ข้าพเจ้า นางสาวเจนจิรา จันทร์นพคุณ กลุ่มประชาชน

หลักสูตร : ส่งเสริมอาชีพและพัฒนาขนม HS03  ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ประจำเดือน : ตุลาคม-พฤศจิกายน

เนื่องจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทยที่เริ่มมีการระบาดลดน้อยลง ทำให้ทำให้การปฏิบัติงานในช่วงปลายเดือนตุลาคม – เดือนพฤศจิกายน สามารถลงพื้นที่ได้อย่างเต็มที่และการดำเนินเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

เมื่อวันที่  22 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้า อาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมงานผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลบ้านสิงห์ ได้เข้าร่วมอบรมการการขอมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ หรือ การขอ อย. การขึ้นทะเบียนสินค้า OTOP และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ณ ศาลากลาง หมู่ 7 บ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยการอบรมครั้งนี้ได้เชิญตัวแทนหรือผู้ที่สนใจเข้าร่วมอบรม โดยมีวิทยากร คือ นางภัทรวดี มักขุนทด นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และนายชยุท ชำนาญเนาว์ นักวิชาการสาธารณสุข ซึ่งเนื้อหาที่ใช้ในการอบรมมีดังนี้

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)

1.คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอ

  • ผู้ยื่นคำขอต้องเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน ไม่เป็นผู้แอบอ้าง หรือทำการผลิตแอบแฝง และสมบัติในข้อหนึ่งข้อใด ดังต่อไปนี้

– บุคคลทั่วไป

– กลุ่มผู้ผลิตชุมชนที่ขึ้นทะเบียนไว้กับหน่วยงานราชการหรือกลุ่มตามกฎหมายวิสาหกิจชุมชน

– นิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

  • ผลิตภัณฑ์ที่ยื่นขอ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในรายชื่อมาตรฐาน มผช. ทั้ง 5 ประเภท (http://tcps.tisi.go.th/public/StandardList.aspx) และต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ควบคุมที่ เกี่ยวข้องก่อน เช่น ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข กรมสรรพสามิต
  • ยอมรับการปฏิบัติตามข้อกำหนดทั่วไปในการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ และการรับรองคุณภาพ ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
  • ยื่นคำขอต่อหน่วยรับรองตามแบบคำขอที่กำหนด (สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดบุรีรัมย์)

เงื่อนไขสำหรับผู้ได้รับการรับรอง มผช.

  • รักษาระบบการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรอง ตลอดระยะเวลาที่ได้รับการรับรอง และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรอง มผช.
  • นำใบรับรอง มผช. และเครื่องหมาย มผช. ไปใช้อ้างอิงได้เฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ได้รับ การรับรองเท่านั้น
  • ยุติการใช้ใบรับรอง และเครื่องหมาย มผช. เมื่อสิ้นอายุการรับรอง หรือ ในทันทีที่มีการ พักใช้ หรือยกเลิก หรือเพิกถอนการรับรอง
  • จัดเตรียมเอกสารหลักฐาน และข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการร้องเรียนผลิตภัณฑ์
  • แจ้งให้หน่วยรับรองทราบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เช่น เปลี่ยนผู้ติดต่อ ประสานงาน เปลี่ยนชื่อนิติบุคคล ย้านสถานที่ ปรับกระบวนการทำที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์

การตรวจสุขลักษณะการผลิต

  • สถานที่ตั้งอาคารที่ทำและบริเวณโดยรอบ สะอาด ไม่มีน้ำขังแฉะ ไม่สกปรก
  • เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการทำมีความสะอาด ปราศจากเชื้อโรค
  • การควบคุมกระบวนการทำ วัตถุดิบและส่วนผสมในการทำความสะอาด
  • การสุขาภิบาล การบำรุงรักษา การทำความสะอาด – น้ำใช้ต้องสะอาดและเพียงพอมีวิธีป้องกันและกำจัดสัตว์นำเชื้อ
  • บุคลากรและสุขลักษณะของผู้ทำต้องรักษาความสะอาดส่วนบุคคล เช่น เสื้อผ้าสะอาด มีผ้าคลุมผม ไม่ไว้เล็บยาว ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนทำ/หลังการใช้ห้องสุขา

ประโยชน์ของการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

  •  ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดีขึ้น มีความปลอดภัย 
  • ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสม่ำเสมอ
  • ผู้บริโภคและผู้เกี่ยวข้องตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
  • สร้างความเชื่อมันและความน่าเชื่อถือ
  •  เพิ่มโอกาสทางการค้า ผู้ผลิตเข้าถึงตลาดได้ง่ายขึ้น

สถานที่ผลิตอาหารแปรรูป ที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย ตามมาตรฐาน Primary GMP

โดยให้ความสำคัญในทุกขั้นตอน หัวใจ 3 ประการ ของการผลิตอาหารที่ปลอดภัย

1.ลดอันตรายเบื้องต้น คัดเลือกวัตถุดิบ ส่วนผสมที่มีคุณภาพดี ใช้ภาชนะบรรจุที่สะอาด และมีการล้างทำความสะอาดรวมทั้งผลิตในสถานที่ที่มี สภาพแวดล้อมที่ดีและเครื่องมือ อุปกรณ์ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อน

2.ลด/ยับยั้ง-ทำลายเชื้อจุลินทรีย์  ใช้ความร้อนฆ่าเชื้ออย่างเพียงพอ

3.ป้องกันการปนเปื้อนซ้ำ โดยการปฏิบัติงานอย่างถูกสุขลักษณะ แยกระหว่างของสุก และของดิบ

หลักเกณฑ์ Primary GMP 6 หมวด

  • สถานที่ตั้ง
  1. สถานที่ตั้งตัวอาคารและที่ใกล้เคียง ต้องอยู่ในที่ ๆ จะไม่ทำให้อาหารเกิดการปนเปื้อนได้ง่าย
  2. อาคารผลิตหรือบริเวณผลิตต้อง รักษาความสะอาดและรักษาให้ อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ
  • เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต
  1. ออกแบบเครื่องมือเครื่องใช้ที่เหมาะสม และคำนึงการปนเปื้อนที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งทำความสะอาดได้ง่าย
  2. ภาชนะหรืออุปกรณ์ในการผลิตที่สัมผัส กับอาหาร ต้องทำจากวัสดุที่ไม่ทำ ปฏิกิริยากับอาหารและง่ายต่อการทำ ความสะอาด หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย
  3. โต๊ะหรือพื้นผิวที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตในส่วนที่สัมผัสกับอาหาร ต้องทำด้วย วัสดุที่ไม่เกิดสนิม ทำความสะอาดง่าย มีความสูงที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานหรือมี มาตรการในการป้องกันการปนเปื้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
  • การควบคุมกระบวนการผลิต
  1. วัตถุดิบ ส่วนผสมในการผลิตอาหาร ต้องมีการคัดเลือกให้อยู่ใน สภาพที่สะอาด มีคุณภาพ
  2. การดำเนินการระหว่าง ผลิตอาหาร มีการขนย้ายวัตถุดิบ ส่วนผสม ภาชนะบรรจุ และบรรจุภัณฑ์ในลักษณะที่ไม่เกิดการปนเปื้อน
  3. ผู้ผลิตมีขั้นตอนและวิธีการในการควบคุมกระบวนการผลิตเป็นไป อย่างเคร่งครัด
  4. น้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตที่สัมผัสกับอาหารต้องเป็นน้ำที่สะอาด
  5. น้ำแข็งใช้ในกระบวนการผลิตที่สัมผัสกับอาหาร สะอาด มีคุณภาพมาตรฐานตาม ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
  6. การผลิต เก็บรักษา ขนย้าย และขนส่งผลิตภัณฑ์อาหารต้องป้องกันการปนเปื้อนและ กันการเสื่อมสลายของอาหารและภาชนะบรรจุด้วย
  • การสุขาภิบาล
  1. น้ำที่ใช้ภายในสถานที่ผลิต ต้องเป็นน้ำสะอาดและจัดให้มีการปรับคุณภาพน้ำ ตามที่จำเป็น
  2. จัดให้มีภาชนะรองรับขยะมูลฝอยที่มีฝาปิดในจำนวนที่เพียงพอ และ มี ระบบกำจัดขยะมูลฝอยที่เหมาะสม
  3. จัดให้มีห้องส้วมและอ่างล้างมือหน้าห้องส้วมให้เพียงพอสำหรับผู้ปฏิบัติงาน และต้องถูกสุขลักษณะ มีอุปกรณ์ล้างมือครบถ้วน ใช้งานได้ สะอาด และต้องแยกต่างหากจากบริเวณที่ผลิตหรือไม่เปิดสู่บริเวณผลิตโดยตรง
  4. จัดให้มีอ่างล้างมือในบริเวณผลิตให้เพียงพอ ใช้งานได้ สะอาด และมีอุปกรณ์ล้างมืออย่างครบถ้วน
  5. การจัดการระบายน้ำทิ้งและสิ่งโสโครกอย่างมีประสิทธิภาพ
  • การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด
  1. ตัวอาคารสถานที่ผลิตต้องทำความสะอาดและรักษา ให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะอย่างสม่ำเสมอ
  2. เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการผลิต มีการ ทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมออยู่ในสภาพที่ใช้งานได้
  3. การจัดเก็บสารเคมีทำความสะอาดหรือสารเคมีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาสุขลักษณะ ต้องแยกให้เป็น สัดส่วน ปลอดภัย พร้อมมีการแสดงป้ายชื่อ
  • บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน
  1. ผู้ปฏิบัติงานในบริเวณผลิตอาหารไม่มีบาดแผล ไม่เป็นโรคหรือพาหะของโรคตามที่ระบุใน กฎกระทรวง หรือมีบาดแผลมี่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของผลิตภัณฑ์
  2. ผู้ปฏิบัติงานทุกคนที่ทำหน้าที่สัมผัสอาหาร ต้องสวมเสื้อผ้าที่สะอาด สวมหมวก หรือ ผ้าคลุมผมหรือตาข่าย, มีมาตรการการจัดการรองเท้าที่ใช้ในการผลิตที่เหมาะสม ไม่สวมเรื่องประดับ พร้อมทั้งล้างมือและดูแลเล็บมือให้สะอาด อยู่เสมอ
  3. แสดงคำเตือน ห้ามหรือป้องกันมิให้บุคคลแสดงพฤติกรรมอันน่ารังเกียจในการผลิตอาหาร
  4. วิธีการหรือข้อปฏิบัติสำหรับผู้ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตที่มีความจำเป็นต้องเข้าไปให้ปฏบัติตามมาตราการ

     

เมื่อวันที่  28 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้า อาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมงานผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ได้เข้าร่วมการงานเสวนาออนไลน์ผ่านระบบ Zoom เรื่อง “Quadruple Helix : จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” โดยมีท่านรองศาสตราจารย์มาลินี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นประธานเปิดโครงการเสวนา วิทยากรผู้ร่วมเสวนามีดังนี้

  • นายคำเดื่อง ภาษี ประธานกลุ่มปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์
  • รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาท เนืองเฉลิม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์
  • นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา นายกเทศมนตรีตำบลอิสาน
  • รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ดำเนินการเสวนาโดย นายชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายพันธกิจชุมชนสัมพันธ์และภูมิทัศน์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์

   

ซึ่งในการเสวนาครั้งนี้ ได้พูดถึงประเด็นแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการนำองค์ความรู้ไปพัฒนาสู่ชุมชนอย่างยั่งยืนให้เกิดประโยชน์เกิดรายได้แก่ชุมชนตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ด้วยการร่วมมือกันของทุกภาคส่วนทั้ง
1. มหาวิทยาลัย
2. ชุมชน,วัด
3. หน่วยงานเอกชน
4. หน่วยงานราชการ

หรือที่เรียกว่าจตุรภาคีโดยยึดหลัก “ปรัชเศรษฐกิจพอเพียง”  ควบคู่ไปกับการพัฒนาอย่างเสมอภาคซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของ “SDG 5 ประการ” SDGs คือหลังจากเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ ( Millennium Development Goals – MDGs ) ซึ่งต้องการเสริมสร้างมาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน องค์การสหประชาชาติ จึงจัดทำเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals –SDGs) ทั้งหมด 17 ข้อ มุ่งหวังจะช่วยแก้ปัญหาที่โลกกำลังเผชิญอยู่ เช่น ความยากจน ความไม่เท่าเทียม สภาวะโลกร้อน และสันติสุข เพื่อเสริมแนวคิด “ ไม่เป็นการทิ้งใครไว้ข้างหลัง” คาดว่าจะทำสำเร็จได้ภายในปี 2030 คือเป้าหมาย SDGs 17 ข้อ ที่สหประชาชาติ ที่ทั่วโลกจะทำให้ได้ภายในปี 2030 ซึ่งหลายประเทศก็ได้ออกวิสัยทัศน์เชิงนโยบายหลายแบบ ทั้งญี่ปุ่นกับ Society 5.0 , ประเทศไทย 4.0 และ Smart Nation ของสิงคโปร์ เป็นต้น 

เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้า อาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมงานผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลบ้านสิงห์ ได้เข้าร่วมอบรมเรื่องตลาดออนไลน์สำหรับผู้ประกอบการ โดยวิทยากรผู้ให้ความรู้คือ อาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  โดยการอบรมในครั้งนี้จะมีผู้ที่สนใจนำผลิตภัณฑ์ที่ตนเองทำอยู่มาเข้าร่วมอบรมด้วย ในการทำกิจกรรมได้มอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานสร้างเพจ Facebook และ LINE สำหรับเป็นช่องทางในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ที่สนใจเข้าชมหรือติดต่อซื้อขายผลิตภัณฑ์ในชุมชนตำบลบ้านสิงห์ผ่านทางออนไลน์ได้อย่างสะดวก โดยใช้ชื่อเพจว่า “บ้านสิงห์ของดีบอกต่อและได้มีการสอนทักษะการถ่ายรูปผลิตภัณฑ์เพื่อให้สวยงามมากยิ่งขึ้นและมอบหมายตัวแทนของผู้ปฏิบัติงานเป็นผู้ดูแลเพจช่วยดูแลในเรื่องของการตอบแชทผู้ที่สนใจเข้ามาชมเพจหรือหากมีการสั่งซื้อและช่วยประสานกับชาวบ้านที่ทำผลิตภัณฑ์

เมื่อวันที่ 9-11 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้า และทีมงานผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลบ้านสิงห์ กลุ่มประชาชน และกลุ่มนักศึกษาได้รับมอบหมายวิเคราะห์ข้อมูลโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตําบล (U2T)  เช่น การจัดทําข้อมูลชุมชนในมิติต่าง ๆ ได้แก่ สุขภาพ ความเป็นอยู่ การศึกษา รายได้ และการเข้าถึงบริการภาครัฐ เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง หรือจุดอ่อนของตําบลนั้น ๆ โดยการเก็บข้อมูลตัวอย่างข้างต้น ได้จากการนำข้อมูลจาก CBD เข้าสู่ G-Map  ทั้งนี้ แต่ละตำบล เลือกเพียง  3 หัวข้อจาก 10 หัวข้อทั้งหมด ใน CBD มาทำ (นำมาอยู่ในสไลด์เดียวกัน)

  1. วิเคราะห์ Pain point (SWOT, VROI หรือ เครื่องมือวิเคราะห์ ใดๆ ตามเหมาะสม)
  2. นำเสนอข้อมูลผ่าน Dash Board หรือ G-map

โดยมอบหมายการดำเนินงานดังนี้ กลุ่มประชาชน และกลุ่มนักศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับภูมปัญญาท้องถิ่น ได้ดังนี้

สานตะกร้าพลาสติก

  • ที่อยู่ บ้านหนองกง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
  • ตำแหน่ง  14.715455  /  102.761949
  • ประเภท ภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • ปัญหา วัสดุมีราคาแพง เครื่องใช้ โดยนำวัสดุวัสดุจากธรรมชาติมาใช้ในการจักสาน เช่น ไม่ไผ่ หญ้าแฝก  แต่ในปัจจุบัน ได้นำพาลสติกมาสานเพื่อความสะดวก และสร้างอาชีพได้ เพื่อให้เกิดความทันสมัย จึงทำให้ราคาสูง

แนวทางการแก้ใข

การเสริมเหล็กโครงเพื่อให้เกิดความแข็งแรง และพลาสติกอาจต้องใช้ความร้อน เพื่อให้พลาสติกมีความอ่อนเพื่อจัดรูปทรง และความทันสมัย

การต่อยอดและพัฒนา

ศักยภาพคนในชุมชน ที่มีความรู้ด้านการ ทอ สาน ซึ่งสามารถที่จะทำเป็นฟอนิเจอร์ ของใช้ในบ้าน เช่น กระเป๋าแฟชั่น ชั้นวางหนังสือ ตะกร้าผ้า โดยใช้โครงเหล็กเป็นแบบ เพื่อให้เกิดความแข็งแรง รวดลายที่เป็นเอกลักณ์ของชุมชน เพื่อเพื่มมูลค่า

ถักแห

  • ที่อยู่ บ้านหนองกง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
  • ตำแหน่ง  14.715167  /  102.760998
  • ประเภท ภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • ปัญหา  ราคาค่อนข้างถูก จำหน่ายเฉาะในชุมชน ปัญหาด้านสุขภาพ เครื่องใช้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องการสานแห เริ่มมาจากสมัยก่อนนั้น นายเหรียญ เข็มทอง เป็นครอบครัวภาคเกษตรกรรม มีการทำมาหากินตามธรรมชาติ จับปลาโดยใช้เป็ด ยกยอ และใช้แหเป็นเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำ เพื่อนำมาประกอบเป็นอาหารการกิน เลี้ยงดูครอบครัว

แนวทางการแก้ใข

การหาตลาดเพื่อรองรับหรือกลุ่มลูกค้าที่เฉาะ เนื่องจากเป็นสินค้าที่จะขายได้ดีเป็นช่วง ๆ ของแต่ละปี สิ่งสำคัญการแก้ไขปัญหาคือต้องสร้างเครือข่ายเพื่อจำหน่ายสินค้า

การต่อยอดและพัฒนา

– ส่งเสริมการเรียนเพื่อสืบสานภูมิปัญญารู้ในชุมชน

– นำความรู้ไปเผยแผ่ให้กับผู้ที่สนใจ

ปลูกผักหวาน

  • ที่อยู่ บ้านหนองกง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
  • ตำแหน่ง  14.713814  /  102.764467
  • ประเภท ภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • ปัญหา การปลูกผักหวานต้นจะตายง่ายในพื้นที่ที่ดินไม่เหมาะสม อาหารธรรมชาติ  เนื่องจากการปลูกผักหวานเป็นผักที่มีการปลูกได้อยากมาก นางสมพงษ์ คงพลปาน จึงใช้วิธีการตัดรากผักหวานแล้วปล่อยทิ้งไว้ตามธรรมชาติก่อนนำมาปลูก โดยต้องปลูกให้ต้นผักหวานมีพี่เลี้ยงด้วย ซึ่งต้องปลูกไว้ข้างกัน

แนวทางการแก้ใข

แก้ไขปัญหาเรื่องดิน ซึ่งสำคัญมากเนื่องจากผักหวานเป็นพืชที่เจริญเตินโตได้ยากมาก ต้องทำให้ดินมีความชื้น และปลูกในบริเวณใกล้เคียงกัน

การต่อยอดและพัฒนา

สร้างการรับรู้ที่ถูกต้องเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน เช่นเดียวกับเศรษฐกิจพอเพียง หรือจะเป็นการปลูกผักชนิดอื่นที่เป็นพืชผลไม้ การเลี้ยงมดแมงจำหน่ายพร้อมผักหวานเพื่อเพิ่มมูลค่า

เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2564 ข้าพเจ้า อาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมงานผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ตำบลบ้านสิงห์ ได้เข้าร่วมอบรมการทำลูกประคบสมุนไพรและการนวดแผนไทย โดยมีวิทยากร คือ ด.ร วิริญรัชญ์ สื่อนอก สาขาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ เป็นผู้ให้ความรู้ในการอบรมครั้งนี้

การทำลูกประคบสมุนไพร

วัสดุ – อุปกรณ์ (ได้ลูกประคบประมาณ 10 ลูก)

• ผ้าดิบ หรือผ้าฝ้าย ขนาด 40*40 ซม. • เชือกยาว 200 ซม. • ภาชนะสำหรับผสมสมุนไพร • เครื่องชั่ง

ส่วนประกอบ

• ไพล 400 กรัม  • ขมิ้นชัน 100 กรัม • ตะไคร้ 200 กรัม • ผิวมะกรูด 100 กรัม • ใบมะขาม 100 กรัม • ใบส้มป่อย 50 กรัม • การบูร 30 กรัม • พิมเสน 30 กรัม • เกลือ 60 กรัม

วิธีทำ

  1. บทหรือทุบสมุนไพรแห้งพอหยาบ
  2. ผสมส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน
  3. ชั่งส่วนผสม 100 กรัม วางลงบนผ้า
  4. ห่อผ้าและมัดเชือกให้แน่น
  5. บรรจุลูกประคบไว้ในถุง เก็บในที่แห้ง สามารถเก็บได้ประมาณ 1 ปี

การเก็บรักษาลูกประคบ

  • เก็บไว้ในที่แห้ง ไม่มีฝุ่น
  • สำหรับลูกประคบสมุนไพรสด สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้ 3 – 5 วัน

การใช้งาน

  • สำหรับลูกประคบแห้ง ควรพรหมน้ำบนลูกประคบก่อนนำไปนึ่ง
  • นำลูกประคบที่ได้นึ่งในหม้อนึ่ง ใช้เวลานึ่งประมาณ 15 – 20 นาที

ประโยชน์ของลูกประคบ

  1. บรรเทาอาการปวดเมื่อย
  2. ช่วยลดอาการบวม อักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อหลัง 24-48 ชั่วโมง
  3. ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
  4. ช่วยให้เนื้อเยื่อ พังผืด ผืดตัวออก
  5. ลดการติดขัดของข้อต่อ
  6. ลดอาการปวด
  7. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต

หลังจากอบรมและสาธิตการทำลูกประคบเรียบร้อย ได้มีการสาธิตเกี่ยวกับการนวดแผนไทยจากกลุ่มแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลนางรอง ให้กับชาวบ้าน และผู้ปฏิบัติงานเพื่อนำความรู้ไปใช้ในครัวเรือนหรือชีวิตประจำวันต่อไป

 

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู