1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS03 - ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง
  4. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการทำขนม ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ HS03 เรื่อง อบรมการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร และการให้ความรู้ด้านภูมิปัญญาพื้นบัาน

ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการทำขนม ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ HS03 เรื่อง อบรมการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร และการให้ความรู้ด้านภูมิปัญญาพื้นบัาน

ข้าพเจ้า นางสาวพนิดา  สนทนา กลุ่มบัณฑิตจบใหม่  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตรการส่งเสริมอาชีพและการพัฒนาขนมไทย รับผิดชอบลงพื้นที่ในหมู่ 1 บ้านหนองดุม ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือนพฤศจิกายนภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)  ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ได้จัดอบรมการขอมาตรฐานของผลิตภัณฑ์คือ การขอ อย และการขึ้นทะเบียน OTOP และมาตรฐาน มผช.โดยนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และนักวิชาการสาธารณสุข เวลา 13.30-16.00 น.โดยการจัดอบรม ณ ศาลากลางหมู่บ้านบ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยผู้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้เป็นตัวแทนหมู่บ้านละ 2 ท่าน ในตำบลบ้านสิงห์ โดยวิทยากรที่ให้ความรู้ในครั้งนี้คือ นางภัทรวดี มักขุนทด นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ ได้ให้ความรู้ต่างๆดังนี้

การจัดตั้งกลุ่มอาชีพ พัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ OTOP

กลุ่ม คือ กลุ่มการที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปมารวมกันโดยมีการติดต่อสัมพันธ์กันหรือปฏิสัมพันธ์กันและมีจุดมุ่งหมายที่จะกระทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกันและความสัมพันธ์นี้จะช่วยให้สมาชิกกลุ่มอยู่ร่วมกันได้ในระดับที่พอดี

กลุ่มอาชีพ คือ การรวมตัวของชาวบ้านที่ประกอบอาชีพเดียวกัน ดาเนิน กิจกรรมด้านอาชีพ กิจกรมผลิต และจาหน่ายอย่างต่อเนื่อง โดยมีคณะกรรมการดาเนินงานของกลุ่ม มีระเบียบข้อบังคับ

การนำกลุ่มอาชีพเข้าสู่ OTOP

หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (One Tambon One Product : OTOP)

ที่เน้นกระบวนการ การสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ในแต่ละหมู่บ้าน ชุมชน หรือตำบล เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้แต่ละชุมชน ได้นาทรัพยากร ภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการคุณภาพที่มีจุดเด่น และมูลค่าเพิ่มเป็นที่ต้องการของตลาด สอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิต ของท้องถิ่น โดยยึดหลักการพึ่งตนเองของชุมชน และรัฐพร้อมที่จะ ช่วยเหลือในด้านความรู้สมัยใหม่และการบริหารจัดการ เชื่อมโยงสินค้า ชุมชนสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ

ประเภทผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์

ที่จะนำมาดำเนินการลงทะเบียน ต้องผ่านกระบวนการผลิต โดยใช้ภูมิปัญญา จานวน 5 ประเภท ดังนี้

  1. ประเภทอาหาร หมายถึง ผลผลิตทางการเกษตร และอาหารแปรรูป ซึ่งได้รับมาตรฐาน อย., GAP, GMP, HACCP, Qmark, มผช., มอก., มาตรฐานเกษตรอินทรีย์, ฮาลาล และมี บรรจุภัณฑ์ เพื่อการจำหน่ายทั่วไป แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1) ผลิตผลทางเกษตรที่ใช้บริโภคสด

2) ผลิตผลทางการเกษตรที่เป็นวัตถุดิบ และผ่านกระบวนการแปร

3) อาหารแปรรูปกึ่งสำเร็จรูป/สำเร็จรูป

  1. ประเภทเครื่องดื่ม แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
  2. เครื่องดื่มที่มี่แอลกอฮอล์
  3. เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์
  4. ประเภทเครื่องแต่งกาย
  5. ประเภทของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก
  6. ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร

ประโยชน์ของการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

  • ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดีขึ้น มีความปลอดภัย
  • ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสม่ำเสมอ
  • ผู้ซื้อ ผู้บริโภค และผู้เกี่ยวข้องตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
  • สร้างความเชื่อมั่น และความน่าเชื่อถือ
  • เพิ่มโอกาสทางการค้า ผู้ผลิตเข้าถึงตลาดได้ง่ายขึ้น

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรอง มผช.

