1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS03 - ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง
  4. โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) HS03-คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เดือนพฤศจิกายน

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) HS03-คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เดือนพฤศจิกายน

ข้าพเจ้า นายพนม  กลิ่นหอม ประเภทบัณฑิตจบใหม่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ในเดือนพฤศจิกายนนี้ ข้าพเจ้าได้วางแผนการทำงานและได้ทำการลงพื้นที่เพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูล ในพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ดังนี้

วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม 2564

เข้าร่วมอบรมการขอมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ คือ การขอ อย. และการขึ้นทะเบียน Otop และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) โดยนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และนักวิชาการสาธารณสุข เวลา 13.00-16.00 น. และมอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานประสานกลุ่มที่แปรรูปขนมและกลุ่มที่จักสานและให้กลุ่มบัณฑิตไปจัดสถานที่ศาลาประชาคม หมู่บ้านหนองบัวราย หมู่ที่ 9 มีผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังและนำความรู้ไปต่อยอดขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยสรุปเนื้อหาสำคัญการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ได้ดังนี้

 

  1. ผลิตภัณฑ์ต้องมีความปลอดภัย
  2. สร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือ
  3. สถานที่อาคาร เครื่องมือเครื่องใช้ต้องทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ

จึงจะผ่านเงื่อนไขของการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน และนักวิชาการสาธารณสุข ยังให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่การผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่ายตามมาตรฐาน

วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม 2564

เข้าร่วมการเสวนาออนไลน์ในหัวข้อเรื่อง “Quadruple Helix : จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” โดยการจัดเสวนาออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom โดยมี รองศาสตราจารย์มาลินี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นประธานเปิดโครงการเสวนาออนไลน์ โดยมีวิทยากรร่วมเสวนา ดังนี้

  • นายคำเดื่อง ภาษี ประธานกลุ่มปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์
  • รศ.ดร.ประสาท เนืองเฉลิม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์
  • นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา นายกเทศมนตรีตำบลอิสาน
  • ร.ศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

เวลา 09:00 น. – 12:30 น. ณ.ศูนย์ประสานงานประชาสัมพันธ์ อาคาร 25 ชั้น 2 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ การจัดเสวนาออนไลน์ในครั้งนี้ เนื่องจากเป็นการสนองนโยบายของการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นนโยบายขององค์การสหประชาชาติในเรื่องของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และมหามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์มีความพร้อมในการเข้ารับการประเมิน

วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม 2564

อาจารย์ธิดารัตน์  คีมกระโทก อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลบ้านสิงห์ทุกท่าน และตัวแทนชุมชนในแต่ละหมู่บ้านเข้าร่วมการอบรม ณ ศาลาประชาคม บ้านหนองบัวราย  ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เรื่อง “ตลาดออนไลน์สำหรับผู้ประกอบการ” โดยคณะวิทยากร อาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  โดยการอบรมในครั้งนี้มีผู้สนใจนำผลิตภัณฑ์ที่ตนเองทำ นำมาเข้าร่วมอบรมด้วย ได้แก่ ตะกร้าสาน ขนมดอกจอก ขนมทองม้วน กล้วยฉาบ  เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ การอบรมส่วนใหญ่จะสอนทำการตลาดออนไลน์ เพจเฟสบุ๊ค “บ้านสิงห์ ของดีบอกต่อ” หรือลิงค์เพจ https://www.facebook.com/บ้านสิงห์-ของดีบอกต่อ-111144401364423/ และไลน์แอด “ของดีบ้านสิงห์” หรือไอดี @448rjmed  และวิทยากรยังแนะนำการถ่ายรูปให้มีความสวยงามเพื่อนำไปโพสต์ให้เป็นที่น่าสนใจต่อกลุ่มลูกค้าอีกด้วย

วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน 2564

เข้าร่วมประชุมออนไลน์ กับอาจารย์ประจำหลักสูตรผ่านระบบ Google meet เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลจากการเก็บข้อมูลผ่าน Application  https://cbd.u2t.ac.th/ จาก สป.อว. และเก็บข้อมูลเพิ่มเติมในบางส่วน ซึ่งให้นำข้อมูลจาก CBD เข้าสู่ G-Map เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งนี้ แต่ละตำบล เลือกเพียง  3 หัวข้อจาก 10 หัวข้อ ใน CBD มาทำในสไลค์เดียวกัน

  • วิเคราะห์ Pain point (SWOT, VROI หรือ เครื่องมือวิเคราะห์ ใด ๆ ตามเหมาะสม)
  • นำเสนอข้อมูลผ่าน Dash Board หรือ G-map

โดยกลุ่มบ้านสิงห์ได้แบ่งกลุ่มทั้งหมดเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น และแหล่งน้ำในท้องถิ่น สำหรับกลุ่มของข้าพเจ้าได้หาข้อมูลและทำ PowerPoint เกี่ยวกับอาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น ได้แก่ ขนมบ้าบิ่น ขนมทองม้วน และกล้วยฉาบ ซึ่งการวิเคราะห์ปัญหาและการแก้ปัญหาต่าง ๆ มีดังนี้ เนื่องจากเป็นขนมไทย ที่ต้องทำสดใหม่ทุกวัน และวัตถุดิบในการทำส่วนใหญ่ค่อยข้างหายาก เพราะวัตถุดิบบางอย่างมีแค่ในบางฤดูกาลทำให้มีปัญหาดังนี้

