ข้าพเจ้านายรุ่งโรจน์ ราชนาคา เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน กลุ่มประชาชน ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร :การส่งเสริมและพัฒนาการทำขนม (HS03) ขอนำเสนอการปฏิบัติงาน ประจําเดือน กันยายน – ตุลาคม 2564 มีดังนี้

โควิดลงปอด อาการเป็นอย่างไร?

สังเกตอาการเชื้อโควิดลงปอดแล้วหรือยัง

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 หลายคนคงสงสัยว่าตนเองมีอาการอยู่ในกลุ่มไหน? อาการหนักหรือไม่? มีภาวะเชื้อไวรัสลงปอดหรือยัง? วิธีเช็กอาการโควิดลงปอด ดังนี้

เดินไปมา ลุกยืนหรือลุกนั่ง 3 ครั้ง หรือ กลั้นหายใจ 10 – 15 วินาที หากทำแล้วเหนื่อย และวัดออกซิเจนในเลือดได้ต่ำกว่า 94 ลงไป ให้สงสัยว่าเชื้อโควิดลงปอดไว้ก่อน

ดูแลตนเองอย่างไร? เมื่อเชื้อโควิด-19 ลงปอด!

หากทราบว่าตนเองเป็นผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 จะดูแลตนเองอย่างไรในระหว่างที่รอเตียง?  การดูแลตนเองระหว่างที่รอเตียง โดยควรปฏิบัติดังนี้

แนะนำให้ “นอนคว่ำ” ระหว่างรอเตียง

  • การนอนคว่ำ เพื่อให้ปอดไม่มีการกดทับ และทำงานได้ดียิ่งขึ้น โดยวิธีการนอนคว่ำให้กอดหมอนไว้ที่หน้าอก เพื่อให้นอนสบายขึ้น
  • ผู้ป่วยบางคน หากนอนคว่ำไม่ได้ หายใจไม่ออก ให้นอนกึ่งตะแคงกึ่งคว่ำ 45 องศามาทางเตียง
  • กรณีที่ตั้งครรภ์ให้นอนตะแคงด้านซ้าย เพราะจะทำให้น้ำหนักของมดลูกไม่ไปกดเส้นเลือดดำใหญ่ ทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก

ขยับขาบ่อยๆ เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด

พยายามเคลื่อนไหวขาบ่อยๆ เพื่อให้เลือดไหลเวียน และป้องกันการเกิดลิ่มเลือด เช่น ยืดงอขา หรือยืดเหยียดปลายเท้า เป็นต้น

ดื่มน้ำมากๆ รับประทานอาหารให้เพียงพอ

  • ควรดื่มน้ำมากๆ ประมาณ 2 – 2.5 ลิตรต่อวัน แต่อย่าดื่มมากเกินไปเพราะจะส่งผลเสียทำให้เกลือแร่ในร่างกายเจือจางลง
  • หากยังสามารถรับประทานอาหารได้ ให้พยายามรับประทานให้เพียงพอ
  • ในกรณีที่รับประทานอาหารไม่ได้เลย ให้ดื่มน้ำเกลือแร่ทดแทน

รับประทานยาประจำตัวอย่างสม่ำเสมอ

  • ไม่ควรงดการรับประทานยาประจำตัว อย่าขาดยา
  • หากมีโรคประจำตัวที่ต้องรับประทานยาขับปัสสาวะอยู่ แล้วดื่มน้ำไม่ได้ ตรงนี้ให้งดยาไปก่อน
  • หากรับประทานยาโรคความดันโลหิตสูงอยู่ ควรวัดความดันบ่อยๆ ถ้าพบว่าความดันต่ำกว่า 90/60 ควรงดยาความดันโลหิตสูง เพราะเราไม่ต้องการให้ความดันต่ำไปกว่านั้น ถ้าความดันต่ำมากจะอันตราย อาจช็อกหรือหมดสติได้
  • หากรับประทานยาโรคเบาหวานอยู่ ควรตรวจน้ำตาลสม่ำเสมอๆ ตรวจ 4 เวลาแล้วจดไว้ ถ้าพบว่าน้ำตาลต่ำประมาณ 100 และทานอาหารไม่ได้ ทานได้น้อย ควรงดฉีดอินซูลิน หรืองดยากลุ่มที่ลดน้ำตาลในเลือด เพราะถ้ามีภาวะน้ำตาลต่ำในขณะที่ป่วยโควิดจะเป็นอันตรายได้

เตรียมยาพาราเซตามอล ไว้รับประทานเวลามีไข้

  • ถ้ามีไข้ ให้รับประทานยาพาราเซตามอลเท่านั้น หากเริ่มมีไข้ต่ำๆ ให้รับประทานพาราฯ ได้เลย อย่ารอให้ไข้สูงหรือหนาวสั่น เพราะจะยิ่งทำให้ร่างกายอ่อนแอ *แต่ไม่แนะนำให้รับประทานยาลดไข้กลุ่ม NSAID เช่น ibuprofen, naproxen, mefenamic acid (Ponstan), diclofenac (Voltaren) เพราะอาจทำให้ไตวายได้*
  • ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร/กระชายขาว รับประทานได้แต่ต้องทานตามปริมาณกำหนดของกรมการแพทย์แผนไทย *หากทานเกินปริมาณกำหนดอาจทำให้ตับวายได้*
  • ส่วนผู้ป่วยโรคตับ ห้ามรับประทาน เพราะอาจทำให้ตับวายได้ หรือผู้ที่แพ้ยาพาราเซาตามอล แนะนำให้เช็ดตัวเพื่อลดไข้

ถ้าเหนื่อยมาก อย่าเข้าห้องน้ำ

  • หากมีอาการเหนื่อยมาก อย่าไปเข้าห้องน้ำ เพราะการเบ่งถ่าย และลุกนั่งอาจทำให้เป็นลมหมดสติ หรือหัวใจหยุดเต้นได้ ควรขับถ่ายบริเวณข้างเตียงเลยดีที่สุด ใช้กระโถน กระดาษ หรืออะไรที่หาได้
  • หากจำเป็นจะเข้าห้องน้ำ ห้ามล็อกประตูเด็ดขาด และควรบอกคนอื่น ๆ ในครอบครัวด้วย เนื่องจากมีหลายรายที่เหนื่อยแล้วไปเข้าห้องน้ำ เกิดเป็นลมและหัวใจหยุดเต้น

หมั่นติดต่อญาติ ครอบครัว หรือคนใกล้ชิดอย่างสม่ำเสมอ

วันที่ 19 กันยายน 2564

ส่งเอกสารรายงานผลการปฎิบัติงานประจำเดือน ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

วันที่ 2 ตุลาคม 2564

ประชุมร่วมกับคณะอาจารย์และผู้ปฏิบัติงาน 2 ตำบล ได้แก่ตำบลบ้านสิงห์และตำบลหนองโบสถ์ ผ่านระบบ google meet                                                                            รายละเอียดของการประชุมมีดังนี้

ใหม่ทั้งสองตำบลได้แนะนำตัวให้ที่ประชุมรู้จัก   หลังจากนั้นอาจารย์ประจำคณะฯได้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับภารกิจที่จะปฏิบัติในอีก 3 เดือนข้างหน้านี้                     พร้อมกับมอบหมายงาน ให้ผู้ปฏิบัติงานลงพื้นที่เก็บข้อมูลเข้าระบบ

 

วันที่ 5 ตุลาคม 2564

ประชุมร่วมกับคณะอาจารย์และผู้ปฏิบัติงาน 2 ตำบล ได้แก่ตำบลบ้านสิงห์และตำบลหนองโบสถ์ ผ่านระบบ google meet

อาจารย์ประจำคณะฯ มอบหมายงานให้ กลุ่มบัณฑิต กลุ่มนักศึกษาและกลุ่มประชาชน เพื่อแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ในการจัดสถานที่ที่จะจัดอบรมขึ้นในวันที่ 15 ตุลาคม 2564 ณ ศาลาประชาคมบ้านหนองบัวราย

วันที่ 15 ตุลาคม 2564

คณะอาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้ปฏิบัติงาน กลุ่มบัณฑิต กลุ่มนักศึกษาและกลุ่มประชาชน ตำบลบ้านสิงห์  พร้อมกับตัวแทนประชาชนทั้ง 14 หมู่บ้านเข้าร่วมอบรม ณ ศาลาประชาคมบ้านหนองบัวราย “การฝึกอบรมการจัดทำอุปกรณ์ป้องกันตนเอง” ช่วยกันผลิตยาหม่องไพล น้ำมันเหลือง และสเปรย์กันยุงสมุนไพร ผู้เข้าร่วมอบรมต่างตั้งใจรับฟัง และลงมือปฏิบัติกันอย่างเต็มที่ จนสำเร็จลุล่วงผ่านไปด้วยดี แถมได้ของฝากติดไม้ติดมือกลับบ้านกันคนละชุดสองชุด ขอขอบคุณโครงการดี ๆ แบบนี้ ที่มาให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่

 

1. สเปรย์กันยุงสมุนไพร

เตรียมวัตถุดิบ ประกอบด้วย

1. ตะไคร้หอมหั่น 100 กรัม

2. ผิวมะกรูดหั่น 50 กรัม

3. การบูร 10 กรัม

4. เอทิลแอลกอฮอล์ หรือแอลกอฮอลล์ล้างแผล 1 ลิตร

5. ผ้าขาวบางขนาด 25*25 ซม. 1 ผืน โหลแก้วพร้อมฝาปิด 1 ใบ และขวดสเปรย์ตามชอบ

วิธีทำ

1. นำตะไคร้หอมและผิวมะกรูดที่เตรียมไว้ห่อด้วยผ้าขาวบาง ผูกให้เรียบร้อย จากนั้นใส่ลงในโหลแก้ว

2. เติมเอทิลแอลกอฮอลล์ ปิดฝาให้สนิท หมั่นคนเช้า-เย็นเป็นเวลา 7 วัน

3. พอครบ 7 วัน นำห่อผ้าออก แล้วเติมการบูรลงไป

4. บรรจุในขวดสเปรย์พร้อมปิดฉลากให้สังเกตได้ชัด ป้องกันการหยิบใช้ผิด

 

2. น้ำมันไพล (น้ำมันเหลือง)

วัสดุอุปกรณ์
1) ไพล 120 กรัม
2) น้ำมันงา หรือน้ำมันมะพร้าว 200 กรัม
3) กำรบูร 80 กรัม
4) พิมเสน 40 กรัม
5) เมนทอล 120 กรัม
วิธีทำ/ขั้นตอน
1) หั่นไพลบาง ๆ ทอดในน้ำมันงา หรือน้ำมันมะพร้าว ด้วยไฟอ่อน ๆ ประมาณ
2 – 3 ชั่วโมง จนเหลืองกรอบ
2) ก่อนยกลงจากเตาไฟทิ้งไว้สักครู่
3) น้ำการบูร พิมเสน เมนทอล น้ำมันไพล กวนผสมให้เข้ากัน
4) บรรจุขวดเพื่อนำไปใช้งาน

 

3. ยาหม่องไพล

วัตถุดิบ
1. วาสลีน 120 กรัม
2. เมนทอล 20 กรัม
3. พิมเสน 20 กรัม
4. การบูร 20 กรัม
5. น้ำมันระกำ 100 มิลลิลิตร
6. น้ำมันยูคำลิปตัส 30 มิลลิลิตร
7. น้ำมันไพล 60 มิลลิลิตร                                                                                                                                                                                                                                       8. พาราฟิน 80 กรัม

วิธีทำ

1. ชั่งพาราฟินและวาสลีนลงภาชนะ แล้วนำมาให้ความร้อนจะสังเกตเห็นว่าพาราฟินและวาสลีนจะเริ่มละลายใส

2. ผสมเมนทอล การบูรพิมเสน น้ำมันระกำ น้ำมันยูคาลิปตัส และน้ำมันสมุนไพร คนจนสารละลายเป็นเนื้อเดียวกัน

3. เมื่อพาราฟินและวาสลีนใสจนเป็นเนื้อเดียวกันให้เติมของผสมระหว่างเมนทอล การบูร พิมเสนน้ำมันระกำและน้ำมันยูคาลิปตัส จากข้อ 2 แล้วคนให้เป็นเนื้อเดียวกัน

4. เทสารละลายที่ได้ใส่ภาชนะที่บรรจุยาหม่อง ตั้งทิ้งไว้จนยาหม่องแข็งตัว

เกร็ดความรู้
1. การบูร มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาว ออกฤทธิ์ร้อน สรรพคุณ ช่วยบรรเทาโรคตาแดง ขับเสมหะ ขับลม
2. เมนทอล มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีกลิ่นหอม บรรเทาอาการหวัด คัดจมูกแก้ไข้ แก้ไอ ลดการอักเสบในลำคอ บรรเทาอาการปวดศีรษะ
3. พิมเสน มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวขุ่น มีกลิ่นหอม ใช้สูดดม แก้วิงเวียนศีรษะใช้ทาแก้ปวดเมื่อย แก้เคล็ดขัดยอก
4. พาราฟิน ใช้เป็นส่วนผสมเพื่อทำให้น้ำมันแข็งตัว
5. วาสลีน ใช้เป็นส่วนผสมเพื่อทำให้เกิดความลื่นมัน และสะดวกในการทานวด
6. น้ำมันระกำ เป็นน้ำมันใส มีกลิ่นหอม มีสรรพคุณแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อแก้เคล็ดขัดยอก
7. น้ำมันยูคาลิปตัส สรรพคุณ แก้หวัดคัดจมูก ขับเสมหะ ขับลม แก้โรคหอบหืด

สรุปการทำงาน
ผลปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม 2564 การลงพื้นที่ในครั้งนี้เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจอีก 1 กิจกรรมสนุกได้ความรู้ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการทำสมุนไพรทั้ง 3 ชนิด (ยาหม่องไพล น้ำมันเหลืองและสเปรย์กันยุงสมุนไพร) โดยมีเกร็ดความรู้และวิธีการอย่างละเอียดทุกขั้นตอน ได้ทำงานการเป็นทีมกับชาวบ้านในชุมชนและทีมงานที่เข้ามาใหม่การลงพื้นที่ในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านอย่างดียิ่ง
ปัจจุบันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก็ยังเป็นเรื่องที่น่ากลัวน่าวิตก ถึงแม้ว่าบางท่านอาจจะได้รับวัคซีน 2 เข็มแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถนิ่งนอนใจได้ และยังต้องเฝ้าระวังอย่างเข้มข้นอีกต่อไป
https://www.youtube.com/watch?v=RInFFU3zpjI

อื่นๆ

เมนู