เงื่อนไขของผู้ยื่นขอ เป็นผู้ผลิตในชุมชน ไม่เป็นผู้แอบอ้าง หรือทำการผลิตแอบแฝง และมีคุณสมบัติ

  1. บุคคลทั่วไป
  2. กลุ่มผู้ผลิตชุมชน (ขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานราชการ/วิสาหกิจชุมชน หรือ
  3. นิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบการ OTOP
  • ผลิตภัณฑ์ที่ยื่นขอ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในรายชื่อมาตรฐาน มผช. ทั้ง 5 ประเภท (http://tcps.tisi.go.th/public/StandardList.aspx) และต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ควบคุมที่ เกี่ยวข้องก่อน เช่น ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข กรมสรรพสามิต
  • ยอมรับการปฏิบัติตามข้อกำหนดทั่วไปในการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ และการรับรองคุณภาพ ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
  • ยื่นคำขอต่อหน่วยรับรองตามแบบคำขอที่กำหนด (สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดบุรีรัมย์)

เมื่อผู้ขอได้รับการรับรองต้อง

  • รักษาระบบการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรอง ตลอดระยะเวลาที่ได้รับการรับรอง และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรอง มผช.
  • นำใบรับรอง มผช. และเครื่องหมาย มผช. ไปใช้อ้างอิงได้เฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ได้รับ การรับรองเท่านั้น
  • ยุติการใช้ใบรับรอง และเครื่องหมาย มผช. เมื่อสิ้นอายุการรับรอง หรือ ในทันทีที่มีการ พักใช้ หรือยกเลิก หรือเพิกถอนการรับรอง
  • จัดเตรียมเอกสารหลักฐาน และข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการร้องเรียนผลิตภัณฑ์
  • แจ้งให้หน่วยรับรองทราบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เช่น เปลี่ยนผู้ติดต่อ ประสานงาน เปลี่ยนชื่อนิติบุคคล ย้ายสถานที่ ปรับกระบวนการทำที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์

การต่ออายุใบรับรอง

  • ให้ยื่นขอใหม่ล่วงหน้า 120 วัน ก่อนที่ใบรับรองจะสิ้นอายุ (หากมีความประสงค์ขอต่ออายุใบรับรอง)
  • หน่วยรับรองจะดำเนินการตามกระบวนการรับรอง มผช.

การสิ้นอายุใบรับรอง

  •  ใบรับรองครบอายุ 3 ปี
  •  ผู้ได้รับการรับรองขอยกเลิกการรับรอง
  • ผู้ได้รับการรับรองเลิก หรือถูกสั่งให้เลิกประกอบกิจการ
  • มาตรฐานมีการแก้ไข ใบรับรองจะมีอายุ 1 ปี นับแต่วันที่มาตรฐาน ใหม่มีผลบังคับใช้
  • มาตรฐานมีการยกเลิก
  • ผลิตภัณฑ์ที่ตรวจติดตามผลไม่เป็นไปตามมาตรฐาน 2 ครั้ง ติดต่อกัน

การตรวจสุขลักษณะการผลิต

  • สถานที่ตั้งอาคารที่ทำและบริเวณโดยรอบ สะอาด ไม่มีน้ำขังแฉะ ไม่สกปรก
  • เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการทำมีความสะอาด ปราศจากเชื้อโรค
  • การควบคุมกระบวนการทำ วัตถุดิบและส่วนผสมในการทำความสะอาด
  • การสุขาภิบาล การบำรุงรักษา การทำความสะอาด – น้ำใช้ต้องสะอาดและเพียงพอมีวิธีป้องกันและกำจัดสัตว์นำเชื้อ
  • บุคลากรและสุขลักษณะของผู้ทำต้องรักษาความสะอาดส่วนบุคคล เช่น เสื้อผ้าสะอาด มีผ้าคลุมผม ไม่ไว้เล็บยาว ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนทำ/หลังการใช้ห้องสุขา

และในช่วงที่ 2 นักวิชาการสาธารณสุขได้ให้ความรู้ในเรื่อง กรณีศึกษาที่ผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่ายตามมาตรฐาน Primary GMP โดยข้อมูลการให้ความรู้มีดังนี้

หลักเกณฑ์ของ Primary GMP

  • สถานที่ตั้งและอาคารผลิต
  • เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต
  • การควบคุมกระบวนการผลิต
  • การสุขาภิบาล
  • การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด

บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน

หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย

หัวข้อที่ 1 สถานที่ตั้งและอาคารผลิต

  • สถานที่ตั้งตัวอาคารและที่ใกล้เคียง ต้องอยู่ในที่จะไม่ทำให้อาหารเกิดการปนเปื้อนได้ง่าย
  • อาคารผลิตหรือบริเวณผลิตต้อง รักษาความสะอาดและรักษาให้ อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ

หัวข้อที่ 2 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต

  • ออกแบบเครื่องมือเครื่องใช้ที่เหมาะสม และคำนึงการปนเปื้อนที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งทาความสะอาดได้ง่าย
  • ภาชนะหรืออุปกรณ์ในการผลิตที่สัมผัส กับอาหาร ต้องทาจากวัสดุที่ไม่ทา ปฏิกิริยากับอาหารและง่ายต่อการทำความสะอาด
  • โต๊ะหรือพื้นผิวที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตในส่วนที่สัมผัสกับอาหาร ต้องทาด้วย วัสดุที่ไม่เกิดสนิม ทำความสะอาดง่าย มีความสูงที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานหรือมี มาตรการในการป้องกันการปนเปื้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

หัวข้อที่ 3 การควบคุมกระบวนการผลิต

  1. วัตถุดิบ ส่วนผสมในการผลิตอาหาร ต้องมีการคัดเลือกให้อยู่ในสภาพที่สะอาด มีคุณภาพ ต้องล้างทาความสะอาดตามความจำเป็น เพื่อขจัดสิ่งสกปรก และต้องเก็บรักษาวัตถุดิบภายใต้สภาวะที่ป้องกันการปนเปื้อนโดยมีการเสื่อมสลายน้อยที่สุด และหมุนเวียนของวัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพ หากมีการใช้วัตถุเจือปนอาหารต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร
  2. การดาเนินการระหว่าง ผลิตอาหาร มีการขนย้ายวัตถุดิบ ส่วนผสม ภาชนะบรรจุ และบรรจุภัณฑ์ในลักษณะที่ไม่เกิดการปนเปื้อน
  3. ผู้ผลิตมีขั้นตอนและวิธีการในการควบคุมกระบวนการผลิตเป็นไป ตามข้อกำหนดหรือตามความเหมาะสมของกระบวนการผลิตนั้นๆอย่างเคร่งครัด
  4. น้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตที่สัมผัสกับอาหารต้องเป็นน้ำที่สะอาด บริโภคได้ มีคุณภาพมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง น้ำบริโภค และการประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง น้าแข็ง และการนาไปใช้ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ
  5. น้ำแข็งใช้ในกระบวนการผลิตที่สัมผัสกับอาหาร สะอาด มีคุณภาพมาตรฐานตาม
  6. การผลิต เก็บรักษา ขนย้าย และขนส่งผลิตภัณฑ์อาหารต้องป้องกันการปนเปื้อนและกันการเสื่อมสลายของอาหารและภาชนะบรรจุด้วยน้ำไปใช้ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ

หัวข้อที่ 4 การสุขาภิบาล

  1. น้ำที่ใช้ภายในสถานที่ผลิต ต้องเป็นน้ำสะอาดและจัดให้มีการปรับคุณภาพน้ำตามความจำเป็น
  2. จัดให้มีภาชนะรองรับขยะมูลฝอยที่มีฝาปิดในจำนวนที่เพียงพอ และมี ระบบกาจัดขยะมูลฝอยที่เหมาะสม
  3. จัดให้มีห้องส้วมและอ่างล้างมือหน้าห้องส้วมให้เพียงพอสำหรับผู้ปฏิบัติงาน และต้องถูกสุขลักษณะ มีอุปกรณ์ล้างมือครบถ้วน ใช้งานได้ สะอาด และต้องแยกต่างหากจากบริเวณที่ผลิตหรือไม่เปิดสู่บริเวณผลิตโดยตรง
  4. จัดให้มีอ่างล้างมือในบริเวณผลิตให้เพียงพอ ใช้งานได้ สะอาด และมีอุปกรณ์ล้างมืออย่างครบถ้วน
  5. การจัดการระบายน้ำทิ้งและสิ่งโสโครกอย่างมีประสิทธิภาพ

หัวข้อที่ 5 การบำรุงรักษาและการทาความสะอาด

  1. ตัวอาคารสถานที่ผลติ ต้องทาความสะอาดและรักษา ให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะอย่างสม่ำเสมอ
  2. เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการผลิต มีการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมออยู่สภาพที่ใช้งานได้
  3. การจัดเก็บสารเคมีทำความสะอาดหรือสารเคมีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาสุขลักษณะต้องแยกให้เป็น สัดส่วน ปลอดภัย พร้อมมีการแสดงป้ายชื่อ

หัวข้อที่ 6 บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน

  1. ผู้ปฏิบัติงานในบริเวณผลิตอาหารไม่มีบาดแผล ไม่เป็นโรคหรือพาหะของโรคตามที่ระบุใน กฎกระทรวง หรือมีบาดแผที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของผลิตภัณฑ์
  2. ผู้ปฏิบัติงานทุกคนที่ทำหน้าที่สัมผัสอาหาร ต้องสวมเสื้อผ้าที่สะอาด สวมหมวก หรือ ผ้าคลุมผมหรือตาข่าย, มีมาตรการการจัดการรองเท้าที่ใช้ในการผลิตที่เหมาะสม ไม่สวมเรื่องประดับ พร้อมทั้งล้างมือและดูแลเล็บมือให้สะอาด อยู่เสมอ
  3. แสดงคำเตือน ห้ามหรือป้องกันมิให้บุคคลแสดงพฤติกรรมอันน่ารังเกียจในการผลิตอาหาร
  4. วิธีการหรือข้อปฏิบัติสาหรับผู้ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตที่มีความจำเป็นต้องเข้าไปในบริเวณผลิต ต้องปฏิบัติตามข้อ 2 เมื่ออยู่ในบริเวณที่ผลิต

หลักเกณฑ์การตัดสินใจในการให้คะแนนในบันทึก การตรวจ Primary GMP

อาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจาหน่าย เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวง สาธารณสุข ฉบับที่ 342 (พ.ศ. 2555) เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวง สาธารณสุข ฉบับที่ 342(พ.ศ. 2555) แต่ยังพบข้อบกพร่องซึ่งยอมรับได้ เนื่องจากมีมาตรการป้องกันการปนเปื้อนในอาหารหรือข้อบกพร่องนั้นไม่ มีผลกระทบต่อความปลอดภัยโดยตรงกับอาหารที่ผลิต ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวง สาธารณสุข ฉบับที่ 342 (พ.ศ. 2555)

วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ลงพื้นที่ในการเก็บข้อมูล CBD เพิ่มเติม เป็นระบบเก็บข้อมูลความรู้ ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลหมู่ที่ 1 บ้านหนองดุม ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีรายละเอียดการเก็บข้อมูลดังนี้

  1. สำรวจสัตว์ในท้องถิ่น สัตว์ในชุมชนบ้านหนองดุม หมู่ที่ 1 ส่วนใหญ่คนในชุมชนจะเลี้ยง วัว ควาย ไก่ เป็ด ซึ่งมีจำนวนมาก จากการสำรวจบางส่วนอยู่ในบริเวณทุ่งนาทำให้ไม่ทราบเจ้าของ
  2. ร้านอาหารในชุมชน หมู่ที่ 1 บ้านหนองดุม มีร้านก๋วยเตี๋ยว 1 ร้าน มีที่นั่งเพียงพอสำหรับนั่ง 10 – 15 คน มีที่จอดรถเพียงพอ ราคาอยู่ที่ 20 – 25 บาท เปิดให้บริการทุกวันเวลา 00 น. – 15.00 น.
  3. พืชในท้องถิ่นส่วนใหญ่ ชุมชนบ้านหนองดุมจะปลูกมันสำปะหลังและจะเป็นพืชผักสวนครัวทั่วไป เช่น ผักชี ผักบุ้ง มะละกอ มะพร้าว กล้วย เป็นต้น
  4. เกษตรกรในท้องถิ่น ในชุมชนบ้านหนองดุมหมู่ที่1 นั้นส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรแทบทุกครัวเรือน ปลูกข้าวและมันสำปะหลังเป็นส่วนใหญ่และจะใช้อุปกรณ์ เทคโนโลยีในการช่วยประกอบการทำเกษตร เช่น รถไถ รถบรรทุก รถเกี่ยวข้าว เป็นต้น แรงงานที่ใช้ส่วนใหญ่จะ ช่วยกันทำในเครือญาติประมาณ 3 – 10 คน
  5. แหล่งน้ำในท้องถิ่น แหล่งน้ำในชุมชนบ้านหนองดุม มี 4 แหล่ง โดยสภาพแหล่งน้ำมีน้ำเพียงพอต่อการอุปโภคและบริโภค โดยส่วนใหญ่จะใช้ในการทำการเกษตร
    • สระน้ำบ้านหนองดุม ลักษณะเป็นหนองน้ำ พิกัด X: 7264042 Y: 102.8051941
    • อ่างเก็บน้ำบ้านหนองดุม ลักษณะเป็นอ่างเก็บน้ำ พิกัด X: 14.724462 Y: 102.808793
    • สระหนองดุม ลักษณะเป็นหนองน้ำ พิกัด X:14.7297988 Y:102.8106906
    • สะหนองแสง ลักษณะเป็นอ่างเก็บน้ำ พิกัด X:14.725036 Y: 14.725036

 

วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ได้เข้าร่วมอบรม งานเสวนาออนไลน์เรื่อง“ Quadruple Helix: จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” ณ ศูนย์ประสานงานชุมชนสัมพันธ์ HUSOC อาคาร 25 ชั้น 2 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์วันที่ 28 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2554 เวลา 09.00 น. เวลา 09.40 – 12.00 น. เวลา 12.15 น.

กําหนดการ

เวลา 09.00 น. –   พิธีเปิดงานเสวนาออนไลน์โดย รองศาสตราจารย์มาลิณีจุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

  • กล่าวรายงานโดยรองศาสตราจารย์ดร. อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • พิธีกรผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร. คำภีรภาพอินทะนรองคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ดำเนินการเสวนาโดยอาจารย์ชมพูอิสริยาวัฒน์รองคณบดีฝ่ายพันธกิจชุมชนสัมพันและภูมิทัศน์การเสวนาผ่านระบบ ZOOM เรื่อง“ Quadruple Helix: จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน”

ผู้ร่วมเสวนา

  • นายคําเดื่อง ภาษี ประธานปราชญ์ชาวบ้านบุรีรัมย์
  • รองศาสตราจารย์ดร. ประสาท เมืองเฉลิม จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา  นายกเทศมนตรีตำบลอิสาณ
  • นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย  ประธานหอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์
  • รองศาสตราจารย์ ดร. อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ดำเนินการเสวนาโดย อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายพันธกิจชุมชนสัมพันธ์และภูมิทัศน์
  • รองศาสตราจารย์ดร. อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์กล่าวขอบคุณวิทยากรและกล่าวปิด

การจัดเสวนาชุมชนในครั้งนี้ก็เนื่องจากเป็นการสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ที่กำลังจะเข้าสู่รับการประเมินผลงาน ซึ่งเป็นการสนองงานตามนโยบายของการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนเป็นนโยบายขององค์การสหประชาชาติในเรื่องของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และมหามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์มีความพร้อมในการเข้ารับการประเมิน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้ดำเนินการกิจกรรมพัฒนาชุมชนให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน อย่างต่อเนื่อง คำว่า Quadruple Helix : จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน เป็นคำที่กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัย และนวัฒตกรรมได้ใช้ในการดำเนินการนโยบาย เรื่องพลิกโฉมมหาวิทยาลัย ซึ่งสอดคล้องกับองค์การสหประชาชาติ จตุรภาคีสี่ประสานเชื่อมกันก็จะนำไปสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน จตุรภาคีสี่ประสานดังกล่าวคือ

  • มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • ชุมชน และวัด
  • หน่วยงานเอกชน
  • หน่วงงานราชการ

วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ 2564

ได้จัดอบรมการตลาด online สำหรับผู้ประกอบการ โดยวิทยากร อาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ ได้จัดอบรม ณ ศาลากลางหมู่บ้านบ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยผู้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้เป็นตัวแทนหมู่บ้านละ 2 ท่าน ในตำบลบ้านสิงห์ และได้ผสานงานให้กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ต้องการเข้าร่วม ให้เตรียมอุปกรณ์เพื่อมาเป็นตัวอย่างการถ่ายรูปเพื่อนำมาถ่ายรูปในการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ โดยมีข้อมูลรายละเอียดดังนี้

วิธีการทำการตลาดบน Facebook ที่มีประสิทธิภาพ

  1. สร้างความประทับใจให้กับ Profile, Fanpage เมื่อทำการตลาดบน Facebook

ออกแบบชิ้นส่วนข้อมูลที่น่าประทับใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ อาจจะเป็นสร้างโปรไฟล์ที่สมบูรณ์เพื่อแสดงว่าเป็นนักการตลาดมืออาชีพ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าในผลิตภัณฑ์ของคุณ

  1. ลงทุนในการสร้างสรรค์เนื้อหา

เนื้อหาของเพจ บทความที่สื่อออกไปควรเป็นเนื้อหาที่เป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือตรงกับความสนใจ โดนใจกลุ่มลูกค้า และตรงกับวัตถุประสงค์ในการสร้างเพจของเราให้มากที่สุด ยึดหลักฐานแฟนแน่น คอนเท้นต์ก็ต้องสร้างสรรค์

Content marketing บน Facebook ต้องกระชับและมีข้อมูลเพียงพอ

มี 4 ประเด็นที่คุณต้องพิจารณาเมื่อสร้างเนื้อหา

  1. เข้าถึงกลุ่มลูกค้าแม่นยำ

การตลาดบน Facebook จะมีความละเอียดในการใช้งานที่สามารถเจาะจงให้โฆษณาถูกแสดงผลให้กับคนที่มีความสนใจ, พฤติกรรม, เพศ, อายุ ฯลฯ ตรงตามเกณฑ์ที่คุณตั้งเอาไว้เท่านั้น จึงมั่นใจได้ว่าโฆษณาของคุณจะถูกแสดงให้กับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ

  1. ข้อมูลที่แชร์

เนื้อหาสำหรับการทำการตลาดบน Facebook อย่างมีประสิทธิภาพมีจำนวนมาก สามารถเลือกโพสต์ได้หลากหลายประเภทซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 หมวดหมู่หลัก ได้แก่ โพสต์ที่ขอให้ผู้ชมแสดงความคิดเห็นส่วนตัว โพสต์ที่แสดงลักษณะแบรนต์ และโพสต์ที่นำเสนอคุณค่าสำหรับผู้ชมเช่นของขวัญ คูปอง อันดับแรก สำหรับโพสต์ที่กระตุ้นให้ผู้ชมแสดงความคิดเห็นและบุคลิกของพวกเขา ต้องจัดพื้นที่เพื่อกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ของพวกเขา สิ่งที่ต้องทำคือนึกถึงประโยคที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์เว้นที่ว่างไว้ส่วนที่เหลือให้ผู้ชมทำจินตนาการ

     3. โพสต์ให้ถูกเวลา

เวลาในการโพสต์ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่ส่งผลต่อความสามารถในการเข้าถึงและโต้ตอบกับผู้ติดตาม หากแบรนด์ของเราเลือกช่วงเวลาที่โพสต์ถูกจังหวะ ระบบอัลกอริทึมก็อาจจะจัดลำดับโพสต์ของเราให้เลื่อนขึ้นมาอยู่ในอันดับต้น ๆ ของหน้าฟีด และโพสต์ของเราก็มีโอกาสไปปรากฏอยู่บนหน้าฟีดของผู้เล่น Facebook ได้เพิ่มขึ้น

  1. โพสต์ควรจะมีความยาวเท่าไหร่ดี

ควรโพสต์ให้สั้นและ “ไพเราะ” เพื่อให้ผู้ใช้สนใจในระยะยาว เนื่องจาก Facebook ไม่ใช่หนังสือพิมพ์ที่เต็มไปด้วยข้อมูลและความหมาย ตาม Kissmetrics โพสต์ที่มีคำน้อยกว่า 80 คำช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ได้ถึง 66%

  1. โพสต์อย่างสม่ำเสมอ

การโพสต์คอนเทนต์อย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้แบรนด์หรือเพจของคุณอยู่ในสายตาของกลุ่มเป้าหมายอยู่ตลอดเวลา และอาจทำโพสต์นั้น ๆ กลายเป็นโพสต์อันดับต้น ๆ บนหน้าฟีดของผู้เล่นบน Facebook ได้ไม่ยาก

  1. ใช้แคมเปญโฆษณาบน Facebook

การทำโฆษณา Facebook เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในหลากหลายธุรกิจตั้งแต่ผู้ประกอบการรายย่อย ไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่ ทำให้นักธุรกิจประหยัดทั้งในด้านของเวลาในการโปรโมทสินค้าและบริการ และต้นทุนทางการตลาด ไม่ว่าจะทำธุรกิจอะไรสามารถสร้างธุรกิจให้เติบโตได้ผ่านการทำโฆษณาบน Facebook

หลังจากให้ความรู้ด้านการประชาสัมพันธ์ อาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง ได้ให้แบ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ในตำบลบ้านสิงค์ออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. ประเภทขนม  2. สิ่งของเครื่องใช้ เพื่อสำรวจและแบ่งผลิตภัณฑ์ในตำบลออกตามประเภทเพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ในกลุ่มของ facebook เพจขายสินค้าของตำบลบ้านสิงห์ ชื่อเพจ คือ บ้านสิงห์ของดีบอกต่อ https://www.facebook.com/NRbansing

     1.ขนม

  • ขนมดอกจอก ราคาปลีกถุงละ 10 บาท ราคาส่งถุงละ 13 ถุง 100 บาท
  • ขนมท้องม้วน ราคาปลีกถุงละ 10 บาท ราคาส่งถุงละ 13 ถุง 100 บาท
  • ขนมบ้าบิ่น ราคาปลีกกล่องละ 10 บาท
  • ขนมกล้วยฉาบ ราคาปลีกถุงละ 10 บาท ราคาส่งถุงละ 13 ถุง 100 บาท
  • ขนมใส่ไส้ ราคาปลีก 3 ห่อ 10 บาท
  • ขนมรังแตน ราคาปลีกถุงละ 10 บาท ราคาส่งถุงละ 13 ถุง 100 บาท
  • ขนมนางเล็ด ราคาปลีกถุงละ 20 บาท 4 ชิ้น ราคาส่งถุงละ 15 บาท
  1. สิ่งของเครื่องใช้
  • ตะกร้าสาน
  • แห ราคา 800 – 1,500 บาท
  • สุ่มไก่ กระด้ง ตะแกรง ราคา 150 – 500 บาท
  • พวงหรีด ดอกไม้จันทน์ ราคา 300 – 500 บาท
  • กระเป๋าจากผ้า ราคา 59 ขึ้นไป
  • เสือกก ราคา 150 – 800
  • ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ราคา 300 ขึ้นไป
  • บายศรี ราคาเริ่มต้น 150 บาท
  • กรงนก ราคา 300 บาทขึ้นไป

หลังจากที่แบ่งประเภทของผลิตภัณฑ์แล้วนั้น จึงได้เรียนรู้เทคนิคการถ่ายภาพเพื่อที่จะทำให้สินค้าดึงดูดผู้ซื้อมากยิ่งขึ้น

 

 

วันที่ 8 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ติดตามการวิเคราะห์ข้อมูลโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตําบล (U2T) โครงการ U2T ได้แบ่งกลุ่มบัณฑิตจบใหม่ กลุ่มละ 5 คน เพื่อแบ่งหัวข้อที่จะวิเคราะห์ข้อมูล CBD โดยจะมีทั้งหมด 10 หมวด คือ

  1. ผู้ที่ย้ายกลับบ้านจากสถานการณ์โควิด         6.  แหล่งท่องเที่ยว

2. ที่พัก /โรงแรม                                               7. ร้านอาหารในท้องถิ่น

3. อาหารที่น่าสนใจประจำท้องถิ่น                    8. เกษตรกรในท้องถิ่น

4. พืชในท้องถิ่น                                                 9. สัตว์ในท้องถิ่น

5. ภูมิปัญญาท้องถิ่น                                         10. แหล่งน้ำในท้องถิ่น

  1. วิเคราะห์ Pain point (SWOT, VROI หรือ เครื่องมือวิเคราะห์ ใดๆ ตามเหมาะสม)
  2. นำเสนอข้อมูลผ่าน Dash Board หรือ G-map โดยเลือก
  3. หัวข้อ จาก 10 หัวข้อ ใน CBD จัดทำในสไลด์เดียวกัน