  • มีระยะวลาในการเก็บรักษาน้อย
  • ต้นทุนในการผลิตสูง
  • กำไรน้อย
  • วัตถุดิบบางอย่างหายาก
  • ไม่มีตลาดรองรับ

แนวทางการแก้ปัญหา

  • พรีออเดอร์
  • หาแหล่งตลาดใหม่ ๆ เช่นตลาดออนไลน์
  • จัดทำโปรโมชั่นที่น่าสนใจ
  • จัดทำบรรจุภัณฑ์สินค้าให้น่าสนใจ
  • บรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่สามารถเก็บรักษาได้นานขึ้น

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  • มียอดขายเพิ่มขึ้น
  • สินค้าเก็บได้นานยิ่งขึ้น
  • ส่งเสริมอาชีพให้กับชุมชน

วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2564

อาจารย์ธิดารัตน์  คีมกระโทก อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานประจำตำบลบ้านสิงห์ทุกท่าน และตัวแทนชุมชนในแต่ละหมู่บ้านเข้าร่วมการอบรม ณ ศาลาประชาคม บ้านหนองบัวราย  ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เรื่อง “การทำลูกประคบสมุนไพร”เป็นการนำสมุนไพรพื้นบ้านชนิดต่าง ๆ มาใช้ ประโยชน์ทางการรักษาโรค โดยมี ดร.วิริญรัชญ์ สื่อออก สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นวิทยากรในการอบรมครั้งนี้ ลูกประคบโดยทั่วไปมีพืชสมุนไพรเป็นส่วนประกอบหลัก 3 ชนิด ได้แก่ ไพล ขมิ้นชันและตะไคร้ อาจผสมสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ลูกประคบสมุนไพรมีอยู่ ด้วยกันหลายสูตรทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสรรพคุณที่ต้องการ

 

วัสดุอุปกรณ์

  • ผ้าดิบ หรือผ้าฝ้าย ขนาด 40 x 40
  • เชือกยาว 200 เซนติเมตร
  • ภาชนะสำหรับผสมสมุนไพร
  • เครื่องช่าง

ในการอบรมครั้งนี้ใช้สมุนไพรแห้ง (สามารถนำสมุนไพรสดไปตากหรืออบให้แห้งตาย)

  • ไพร 400 กรัม
  • ขมิ้นชัน 100 กรัม
  • ตะไคร้ 200 กรัม
  • ผิวมะกรูด 100 กรัม
  • ใบมะขาม 100 กรัม
  • ใบส้มป๋อย 50   กรัม
  • การบูร 30   กรัม
  • พิมเสน 30   กรัม
  • เกลือ 60   กรัม

วิธีทำ

  • บดหรือทุบสมุนไพรแห้งพอหยาบ
  • ชั่งส่วนผสม 100 กรัม วางลงบนผ้า
  • ผสมส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน
  • ห่อผ้าและมัดเชือกให้แน่น
  • บรรจุลูกประคบไว้ในถุงเก็บในที่แห้งสามารถเก็บได้ 1 ปี

การเก็บรักษาลูกประคบ

  • เก็บไว้ในที่แห้ง ไม่มีฝุ่น
  • สำหรับลูกประคบสมุนไพรสด สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้ 2-3 วัน

การใช้งาน

  • สำหรับลูกประคบแห้ง ควรพรมน้ำบนลูกประคบก่อนนำไปนึ่ง
  • นำลูกประคบที่ได้ไปนึ่งในหม้อนึ่ง ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที

สิ่งที่ได้เรียนรู้

การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมงาน เป็นปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จ ที่ต้องได้รับความร่วมมือของทุกคน การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก เพราะจะช่วยให้ทุกคนในทีมสามารถปฏิบัติงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข อย่างเข้าใจบทบาทและหน้าที่ของตนเอง ซึ่งจะทำให้ผลงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ผู้นำมีหน้าที่ในการบอกวัตถุประสงค์ในการทำงานร่วมกันให้ชัดเจน สอนงาน สั่งงาน อำนวยการ พร้อมทั้งติดตามควบคุมการทำงานของทีมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้งยินดีรับฟังพร้อมทั้งให้คำแนะนำและให้การสนับสนุนช่วยเหลือ มีความสามารถทางด้านการสื่อสาร มีความสามารถในด้านการบริหารหรือการจัดการ มีความสามารถในด้านการเจรจา ต่อรองและแก้ปัญหาเฉพาะได้อย่างดีเยี่ยม มีน้ำใจไมตรีต่อกัน และเห็นความสําเร็จของทีมจะเกิดขึ้นได้ด้วยตัวเราเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ

แผนการปฏิบัติงาน

          ดำเนินงานอย่างรอบคอบ ครอบคลุมถึงการกำหนดหัวข้อที่ต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงการพัฒนาตัวเองในสิ่งใหม่ ๆ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน และสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างทันถ่วงที อาจประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการทำงาน  การจัดอันดับความสำคัญของเป้าหมาย

ลิงก์วิดีโอของตำบล

https://www.youtube.com/watch?v=fva7UjlMbxM

 

 

 

อื่นๆ

เมนู