ดิฉัน นางสาววรลักษณ์ ไกรษร กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์
หลักสูตร : ส่งเสริมอาชีพและพัฒนาขนม HS03
เดือนตุลาคม
จากสถานการณ์โควิด-19 ที่แพร่ระบาดอย่างหนักและมีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วจนถึงตอนนี้นั้น ในบางพื้นที่สถานการณ์เริ่มคลีคลายลงเพราะประชาชนส่วนใหญ่ได้รับการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นและทั่วถึง ทำให้การปฏิบัติงานในเดือนนี้เป็นไปอย่างราบรื่นมากขึ้น
2 ตุลาคม 64
อาจารย์ประจำหลักสูตรและกลุ่มผู้ปฏิบัติงานตำบลบ้านสิงห์ทุกคนได้นัดหมายและประชุมออนไลน์ร่วมกันผ่านระบบ Google meet เพื่อแนะนำและทำความรู้จักกับผู้ปฏิบัติงานใหม่ และชี้แจงเกี่ยวกับแบบสำรวจเดือนตุลาคม
5 ตุลาคม 64
อาจารย์ประจำหลักสูตรและกลุ่มผู้ปฏิบัติงานตำบลบ้านสิงห์ทุกคนได้นัดหมายและประชุมออนไลน์ร่วมกันผ่านระบบ Google meet โดยการประชุมในครั้งนี้เป็นการประชุมเพื่อมอบหมายงาน และชี้แจงเกี่ยวกับการเก็บแบบสอบถาม : โครงการการติดตามประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมโครงการ U2T และนัดหมายให้ลงพื้นที่เพื่ออบรมเกี่ยวกับการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรในวันที่ 15 ตุลาคม 64
11 ตุลาคม 64
ดิฉันได้ลงพื้นที่เพื่อถ่ายภาพศาลากลางหมู่บ้าน บ้านหนองม่วง หมู่ 12 ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เพื่อส่งให้อาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณา และตัดสินใจในการเลือกใช้สถานที่ในการอบรมการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร
14 ตุลาคม 64
ดิฉันและผู้ปฏิบัติงานตำบลบ้านสิงห์กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ได้ลงพื้นที่ ณ ศาลากลางหมู่บ้าน บ้านหนองบัวราย หมู่ 7 ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เพื่อจัดสถานที่ไว้สำหรับการอบรมการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร และเมื่อเสร็จจากการจัดสถานที่เพื่อใช้ในการอบรมแล้วดิฉันได้เดินทางไปพบ นางละม่อม สวัสดิ์พูน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บ้านหนองม่วง หมู่ 12 ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอ จ.บุรีรัมย์ เพื่อประสานให้จัดหาชาวบ้านในพื้นที่จำนวน 2 ท่าน เข้าร่วมอบรมการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร
15 ตุลาคม 64
เวลา 13.30 น. อาจารย์ประจำหลักสูตร ผู้ปฏิบัติงานตำบลบ้านสิงห์ และตัวแทนชาวบ้านในแต่ละหมู่บ้านจำนวนหมู่บ้านละ 2 ท่าน ได้เข้าร่วมอบรมการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ณ ศาลากลางหมู่บ้าน บ้านหนองบัวราย หมู่ 7 ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ โดยการอบรมในครั้งนี้มีวิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเคมี มาทำการสาธิตการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร 2 ท่านคือ ดร.สุกัญญา ทองขัน และ ดร.สุภาวรัตน์ ทัพสุริย์ ในส่วนแรกของการอบรมจะเป็นการแบ่งกลุ่ม แต่ละกลุ่มจะประกอบไปด้วยชาวบ้าน และผู้ปฏิบัติงาน โดยแบ่งกลุ่มทั้งหมดออกเป็น 6 กลุ่ม ซึ่งอุปกรณ์ในการอบรมจะถูกเตรียมไว้แล้วและให้แต่ละกลุ่มจะไปอยู่ในจุดที่มีการเตรียมอุปกรณ์ไว้ ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรที่จะทำทั้งหมดมี 3 อย่างคือ น้ำมันเหลือง ยาหม่องไพร และเปรย์กันยุงสมุนไพร โดยส่วนประกอบต่าง ๆ และขั้นตอนการทำมีดังนี้
1.น้ำมันเหลือง
การเตรียมน้ำมันไพล
ส่วนประกอบ 1) ไพล 200 กรัม 2) ขมิ้น 50 กรัม 3) น้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์ม 100 กรัม
วิธีทำ : นำไพลและขมิ้นที่แก่จัดมาปอกเปลือกไพลและขมิ้นหั่นเป็นชิ้นบาง (คล้ายกับการทำกล้วยฉาบ) จากนั้นนำไปทอดในน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันปาล์มโดยใช้ไฟกลางจนกระทั่งไพลและขมิ้นกรอบเหลือง (ระวังอย่าให้ไหม้) กรองเอาน้ำมันจะได้น้ำมันไพล (จะได้น้ำมันไพลประมาณ 70 – 80 มิลลิลิตร)
ส่วนประกอบของน้ำมันเหลือง
1) เมนทอล 120 กรัม
2) การบูร 80 กรัม
3) พิมเสน 40 กรัม
4) น้ำมันไพล 200 กรัม
วิธีทำ : ผสมเมนทอล การบูร และพิมเสน ลงในบีกเกอร์ ใช้ไม้พายคนให้ละลาย (ถ้าละลายไม่หมดสามารถเพิ่มเมนทอลลงไปทีละน้อย) แล้วจึงเติมน้ำมันไพล คนให้ส่วนผสมทุกอย่างละลายและเข้ากัน เมื่อส่วนผสมทุกอย่างเข้ากันหมดแล้วให้เทลงขวดบรรจุเพื่อนำไปใช้งาน
2.ยาหม่องไพล
ส่วนประกอบ
1) วาสลิน 120 กรัม
2) พาราฟิน 80 กรัม
3) น้ำมันไพล 60 กรัม
4) พิมเสน 20 กรัม
5) เมนทอล 20 กรัม
6) การบูร 20 กรัม
7) น้ำมันยูคาลิปตัส 30 มิลลิลิตร
8) น้ำมันระกำ 100 มิลลิลิตร
วิธีทำ : 1) ชั่งพาราฟินและวาสลินลงภาชนะ แล้วนำมาให้ความร้อนจะสังเกตเห็นว่าพาราฟินและวาสลินจะเริ่มละลาย (ใส)
2) ผสมเมนทอล การบูร พิมเสน น้ำมันระกำ น้ำมันยูคาลิปตัส และน้ำมันสมุนไพร คนจนละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
3) เมื่อพาราฟินและวาสลินใสจนเป็นเนื้อเดียวกันให้เติมของผสมระหว่างเมนทอล การบูรพิมเสน น้ำมันระกำ และน้ำมันยูคาลิปตัส จากข้อ 2) แล้วคนให้เป็นเนื้อเดียวกัน
4) เทสารละลายที่ได้ใส่ภาชนะที่บรรจุยาหม่องตั้งทิ้งไว้จนยาหม่องแข็งตัว
หมายเหตุ
-
- ไม่ควรใช้ความร้อนที่สูงเกินไป จะทำให้กลิ่นระเหยหมดและอาจทำให้เกิดไฟลุกไหม้ได้
- การให้ความร้อนที่มีเปลวไฟ ให้ทำการตุ๋นในน้ำร้อนเพื่อป้องกันการเกิดไฟลุกไหม้
- สามารถปรับเพิ่มได้ตามอัตราส่วน เมื่อต้องการยาหม่องในปริมาณที่มากขึ้น
3.สเปรย์กันยุง
ส่วนประกอบ
1) เอทิลแอลกอฮอล์
2) ตะไคร้หอมหั่นฝอย
3) ผิวมะกรูด 50 กรัม
4) การบูร 50 กรัม
วิธีทำ : 1) นำตะไคร้หอมและเปือกมะกรูดหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำมาห่อด้วยผ้าขาวบาง
2) แช่มะกรูดและตะไคร้ในเอทิลแอลกอฮอล์ เติมการบูร 50 กรัม ปิดฝาหมักทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ (เขย่าทุกวัน)
หมายเหตุ ในส่วนของการทำสเปรย์กันยุงนั้นทางอาจารย์ประจำหลักสูตรและวิทยากรได้ทำการหมักสเปรย์มาให้แล้ว เนื่องจากสเปรย์กันยุงต้องใช้เวลาในการหมัก 1 สัปดาห์ ในการอบรบจึงไม่ได้สาธิตให้ดู เพียงแค่อธิบายวิธีการทำและส่วนประกอบที่ต้องใช้เท่านั้น
เกร็ดความรู้
1) การบูร มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาว ออกฤทธิ์ร้อน สรรพคุณ ช่วยบรรเทาโรคตาแดง ขับเสมหะ ขับลม
2) เมนทอล มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีกลิ่นหอม บรรเทาอาการหวัด คัดจมูกแก้ไข้ แก้ไอ ลดการอักเสบในลำคอ บรรเทาอาการปวดศีรษะ
3) พิมเสน มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวขุ่น มีกลิ่นหอม ใช้สูดดม แก้วิงเวียนศีรษะใช้ทาแก้ปวดเมื่อย แก้เคล็ดขัดยอก
4) พาราฟิน ใช้เป็นส่วนผสมเพื่อทำให้น้ำมันแข็งตัว
5) วาสลีน ใช้เป็นส่วนผสมเพื่อทำให้เกิดความลื่นมัน และสะดวกในการทานวด
6) น้ำมันระกำ เป็นน้ำมันใส มีกลิ่นหอม มีสรรพคุณแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อแก้เคล็ดขัดยอก
7) น้ำมันยูคาลิปตัส สรรพคุณ แก้หวัดคัดจมูก ขับเสมหะ ขับลม แก้โรคหอบหืด
เมื่ออบรมการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดิฉันได้ทำการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม : โครงการการติดตามประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมโครงการ U2T โดยมีข้อมูลทั้งหมด 10 ข้อได้แก่
-
- ตำบลเป้าหมาย
- ลูกจ้างโครงการ
- ครอบครัวลูกจ้างโครงการ
- ชุมชนภายใน
- ชุมชนภายนอก
- อาจารย์ผู้ดูแลโครงการ
- เจ้าหน้าที่โครการ USI
- ผู้แทนตำบล
- หน่วยงานภาครัฐ
- หน่วยงาน อปท
- เอกชนในพื้นที่
โดยการเก็บข้อมูลในครั้งนี้อาจารย์ประจำหลักสูตรจะแบ่งหน้าที่ในการเก็บข้อมูลเเต่ละหัวให้ผู้ปฏิบัติงานเเต่ละคนไม่ซ้ำกัน ซึ่งดิฉันได้เก็บข้อมูลในหัวข้อที่ 10 หน่วยงาน อปท. โดยรายละเอียดข้อมูลมีดังนี้
ผู้ให้ข้อมูล : นายวีรพล ชาลีวัลย์ ตำแหน่ง : ผู้ใหญ่บ้าน สังกัดหน่วยงาน : กระทรวงมหาดไทย เบอร์โทรศัพท์ : 0986808145
จากการสอบถามข้อมูลตามแบบฟอร์มที่ได้มาได้ข้อสรุปดังนี้
ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T นั้น ผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นอย่างดี เช่น ส่งตัวแทนหมู่บ้านเข้าร่วมอบรมการแปรรูปขนมในตำบล ชาวบ้านให้ความร่วมมือในการเก็บข้อมูลตามแบบสอบถามที่ทางผู้ปฏิบัติงานต้องการเก็บข้อมูล หรือให้ใช้สถานที่ศาลาประชาคมประจำหมู่บ้านในการทำกิจกรรม การได้เข้าร่วมโครงการ U2T นั้นเป็นผลดีต่อตำบลบ้านสิงห์อย่างมาก คือทำให้ตำบลบ้านสิงห์เป็นที่รู้จักและเกิดภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น รวมไปถึงการพัฒนาหลักสูตรขนมที่มีในตำบลที่ปกติมีสูตรไม่ค่อยมากนักให้มีการพัฒนาเเละเพิ่มสูตรในการแปรรูปต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ และเกิดผลสำเร็จมากขึ้น
ส่วนความสำคัญและระดับของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ส่วนที่ 1 ระดับความสำคัญอยู่ที่ สำคัญและสำคัญมาก
ส่วนที่ 2 ระดับการเปลี่ยนแปลงอยู่ที่ การเปลี่ยนแปลงมาก
การดำเนินงานในเดือนนี้ยังไม่สิ้นสุดแต่เพียงเท่านี้ ผู้ปฏิบัติงานทุกคนยังต้องเตรียมความพร้อมในการลงพื้นที่ในครั้งต่อ ๆ ไปเพื่อให้การปฏิบัติงานในแต่ละครั้งเกิดผลสำเร็จมากที่สุด ส่วนการลงพื้นที่อบรมการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรพบว่าชาวบ้านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และได้รับความรู้จากการอบรมครั้งนี้เป็นอย่างมาก ท้ายที่สุดนี้ขอขอบคุณอาจารย์ประจำหลักสูตร วิทยากรทั้ง 2 ท่านที่เดินทางมาร่วมกิจกรรมและให้ความรู้ในครั้งนี้ และขอขอบคุณผู้ใหญ่วีรพล ชาลีวัลย์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 7 บ้านหนองบัวราย ที่อำนวยความสะดวกในด้านสถานที่ที่ใช้ในการอบรมครั้งนี้ ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