โดยกลุ่มบัณฑิตได้เลือกหัวข้อ แหล่งน้ำในชุมชน ได้วิเคราะห์ข้อมูลดังนี้

  1. สระหนองโคตร

ที่อยู่ : หมู่ 7 บ้านหนองบัวราย  ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ตำแหน่ง x : 14.736379989892422 y:102.79708365487313

ประเภทแหล่งน้ำ : หนอง

คุณภาพของน้ำ : น้อย (ใช้ในการเกษตร/อุตสาหกรรม ปะปาหมู่บ้าน)

ปัญหา : น้ำขุ่น , ลึกและชัน

แนวทางแก้ปัญหา : ปรับสภาพพื้นดินโดยรอบ

  1. ห้วยลำมาศ

ที่อยู่ : ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

แนวทางแก้ปัญหา : ซ้อมแซมฝายชะลอน้ำ

( ไหลผ่าน หมู่ 5 บ้านหนองตาชี , หมู่ 8 บ้านหนอง

กง , หมู่ 9 บ้านหนองจันทร์แดง , หมู่ 13 บ้านหนอง

สองห้อง )

ตำแหน่ง x : 14.7734292 y: 102.7646936

ประเภทแหล่งน้ำ : ห้วย

คุณภาพของน้ำ : น้อย ( ใช้ในการเกษตร/

อุตสาหกรรม ประปาหมู่บ้าน )

ปัญหา :ช่วงฤดูร้อนน้ำแห้งขอด , ช่วงฤดูฝนน้ำหลาก

ท่วมหมู่บ้าน

แนวทางแก้ปัญหา : ฝ่ายชะลอน้ำ , โรงสูบน้ำไฟฟ้า

3.สระหนองดุม

ที่อยู่ : หมู่ 1 บ้านหนองดุม ตำบลบ้านสิงห์

อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ตำแหน่ง x :14.7297988 y : 102.8106906

ประเภทแหล่งน้ำ : หนอง

คุณภาพของน้ำ : น้อย ( ใช้ในการเกษตร/อุตสาหกรรม

ปะปาหมู่บ้าน )

ปัญหา : น้ำขุ่นไม่ค่อยสะอาด

แนวทางแก้ปัญหา : มีระบบกรองน้ำเสียก่อนนำไปใช้

4.ลำห้วยน้อย

ที่อยู่ : หมู่ 3 บ้านสิงห์ ตำบลบ้านสิงห์ ( ไหลผ่าน หมู่ 2 หนองขาม , หมู่ 4 บ้านโคก

ไม้แดง , หมู่ 6 บ้านสระหมู , หมู่ 14 บ้านโพธิ์ทอง)

ตำแหน่ง x : 14.7401320 y: 102.8211975

ประเภทแหล่งน้ำ : ฝ่าย

แนวทางแก้ปัญหา : ปรับสภาพพื้นดินโดยรอบ

คุณภาพของน้ำ : ปานกลาง (ใช้ทำการประมง

/ อุตสาหกรรมได้)

ปัญหา : ฝายชำรุด, ต้องรอน้ำจากที่สูงลงที่ต่ำ

แนวทางแก้ปัญหา : ซ้อมแซมฝายชะลอน้ำ

 แนวทางการแก้ปัญหา

ซ่อมแซมฝ่ายชะลอนำเพื่อให้ สามารถกักเก็บน้ำอย่างมี ประสิทธิภาพ,เพียงพอต่อ การทำเกษตรในหน้าแล้ง วางทอระบายน้ำเพื่อป้องกันปัญหา น้ำท่วมขังในเขตชุมชนและพื้นที่ทำ การเกษตร ปรับปรุงคุณภาพของน้ำดิบให้เป็น น้ำประปาที่สะอาดและมีคุณภาพ ที่ได้มาตรฐานเพียงพอต่อการ นำไปใช้อุปโภคบริโภค

ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

  • น้ำอยู่ในลำห้วยได้นานขึ้น มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการทำเกษตรในช่วงหน้าแล้ง
  • ระบายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ไม่หลากเข้าท่วมหมู่บ้าน
  • คุณภาพน้ำดีขึ้นและอยู่ในเกณฑ์
  • มาตรฐานที่สามารถนำมาใช้อุปโภค
  • บริโภคได้โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย

 

วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

จัดอบรมการทำลูกประคบสมุนไพร ณ ศาลาบ้านหนองบัวราย หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์โดยมีวิทยากรในการอบรมการทำลูกประคบสมุนไพร คือ ดร.วิริญรัชญ์ สื่อนอก อาจารย์ประจำสาขาเคมี  คณะวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  โดยการอบรมอาจารย์วิทยากรจะให้ความรู้เกี่ยวลูกประคบและวิธีการทำลูกประคบโดยมีข้อมูลดังนี้

วัสดุอุปกรณ์

  1. ผ้าดิบ หรือผ้าฝ้าย ขนาด 40 x 40
  2. เชือกยาว 200 เซนติเมตร
  3. ภาชนะสำหรับผสมสมุนไพร
  4. เครื่องชั่ง

ในสูตรนี้ใช้สมุนไพรแห้ง  (สามารถนำสมุนไพรไปตากหรืออบให้แห้งได้)

  • ไพล 400 กรัม
  • ขมิ้นชัน 100 กรัม
  • ตะไคร้ 200 กรัม
  • ผิวมะกรูด 100 กรัม
  • ใบมะขาม 100 กรัม
  • ใบส้มป่อย 50 กรัม
  • การบูร 30 กรัม
  • พิมเสน 30 กรัม
  • เกลือ 60 กรัม

วิธีการทำ

  1. บดหรือทุบสมุนไพรแห้งพอหยาบ
  2. ชั่งส่วนผสม 100 กรัม วางลงบนผ้า
  3. ผสมส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน
  4. ห่อผ้าและมัดเชือกให้แน่น
  5. บรรจุลูกประคบไว้ในถุงเก็บในที่แห้งสามารถเก็บได้ 1 ปี

หลังจากที่ทำลูกประคบเสร็จเรียบร้อยแล้วกิจกรรมลำดับต่อไปเป็นการนวดแผนไทย โดยมีวิทยากรจากคณะแพทย์นวดแผนไทยจากโรงพยาบาลนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มาให้ความรู้เกี่ยวกับการนวดแผนไทย และอบรมวิธีการนวดแผนไทยเบื้องต้น โดยมีข้อมูลดังนี้

ซึ่งข้อห้ามในการนวด ได้แก่

  1. ห้ามนวดบริเวณที่เป็นมะเร็ง
  2. ผู้ที่มีไข้สูงเกิน 38.5 องศา
  3. บริเวณที่มีอาการอักเสบ บวม แดง ร้อน
  4. ผู้ที่มีภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
  5. กระดูกแตก หัก ปริ ร้าว ที่ยังไม่หายดี และ
  6. โรคติดเชื้อทางผิวหนังทุกชนิด

ข้อควรระวังในการนวด ได้แก่

  1. สตรีมีครรภ์
  2. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
  3. ใส่อวัยวะเทียมหลังผ่าตัดกระดูก
  4. ผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุน กระดูกบาง และ
  5. ผู้ที่เพิ่งรับประทานอาหารอิ่มใหม่ ๆ (ไม่เกิน 30 นาที) และก่อนให้บริการนวดไทย

จุดที่ห้ามนวดเด็ดขาด

คือ ตามแนวกระดูกและหลอดเลือด แนวกระดูกต้นคอ แนวกระดูกสันหลัง บริเวณซี่โครง บริเวณข้างคอ ใต้หู หลังหู และต่อมน้ำเหลืองใต้คาง การนวดบริเวณหลังจะเป็นการนวดตามแนวสันกล้ามเนื้อไม่ใช่บริเวณกระดูกสันหลัง ส่วนจุดที่ต้องระวังคือการกดจุดเปิดประตูลม ควรทำแค่ครั้งเดียวไม่เกิน 45 วินาที และจุดที่เป็นศูนย์รวมของเส้นประสาทต่างๆเช่น ข้อพับแขน ข้อมือ และข้อพับขา ส่วนข้อควรระวังอื่น คือ กลุ่มเด็ก หญิงมีครรภ์ ผู้สูงอายุ โรคหลอดเลือด ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ยังควบคุมอาการให้เป็นปกติไม่ได้ โรคกระดูกพรุนรุนแรง ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดใส่เหล็กและข้อเทียม หรือจุดที่เคยทำศัลยกรรมตกแต่ง บริเวณที่มีการอักเสบจากการติดเชื้อ กระดูกแตก หัก ปริ ร้าว ข้อเคลื่อน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคผิวหนังมีแผลเปิดเรื้อรัง โรคติดต่อระยะแพร่เชื้อ โรคมะเร็ง แผลหลังผ่าตัดยังไม่หายสนิท หลอดเลือดดำอักเสบ เป็นต้น

 

สรุปการเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน

จากการปฎิบัติงานในเดือนพฤศจิกายนนั้นได้ประสบการณ์และความรู้ต่าง ๆ จากกิจกรรมการอบรมทุก ๆ กิจกรรม การติดต่อผสานงานกับชุมชน และการอบรมในแต่ละครั้งได้ความรู้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้และยังเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมอาชีพทำให้คนในชุมชนสามารถนำความรู้จากการอบรมไปต่อยอดทำให้มีรายได้อีกด้วย  และผู้ปฎิบัติงานเองก็ได้ความรู้จากการอบรมเพื่อช่วยต่อยอดผลิตภัณฑ์ของตำบลบ้านสิงห์ให้มีการพัฒนายิ่งขึ้น และรู้เทคนิคการประชาสัมพันธ์สินค้าเพื่อให้ดึงดูดผู้บริโภค และเรียนรู้เรื่องการจัดสรรการรับผิดชอบงานต่าง ๆให้ทันเวลาและทำงานที่ได้รับมอบหมายให้มีประสิทธิภาพ สุดท้ายนี้ขอขอบคุณอาจารย์ประจำโครงการ และวิทยากรที่ให้ความรู้ในการอบรมในแต่ละครั้ง ขอบพระคุณค่ะ

 

 

อื่นๆ

เมนู