ข้าพเจ้านางสาวศันสนีย์ กองศักดิ์  ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลบ้านสิงห์
หลักสูตร: การส่งเสริมและพัฒนาการทำขนม
ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลประจำเดือนตุลาคม พ.ศ.2564
ในพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายประชุมผ่าน Google meet ในเวลา 10.00 น. เพื่อพูดคุยมอบหมายแผนงานในเดือนตุลาคม

ในการประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ชี้แจ้งรายละเอียดงานและมอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานดังนี้
1. เนื่องจากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการได้รับสมัครผู้ปฏิบัติงานเพิ่มจึงได้มีการแนะนำสมาชิกเพื่อทำความรู้จักกันในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานและได้มอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานใหม่รับผิดชอบสำรวจข้อมูลในหมู่บ้านที่มีจำนวนครัวเรือนเกิน 100 ครัวเรือน ร่วมกับผู้ปฏิบัติงานเก่าที่รับผิดชอบประจำหมู่บ้านอยู่แล้วได้แก่
-หมู่ 2 บ้านหนองขาม
-หมู่ 4 บ้านโคกไม้แดง
-หมู่ 7 บ้านหนองบัวราย
-หมู่ 11 บ้านหนองโคน
2. มอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่โควิด 19 ประจำเดือนตุลาคม สถานที่ที่ต้องสำรวจคือที่พักอาศัย ศาสนสถาน โรงเรียนและตลาด โดยได้มอบหมายภาระงานให้ผู้ปฏิบัติงานรับผิดชอบดังนี้
2.1 การจัดเก็บข้อมูลที่พักอาศัย
-กลุ่มบัณฑิตจัดเก็บข้อมูลจำนวน 50 หลังคาเรือน
-กลุ่มประชาชนจัดเก็บข้อมูลจำนวน 30 หลังคาเรือน
-กลุ่มนักศึกษาจัดเก็บข้อมูลจำนวน 20 หลังคาเรือน
2.2 การจัดเก็บข้อมูลศาสนสถานมอบหมายให้กลุ่มประชาชนเป็นผู้รับผิดชอบ
2.3 การจัดเก็บข้อมูลโรงเรียนและตลาดให้กลุ่มบัณฑิตรับผิดชอบโดยแบ่งการจัดเก็บข้อมูลออกเป็น 2 กลุ่ม

 

 

สำรวจข้อมูลสำหรับที่พักอาศัยในหมู่ 7 บ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 50 ชุด

จากการสำรวจข้อมูลที่พักอาศัยพบว่าประชาชนในหมู่บ้านส่วนใหญ่มีการดูแลป้องตนเองต่อโรคระบาดดังนี้
1. มีการประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนว่า
-เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือหากติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรงหรือไม่
-ในการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือไม่
-ตนเองหรือบุคคลในครัวเรือนมีการเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ระบาดหรือไม่
2. มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกันหากพบว่ามีไข้ร่วมกับไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็วหายใจเหนื่อยหรือหายใจลำบากอย่างใดอย่างหนึ่งและอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วยให้รีบไปพบแพทย์ทันที
3. มีการดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์โดยเฉพาะก่อนเตรียมปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งสกปรก หลังเยี่ยมผู้ป่วยในสถานพยาบาล หลังสัมผัสหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยงและหลังกลับจากนอกบ้าน
4. มีการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่และใช้ช้อนส่วนตัว
5. ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกันเช่นผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ช้อน แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ

 

สำรวจข้อมูลสำหรับสถานศึกษาในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ร่วมกับกลุ่มบัณฑิตจบใหม่อีก 4 ท่าน

ในตำบลบ้านสิงห์มีสถานศึกษาจำนวน 5 แห่งได้แก่
1.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองกง
2.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านสิงห์
3.โรงเรียนบ้านสิงห์ราษฎร์นุสรณ์
4.โรงเรียนบ้านหนองกง
5.โรงเรียนสิงวิทยาคม
แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ที่แพร่ระบาดอย่างหนักเพื่อเป็นการป้องกันกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดมาตรการณ์โดยให้สถานศึกษาปรับรูปแบบการเรียนการสอนเป็นแบบออนไลน์ทั้งหมด และอยู่ในช่วงปิดภาคเรียน ข้าพเจ้าจึงได้สอบถามข้อมูลกับผู้อำนวยการโรงเรียนและอาจารย์ที่เกี่ยวข้อง พบว่าโรงเรียนในตำบลบ้านสิงห์มีมาตรการณ์ในการรับมือกับโรคระบาดดังนี้
ด้านความปลอดภัยเพื่อการลดการแพร่เชื้อโรค
-มีมาตรการคัดกรองวัดไข้ให้กับนักเรียน ครู และผู้เข้ามาติดต่อทุกคนก่อนเข้าสถานศึกษา
-มีการสังเกตอาการเสียงโควิด 19 เช่น ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ เหนื่อยหอบ หายใจลำบาก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รู้รส พร้อมบันทึกผล สำหรับนักเรียน ครู และผู้เข้ามาติดต่อทุกคนในสถานศึกษา
-มีการจัดเตรียมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยสำรองไว้ให้กับนักเรียนร้องขอ และมีการจัดวางเจลแอลกอฮอล์สำหรับใช้ทำความสะอาดมือบริเวณทางเข้าอาคารเรียน หน้าประตูห้องเรียน ทางเข้าโรงอาหารอย่างเพียงพอ
-มีการจัดโต๊ะเรียนเก้าอี้นักเรียน ที่นั่งในโรงอาหาร ที่นั่งพัก โดยจัดเว้นระยะห่างระหว่างกันอย่างน้อย 1-2 เมตร มีการทำสัญลักษณ์แสดงจุดตำแหน่งชัดเจนในการจัดเว้นระยะห่างระหว่างกัน
-การกำหนดให้ใช้ของใช้ส่วนตัวไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ ช้อน ส้อม แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ผ้าเช็ดหน้า
ด้านการเรียนรู้
-มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์แนะนำการปฏิบัติเพื่อสุขอนามัยที่ดี เช่น วิธีล้างมือที่ถูกต้อง การสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล
-การการตรียมความพร้อมการจัดการเรียนการสอนโดยการคำนึงถึงการเรียนรู้ตามวัยและสอดคล้องกับการพัฒนาการด้านสังคม อารมณ์และสติปัญญา
ด้านสวัสดิภาพและการคุ้มครอง
-มีการจัดเตรียมแผนรองรับการจัดการการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนป่วย กักตัว หรือกรณีปิดโรงเรียน
-มีการจัดเตรียมแนวปฏิบัติการสื่อสารเพื่อลดการรังเกียจและการตรีตราทางสังคม
-มีการตรวจสอบประวัติเสี่ยงของนักเรียนและบุคลากรรวมทั้งตรวจสอบเรื่องการกักตัวให้ครบ 14 วัน ก่อนมาทำการเรียนการสอนปกติ และทุกวันเปิดเรียน
-มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติตามระเบียบสำหรับนักเรียน ครูและบุคลากรที่สงสัยติดเชื้อหรือป่วยด้วยโรคโควิด 19 โดยไม่ถือเป็นวันลาหรือวันหยุดเรียน
ด้านนโยบาย
-มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ความรู้การป้องกันโรคโควิด 19 แก่นักเรียน ครู บุคลากรและผู้ปกครองโดยการประชุมชี้แจงหรือผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างน้อย 1 ครั้ง ก่อนหรือวันแรกของการเปิดเรียน
-มีนโยบายและแนวทางการป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ของสถานศึกษาอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรหรือมีหลักฐานชัดเจน
ด้านการบริหารการเงิน
-มีแผนการใช้งบประมาณในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ตามความจำเป็นและเหมาะสม
-มีการจัดหาซื้อวัสดุอุปกรณ์ป้องกันโรคโควิด 19 สำหรับนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษา
-มีการจัดหาบุคลากรเพิ่มเติมในการดูแลนักเรียนและการจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา เช่นเจ้าหน้าที่่สาธารณะสุขและอสม.

 

วันอังคารที่ 5 ตุลาคม 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายประชุมผ่าน Google meet ในเวลา 16.00 น. เพื่อพูดคุยนัดหมายการลงพื้นที่อบรมการทำอุปกรณ์ป้องกันตัวเองให้แก่ชาวบ้านในชุมชน

เนื่องจากจะมีการจัดกิจกรรมอบรมการทำอุปกรณ์ป้องกันตัวเองในวันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม 2564 จึงได้มีการมอบหมายภาระงานให้ผู้ปฏิบัติงานรับผิดชอบดังนี้
1. กลุ่มนักศึกษาช่วยวิทยากรเตรียมอุปกรณ์ในวันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม ที่คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์โดยสมุนไพรที่ต้องเตรีมมีดังนี้
-มะกรูด 5 กิโลกรัม
– ตะไคร้ 5 กิโลกรัม
-ขมิ้นชัน 5 กิโลกรัม
-ไพรสด 5 กิโลกรัม
2. กลุ่มบัณฑิตจัดเตรียมสถานที่ในการจัดกิจกรรมในวันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม แต่เนื่องด้วยสถานที่จัดกิจกรรมคือองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ไม่สะดวกให้จัดกิจกรรมในวันดังกล่าว จึงได้เปลี่ยนสถานที่มาใช้พื้นที่ของศาลาประชาคมบ้านหนองบัวรายซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ข้าพเจ้ารับผิดชอบจึงได้ประสานกับผู้ใหญ่บ้านเพื่อขอใช้สถานที่ เมื่อได้รับอนุญาตจากผู้ใหญ่บ้านแล้วจึงได้มีการจัดเตรียมสถานที่ดังนี้
-ทำความสะอาดสถานที่ ทำความสะอาดเก้าอี้
-จัดเรียงเก้าอี้สำหรับผู้ร่วมอบรมจำนวน 60 ตัว
-จัดหาเครื่องเสียง ไมค์และลำโพง ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ใหญ่บ้าน
-จัดหาเครื่องต้มน้ำร้อน น้ำเปล่า กาแฟ โอวัลติล ขนมบ้าบิ่นและขนมกล้วยทอดสำหรับช่วงพักซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของแม่มาลีและแม่อารมณ์ที่ได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมและพัฒนาการทำขนมอยู่แล้วเพื่อเป็นการสนับสนุนและเพิ่มรายได้อีกด้วย

 

 

 

วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม 2564  เวลา 13.00 น. ลงพื้นที่จัดกิจกรรมอบรมการทำอุปกรณ์ป้องกันตัวเองให้แก่ชาวบ้านในชุมชน

กิจกรรมในครั้งนี้ผู้ปฏิบัติงานได้เชิญตัวแทนหมู่บ้านละ 2 คนเพื่ออบรมการทำผลิตภัณฑ์ป้องกันตัวเองจากสมุนไพรได้แก่
1. สเปรย์กันยุงสมุนไพร
2. น้ำมันเหลือง
3. ยาหม่องไพล

วิทยากรผู้ให้ความรู้ในกิจกรรมครั้งนี้คืออาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในการทำกิจกรรมได้มีการแบ่งกลุ่มชาวบ้านออกเป็น 5 กลุ่มเพื่อความสะดวกและให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ซึ่งจะมีผู้ปฏิบัติงานคอยช่วยเหลือและทำไปพร้อม ๆ กันโดยมีขั้นตอนการทำดังนี้

1.น้ำมันเหลือง
การเตรียมน้ำมันไพล
ส่วนประกอบ
1. ไพล 200 กรัม
2. ขมิ้น 50 กรัม
3. น้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์ม 100 กรัม

วิธีทำ
นำไพลและขมิ้นที่แก่จัดนำมาปลอกเปลือกไพลและขมิ้นหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ จากนั้นนำไปทอดในน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์มโดยใช้ไฟกลางจนกระทั่งไพลและขมิ้นกรอบเหลืองระวังอย่าให้ไหม้ กรอกเอาน้ำมันจะได้น้ำมันไพลประมาณ 70 – 80 มิลลิลิตร

ส่วนประกอบของน้ำมันเหลือง
1. เมนทอล 120 กรัม
2. การบูร 80 กรัม
3. พิมเสน 40 กรัม
4. น้ำมันไพล 200 มิลลิลิตร

วิธีทำ
ผสมเมนทอล การบูร พิมเสนคนให้ละลายแล้วจึงเติมน้ำมันไพลและเทลงขวดเพื่อบรรจุนำไปใช้งาน

2. ยาหม่องไพล
ส่วนประกอบ
1. วาสสลีน 120 กรัม
2. พาราฟิน 80 กรัม
3. น้ำมันไพล 60 มิลลิลิตร
4. พิมเสน 20 กรัม
5. เมนทอล 20 กรัม
6. การบูร 20 กรัม
7. น้ำมันยูคาลิปตัส 30 มิลลิลิตร
8. น้ำมันระกำ 100 มิลลิลิตร

วิธีทำ
1.ชั่งพาราฟินและวาสสลีนลงภาชนะแล้วนำมาให้ความร้อนจนละลาย
2.ผสมเมนทอล การบูร พิมเสน น้ำมันระกำ น้ำมันยูคาลิปตัสและน้ำมันสมุนไพรคนจนละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
3.เมื่อพาราฟินและวาสลีนใสจนเป็นเนื้อเดียวกันให้เติมของผสมระหว่างเมนทอล การบูร พิมเสน น้ำมันระกำน้ำ มันยูคาลิปตัสแล้วคนให้เป็นเนื้อเดียวกัน
4.เทสารละลายที่ได้ใส่ภาชนะที่บรรจุยาหม่องตั้งทิ้งไว้จนยาหม่องแข็งตัว

3. สเปรย์กันยุงสมันไพร
ส่วนประกอบ
1. เอทิลแอกกอฮอร์ 1 ลิตร
2. ตะไคร้หอมหั่นฝ่อย 100 กรัม
3. ผิวมะกรูด 50 กรัม
4. การบูร 50 กรัม

วิธีทำ
1. นำตะไคร้หอมและเปลือกมะกรูดหั่นเป็นชิ้นเล็กๆนำมาหอด้วยผ้าขาวบาง
2. แช่มะกรูดและตะไคร้ในเอทิลแอลกอฮอล์เติมการบูร 50 กรัมปิดฝาทิ้งไว้ 1 สัปดาห์เขย่าทุกวัน
3. แต่เนื่องด้วยต้องมีการแช่สารเป็นเวลา 1 สัปดาห์ทางวิทยากรจึงได้เตรียมสารที่หมักเรียบร้อยแล้วมาให้กับผู้ร่วมอบรมกรอกใส่ขวดพร้อมใช้งาน

เกร็ดความรู้
1. การบูรมีลักษณะเป็นเกร็ดสีขาวออกฤทธิ์ร้อนสรรพคุณช่วยบรรเทาโรคตาแดง ขับเสมหะ ขับลม
2. เมนทอลมีลักษณะเป็นผลึกสีขาวมีกลิ่นหอมบรรเทาอาการหวัดคัดจมูก แก้ไอ แก้ไข้ ลดการอักเสบในลำคอ บรรเทาอาการปวดศรีษะ
3. พิมเสนมีลักษณะเป็นเกร็ดสีขาวขุ่นมีกลิ่นหอมใช้สูดดมแก้วิงเวียนศรีษะ ใช้ทาแก้ปวดเมื่อย แก้เคร็ดขัดยอก
4. วาสสลีนใช้เป็นส่วนผสมเพื่อทำให้เกิดความลื่นมันและสะดวกในการทานวด
5. น้ำมันระกำเป็นน้ำมันใสมีกลิ่นหอมมีสรรพคุณแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แก้เคร็ดขัดยอก
7. น้ำมันยูคาลิปตัสสรรพคุณแก้หวัดคัดจมูก ขับเสมหะ ขับลม แก้โรคหอบหืด

