โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (Buriram Rajabhat University)
นางสาวระวิวรรณ ฉิมกูล ประเภทบัณฑิตจบใหม่ กลุ่ม กพร. ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอนางรอง
“ข้อมูลเบื้องต้นสำหรับขั้นตอนการปฏิบัติงานภายในศูนย์ดำรงธรรม”
ศูนย์ดำรงธรรมจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่มีสาเหตุจากการร้องเรียน ร้องทุกข์ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ และทันต่อสถานการณ์ เป็นช่องทางหนึ่งที่จะขับเคลื่อนนโยบายในการบริหารราชการให้เป็นรูปธรรม ดังนั้น เพื่อให้ศูนย์ดำรงธรรมสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างแท้จริง โดยการเพิ่มช่องทางการร้องทุกข์ที่มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ กระทรวงมหาดไทยจึงได้จัดวางโครงการศูนย์ดำรงธรรม รวม 2 ระดับ ประกอบด้วย ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ศูนย์ดำรงธรรมภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ ตลอด 24 ชั่วโมง วิเคราะห์ ติดตาม ประสาน และประเมินผลการทำงาน ส่งเสริมและสงเคราะห์พลเมืองดี รวมทั้งการปฏิบัติการในพื้นที่กรณีมีเรื่องสำคัญเร่งด่วน เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างรวดเร็ว โดยมีการจัดโครงสร้าง การแบ่งส่วนการดำเนินงานภายในเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย
1. ส่วนวิเคราะห์รับเรื่อง มีหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ตลอด 24 ชั่วโมง ลงทะเบียนรับเรื่อง ตอบปัญหาข้อซักถาม(กรณีที่ตอบได้) ประสานการรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหากับศูนย์ดำรงธรรมในส่วนภูมิภาค สร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่างภาคราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนประสาน การประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานติดตาม ประเมินผลและจัดทำรายงานประจำปีของศูนย์ดำรงธรรมฯ โดยมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ จากประชาชน ตลอดทั้งวัน(ไม่มีช่วงพักเที่ยง) เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน แล้วสรุปเรื่องแยกตามกลุ่มเรื่อง และประเภท วิเคราะห์และประเมินเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ จัดลำดับความสำคัญ เร่งด่วน แยกเรื่องส่งให้ส่วนปฏิบัติการในพื้นที่ หรือประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. ส่วนเร่งรัดติดตามและประสานงาน มีหน้าที่เร่งรัด ติดตามผลการดำเนินงานเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์/ขอความช่วยเหลือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในและนอกสังกัดกระทรวงมหาดไทยเสนอรายงานผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ผู้บังคับบัญชาทราบและพิจารณาสั่งการ แจ้งผลการดำเนินงานตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ผู้ร้องเรียน/ร้องทุกข์ทราบ ตลอดจนจัดทำรายงานผลการติดตามเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ประจำเดือน
3. ส่วนส่งเสริมและสงเคราะห์พลเมืองดี มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องกองทุนส่งเสริมและสงเคราะห์พลเมืองดี วิเคราะห์และตรวจสอบเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ดูแลพลเมืองดีที่ได้รับความเดือดร้อน ประกาศเกียรติคุณหรือให้รางวัลพลเมืองดีประจำปี
4. ส่วนปฏิบัติการในพื้นที่ มีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือเรื่องสำคัญเร่งด่วน ทั้งเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ และการสงเคราะห์พลเมืองดีทันทีที่ได้รับแจ้ง โดยลงไปปฏิบัติงานในพื้นที่ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ร่วมปฏิบัติเพื่อหาทางออกร่วมกันอย่าสันติ
ภารกิจของศูนย์ดำรงธรรม
กระบวนงานให้บริการ
ขั้นตอนการให้บริการ
การปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่19 กันยายนจนถึง 19ตุลาคม 2564 ณ ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอนางรอง ที่ว่าการอำเภอนางรอง ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายจากปลัดประจำห้อง และปลัดท่านอื่น ๆ ดังนี้
1.งานด้านธุรการ
1.1 รับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์
1.2 สแกนไฟล์หนังสือส่งในระบบสารบรรรอิเล็กทรอนิกส์
1.3 พิมพ์หนังสือราชการ
1.4 ส่งหนังสือ ออกเลขหนังสือในระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
2.งานอื่น ๆ (งานพิธี) ที่ว่าการอำเภอนางรอง
2.1ให้คำปรึกษาและข้อกฎหมายในการกู้หนี้นอกระบบ
2.2 ลงพื้นที่ประกาศข้อเท็จจริงกรณีลงชื่อถอดถอนผู้ใหญ่บ้าน
2.3 การจัดกิจกรรมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 13 ตุลาคม 2564
2.4 รายงานผลการดำเนินงานประจำรายสัปดาห์
ตามที่ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานด้านธุรการนั้น ซึ่งเริ่มจากการรับเรื่องร้อง/ร้องทุกข์ข้อพิพาททางเเพ่ง (ทุนทรัพย์ไม่เกิน 2 แสนบาท) และเมื่อประชาชน walk in เข้ามาที่ศูนย์ดำรงธรรม ข้าพเจ้าจะสอบถามเบื้องต้นในเรื่องที่จะขอคำปรึกษาและให้ประชาชนเขียนคำร้องทุกข์ / ร้องเรียน หรือข้อพิพาททางแพ่ง พร้อมทั้งให้แนบเอกสารหลักฐาน สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และลงลายมือชื่อทุกครั้งในการยื่นเอกสาร จากนั้น ปลัดประจำห้องจะให้คำแนะนำและบอกกระบวนการขั้นตอนในการดำเนินเรื่องต่อไป ต่าจากนั้นข้าพเจ้าจะลงเลขรับในคำร้องพอสังเขปลงในสมุดคุม สมุดคุมจะคอยให้เลขข้อพิพาทในปีนั้น ๆ มี 3 แบบคือ 1. สมุดคุมเรื่องร้องเรียนทั่วไปของอำเภอนางรอง 2. สมุดคุมข้อพิพาททางแพ่งอำเภอนางรองและ3. สมุดคุมเรื่องที่ร้องเรียนจากศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดโดยศดธ.จังหวัดบุรีรัมย์จะส่งเรื่องร้องเรียนของราษฏรที่ร้องเรียนผ่านเว็ปไซน์จังหวัดหรือผ่านเว็ปไซน์ของกรมการปกครอง ทางจังหวัดจะดำเนินการส่งเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมดูแลของอำเภอนั้นๆ ตรวจสอบข้อเท็จจริง และเมื่ออำเภอตรวจสอบข้อพิพาทดังกล่าวเรียบร้อยแล้วนั้น ก็จะต้องรายงานให้จังหวัดทราบภายในวันและเวลาดังกล่าว เมื่อดำเนินการกระบวนการขั้นตอนแรกเสร็จสิ้นและถูกต้องแล้วนั้น ก็จะนำแบบคำร้องที่ประชาชนเขียนไว้เกษียณหนังสือเสนอให้กับปลัดประจำห้อง โดยปลัดจะร่างหนังสือสำหรับใช้ทางราชการให้กับเจ้าหน้าที่ เมื่อพิมพ์หนังสือเสร็จเรียบร้อยก็นำคำร้อง (ต้นเรื่อง) แนบเอกสารหนังสือที่พิมพ์ ปั้มตรวจทาน เสนอปลัดอาวุสโส และเดินแฟ้มเข้าห้องนายอำเภอเป็นที่สิ้นสุด เมื่อนำแฟ้มออกมา ตรวจทานลายเซ็นเรียบร้อย ข้าพเจ้าก็จะออกเลขหนังสือผ่านระบบสารบรรรอิเล็กทรอนิกส์ของจังหวัดบุรีรัมย์ ตรวจทานผู้รับหนังสือฉบับนั้น หากผู้ร้บเป็นหัวหน้าส่วนราชการทางศดธ.นางรองก็สามารถสแกนหนังสือเป็นไฟล์ PDF ส่งในระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ได้เรย หากส่งถึงประชาชนสามารถส่งได้ที่ไปรษณีย์ตามที่อยู่ในคำร้อง
ในการปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมายมีดังต่อไปนี้
วันจันทร์ที่ 27 กันยายน 2564 ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอพร้อมด้วยปลัดประจำห้อง เจ้าหน้าที่และข้าพเจ้า เป็นพยานให้กับประชาชนเดินทางมาขอความช่วยเหลือการจ่ายเงิน (ลูกหนี้) ให้กับเจ้าหนี้ (นอกระบบ) โดยมีหนังสือทางราชการพร้อมด้วยลายเซ็นส์ยอมรับข้อตกลงการปิดยอดหนี้ บางเคสมาขอคำปรึกษาปัญหาการชำระหนี้สินโดยขอไกลเกลี่ยเป็นงวด ๆ จนครบจำนวนเงินกู้
วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม 2564 เวลา 10.00 น. ปลัดห้องศูนย์ดำรงธรรอำเภอนางรองพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงรายชื่อถอดถอนผู้ใหญ่บ้านและกรณีขอให้ตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐไม่โปร่งใสผ่านศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด ด้วยทางอำเภอได้รับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ของชาวบ้าน (ปกปิดชื่อ) และทางอำเภอนางรองได้เล็งเห็นถึงปัญหาภายในหมู่บ้าน จึงลงพื้นที่แก้ไขปัญหา อธิบายขั้นตอนการดำเนินงานของอำเภอในการดูแลปกครองผู้นำหมู่บ้าน พร้อมทั้งเก็บเอกสารหลักฐานของชาวบ้านเพิ่มเติมประกอบการปฏิบัติงานครั้งนี้




นางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง ประธานในพิธี พร้อมด้วย ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนางรอง อัยการจังหวัดนางรอง พร้อมหัวหน้าส่วนราชการ ปลัดอำเภอ ตัวแทนองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น ประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านและเจ้าหน้าที่อำเภอนางรอง ร่วมพิธีวางพวงมาลาเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๔ ณ ศาลาประชาคมอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ตามข้อสั่งการและปฏิบัติตามมาตรการทางสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด




– ประสานเร่งรัดติดตามการดำเนินงานแก้ไขปัญหาเรื่องราวร้องทุกข์
– ประมวลแยกแยะเรื่องร้องทุกข์จากช่องทาง/หน่วยงาน
– งานให้คำปรึกษาแนะนำกับประชาชน
– ประสานการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท/แก้ไขปัญหาของประชาชน
– งานนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับงานศูนย์ดำรงธรรม
– ประสานการจัดชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว
– ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน
– งานส่งเสริมและสงเคราะห์พลเมืองดี
– พัฒนาระบบฐานข้อมูลและการให้บริการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (E-Report)
– งานติดตามประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรม
