้รับผิดชอบโดยมีการแบ่งกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ออกเป็น 2 กลุ่ม เพื่อเก็บข้อมูล
การเก็บข้อมูลกลุ่มนักศึกษา มีจำนวน 6 คน โดยแบ่งกันสำรวจดังนี้
-
- บ้านหนองขาม จำนวน 2 คน และ
- บ้านโคกไม้แดง จำนวน 1 คน
- บ้านหนองตาชี จำนวน 3 คน ตามที่ได้ลงพื้นที่สำรวจบ้านหนองตาชี มีรายละเอียดการเก็บข้อมูลดังต่อไปนี้
แบบสำรวจชุดที่ 1 สำหรับที่พักอาศัย
- มีการประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนว่า
- เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือหากติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรงหรือไม่ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง หรือไม่
- ในการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ปฏิบัติงานในสถานบันเทิง/สถานบริการต่างๆ เป็นต้น หรือไม่
- ตนเองหรือบุคคลในครัวเรือนมีการเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ระบาด หรือไม่
- มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกัน หากพบว่ามีไข้ ร่วมกับไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบากอย่างใดอย่างหนึ่ง และอาจมีอาการ ท้องเสียร่วมด้วย ให้รีบไปพบแพทย์ทันที หรือไม่
- มีการดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์โดยเฉพาะก่อนเตรียม ปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งสกปรก หลังเยี่ยมผู้ป่วยในสถานพยาบาล หลังสัมผัสหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยง และหลังกลับจากนอกบ้าน หรือไม่
- มีการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ และใช้ช้อนส่วนตัว หรือไม่
- ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ช้อน แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ หรือไม่
- เมื่อกลับจากการทำภารกิจหรือกิจกรรมนอกบ้าน ให้ล้างมือ ชำระร่างกาย เปลี่ยนเครื่องแต่งกายทันที หรือไม่
สรุปการปฏิบัติงานเดือนตุลาคม เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 19 ยังคงมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง มีการวางแผนการรับมือ และป้องกันตนเองกับสถานการณ์ฯ ที่เข้มงวดยิ่งขึ้น จึงทำให้การประชุมวางแผนการปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ จะอยู่ในรูปแบบเครือข่ายออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแต่ละพื้นที่ยังมีการเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง การป้องกันด้วยการสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร ดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ซึ่งมีการทำตามมาตรการอย่างเคร่งครัด