ข้าพเจ้านางสาวลภัสรดา ศรีศักดิ์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลบ้านสิงห์
ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2564
ในพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
วันศุกร์ที่ 22 เดือนตุลาคม 2564 อบรมการขอมาตรฐานของผลิตภัณฑ์และการขึ้นทะเบียน OTOP ณ ศาลากลาง หมู่บ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์
อบรมการขอมาตรฐานของผลิตภัณฑ์และการขึ้นทะเบียน OTOP โดยนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และนักวิชาการสาธารณสุข
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่ 342) พ.ศ.2555 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย
กำหนดหลักเกณฑ์การตรวจประเมินสถานที่ 6 หมวด
หลักเกณฑ์ Primary GMP
หมวด 1 สถานที่ตั้งและอาคารผลิต หมวด 3 การควบคุมกระบวนการผลิต หมวด 6 บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน
หมวด 2 เครื่องมือและ หมวด 4 การสุขาภิบาล
อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต หมวด 5 การบำรุงรักษาและ
การทำความสะอาด
หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย
- สถานที่ตั้งและอาคารผลิต
- สถานที่ตั้งตัวอาคารและที่ใกล้เคียง ต้องอยู่ในที่ ๆ จะไม่ทำให้อาหารเกิดการปนเปื้อนได้ง่าย
- อาคารผลิตหรือบริเวณผลิตต้อง รักษาความสะอาดและรักษาให้ อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ
- เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต
- ออกแบบเครื่องมือเครื่องใช้ที่เหมาะสม และคำนึงการปนเปื้อนที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งทำความสะอาดได้ง่าย
- ภาชนะหรืออุปกรณ์ในการผลิตที่สัมผัส กับอาหาร ต้องทำจากวัสดุที่ไม่ทำ ปฏิกิริยากับอาหารและง่ายต่อการทำ ความสะอาด หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย
- โต๊ะหรือพื้นผิวที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตในส่วนที่สัมผัสกับอาหาร ต้องทำด้วย วัสดุที่ไม่เกิดสนิม ทำความสะอาดง่าย มีความสูงที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานหรือมี มาตรการในการป้องกันการปนเปื้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
- การควบคุมกระบวนการผลิต
- วัตถุดิบ ส่วนผสมในการผลิตอาหาร ต้องมีการคัดเลือกให้อยู่ใน สภาพที่สะอาด มีคุณภาพ
- การดำเนินการระหว่าง ผลิตอาหาร มีการขนย้ายวัตถุดิบ ส่วนผสม ภาชนะบรรจุ และบรรจุภัณฑ์ในลักษณะที่ไม่เกิดการปนเปื้อน
- ผู้ผลิตมีขั้นตอนและวิธีการในการควบคุมกระบวนการผลิตเป็นไป อย่างเคร่งครัด
- น้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตที่สัมผัสกับอาหารต้องเป็นน้ำที่สะอาด
- น้ำแข็งใช้ในกระบวนการผลิตที่สัมผัสกับอาหาร สะอาด มีคุณภาพมาตรฐานตาม ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
- การผลิต เก็บรักษา ขนย้าย และขนส่งผลิตภัณฑ์อาหารต้องป้องกันการปนเปื้อนและ กันการเสื่อมสลายของอาหารและภาชนะบรรจุด้วย
- การสุขาภิบาล
- น้ำที่ใช้ภายในสถานที่ผลิต ต้องเป็นน้ำสะอาดและจัดให้มีการปรับคุณภาพน้ำ ตามที่จำเป็น
- จัดให้มีภาชนะรองรับขยะมูลฝอยที่มีฝาปิดในจำนวนที่เพียงพอ และ มี ระบบกำจัดขยะมูลฝอยที่เหมาะสม
- จัดให้มีห้องส้วมและอ่างล้างมือหน้าห้องส้วมให้เพียงพอสำหรับผู้ปฏิบัติงาน และต้องถูกสุขลักษณะ มีอุปกรณ์ล้างมือครบถ้วน ใช้งานได้ สะอาด และต้องแยกต่างหากจากบริเวณที่ผลิตหรือไม่เปิดสู่บริเวณผลิตโดยตรง
- จัดให้มีอ่างล้างมือในบริเวณผลิตให้เพียงพอ ใช้งานได้ สะอาด และมีอุปกรณ์ล้างมืออย่างครบถ้วน
- การจัดการระบายน้ำทิ้งและสิ่งโสโครกอย่างมีประสิทธิภาพ
- การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด
- ตัวอาคารสถานที่ผลิตต้องทำความสะอาดและรักษา ให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะอย่างสม่ำเสมอ
- เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการผลิต มีการ ทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมออยู่ในสภาพที่ใช้งานได้
- การจัดเก็บสารเคมีทำความสะอาดหรือสารเคมีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาสุขลักษณะ ต้องแยกให้เป็น สัดส่วน ปลอดภัย พร้อมมีการแสดงป้ายชื่อ
- บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน
- ผู้ปฏิบัติงานในบริเวณผลิตอาหารไม่มีบาดแผล ไม่เป็นโรคหรือพาหะของโรคตามที่ระบุใน กฎกระทรวง หรือมีบาดแผลมี่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของผลิตภัณฑ์
- ผู้ปฏิบัติงานทุกคนที่ทำหน้าที่สัมผัสอาหาร ต้องสวมเสื้อผ้าที่สะอาด สวมหมวก หรือ ผ้าคลุมผมหรือตาข่าย, มีมาตรการการจัดการรองเท้าที่ใช้ในการผลิตที่เหมาะสม ไม่สวมเรื่องประดับ พร้อมทั้งล้างมือและดูแลเล็บมือให้สะอาด อยู่เสมอ
- แสดงคำเตือน ห้ามหรือป้องกันมิให้บุคคลแสดงพฤติกรรมอันน่ารังเกียจในการผลิตอาหาร
- วิธีการหรือข้อปฏิบัติสำหรับผู้ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตที่มีความจำเป็นต้องเข้าไปให้ปฏบัติตามมาตราการ
การจัดตั้งกลุ่มอาชีพ พัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ OTOP
การบริหารจัดการกลุ่ม (5 ก.)
ก1 : กลุ่ม/สมาชิก ที่มีความสมัครใจพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการดำเนินงานของกลุ่ม
ก2 : กรรมการ ซึ่งได้รับมอบหมายและเป็นตัวแทนจากสมาชิกให้บริหารกลุ่ม
ก3 : กฎ กติกา ระเบียบข้อบังคับกลุ่ม เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกัน ระหว่างสมาชิกและคณะกรรมการ
ก4 : กองทุน ปัจจัย เงินหรือเครื่องมือ ที่ท าให้กิจกรรมของกลุ่มดำเนินการได้และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่ม
ก5 : กิจกรรม เป็นสิ่งที่ร่วมกันปฏิบัติเพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน
ประเภทผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
ที่จะนำมาดำเนินการลงทะเบียน ต้องผ่านกระบวนการผลิต โดยใช้ภูมิปัญญาจำนวน 5 ประเภท ดังนี้
1. ประเภทอาหาร
หมายถึง ผลผลิตทางการเกษตร และอาหารแปรรูป ซึ่งได้รับมาตรฐาน อย., GAP,GMP, HACCP, Qmark, มผช., มอก., มาตรฐานเกษตรอินทรีย์, ฮาลาล และมีบรรจุภัณฑ์ เพื่อการจ าหน่ายทั่วไป แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1) ผลิตผลทางเกษตรที่ใช้บริโภคสด
2) ผลิตผลทางการเกษตรที่เป็นวัตถุดิบ และผ่านกระบวนการแปรรูปเบื้องต้น
3) อาหารแปรรูปกึ่งสำเร็จรูป/สำเร็จรูป
2.ประเภทเครื่องดื่ม แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
1) เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
2) เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล
3. ประเภทผ้า เครื่องแต่งกาย
4. ประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก
5 ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร
ประโยชน์ของการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
• ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดีขึ้น มีความปลอดภัย
• ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสม่ำเสมอ
• ผู้ซื้อ ผู้บริโภค และผู้เกี่ยวข้องตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
• สร้างความเชื่อมัน และความน่าเชื่อถือ
• เพิ่มโอกาสทางการค้า ผู้ผลิตเข้าถึงตลาดได้ง่ายขึ้น
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรอง มผช.
การตรวจติดตามผล
- ตรวจติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์ภายหลังได้รับการรับรอง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- ตรวจประเมิน ณ สถานที่ทำของผู้ได้รับการรับรอง
– อาจเก็บตัวอย่างเพื่อส่งทดสอบ/ตรวจสอบ
– แจ้งผลการตรวจสอบให้ผู้ได้รับการรับรองทราบ
การต่ออายุใบรับรอง
- ให้ยื่นขอใหม่ล่วงหน้า 120 วัน ก่อนที่ใบรับรองจะสิ้นอายุ (หากมีความประสงค์ขอต่ออายุใบรับรอง)
- หน่วยรับรองจะด าเนินการตามกระบวนการรับรอง มผช.
การสิ้นอายุใบรับรอง
- ใบรับรองครบอายุ 3 ปี
- ผู้ได้รับการรับรองขอยกเลิกการรับรอง
- ผู้ได้รับการรับรองเลิก หรือถูกสั่งให้เลิกประกอบกิจการ
- มาตรฐานมีการแก้ไข ใบรับรองจะมีอายุ 1 ปี นับแต่วันที่มาตรฐานใหม่มีผลบังคับใช้
- มาตรฐานมีการยกเลิก
- ผลิตภัณฑ์ที่ตรวจติดตามผลไม่เป็นไปตามมาตรฐาน 2 ครั้งติดต่อกัน
การตรวจสุขลักษณะการผลิต
1. สถานที่ตั้งอาคารที่ทำและบริเวณโดยรอบ
– สะอาด ไม่มีน้ำขังแฉะ ไม่สกปรก
– อยู่ห่างสถานที่ที่มีฝุ่น เขม่า ควัน มากผิดปกติ
– ไม่อยู่ใกล้สถานที่น่ารังเกียจ เช่น แหล่งเก็บขยะ บริเวณที่เพาะเลี้ยงสัตว์
– พื้น ผนัง เพดาน เป็นวัสดุที่คงทน เรียบ สะอาด อยู่ในสภาพดี
– แยกเป็นสัดส่วน ไม่อยู่ใกล้สุขา
– พื้นที่ปฏิบัติงานไม่แออัด แสงสว่างเพียงพอ การระบายอากาศเหมาะสม
2. เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการทำ : สะอาด เหมาะสมกับ
การใช้งาน ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อน มีเพียงพอ เป็นวัสดุผิวเรียบ ไม่เป็นสนิม ล้างทำความสะอาดง่าย
3. การควบคุมกระบวนการทำ
– วัตถุดิบและส่วนผสมในการทำความสะอาด มีคุณภาพดี ล้างก่อนนำไปใช้
– การทำ เก็บรักษา ขนย้ายมีการป้องกันการปนเปื้อนและการเสื่อมเสียของสินค้า
4. การสุขาภิบาล การบำรุงรักษา การทำความสะอาด
– น้ำใช้ต้องสะอาดและเพียงพอ
– มีวิธีป้องกันและกำจัดสัตว์นำเชื้อ แมลง ฝุ่นผง
– มีการกำจัดขยะ สิ่งสกปรก น้ำทิ้งอย่างเหมาะสม
– สารเคมีที่ใช้ทำความสะอาดและกำจัดแมลง สัตว์นำเชื้อ ใช้ในปริมาณที่เหมาะสมและเก็บแยกจากบริเวณที่ทำ
5. บุคลากรและสุขลักษณะของผู้ทำ : ต้องรักษาความสะอาดส่วนบุคคล เช่น เสื้อผ้าสะอาด มีผ้าคลุมผม ไม่ไว้เล็บยาว ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนทำ/หลังการใช้ห้องสุขา
วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม 2564 เข้าอบรมจตุรภาคีสี่ประสาน
เสวนาออนไลน์ Quadruple Helix ผ่าน Zoom ในเวลา 09:00 น.
เวลา 09.00 น.
- พิธีเปิดงานเสวนาออนไลน์ โดย รองศาสตราจารย์มาลิณี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
- กล่าวรายงาน โดย รองศาสตราจารย์ ดร. อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- พิธีกร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คําภีรภาพ อินทะนู รองคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ดำเนินการเสวนาโดย อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณบดี ฝ่ายพันธกิจชุมชนสัมพันธ์และภูมิทัศน์
เวลา 09.40-12.00 น.
การเสวนาผ่านระบบ ZOOM เรื่อง “ Quadruple Helix : จตุรภาคีประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน”
ผู้ร่วมเสวนา
- นายคำเดื่อง ภาษี ประธานปราชญ์ชาวบ้านบุรีรัมย์
- รองศาสตราจารย์ ดร. ประสาท เนืองเฉลิม จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา นายกเทศมนตรีตำบลอิสาณ
- นายณัช อิสร์ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้า จังหวัดบุรีรัมย์
- รองศาสตราจารย์ ดร. อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ดำเนินการเสวนาโดย อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณบดี ฝ่ายพันธกิจชุมชนสัมพันธ์และภูมิทัศน์
เวลา 12.15 น.
รองศาสตราจารย์ ดร. อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กล่าวขอบคุณวิทยากรและกล่าวปิดโครงการ
![]()
สำรวจข้อมูลชุมชนในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
อาจารย์ประจำโครงการได้มอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานลงพื้นที่เก็บข้อมูล ดังนี้
1.บัณฑิต จำนวน 50 คน
2.ประชาชน จำนวน 30 คน
3.นักศึกษา จำนวน 20 คนโดยใช้ Application ของ U2T ในการลงข้อมูลชุมชน และในภายหลังได้มอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานเก็บข้อมูลเพิ่มเติม ดังนี้
1.บัณฑิต จำนวน 20 คน
2.ประชาชน จำนวน 15 คนหลังจากที่ผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเกษตรกรพบว่า เกษตรกรในชุมชนตำบลบ้านสิงห์ทำการเกษตรเกี่ยวกับปลูกข้าวเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากการทำการเกษตรมาจากรุ่นสู่รุ่น และการเกษตรเป็นรายได้หลักของคนในชุมชนที่นี่ ประชากรตำบลบ้านสิงห์เลยทำการเกษตรเป็นส่วนใหญ่
![]()
![]()
วันศุกร์ที่ 29 เดือนตุลาคม 2564 อบรมการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ในชุมชนด้วยการตลาดบน Facebook ณ ศาลากลาง หมู่บ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์
https://www.facebook.com/NRbansing/
อาจารย์ประจำโครงการได้มอบหมายให้คณะผู้ปฏิบัติงานกลุ่มบัณฑิตจบใหม่และประชาชน เป็นตัวแทนในการเข้าร่วมอบรม โดยเรียนเชิญตัวแทนชุมชนในตำบลบ้านสิงห์ หมู่บ้านละ 2 ท่าน มาร่วมอบรม โดยท่านวิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้มาทำการอบรมเรื่อง อบรมการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ในชุมชนด้วยการตลาดบน Facebook โดยเริ่มจากการมอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานได้ช่วยกันสร้าง page ใน Facebook แล้วร่วมกันถ่ายรูปผลิตภัณฑ์ในชุมชนที่นำมา และได้อบรมเทคนิควิธีที่ช่วยส่งเสริมการขายให้น่าสนใจ น่าซื้อมากยิ่งขึ้น และในตอนท้ายอาจารย์ประจำโครงการได้มอบหมายงานให้ผู้ปฏิบัติงานแต่ละกลุ่มไปสืบค้น และนำผลิตภัณฑ์มาขายใน page ของ Facebook เพิ่มเติม
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2564 อาจารย์ประจำโครงการได้นัดหมายประชุมผ่าน Google meet ในเวลา 16:00 น. เพื่อพูดคุยมอบหมายแผนงานในเดือนพฤศจิกายน
![]()
รายละเอียดในการประชุมอาจารย์ประจำโครงการได้ชี้แจงและมอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานลงพื้นที่และศึกษาข้อมูลที่ได้รับมอบหมายจาก โปรแกรม CDB เพื่อวิเคราะห์ปัญหารายพื้นที่ โดยแบ่งเป็น 3 หัวข้อใหญ่ ดังนี้
1.ภูมิปัญญา
2.แหล่งน้ำ
3.อาหาร
และสิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานต้องนำส่ง ประกอบด้วย
1. วิเคราะห์ Pain point (SWOT, VROI หรือ เครื่องมือวิเคราะห์ ใดๆ ตามเหมาะสม)
2. นำเสนอข้อมูลผ่าน Dash Board หรือ G-mapทางผู้ปฏิบัติงานได้นัดมาปฏิบัติงานและรวบรวมข้อมูลจนงานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
![]()
วันเสาร์ที่ 13 เดือนพฤศจิกายน 2564 อบรมการทำลูกประคบและการนวดแผนไทย ณ ศาลากลาง หมู่บ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์
วัสดุอุปกรณ์
- ผ้าดิบ หรือผ้าฝ้าย ขนาด 40 x 40 เซนติเมตร
- เชือกยาว 200 เซนติเมตร
- ภาชนะสำหรับผสมสมุนไพร
- เครื่องชั่ง
ในการอบรมครั้งนี้ใช้สมุนไพรแห้ง (สามารถนำสมุนไพรสดไปตากหรืออบให้แห้งตาย)
- ไพร 400 กรัม
- ขมิ้นชัน 100 กรัม
- ตะไคร้ 200 กรัม
- ผิวมะกรูด 100 กรัม
- ใบมะขาม 100 กรัม
- ใบส้มป๋อย 50 กรัม
- การบูร 30 กรัม
- พิมเสน 30 กรัม
- เกลือ 60 กรัม
วิธีทำ
- บดหรือทุบสมุนไพรแห้งพอหยาบ
- ชั่งส่วนผสม 100 กรัม วางลงบนผ้า
- ผสมส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน
- ห่อผ้าและมัดเชือกให้แน่น
- บรรจุลูกประคบไว้ในถุงเก็บในที่แห้งสามารถเก็บได้ 1 ปี
การเก็บรักษาลูกประคบ
- เก็บไว้ในที่แห้ง ไม่มีฝุ่น
- สำหรับลูกประคบสมุนไพรสด สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้ 2-3 วัน
การใช้งาน
- สำหรับลูกประคบแห้ง ควรพรมน้ำบนลูกประคบก่อนนำไปนึ่ง
- นำลูกประคบที่ได้ไปนึ่งในหม้อนึ่ง ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที
และในช่วงท้ายการอบรมได้มีคณะวิทยากรมาจากโรงพยาบาลนางรอง ได้มาสาธิตวิธีการนวดแผนไทย เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงานและชาวบ้านเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
สรุปผลการปฏิบัติงาน
การปฏิบัติงานภายในเดือนพฤศจิกายนได้มีการจัดอบรมหลากหลายรูปแบบ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานและประชาชนผู้ที่ได้มาอบรมนั้นได้รับความรู้ไปอย่างล้นหลามกันเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการอบรมอย่างแรก คือ
- การขอมาตรฐานของผลิตภัณฑ์และการขึ้นทะเบียน OTOP ที่ได้รับความรู้ในการจดลิขสิทธิ์เพื่อให้ปัญญาประดิษฐ์เป็นลิขสิทธิ์ของผู้คิดค้นแต่เพียงผู้เดียวป้องกันการเลียนแบบจากบุคคลอื่นและสามารถสร้างมูลค่าได้ด้วย จากแต่ก่อนที่ชาวบ้านผลิตผลิตภัณฑ์ออกมาขายตามหมู่บ้านอาจได้กำไรไม่มากนัก แต่หลังจากที่ได้อบรมแล้วสามารถนำผลิตภัณฑ์ของตนไปขึ้นทะเบียน อย. จะสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างมาก และน่าเชื่อถืออีกด้วย
- การสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ในชุมชนด้วยการตลาดบน Facebook ในปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตของผู้คนเป็นอย่างมาก เราจึงต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยเพื่อที่จะสามารถเอาตัวรอดจากยุคเศรษฐกิจที่ย่ำแย่และโรคระบาดCovid-19 การซื้อ-ขาย ธุรกิจออนไลน์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการประกอบธุรกิจเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่รอดในยุคโรคระบาดแบบนี้ ดังนั้น ทางคณะอาจารย์ผู้จัดทำโครงการจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญนี้ โดยการเชิญวิทยากรมาอบรมเรื่อง การสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ในชุมชนด้วยการตลาดบน Facebook ซึ่งในช่วงแรกอาจเกิดความติดขัดนิดหน่อยในการการติดต่อหาข้อมูล แต่ด้วยความร่วมมือของทุกฝ่ายเป็นอย่างดี page สินค้าของตำบลบ้านสิงห์จึงเป็นอีกเพจหนึ่งที่มีสินค้าคุณภาพมากมายและราคาย่อมเยาว์เหมาะสำหรับสถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบันอีกด้วย
- การทำลูกประคบและการนวดแผนไทย ทางคณะอาจารย์ประจำโครงการได้เล็งเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาไทยท้องถิ่นในการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำสมุนไพรต่าง ๆ ที่มีอยู่รอบ ๆ ตัวสามารถใช้เป็นยาในชีวิตประจำวันได้ จึงได้เชิญวิทยากร เป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาเคมี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มาให้ความรู้ในเรื่องการทำลูกประคบ เพื่อนำไปประคบบริเวณที่มีอาการเจ็บปวด จึงจะสามารถบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ดีโดยที่ไม่ต้องพึ่งยาปฏิชีวนะ แล้วสามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในการทำผลิตภัณฑ์ขายในชุมชนได้อีกด้วย และในช่วงท้ายได้มีคณะวิทยากรมาจากโรงพยาบาลนางรองได้มาให้ความรู้ด้านการนวดแผนไทย เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานและชาวบ้านได้ฝึกปฏิบัติจะได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย