บทความประจำเดือน พฤศจิกายน ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) “บ้านหนองโคลน” ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ข้าพเจ้า นายณัฐพงษ์ จงกล กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตรการส่งเสริมอาชีพและการพัฒนาขนม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) รับผิดชอบลงพื้นที่ในหมู่ 11 บ้านหนองโคลน ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ในเดือน พฤศจิกายน นี้ ข้าพเจ้าได้วางแผนการทำงานและได้ทำการลงพื้นที่เพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูล ในพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ดังนี้

วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2564

กิจกรรม อบรมเพื่อขอมาตรฐานให้กับผลิตภัณฑ์ เวลา 13.30-16.00 น. โดยการจัดการอบรมในครั้งนี้ได้จัดขึ้น ณ ศาลากลางหมู่บ้าน “บ้านหนองบัวราย” ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีผู้เข้าร่วมเป็นตัวแทนจากแต่ละหมู่บ้านในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวนหมู่บ้านละ 2 คน มีผู้ดำเนินงานในโครงการทั้งหมด อาจารย์ประจำโครงการ รวมไปถึงวิทยากรที่มาให้ข้อมูล โดย นางภัทรวดี มักขุนทด “นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ” 

สามารถสรุปข้อมูลในการอบรมในครั้งนี้ได้ ดังนี้

กลุ่ม คือ การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปมารวมกัน โดยมีการติดต่อสัมพันธ์กัน หรือปฏิสัมพันธ์กัน และมีจุดมุ่งหมายที่จะกระทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน และความสัมพันธ์นี้ จะช่วยให้สมาชิกกลุ่มอยู่ร่วมกันได้ในระดับที่พอดี

การที่บุคคลมารวมกันเป็นกลุ่ม จะต้องมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือหลายลักษณะต่อไปนี้เกิดขึ้น

 (ก) จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กันเสมอ

 (ข) แต่ละคนจะถือว่าคนเองเป็นสมาชิกกลุ่ม

 (ค) แต่ละคนในกลุ่มจะยอมรับกันเป็นสมาชิกกลุ่ม

 (ง) มีปทัสถานร่วมกัน

 (จ) แต่ละคนจะมีบทบาทที่ชัดเจน

 (ฉ) มีการเลียนแบบลักษณะบางอย่างที่ตนเองคิดว่าเหมาะสมจากสมาชิกในกลุ่ม

 (ช) สมาชิกมีความคิดว่ากลุ่มจะต้องให้ผลประโยชน์ต่อสมาชิก

 (ซ) สมาชิกจะแสวงหาเป้าหมายร่วมกัน

 (ฌ) มีการรับรู้ความเป็นเอกภาพของกลุ่มร่วมกัน

 (ญ) สมาชิกกลุ่มจะปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของกลุ่ม

กลุ่มอาชีพ คือ การรวมตัวของชาวบ้านที่ประกอบอาชีพเดียวกัน ดำเนินกิจกรรมด้านอาชีพ กิจกรมผลิต และจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง โดยมีคณะกรรมการดำเนินงานของกลุ่ม มีระเบียบข้อบังคับ

การบริหารจัดการกลุ่ม (5 ก.)

ก1 : กลุ่ม/สมาชิก ที่มีความสมัครใจพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการดำเนินงานของกลุ่ม

ก2 : กรรมการ ซึ่งได้รับมอบหมายและเป็นตัวแทนจากสมาชิกให้บริหารกลุ่ม

ก3 : กฎ กติกา ระเบียบข้อบังคับกลุ่ม เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกัน ระหว่างสมาชิกและคณะกรรมการ

ก4 : กองทุน ปัจจัย เงินหรือเครื่องมือ ที่ทำให้กิจกรรมของกลุ่มดำเนินการได้และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่ม

ก5 : กิจกรรม เป็นสิ่งที่ร่วมกันปฏิบัติ

เพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน

การนำกลุ่มอาชีพเข้าสู่ OTOP

จากแนวคิด…..

หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (One Tambon One Product : OTOP)

ที่เน้นกระบวนการ การสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ในแต่ละหมู่บ้าน ชุมชน หรือตำบล เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้แต่ละชุมชน ได้นำทรัพยากร ภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการคุณภาพที่มีจุดเด่นและมูลค่าเพิ่มเป็นที่ต้องการของตลาด สอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของท้องถิ่น โดยยึดหลักการพึ่งตนเองของชุมชน และรัฐพร้อมที่จะช่วยเหลือในด้านความรู้สมัยใหม่และการบริหารจัดการ เชื่อมโยงสินค้าชุมชนสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ

โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)

ความเป็นมา รัฐบาลได้ดำเนินโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมทั่วทุกภูมิภาคทั่วประเทศ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการระดับประเทศในส่วนกลางและคณะกรรมการระดับภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

 (1) สร้างงานและเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน

 (2) เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน

 (3) ส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

 (4) ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

 (5) ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของชุมชน

ประเภทผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์

  1. ประเภทอาหาร

หมายถึง ผลผลิตทางการเกษตร และอาหารแปรรูป ซึ่งได้รับมาตรฐาน อย., GAP, GMP, HACCP, Qmark, มผช., มอก., มาตรฐานเกษตรอินทรีย์, ฮาลาล และมีบรรจุภัณฑ์ เพื่อการจำหน่ายทั่วไป แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1) ผลิตผลทางเกษตรที่ใช้บริโภคสด

2) ผลิตผลทางการเกษตรที่เป็นวัตถุดิบ และผ่านกระบวนการแปรรูปเบื้องต้น

3) อาหารแปรรูปกึ่งสำเร็จรูป/สำเร็จรูป

2.ประเภทเครื่องดื่ม

แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

1) เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

2) เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์

  1. ประเภทผ้า เครื่องแต่งกาย
  2. ประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก

5 ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร

 

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ( มผช.)

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดบุรีรัมย์

“ข้อกำหนดคุณลักษณะของ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยชุมชน มีภูมิปัญญาท้องถิ่นและเอกลักษณ์เฉพาะ อยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และเป็นที่ยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้อง”

เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

 เครื่องหมายการรับรองคุณภาพที่แสดงกับผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด

มีลักษณะเป็นรูปมือประสานต่อเนื่องกันภายในกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัสเอียงเป็นมุม 45 องศา

 

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน  2546-2563  

ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ 5 ประเภท

  1. ประเภทอาหาร
  2. ประเภทเครื่องดื่ม
  3. ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร
  4. ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย
  5. ประเภทเครื่องใช้เครื่องประดับตกแต่ง ศิลปะประดิษฐ์ และของที่ระลึก

 

        หน่วยรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

– สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)

– สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.)

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดบุรีรัมย์ 97/7 ถ.อินจันทร์ณรงค์ ต.ในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 31000

โทร.044-612934 ต่อ 401-404           

    ประโยชน์ของการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

– ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดีขึ้น มีความปลอดภัย

– ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสม่ำเสมอ

– ผู้ซื้อ ผู้บริโภค และผู้เกี่ยวข้องตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

– สร้างความเชื่อมัน และความน่าเชื่อถือ

– เพิ่มโอกาสทางการค้า ผู้ผลิตเข้าถึงตลาดได้ง่ายขึ้น    

  หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรอง มผช.

เงื่อนไขของผู้ยื่นขอ

เป็นผู้ผลิตชุมชน ไม่เป็นผู้แอบอ้าง หรือทำการผลิตแอบแฝง และมีคุณสมบัติเป็น

– บุคคลทั่วไป

– กลุ่มผู้ผลิตชุมชน(ขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานราชการ/วิสาหกิจชุมชน หรือ

– นิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบการ OTOP

– ผลิตภัณฑ์ที่ยื่นขอ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในรายชื่อมาตรฐาน มผช. ทั้ง 5 ประเภท (http://tcps.tisi.go.th/public/StandardList.aspx) และต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ควบคุมที่เกี่ยวข้องก่อน เช่น ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข กรมสรรพสามิต

– ยอมรับการปฏิบัติตามข้อกำหนดทั่วไปในการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ และการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

– ยื่นคำขอต่อหน่วยรับรองตามแบบคำขอที่กำหนด (ตั้งแต่วันที่1 ตุลาคม ถึงวันที่ 30 มิถุนายน )

(สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดบุรีรัมย์)

 

ขั้นตอนการรับรอง 

ตรวจรับเอกสารและประเมินความพร้อม 1 วันทำการ

พิจารณา : สถานที่ผลิต  เก็บตัวอย่าง  นำส่งตัวอย่าง  ประเมินผลการตรวจสอบ 34 วันทำการ

การลงนาม/คณะกรรมการมีมติ : จัดทำใบรับรอง เสนอ ลงนาม แจ้งผลการพิจารณา 14 วันทำการ

รวม 49 วันทำการ

 

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรอง มผช.

เงื่อนไขสำหรับผู้ได้รับการรับรอง มผช.

 ผู้ได้รับการรับรอง ต้อง

– รักษาระบบการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรอง ตลอดระยะเวลาที่ได้รับการรับรอง และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรอง มผช.

– นำใบรับรอง มผช. และเครื่องหมาย มผช. ไปใช้อ้างอิงได้เฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ได้รับ การรับรองเท่านั้น

– ยุติการใช้ใบรับรอง และเครื่องหมาย มผช. เมื่อสิ้นอายุการรับรอง หรือ ในทันทีที่มีการพักใช้ หรือยกเลิก หรือเพิกถอนการรับรอง

– จัดเตรียมเอกสารหลักฐาน และข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการร้องเรียนผลิตภัณฑ์

– แจ้งให้หน่วยรับรองทราบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เช่น เปลี่ยนผู้ติดต่อประสานงาน เปลี่ยนชื่อนิติบุคคล ย้ายสถานที่ ปรับกระบวนการทำที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์

 

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรอง มผช.

การตรวจติดตามผล

– ตรวจติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์ภายหลังได้รับการรับรอง

อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

– ตรวจประเมิน ณ สถานที่ทาของผู้ได้รับการรับรอง

– อาจเก็บตัวอย่างเพื่อส่งทดสอบ/ตรวจสอบ

– แจ้งผลการตรวจสอบให้ผู้ได้รับการรับรองทราบ

 

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรอง มผช.

การต่ออายุใบรับรอง

– ให้ยื่นขอใหม่ล่วงหน้า 120 วัน ก่อนที่ใบรับรองจะสิ้นอายุ (หากมีความประสงค์ขอต่ออายุใบรับรอง)

– หน่วยรับรองจะดำเนินการตามกระบวนการรับรอง มผช.

 

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรอง มผช.

การสิ้นอายุใบรับรอง

– ใบรับรองครบอายุ 3 ปี

– ผู้ได้รับการรับรองขอยกเลิกการรับรอง

– ผู้ได้รับการรับรองเลิก หรือถูกสั่งให้เลิกประกอบกิจการ

– มาตรฐานมีการแก้ไข ใบรับรองจะมีอายุ 1 ปี นับแต่วันที่มาตรฐานใหม่มีผลบังคับใช้

– มาตรฐานมีการยกเลิก

– ผลิตภัณฑ์ที่ตรวจติดตามผลไม่เป็นไปตามมาตรฐาน 2 ครั้งติดต่อกัน

การตรวจสุขลักษณะการผลิต

  1. สถานที่ตั้งอาคารที่ทำและบริเวณโดยรอบ :

– สะอาด ไม่มีน้ำขังแฉะ ไม่สกปรก

– อยู่ห่างสถานที่ที่มีฝุ่น เขม่า ควัน มากผิดปกติ

– ไม่อยู่ใกล้สถานที่น่ารังเกียจ เช่น แหล่งเก็บขยะ บริเวณที่เพาะเลี้ยงสัตว์

– พื้น ผนัง เพดาน เป็นวัสดุที่คงทน เรียบ สะอาด อยู่ในสภาพดี

– แยกเป็นสัดส่วน ไม่อยู่ใกล้สุขา

– พื้นที่ปฏิบัติงานไม่แออัด แสงสว่างเพียงพอ การระบายอากาศเหมาะสม

  1. เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการทำ : สะอาด เหมาะสมกับการใช้งาน ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อน มีเพียงพอ เป็นวัสดุผิวเรียบ ไม่เป็นสนิม ล้างทำความสะอาดง่าย
  2. การควบคุมกระบวนการทำ :

– วัตถุดิบและส่วนผสมในการทำความสะอาด มีคุณภาพดี ล้างก่อนนำไปใช้

– การทำ เก็บรักษา ขนย้ายมีการป้องกันการปนเปื้อนและการเสื่อมเสียของสินค้า

  1. การสุขาภิบาล การบำรุงรักษา การทำความสะอาด

– น้ำใช้ต้องสะอาดและเพียงพอ

– มีวิธีป้องกันและกาจัดสัตว์นำเชื้อ แมลง ฝุ่นผง

– มีการกำจัดขยะ สิ่งสกปรก น้ำทิ้งอย่างเหมาะสม

– สารเคมีที่ใช้ทำความสะอาดและกำจัดแมลง สัตว์นำเชื้อ ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม และเก็บแยกจากบริเวณที่ทำ

  1. บุคลากรและสุขลักษณะของผู้ทำ : ต้องรักษาความสะอาดส่วนบุคคล เช่น เสื้อผ้าสะอาด มีผ้าคลุมผม ไม่ไว้เล็บยาว ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนทำ/หลังการใช้ห้องสุขา

การเตรียมผลิตภัณฑ์ เพื่อการส่งตรวจ

ประเภทผ้า

คุณลักษณะที่ต้องการตามมาตรฐาน

คุณลักษณะทั่วไป : ต้องสะอาดและอยู่ในสภาพเรียบร้อยตลอดทั้งผืน ความสม่ำเสมอของลวดลายและเนื้อผ้าตามแนวเส้นด้ายยืน และแนวเส้นด้ายพุ่งให้เป็นไปตามลักษณะของผ้านั้น ๆ และต้องไม่มีข้อบกพร่องที่เกิดจากกรรมวิธีการทำให้เห็นอย่างชัดเจนและมีผลต่อการใช้งาน เช่น สีและเนื้อผ้าไม่สม่ำเสมอ ลายผิดหรือลายไม่ต่อเนื่อง ผ้าเป็นร่อง รู แยก เส้นด้ายขาด เส้นด้ายตึงหรือหย่อน ร้อยเส้นยืนผิด ริมผ้าเสีย

– เอกลักษณ์ของผ้า (แบบดั้งเดิม / แบบสมัยนิยม)

– ชนิดเส้นใย (เส้นใยธรรมชาติ /เส้นไหมแท้ / เส้นใยประดิษฐ์ / เส้นใยผสม)

– ความเป็นกรด-ด่าง

– การทดสอบสีเอโซที่ให้แอโรแมนติกแอมีน 24 ตัว(ยกเว้นสีธรรมชาติ) (ไม่เกิน 30 mg/kg)

– การเปลี่ยนแปลงขนาดภายหลังการซักและการทำให้แห้ง (ไม่เกินร้อยละ 10)

– ความคงทนของสีต่อการซัก และความคงทนของสีต่อเหงื่อ (ยกเว้นผ้าสีขาวและสีธรรมชาติของเส้นใย)

 

 

ประเภทผ้าชนิดเครื่องแต่งกาย

คุณลักษณะที่ต้องการตามมาตรฐาน

คุณลักษณะทั่วไป : ต้องสะอาด ไม่มีรอยเปรอะเปื้อน อยู่ในสภาพที่เรียบร้อยตลอดทั้งผืน และไม่มีข้อบกพร่องที่มีผลเสียต่อการใช้งานให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น รู รอยแยก สีด่าง ลายผิด เส้นด้ายขาด ริมเสีย รูปทรง และสัดส่วนสวยงาม

– ริมผ้า และชายผ้า เรียบร้อย ประณีต สวยงาม ไม่มีรอยแยก ย่น หรือขาดหลุดลุ่ย ม้วนริมแล้วเย็บให้เรียบร้อย

– การเย็บ ตะเข็บส่วนต่าง ๆ เรียบร้อย แน่น ไม่หลุดลุ่ยง่าย ฝีเข็มสม่ำเสมอ

– ชนิดเส้นใย (เส้นใยธรรมชาติ /เส้นไหมแท้ / เส้นใยประดิษฐ์ / เส้นใยผสม)

– ความเป็นกรด-ด่าง

– การทดสอบสีเอโซที่ให้แอโรแมนติกแอมีน 24 ตัว (ยกเว้นสีธรรมชาติ)

– การเปลี่ยนแปลงขนาดภายหลังการซักและการทำให้แห้ง

– ความคงทนของสีต่อการซัก และความคงทนของสีต่อเหงื่อ (ยกเว้นผ้าสีขาวและสีธรรมชาติของเส้นใย)

 

ประเภทของใช้ของตกแต่ง

ผลิตภัณฑ์จากกก คุณลักษณะที่ต้องการตามมาตรฐาน

คุณลักษณะทั่วไป : ต้องประณีต สวยงาม มีรูปแบบรูปทรงที่เหมาะสมกับการใช้งาน ไม่มีขอบคมและปลายแหลม ยกเว้นกรณีที่เป็นลักษณะเฉพาะของชิ้นงาน ไม่มีรอยแตก ขาด รา หรือตำหนิที่เกิดจากการทำลายของแมลงปรากฏในชิ้นงานให้เห็นเด่นชัด ยกเว้นรอยที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือเป็นลักษณะเฉพาะของชิ้นงานซึ่งไม่มีผลเสียต่อการใช้งาน

– การประกอบ(ถ้ามี) ต้องเรียบร้อย สวยงาม ติดแน่น เหมาะสมกับชิ้นงาน ไม่มีกลิ่นสารเคมีและรอยเปรอะเปื้อนของสารที่ใช้ยึดติดชิ้นส่วนเข้าด้วยกัน

– การเย็บ(ถ้ามี) การเก็บริม(ถ้ามี) เรียบร้อย ประณีต ฝีเข็มสม่ำเสมอ ริมเรียบแน่น ไม่ย้วย หลุดลุ่ย

– ลวดลาย(ถ้ามี) สวยงาม ตรงตามลักษณะของลวดลาย

– สี (ถ้ามี) ติดแน่น ไม่หลุดลอกติดมือ หรือเปรอะเปื้อน

– การเคลือบผิว(ถ้ามี) เรียบ สม่ำเสมอ ไม่เป็นเม็ด เป็นคราบ แตก หลุด ลอก

 

ประเภทของใช้ของตกแต่ง

เช่น ผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ คุณลักษณะที่ต้องการตามมาตรฐาน

คุณลักษณะทั่วไป : ต้องประณีต สวยงาม มีรูปแบบรูปทรงที่เหมาะสมกับการใช้งาน ไม่ผุ ไม่มีรา หรือตำหนิที่เกิดจากการทำลายของมอด ปลวก หรือแมลงอื่น ไม่มีขอบคมและปลายแหลม ยกเว้นกรณีที่เป็นลักษณะเฉพาะของชิ้นงาน ไม่มีเส้นขน เสี้ยน ฝุ่นผง รอยแตก รอยร้าว บิด โก่ง หัก งอ หรือตำหนิในชิ้นงานให้เห็นเด่นชัด ยกเว้นรอยที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือเป็นลักษณะเฉพาะของชิ้นงานซึ่งไม่มีผลเสียต่อการใช้งาน กรณีเป็นชุดเดียวกันต้องมีรูปแบบ ลวดลาย และสีที่กลมกลืนเข้ากันได้ พื้นผิวด้านในและบริเวณที่สัมผัสได้ต้องขัดผิวให้เรียบ

– การประกอบ(ถ้ามี) ต้องเรียบร้อย สวยงาม ติดแน่น เหมาะสมกับชิ้นงาน ไม่มีกลิ่นสารเคมีและรอยเปรอะเปื้อนของสารที่ใช้ยึดติดชิ้นส่วนเข้าด้วยกัน

– การเย็บ(ถ้ามี) การเก็บริม(ถ้ามี) เรียบร้อย ประณีต ฝีเข็มสม่ำเสมอ ริมเรียบแน่น ไม่ย้วย หลุดลุ่ย

– ลวดลาย(ถ้ามี) สวยงาม ตรงตามลักษณะของลวดลาย

– สี (ถ้ามี) ติดแน่น ไม่หลุดลอกติดมือ หรือเปรอะเปื้อน

– การเคลือบผิว(ถ้ามี) เรียบ สม่ำเสมอ ไม่เป็นเม็ด เป็นคราบ แตก หลุด ลอก

 

ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร

เช่น สบู่ก้อน สบู่เหลว สบู่ก้อนกลีเซอรีน สารที่ใช้เป็นส่วนประกอบ ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ออกตาม พ.ร.บ. เครื่องสำอาง คุณลักษณะที่ต้องการตามมาตรฐาน

คุณลักษณะทั่วไป : เป็นก้อน (สบู่เหลว เป็นเนื้อเดียวกัน ไม่แยกชั้น สีสม่ำเสมอ) อาจมีกลิ่นหอม ไม่มีสิ่งแปลกปลอม

– สถานที่ในการทำสบู่ ต้องถูกสุขลักษณะ (สถานที่ตั้ง อาคาร เครื่องมือ อุปกรณ์ กระบวนการทำ การสุขาภิบาล การบำรุงรักษา การทำความสะอาด สุขลักษณะผู้ทำ)

– การทดสอบทางวิทยาศาสตร์ เช่น ไขมันทั้งหมด ไฮดรอกไซด์อิสระ คลอไรด์ ความเป็นกรดด่าง ปริมาณกลีเซอรีน(สบู่กลีเซอรีน) จุลินทรีย์(สบู่เหลว) ความคงสภาพ(สบู่เหลว)

 

วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2564

ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล จาก สป.อว ที่ต้องทำการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติม โดยให้ผู้ดำเนินงานทุกท่านเก็บข้อมูลในหมู่บ้านที่รับผิดชอบ ตามจำนวน ดังนี้

  1. บัณฑิตจบใหม่ จำนวน 50 คน
  2. ประชาชน จำนวน 30 คน
  3. นักศึกษา จำนวน 20 คน

ข้าพเจ้าซึ่งได้รับผิดชอบ หมู่บ้านหนองโคลนหมู่ที่ 11 ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ทำการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนเพิ่มเติม ดังนี้

– พื้นที่บ้านหนองโคลนบางส่วนอยู่ติดถนนหลัก แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรและยังไม่มีพื้นที่ที่น่าสนใจเพื่อทำเป็นสถานที่ท่องเที่ยวจึงยังไม่มีแหล่งท่องเที่ยว

– พื้นที่บ้านหนองโคลนไม่มีที่พักและโรงแรม

– จากการสำรวจพื้นที่บ้านหนองโคลนมีร้านอาหาร 2 แห่ง คือ

– ร้านพูนทรัพย์ ขายเนื้อย่างเกาหลีและอาหารตามสั่งมีเมนูมากมายให้เลือก อาหารอร่อยและปริมาณที่คุ้ม

– ร้านจิราพร ขายก๋วยเตี๋ยวในราคาที่ถูกมาก ขนม และของใช้เล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นร้านอาหารและร้านค้าเล็ก ๆ ด้วย

– อาหารในท้องถิ่นคือกล้วยฉาบรสชาติต่าง ๆ เช่นกล้วยเบรกแตก กล้วยปาปริก้า กล้วยอบเนย

– เกษตรส่วนใหญ่ปลูกข้าว  ปลูกมันสำปะหลัง และเลี้ยงสัตว์

– พืชที่พบได้ยากในพื้นที่จากที่สำรวจพบ ต้นยาสูบ และฟ้าทะลายโจร

– สัตว์ในท้องถิ่นส่วนใหญ่เป็น วัว ควาย เป็ด และไก่

– แหล่งน้ำที่พบมี 1 แห่ง คือ หนองโคลน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำของพื้นที่และชื่อแหล่งน้ำเป็นชื่อเดียวกันกับชื่อหมู่บ้าน

วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.2564

ร่วมการเสวนาออนไลน์ผ่านระบบ Zoom ในหัวข้อ

เรื่อง “Quadruple Helix : จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” วิทยากรผู้เข้าร่วมเสวนา ดังนี้

  • นายคำเดื่อง ภาษี ประธานปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์
  • นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา นายกเทศมนตรีตำบลอีสาณ
  • นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้า จังหวัดบุรีรัมย์
  • รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาท เนืองเฉลิม จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดี คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์

 

มีวัตถุประสงค์

  • เพื่อเผยแพร่ผลงานด้านการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งทำมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน
  • เพื่อที่จะประสานเครือข่ายชุมชนที่คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้ลงพื้นที่ทำงานร่วมกับประชาชน เพื่อขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาชุมชนต่อไป

วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2564

กิจกรรม อบรมการประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปขนม ตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ณ ศาลากลางบ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีผู้เข้าร่วมเป็นตัวแทนจากแต่ละหมู่บ้านในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวนหมู่บ้านละ 2 คน มีผู้ดำเนินงานในโครงการทั้งหมด อาจารย์ประจำโครงการ และได้รับเกียรติจาก  อาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง จากสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้มาเป็นวิทยากร พร้อมทั้งผู้ช่วยวิทยากร 2 ท่าน ที่มาให้ข้อมูลและแนะนำวิธีการขายของออนไลน์และการถ่ายภาพสินค้าให้ดูน่าสนใจในการอบรมในครั้งนี้ด้วย          

 

 

สามารถสรุปการอบรมในครั้งนี้ได้ ดังนี้

          ก่อนจะทำการตลาดบ facebook สิ่งที่ควรรู้ / ควรคิด

  1. เป้าหมายในการสร้างแฟนเพจ มีหรือยัง “ทำมาหากิน” “ทำมาค้าขาย”
  2. กลุ่มลูกค้าของเราคือใคร : เพศอะไร อายุเท่าไร ทำอาชีพอะไร ประมาณเท่าไร
  3. สินค้าที่จะขาย
  4. Fan Page
  5. Content คอนเทนต์ : รูป คลิป VDO ข้อความ
  6. เงินทุน ในการซื้อโฆษณา : Fanpage facebook LAZADA SHOPEE ขายในกลุ่ม

รู้จักกับ Facebook Profile / Group / Page ต่างกันอย่างไร

  • Profile

– เมื่อสมัคร Facebook ครั้งแรก จะได้โปรไฟล์ส่วนบุคคล (Profile) เป็นชื่อของเราเอง ส่วนนี้ไม่ใช่ที่สำหรับทำธุรกิจ ถ้าจะเข้าไปดู Profile ของใครสักคน ต้อง Login Facebook ก่อน และบางทีเขาอาจจะต้องรับ Add Friend ก่อน เราจึงจะเห็น Profile ของเขา ซึ่งขึ้นอยู่กับการอนุญาตของเขา

    –  Group

          – หากเรามีกลุ่มเพื่อน กลุ่มทีมงานอยู่แล้ว เราก็สามารถสร้างเป็น Group ขึ้นมาเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารเฉพาะกลุ่มนั้น ๆ มีฟังก์ชั่นแชททกันเป็นกลุ่ม มีการโพสต์บนกระดานข้อความของกลุ่ม มีระบบการขายสินค้าในกลุ่ม

– ดังนั้น Group อาจจะใช้ในการสร้างความสัมพันธ์นัดสังสรรค์ หรือให้ข้อมูลอัพเดตบางสิ่งบางอย่างเฉพาะกลุ่ม โดยสามารถตั้งค่าเป็นกลุ่มเปิด กลุ่มปิด หรือกลุ่มลับเฉพาะก็ได้และใน 1 Profile สามารถสร้างได้หลาย Group

    –  Page

          – ต้องการจะโปรโมท แบรนด์ / ธุรกิจ / สินค้า ออกไปในวงกว้าง จะใช้ Page ในการโปรโมท ประชาสัมพันธ์ถ้าเป็น  Facebook Page เข้าไปแล้วก็จะเห็น (ถึงจะไม่เป็น สมาชิก Facebook ก็ตาม)

 

โพสต์ให้ปัง ตรงกลุ่มเป้าหมาย

Workshop

โพสต์ content / เนื้อหาไหนถึงปัง

          ชื่อสินค้า

          รสชาติ

          คุณสมบัติ  ผลิตจากอะไร เรื่องราว

          ราคา ติดต่อ

รับรองความอร่อย #สด #สะอาดใหม่ส่งถึงบ้านลูกค้าเลยจ้า ใส่#

 

หลังจากฟังการอบรมเสร็จเรียบร้อย อาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง ได้ให้ผู้ดำเนินงานร่วมกันสร้างกลุ่มและตั้งชื่อกลุ่มเพื่อลงขายสินค้าที่มีในหมู่บ้าน เพื่อขยายตลาดให้กว้างมากขึ้น โดยกลุ่มค้าขายนี้มีชื่อว่า “บ้านสิงห์ ของดีบอกต่อ”

 

วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2564

ประชุมงานออนไลน์ผ่าน Google Meet โดยอาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายผู้ดำเนินงานประจำตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ให้เข้าร่วมการประชุมงานเกี่ยวกับการมอบหมายงานที่ต้องทำในเดือน พฤศจิกายน โดยการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ในเขตพื้นที่ที่ตนรับผิดชอบ ตามจำนวนที่ได้รับมอบหมาย เก็บข้อมูล จาก สป.อว ที่ต้องทำการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติม และนัดหมายเพื่ออบรมการทำลูกปะคบให้กับชาวบ้านในพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2564

การดำเนินงานวิเคราะห์ปัญหารายพื้นที่ของ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

จากการติดตามและเก็บข้อมูล CBD ประจำตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์  ได้นำข้อมูลจาก CBD เข้าสู่ G-Map โดยการวิเคราะห์ปัญหารายพื้นที่ จากการเลือก  3 หัวข้อจาก 10 หัวข้อ

ประเด็นที่ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เลือกมี ดังนี้

  1. อาหารที่น่าสนใจประจำท้องถิ่น
  2. ภูมิปัญญาในท้องถิ่น
  3. แหล่งน้ำในท้องถิ่น

โดยมีการแบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มของข้าพเจ้าได้วิเคราะห์ หัวข้อ “อาหารที่น่าสนใจประจำท้องถิ่น”

อาหารที่นำมาวิเคราะห์ข้อมูล มีดังนี้

ชื่ออาหาร : กล้วยฉาบแม่อารมณ์

ประเภทอาหาร / เครื่องดื่ม : อาหารหวาน

ชื่อร้านที่จำหน่าย / ผลิต : –

สถานที่จำหน่าย : บ้านหนองโคลน หมู่ 11 ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์

พิกัดที่จำหน่าย / ผลิต

Latitude : 14.73960655274309

Longitude : 102.81536795375432

มีที่จอดรถหรือไม่ : –

กำลังการผลิตต่อวัน : ผลิตตามออเดอร์

ส่วนผสมหลัก : กล้วยน้ำว้าดิบ น้ำมันพืช น้ำตาล ผงปาปิก้า

 

ชื่ออาหาร : ทองม้วน

ประเภทอาหาร / เครื่องดื่ม : อาหารหวาน

ชื่อร้านที่จำหน่าย / ผลิต : –

สถานที่จำหน่าย : บ้านหนองขาม หมู่ 2 ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์

พิกัดที่จำหน่าย / ผลิต

Latitude : 14.739605987173613

Longitude : 102.81536290880027

มีที่จอดรถหรือไม่ : –

กำลังการผลิตต่อวัน : ผลิตตามออเดอร์

ส่วนผสมหลัก : แป้งมันสำปะหลัง แป้งข้าวจ้าว น้ำตาลปี๊บ กระทิ ไข่ไก่ งาดำ เกลือ

ชื่ออาหาร : บ้าบิ่น

ประเภทอาหาร / เครื่องดื่ม : อาหารหวาน

ชื่อร้านที่จำหน่าย / ผลิต : –

สถานที่จำหน่าย : บ้านหนองม่วง ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์

พิกัดที่จำหน่าย / ผลิต

Latitude : 14.715459064230071

Longitude : 102.76169994077851

มีที่จอดรถหรือไม่ : –

กำลังการผลิตต่อวัน : ผลิตตามออเดอร์

ส่วนผสมหลัก : มะพร้าวทึนทึกขูด

แป้งข้าวเหนียว น้ำตาลทราย 

เกลือ กะทิ งาดำหรืองาขาว

ปัญหา

– มีระยะเวลาในการเก็บรักษาน้อย

– ใช้ต้นทุนในการผลิตสูง

– ได้กำไรน้อย

– วัตถุดิบบางอย่างหายากและมีราคาสูง

– ไม่มีตลาดรองรับ

– ยอดขายตกเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19

 

การแก้ไขปัญหา

– สั่งแบบพรีออเดอร์

– หาแหล่งตลาดใหม่ ๆ เช่นตลาดออนไลน์

– จัดโปรโมชั่นที่น่าสนใจ

– โพสต์ขายสินค้าให้มีความน่าสนใจ และดึงดูดลูกค้า

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

มียอดขายเพิ่มขึ้น เนื่องจากการทำตลาดออนไลน์ ส่งผลให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงสินค้าได้มากขึ้นและสะดวกในการติดต่อซื้อขาย

 

 

วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2564

          กิจกรรม อบรมการทำลูกประคบและการนวดแผนไทย โดยการจัดการอบรมในครั้งนี้ได้จัดขึ้น ณ ศาลากลางหมู่บ้าน “บ้านหนองบัวราย” ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีผู้เข้าร่วมเป็นตัวแทนจากแต่ละหมู่บ้านในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวนหมู่บ้านละ 2 คน มีผู้ดำเนินงานในโครงการทั้งหมด อาจารย์ประจำโครงการ รวมไปถึงวิทยากรที่มาให้ข้อมูล โดย ด.ร วิริญรัชญ์ สื่อนอก อาจารย์ประจำสาขาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

สารที่มีกลิ่นหอม

-การบูร แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ

-พิมเสน แต่งกลิ่น ลดอาการพุพองผดผื่น บำรุงหัวใจ

-เกลือ ช่วยดูดความร้อนและช่วยพาให้ตัวยาซึมผ่านผิวหนังได้ดี

 

ลูกประคบ

วัสดุอุปกรณ์

–ผ้าดิบหรือผ้าฝ้ายขนาด 40 × 40 เซนติเมตร

–เชือกยาว 200 เซนติเมตร

–ภาชนะสำหรับผสมสมุนไพร

–เครื่องชั่ง

 

ส่วนผสม

–ไพล 400 กรัม

–ขมิ้นชัน 100 กรัม

–ตะไคร้ 200 กรัม

–ผิวมะกรูด 100 กรัม

–ใบมะขาม 100 กรัม

–ใบส้มป่อย 50 กรัม

–การบูร 30 กรัม

–พิมเสน 30 กรัม

–เกลือ 60 กรัม

วิธีการทำ

1.บดหรือทุบสมุนไพรแห้งพอหยาบ

2.ผสมส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน

3.ชั่งส่วนผสม 160 กรัมวางบนผ้า

4.ห่อผ้าและมัดเชือกให้แน่น

วิธีการเก็บรักษา

  • เก็บไว้ในที่แห้ง ไม่มีฝุ่น
  • สำหรับลูกประคบสมุนไพรสด สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้ 2-3 วัน

วิธีการใช้งาน

  • สำหรับลูกประคบแห้ง ควรพรมน้ำบนลูกประคบก่อนนำไปนึ่ง
  • นำลูกประคบที่ได้ไปนึ่งในหม้อนึ่ง ประมาณ 15-20 นาที

หลังจากที่ได้เรียนรู้วิธีการทำลูกประคบจนเสร็จเรียบร้อย จากนั้นมีวิทยากรจากโรงพยาบาลนางรองเป็นอาจารย์แพทย์แผนไทยได้มาสาธิตวิธีการนวดแผนไทยให้กับผู้เข้าร่วมการอบรมและผู้ดำเนินงานประจำตำบล

 

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู