ข้าพเจ้า นางสาวทัตติยา ชุบรัมย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ HS03
เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564 อาจารย์ประจำกลุ่ม ได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกท่านประชุมออนไลน์ผ่านทาง google meet เพื่อรับทราบแนวทางปฏิบัติงานที่เหลืออีก 3 เดือน
เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564 อาจารย์ประจำกลุ่มได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกท่านประชุมออนไลน์ผ่านทาง google meet ประชุมเกี่ยวกับการทำแบบสอบถาม U2T – SROI
ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงาน เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2546 ณ หมู่บ้านโคกไม้แดง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงาน เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2564 ณ ศาลากลางหมู่บ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์ อำเถอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ อบรมการจัดทำอุปกรณป้องกันตัวเอง จากผลิตภัณฑ์สมุนไพร
บทนำ
การลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลแบบสำรวจที่พักอาศัย เป็นการลงพื้นที่เกี่ยวกับการประเมินสถานการณ์ของโรคระบาดโควิด -19 ของคนในหมู่บ้านโคกไม้แดง และการแบบสอบถาม U2T – SROI ของผู้นำชุมชน ในตำบลโคกไม้แดง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ การทำสเปรย์กันยุงสมุนไพร นำ้มันเหลือง ยาหม่องไพร ยาจากพืชสมุนไพรเป็นมรดกทางวัฒนธรรมจากธรรมชาติ เราควรเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์
เนื้อเรื่อง
วันที่ 1 ตุลาคม 64 เวลา 10.00 น. อาจารย์ประจำกลุ่ม ได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกท่านประชุมออนไลน์ผ่านทาง google meet เพื่อรับทราบแนวทางปฏิบัติงานที่เหลืออีก 3 เดือนและ เพื่อที่จะแนะนำสมาชิกที่เข้ามาทำงานใหม่ ให้รู้จักและได้พูดแนะนำการทำงานว่าทำงานกันแบบไหน กลุ่มเราทำงานกันยังไง และในทุกๆเดือนจะต้องมีการอบรมอะไรบ้าง และสมาชิกที่เข้ามาเพิ่ม มีด้วยกันทั้งหมด 6 ท่าน ได้แก่ กลุ่มบัณฑิต 4 ท่าน กลุ่มนักศึกษา 1 ท่าน และกลุ่มประชาชนอีก 1 ท่าน และในการประชุมอาจารย์ประจำกลุ่มก็ได้ให้สมาชิกใหม่ในกลุ่มทั้ง 6 ท่านได้แนะนำตัวเองให้ผู้ปฏิบัติงานและอาจารย์ประจำกลุ่มได้รู้จัก และจากนั้นอาจารย์ได้พูดถึงเกี่ยวกับวิธีการทำงานในแต่ละเดือนว่ามีอะไรบ้าง และในแต่ละเดือนต้องทำอะไรบ้าง และเมื่ออาจารย์ได้พูดแนะนำแนวทางในการทำงานให้ผู้ปฏิบัติงานใหม่ทุกท่านได้รับรู้แล้ว อาจารย์ก็ปิดการประชุมในเวลาต่อมา
วันที่ 5 ตุลาคม 64 เวลา 14.00 น. อาจารย์ประจำกลุ่มได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกท่านประชุมออนไลน์ผ่านทาง google meet ประชุมเกี่ยวกับการทำแบบสอบถาม U2T – SROI ในการประชุมอาจารย์ได้พูดเกี่ยวกับงานด่วนที่มีเข้ามา ซึ่งก็คือให้ผู้ปฏิบัติงานทุกท่านลงพื้นที่ทำแบบสอบถาม U2T – SROI ซึ้งแบบสอบถามมีกลุ่มเป้าหมายที่จะต้องไปตอบแบบสอบถามทั้งหมด 11 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่
– ตำบลเป้าหมาย
– ลูกจ้างโครงการ
– ครอบครัวลูกจ้าง
– ชุมชนภายใน
– ชุมชนภายนอก
– อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ
– เจ้าหน้าที่โครงการ (USI)
– ผู้แทนตำบล
– หน่วยงานภาครัฐ
– อปท.
– เอกชนในพื้นที่
จากนั้นอาจารย์ก็ได้แบ่งให้ผู้ปฏิบัติงาทุกท่านรับผิดชอบไปเก็บแบบสอบถามตามที่ตนเองได้รับมอบหมาย ต่อมาอาจารย์ก็ได้พูดถึงเกี่ยวกับการเก็บแบบสำรวจเกี่ยวกับการดูแลป้องกันจากสถานการณ์โควิด-19 ว่าหมู่บ้านไหนที่มีหลังครัวเรือนมากกว่า 100 หลังครัวเรือน ให้ผู้ปฏิบัติงานใหม่ เข้าไปทำการช่วยเหลือในการเก็บแบบสอบถาม
วันที่ 14 ตุลาคม เวลา 10.00 น. ฉันได้ออกไปสำรวจการเก็บข้อมูลสำหรับที่อยู่อาศัยของหมู่บ้านโคกไม้แดง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นจำนวน 50 คน และข้อมูลในแบบสำรวจประกอบไปด้วยคำถามที่คลอบคลุมเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด -19 และข้อมูลในการประเมิน ประกอบไปด้วย 6 หัวข้อ ดังนี้
มีการประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนว่า
– เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือหากติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรงหรือไม่ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง หรือไม่
– ในการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ปฏิบัติงานในสถานบันเทิง/สถาน บริการต่าง ๆ เป็นต้น หรือไม่
– ตนเองหรือบุคคลในครัวเรือนมีการเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ระบาด หรือไม่
มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกัน หากพบว่ามีไข้ ร่วมกับไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบากอย่างใดอย่างหนึ่ง และอาจมีอาการ ท้องเสียร่วมด้วย ให้รีบไปพบแพทย์ทันที หรือไม่
มีการดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์โดยเฉพาะก่อนเตรียม ปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งสกปรก หลังเยี่ยมผู้ป่วยในสถานพยาบาล หลังสัมผัสหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยง และหลังกลับจากนอกบ้าน หรือไม่
มีการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ และใช้ช้อนส่วนตัว หรือไม่
ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ช้อน แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ หรือไม่
เมื่อกลับจากการทำภารกิจหรือกิจกรรมนอกบ้าน ให้ล้างมือ ชำระร่างกาย เปลี่ยนเครื่องแต่งกายทันที หรือไม่
สถานการณ์ในปัจจุบันนี้ มีผู้ติดเชื้อโควิด- 19 ลดลง ซึ่งจากการที่ออกไปสำรวจเก็บข้อมูลพบว่า ชาวบ้านในหมู่บ้านโคกไม้แดง มีการสังเกตอาการของตนเองและคนในครอบครัวว่ามีอาการต่างๆที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือไม่ ส่วนใหญ่ ชาวบ้านก็ไม่มีอาการเพราะชาวบ้านดูแลตนเองอยู่เสมอ เมื่อออกไปข้างนอกหรือออกไปยังสถานที่ต่าง ๆ ก็จะสวมหน้ากากอนามัย และนำเจลแอลกอฮอล์ติดตัวไปด้วยทุกครั้ง เพื่อความสะอาดและปลอดภัย และเมื่อชาวบ้านออกไปยังสถานที่ต่าง ๆ เมื่อกลับมาบ้านก็ได้มีการล้างมือ และอาบน้ำ สระผม เพื่อชำระร่างกายให้สะอาด ไม่มีการใช้ผ้าเช็ดตัวหรือสิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกัน กินอาหารที่ปรุงสุกเสมอ ส่วนมากชาวบ้านในหมู่บ้านโคกไม้แดงป้องกันและดูแลตนเอง อยู่เสมอ และในการเก็บแบบสำรวจในเดือนนี้พบว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนครบทั้ง 2 เข็มแล้ว และชาวบ้านในหมู่บ้านโคกไม้แดงให้การร่วมมือในการตอบแบบสอบถามมากขึ้น
และเวลา 13.00 น. ดิฉันได้ออกไปลงพื้นที่ทำแบบสอบถาม U2T – SROI ซึ่งในแบบสอบถามประกอบไปด้วย 11 กลุ่มเป้าหมายและแต่ละกลุ่มเป้าหมายต้องไปสัมภาษณ์ใครบ้าง ดังนี้
1.ตำบลเป้าหมาย
– ลักษณะกลุ่มเป้าหมาย คือ ประธานวิสาหกิจชุมชน / ผู้นำชุมชน / เกษตรกร
– จำนวนกลุ่มตัวอย่างเก็บข้อมูล ตำบลละ 3 ราย (ทุกตำบลที่เข้าร่วมโครงการ)
2.ลูกจ้างโครงการ
– ลักษณะกลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษา,บัณฑิต,ประชาชน
– จำนวนกลุ่มตัวอย่างเก็บข้อมูล ตัวแทนนักศึกษา 3 ราย,บัณฑิต 3 ราย,ประชาชน 3 ราย
3.ครอบครัวลูกจ้าง
– ลักษณะกลุ่มเป้าหมาย คือ ครอบครัวของกลุ่มลูกจ้างโครงการ
– จำนวนกลุ่มตัวอย่างเก็บข้อมูล 1 ครอบครัว / ตำบล
4.ชุมชนภายใน
– ลักษณะกลุ่มเป้าหมาย คือ ชุมชน / วัด / แหล่งการเกษตร / ร้านค้าที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชน (ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการฯ) เช่น เจ้าของร้านข้าวมันไก่ทอดในตำบล
– จำนวนกลุ่มตัวอย่างเก็บข้อมูล 1 ราย / ตำบล
5.ชุมชนภายนอก
– ลักษณะกลุ่มเป้าหมาย คือ ชุมชน / แหล่งการเกษตร / ร้านค้าที่ตั้งอยู่นอกพื้นที่ชุมชน (ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการฯ) เช่น เจ้าของร้านอุกรณ์การเกษตร ที่อยู่นอกตำบล
– จำนวนกลุ่มตัวอย่างเก็บข้อมูล 1 ราย / ตำบล
6.อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ
– ลักษณะกลุ่มเป้าหมาย คือ อาจารย์ผู้เป็นหัวหน้าของโครงการนั้น ๆ
– จำนวนกลุ่มตัวอย่างเก็บข้อมูล 1 คน / 1 แบบสอบถาม
7.เจ้าหน้าที่โครงการ (USI)
– ลักษณะกลุ่มเป้าหมาย คือ เจ้าหน้าที่ประจำโครงการ
– จำนวนกลุ่มตัวอย่างเก็บข้อมูล 1 คน / USI
8.ผู้แทนตำบล
– ลักษณะกลุ่มเป้าหมาย คือ เจ้าหน้าที่ อบต. ประจำตำบล *ผู้ได้รับมอบหมายในการประสานงานประจำตำบล
– จำนวนกลุ่มตัวอย่างเก็บข้อมูล 1 คน / ตำบล
9.หน่วยงานภาครัฐ
– ลักษณะกลุ่มเป้าหมาย คือ หน่ายงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ เช่น โรงพยาบาล / พัฒนาชุมชน / รพ.สต
– จำนวนกลุ่มตัวอย่างเก็บข้อมูล 1 คน / หน่วยงาน
10.อปท.
– ลักษณะกลุ่มเป้าหมาย คือ ตัวแทน อปท.มีส่วนร่วมดำเนินงานกับโครงการ เช่น กำนัน / ผู้ใหญ่ / นายยก อบต. / เทศบาลตำบล
– จำนวนกลุ่มตัวอย่างเก็บข้อมูล 1 คน / ตำบล
11.เอกชนในพื้นที่
– ลักษณะกลุ่มเป้าหมาย คือ บริษัท ห้าง ร้าน หรือกิจการในพื้นที่ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ร้านขายวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง หจก. / บริษัท ภายในตำบล
– จำนวนกลุ่มตัวอย่างเก็บข้อมูล 1 ราย / ตำบล
ดิฉันได้รับมอบหมายให้ไปสำรวจกลุ่ม ตำบลเป้าหมาย ซึ่งคนที่ดิฉันไปสัมภาษณ์เป็นผู้นำชุมชน คือนายอุทิศ เข็มมาลี ซึ่งเป็นผู้นำชุมชน ของหมู่บ้านโคกไม้แดง ท่านให้ความร่วมมือในการสัมภาษณ์ดีมาก ทำให้ดิฉันได้ข้อมูลมาครบตามเป้าหมาย
วันที่ 14 ตุลาคม 64 เวลา 15.30 น.อาจารย์ประจำกลุ่มได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานเฉพาะกลุ่มบัณฑิตไปจัดสถานที่ที่จะอบรม ในวันที่ 15 ตุลาคม 64 ณ ศาลากลางหมู่บ้านหนองบัวราย และเมื่อดิฉันไปถึงสถานที่แล้ว ดิฉันและผู้ปฏิบัติงานท่านอื่น ๆ ก็ได้ช่วยกันจัดโต๊ะ เก้าอี้ ปัดกวาดสถานที่ให้เรียบร้อย เพื่อที่อาจารย์จะมาตรวจอีกรอบหนึ่ง เมื่ออาจารย์มาเช็คสถานที่เรียบร้อยแล้วอาจารย์ก็ได้พูดคุยกับผู้ปฏิบัติงาน ว่าพรุ่งนี้ต้องเตรียมอะไรมาเพิ่มอีก และแบ่งงานให้ผู้ปฏิบัติงานว้าแต่ละท่านต้องซื้ออะไรมาบ้างในวันพรุ่งนี้
วันที่ 15 ตุลาคม 64 เวลา 13.30 น. ได้มีการจัดอบรมการจัดทำอุปกรณ์ป้องกันตัวเอง จากผลิตภัณฑ์สมุนไพร ณ ศาลากลาง หมู่บ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ การทำอุปกรณ์ป้องกันตัวเองจากผลิตภัณฑ์สมุนไพร ได้แก่ สเปรย์กันยุงสมุนไพร นำมันเหลือ และยาหม่องไพร โดยมีวิทยากรอาจารย์ประจำสาขาวิชาเคมี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มาสอนวิธีทำและให้ความรู้แก่ชาวบ้านตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
โดยผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร มีส่วนประกอบและวิธีทำดังนี้
1.สเปรย์กันยุงสมุนไพร
ส่วนประกอบ
1) เอทิลแอลกอฮอล์ 1 ลิตร
2) ตะไคร้หอมหั่นฝอย 100 กรัม
3) ผิวมะกรูด 50 กรัม
4) การบูร 50 กรัม
วิธีทำ
1) นำตะไคร้หอมและเปลือกมะกรูดหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำมาห่อด้วยผ้าขาวบาง
2) แช่มะกรูดและตะไคร้ในเอทิลแอลกอฮอล์ เติมการบูร 50 กรัม ปิดฝาหมักทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ (เขย่าทุกวัน)
3) กรอกใส่ขวดพร้อมนำไปใช้งาน
2.น้ำมันเหลือง
การเตรียมน้ำไพล
ส่วนประกอบ
1) ไพล 200 กรัม
2) ขมิ้น 50 กรัม
3) น้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์ม 100 กรัม
วิธีทำ
นำไพลและขมิ้นที่แก่จัด มาปลอกเปลือกไพลและขมิ้นหั่นเป็นชิ้นบาง (คล้ายกับการทำกล้วยฉาบ) จากนั้นนำไปทอดในน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์ม โดยใช้ไฟกลาง จนกระทั่งไพลและขมิ้นกรอบเหลือง (ระวังอย่าให้ไหม้) กรองเอาน้ำมันจะได้น้ำมันไพล (จะได้น้ำมันไพลประมาณ 70-80 มิลลิลิตร)
ส่วนประกอบของน้ำมันเหลือง
1) เมนทอล 120 กรัม
2) การบูร 80 กรัม
3) พิมเสน 40 กรัม
4) น้ำมันไพล 200 มิลลิลิตร
วิธีทำ
ผสมเมนทอล การบูร และพิมเสน คนให้ละลาย (ถ้าละลายไม่หมด สามารถเพิ่มเมนทอลลงไปทีละน้อย) แล้วจึงเติมน้ำมันไพล และเทลงขวดบรรจุเพื่อนำไปใช้งาน
3.ยาหม่องไพล
ส่วนประกอบ
1) วาสลิน 120 กรัม
2) พาราฟิน 80 กรัม
3) น้ำมันไพล 60 มิลลิลิตร
4) พิมเสน 120 กรัม
5) เมนทอล 120 กรัม
6) การบูล 20 กรัม
7) น้ำมันยูคาลิปตัส 30 มิลลิลิตร
8) น้ำมันระกำ 100 มิลลิลิตร
วิธีทำ
1.ช่างพาราฟินและวาสลินลงภาชนะ แล้วนำมาให้ความร้อน จะสังเกตเห็นได้ว่าพาราฟินและวาสลินเริ่มละลาย
2.ผสมเมนทอล การบูล พิมเสน น้ำมันระกำ น้ำมันยูคาลิปตัส และน้ำมันสมุนไพร คนจนละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
3.เมื่อพาราฟินและวาสลินใสจนเป็นเนื้อเดียวกันให้เติมของผสมระหว่าง เมนทอล การบูร พิมเสนน้ำมันระกำและน้ำมันยูคาลิปตัส จากข้อ 2. แล้วคนให้เป็นเนื้อเดียวกัน
4.เทสารละล่ายที่ได้ใส่ภาชนะที่บรรจุยาหม่อง ตั้งทิ้งไว้จนยาหม่องแข็งตัว
หมายเหตุ
1.ไม่ควรใช้ความร้อนที่สูงเกินไป จะทำให้กลิ่นระเหยหมดและอาจทำให้เกิดไฟลุกไหม้ได้
2.การให้ความร้อนที่มีเปลวไฟ ให้ทำการตุ๋นในน้ำร้อนเพื่อป้องกันการเกิดไฟลุกไหม้
3.สามารถปรับเพิ่มได้ตามอัตราส่วน เมื่อต้องการยาหม่องในปริมาณมี่มากขึ้น
เกร็ดความรู้
1.การบูร มีลักษณะเป็นเกร็ดสีขาว ออกฤทธิ์ร้อน สรรพคุณ ช่วยบรรเทาโรคตาแดง ขับเสมหะ ขับลม
2.เมนทอล มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีกลิ่นหอม บรรเทาอาการหวัด คัดจมูก แก้ไข้ แก้ไอ ลดการอักเสบในลำคอ บรรเทาอาการปวดศีรษะ
3.พิมเสน มีลักษณะเป็นเกร็ดสีขาวขุ่น มีกลิ่นหอม ใช้สูดดม แก้วิงเวียนศีรษะ ใช้ทาแก้ปวดเมื่อย แก้เคล็ดขัดยอก
4.พาราฟินใช้เป็นส่วนผสมเพื่อให้น้ำมันแข็งตัว
5.วาสลิน ใช้เป็นส่วนผสมเพื่อทำให้เกิดความลื่นมัน และสะดวกในการทานวด
6.น้ำมันระกำ เป็นน้ำมันใส มีกลิ่นหอม มีสรรพคุณแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อแก้เคล็ดขัดยอก
7.น้ำมันยูคาลิปตัส สรรพคุณ แก้หวัด คัดจมูก ขับเสมหะ ขับลม
สรุป
ในการออกไปสำรวจเก็บข้อมูลสำหรับที่พักอาศัย เพื่อที่จะนำข้อมูลที่ได้สำรวจไปประเมิน ถึงสถารการณ์โควิด -19 ว่าในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีสถานการณ์เป็นอย่างไร ชาวบ้านสามารถดูแลและป้องกันตนเองได้หรือไม่ จากการสำรวจเก็บข้อมูลในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ถือได้ว่าชาวบ้านมีการป้องกันตัวเองจากความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ดี และสำรวจการแบบสอบถาม U2T – SROI ของผู้นำชุมชน ในตำบลโคกไม้แดง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ทำให้ได้รู้ว่าโครงการ u2t สามารถสร้างรายได้และประโยชน์ให้แก่ตำบลบ้านสิงห์เป็นอย่างมาก และสิ่งที่ต้องจำไว้ในการดูแลสุขภาพ คือยาและสมุนไพรมีไว้รักษาโรคหรืออาการเจ็บปวดทางร่างการ และอะไรที่ทำจากสมุนไพรคือปลอดภัยและมีประโยชน์เป็นอย่างมาก