HS03-บ้านสระหมูเก็บข้อมูลในพื้นที่ ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง

การทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือน ตุลาคม

ดิฉัน นางสาวธนัชพร สมใจเรา กลุ่มประชาชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง หลักสูตรการส่งเสริมอาชีพและการพัฒนาขนมไทย รับผิดชอบลงพื้นที่ในหมู่ 6 บ้านสระหมู ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ในเดือน ตุลาคม นี้มีกิจกรรมที่ทำ ดังนี้

– ประชุมงานผ่าน Google Meet ทั้งหมด 2 ครั้ง

– ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลทำแบบสำรวจประจำเดือนตุลาคม

– ลงพื้นที่สำรวจทำ แบบสอบถาม : โครงการการติดตามประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมโครงการ U2T

– อบรมการจัดทำอุปกรณ์ป้องกันตัวเอง จากผลิตภัณฑ์สมุนไพร

 

วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2564

อาจารย์ประจำหลักสูตรได้ให้ผู้ดำเนินงานทุกคนเข้าร่วมประชุมผ่าน Google Meet เวลา 10:00 น. เป็นต้นไป เพื่อชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานในเดือน ตุลาคม ซึ่งในเดือนตุลาคมนี้จะมีการลงพื้นที่เพื่อจัดการอบรมให้ความรู้แก่ชาวบ้านและผู้ที่สนใจ เพื่อให้โครงการบรรลุตามเป้าหมายตามโครงการในระยะเวลาอีก 3 เดือนนี้

ได้มีการต้อนรับผู้ดำเนินงานชุดใหม่ และอาจารย์ประจำหลักสูตรได้อธิบายแนวทางการทำงาน การลงเวลาปฏิบัติงาน และวิธีการทำงาน รวมไปถึงการเขียนบทความและการเขียนรายงานการปฏิบัติงานที่ผู้ดำเนินงานทุกท่านจะต้องทำในแต่ละเดือนให้กับผู้ปฏิบัติงานใหม่ได้รับทราบและเข้าใจ

         

วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2564

อาจารย์ประจำหลักสูตรได้ให้ผู้ดำเนินงานทุกคนเข้าร่วมประชุมผ่าน Google Meet เวลา 16:00 น. เป็นต้นไป การประชุมในครั้งนี้เป็นการประชุมในกรณีพิเศษ เนื่องจากมีงานใหม่ล่าสุดเข้ามา คือ แบบสอบถาม : โครงการการติดตามประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมโครงการ U2T

หัวข้อที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายคือ  ชุมชนภายใน แบบสอบถามนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของการดำเนินกิจกรรม ภายใต้โครงการการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (U2T)

           

วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2564 (ช่วงเช้า)

จากที่ได้มีการมอบหมายหน้าที่ในการเก็บข้อมูล แบบสอบถาม : โครงการการติดตามประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมโครงการ U2T

ชุมชนภายใน : แบบสอบถามสำหรับประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมโครงการ U2T ในพื้นที่ระดับจังหวัด  ด้วยเครื่องมือ SROI ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ร้านค้าภายในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อสอบถามข้อมูลและตอบแบบสอบถาม ซึ่งผู้ให้ข้อมูลเป็นเจ้าของร้านค้าและร้านหมูกระทะเกาหลีในพื้นที่หมู่บ้านหนองโคลน ผู้ให้ข้อมูลได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

                   

วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2564 (ช่วงบ่าย)

          มีการจัดการอบรม “การจัดทำอุปกรณ์ป้องกันตัวเอง จากผลิตภัณฑ์สมุนไพร” ซึ่งได้เรียนเชิญตัวแทนหมู่บ้านละ 2 ท่านในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมกับผู้ปฏิบัติงาน โดยมีวิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์มาให้ข้อมูลและสอนวิธีการทำการจัดทำอุปกรณ์ป้องกันตัวเอง จากผลิตภัณฑ์สมุนไพรในครั้งนี้ สถานที่จัดการอบรม ณ ศาลากลางหมู่บ้านหนองบัวราย

                     

                     

การจัดทำอุปกรณ์ป้องกันตัวเอง จากผลิตภัณฑ์สมุนไพร ผลิตภัณฑ์ที่ได้ในครั้งนี้ ได้แก่

  1. สเปรย์กันยุงสมุนไพร
  2. น้ำมันเหลือง
  3. ยาหม่องไพล

แต่ละผลิตภัณฑ์มีส่วนประกอบและวิธีการทำ ดังต่อไปนี้

  1. สเปรย์กันยุงสมุนไพร

ส่วนประกอบ

  1. เอทิลแอลกอฮอล์ 1 ลิตร         2. ตะไคร้หอมหั่นฝอย 100 กรัม       3.ผิวมะกรูด 50 กรัม          4. การบูร 50 กรัม

วิธีทำ

  1. นำตะไคร้หอมและเปลือกมะกรูดหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำมาห่อด้วยผ้าวบาง
  2. แช่มะกรูดและตะไคร้ในเอทิลแอลกอฮอล์ เติมการบูร 50 กรัม ปิดฝาหมักทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ (เขย่าทุกวัน)
  3. กรอกใส่ขวดพร้อมนำไปใช้งาน

                                   

  1. น้ำมันเหลือง

การเตรียมน้ำมันไพล

ส่วนประกอบ

  1. ไพล 200 กรัม                    2. ขมิ้น 50 กรัม             3.น้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์ม 100 กรัม

วิธีทำ

นำไพลและขมิ้นที่แก่จัด มาปลอกเปลือกไพลและขมิ้นหั่นเป็นชิ้นบาง (คล้ายกับการทำกล้วยฉาบ) จากนั้นนำไปทอดในน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์ม โดยใช้ไฟกลาง จนกระทั่งไพลและขมิ้นกรอบเหลือง (ระวังอย่าให้ไหม้) กรองเอาน้ำมันจะได้น้ำมันไพล (จะได้น้ำมันไพลประมาณ 70-80 มิลลิลิตร)

ส่วนประกอบของน้ำมันเหลือง

  1. เมนทอล 120 กรัม           2. การบูร 80 กรัม   3.พิมเสน 40 กรัม            4. น้ำมันไพล 200 มิลลิลิตร

วิธีทำ

ผสมเมนทอล การบูร และพิมเสน คนให้ละลาย (ถ้าละลายไม่หมดสามารถเพิ่มเมนทอลลงไปทีละน้อย) แล้วจึงเติมน้ำมันไพล และเทลงขวดบรรจุเพื่อนำไปใช้งาน

  1. ยาหม่องไพล

ส่วนประกอบ

  1. วาสลิน 120 กรัม 2. พาราฟิน 80 กรัม
  2. น้ำมันไพล 60 มิลลิลิตร 4. พิมเสน 20 กรัม
  3. เมนทอล 20 กรัม 6. การบูร 20 กรัม
  4. น้ำมันยูคาลิปตัส 30 มิลลิลิตร 8. น้ำมันระกำ 100 มิลลิลิตร

วิธีทำ

  1. ชั่งพาราฟินและวาสลินลงภาชนะ แล้วนำมาให้ความร้อน จะสังเกตเห็นว่าพาราฟินและวาสลินจะเริ่มละลาย (ใส)
  2. ผสมเมนทอล การบูร พิมเสน น้ำมันระกำ น้ำมันยูคาลิปตัส และนำมันสมุนไพร คนจนสารละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
  3. เมื่อพาราฟินและวาสลินใสจนเป็นเนื้อเดียวกันให้เติมของผสมระหว่างเมนทอล การบูร พิมเสนน้ำมันระกำ และยูคาลิปตัส จากข้อ 2 แล้วคนให้เป็นเนื้อเดียวกัน
  4. เทสารละลายที่ได้ใส่ภาชนะที่บรรจุยาหม่อง ตั้งทิ้งไว้จนยาหม่องแข็งตัว

หมายเหตุ

  1. ไม่ควรใช้ความร้อนสูงเกินไป จะทำให้กลิ่นระเหยหมดและอาจทำให้เกิดไฟลุกไหม้ได้
  2. การให้ความร้อนที่มีเปลวไฟ ให้ทำการตุ๋นในน้ำร้อนเพื่อป้องกันการเกิดไฟลุกไหม้
  3. สามารถปรับเพิ่มได้ตามอัตราส่วน เมื่อต้องการยาหม่องในปริมาณที่มากขึ้น

เกร็ดความรู้

  1. การบูร มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาว ออกฤทธิ์ร้อน สรรพคุณ ช่วยบรรเทาโรคตาแดง ขับเสมหะ ขับลม
  2. เมนทอล มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีกลิ่นหอม บรรเทาอาการหวัด คัดจมูก แก้ไข้ แก้ไอ ลดการอักเสบในลำคอ บรรเทาอาการปวดศีรษะ
  3. พิมเสน มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวขุ่น มีกลิ่นหอม ใช้สูดดม แก้วิงเวียนศีรษะ ใช้ทาแก้ปวดเมื่อยแก้เคล็ดขัดยอก
  4. พาราฟิน ใช้เป็นส่วนผสมเพื่อทำให้น้ำมันแข็งตัว
  5. วาสลิน ใช้เป็นส่วนผสมเพื่อทำให้เกิดความลื่นมัน และสะดวกในการทานวด
  6. น้ำมันระกำ เป็นน้ำมันใส มีกลิ่นหอม มีสรรพคุณแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อแก้เคล็ดขัดยอก
  7. น้ำมันยูคาลิปตัส สรรพคุณ แก้หวัดคัดจมูก ขับเสมหะ แก้โรคหอบหืด

 

ในเดือน ตุลาคม นี้

ข้าพเจ้าได้ทำการลงพื้นที่เพื่อเก็บแบบสำรวจประจำพื้นที่ของตนเอง เป็นการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประเมินรอบเดือน ตุลาคม

โดยการสำรวจที่พักอาศัย จำนวน 60 ครัวเรือน

สำรวจศาสนสถาน จำนวน 6 แห่ง

1.วัดโพธิ์คงคา

2.สำนักปฏิบัติธรรม วัด ตามุมเวฬวนาราม

3.วัดบ้านหนองทะยิง

4.ที่พักสงฆ์หนองสองห้อง

5.วัดบ้านหนองกง

6.สำนักสงฆ์พุทธบาทศิลาภูม่านฟ้า

เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่กำลังเกิดขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ข้าพเจ้า ชาวบ้านที่ให้ข้อมูล และผู้ปฏิบัติงานทุกท่าน ได้ทำการรักษาระยะห่างและสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่เก็บแบบสำรวจและมีการทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นอย่างดี

อื่นๆ

เมนู