 

สำรวจข้อมูลตามแบบสอบถามโครงการการติดตามประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

การสำรวจข้อมูลในครั้งนี้เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการโดยมีกลุ่มเป้าหมายดังนี้
1. ตำบลเป้าหมาย
2. ลูกจ้างโครงการ
3. ครอบครัวลูกจ้าง
4. ชุมชนภายใน
5. ชุมชนภายนอก
6. อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ
7. เจ้าหน้าที่โครงการ
8. ผู้แทนตำบล
9. หน่วยงานภาครัฐ
10. หน่วยงาน อปท.
11. เอกชนในพื้นที่

ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบสำรวจด้านผู้แทนตำบล ซึ่งได้ทำการสอบถามนางสาวสายหยุด ชาวสระ ตำแหน่งนักพัฒนาชุมชน สังกัดหน่วยงานองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้ผลการตอบแบบสอบถามดังนี้
1. ตำบลได้ดำเนินกิจกรรมและโครงการด้านต่าง ๆ ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการได้แก่
-การประเมินศักยภาพตำบล
-การสำรวจการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ Covid-19
-การจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน
-การจัดกิจกรรม U2T สู้ภัยโควิด
-กิจกรรมพัฒนาตำบล 3 ด้าน ได้แก่
1. การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่
2. การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน
3. การส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม
4. การพัฒนาทักษะ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเงิน ด้านการเข้าใจและใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ ด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ด้านการทำงานในสังคมแบบมีส่วนร่วม

2. หน่วยงานมีส่วนร่วมและบทบาทที่เกี่ยวข้องในการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ คือสนับสนุนด้านสถานที่ในการจัดกิจกรรมอบรมต่าง ๆ ของโครงการและให้ข้อมูลการสำรวจการจัดเก็บข้อมูลของชุมชนในตำบล

3. หน่วยงานมีความคาดหวังจากการดำเนินกิจกรรมของโครงการครั้งนี้โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทางโครงการจะช่วยพัฒนาสัมมาชีพอย่างยั่งยืนและมั่นคงให้กับประชาชนในชุมชน

4. ผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงในหน่วยงานและพื้นที่ชุมชนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรม
มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนจากการที่ประชาชนในชุมชนได้เข้าร่วมกิจกรรมและอบรมกับโครงการได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมของตนได้เป็นอย่างดีและสามารถต่อยอดเพิ่มรายได้มากขึ้น

5. ในการดำเนินงานโครงการ U2T ทำให้หน่วยงานเป็นที่รู้จักของชุมชนและหน่วยงานอื่น ๆ ส่งผลให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นเนื่องจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้มีส่วนร่วมกับโครงการมีการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ด้วย เช่น โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แก่ประชาชนในชุมชนทำให้ชุมชนมีความพอใจเป็นอย่างมาก

และการประเมินการดำเนินกิจกรรมโครงการ U2T ส่งผลให้เกิดผลกระทบเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านศักยภาพ ด้านเศรษฐกิจการเงิน ด้านภาคีเครือข่ายและการมีส่วนร่วม ด้านสุขภาวะกายและใจสามารถสรุปได้ดังนี้
-ระดับความสำคัญ ผลการประเมินอยู่ในระดับสำคัญมาก
-ระดับการเปลี่ยนแปลง ผลการประเมินอยู่ในระดับเปลี่ยนแปลงมาก
จากนั้นกรอกข้อมูลลงเว็บไซต์ของ U2T-SROI เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการต่อไป

 

วีดีโอประกอบการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม

 

อื่นๆ

เมนู