1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS03 - ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง
  4. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการทำขนม ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ HS03 เรื่อง อบรมการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร และการให้ความรู้ด้านภูมิปัญญาพื้นบัาน ครั้งที่ 10

ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการทำขนม ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ HS03 เรื่อง อบรมการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร และการให้ความรู้ด้านภูมิปัญญาพื้นบัาน ครั้งที่ 10

ข้าพเจ้า นายปริญญา ไทยสืบชาติ ( ประเภทกลุ่มประชาชน ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ) หลักสูตรการส่งเสริมอาชีพและการพัฒนาขนม ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

        ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19)ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศ รับเปิดประเทศ ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เป็นวันที่ประเทศไทยเปิดประเทศจึงทำให้เศรษฐกิจในแต่ละพื้นที่มีความครึกครื้นในการจับจ่ายใช้สอย แต่ยังคงต้องดูแลตนเองอย่างระมัดระวังจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เพราะในการดำเนินชีวิตประกอบกับการไปออกนอกสถานที่ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ จึงจำเป็นต้องดำเนินการตามมาตรการของจังหวัดซึ่งอาจผ่อนปรนในหลายมาตรการ และสามารถทำให้การลงพื้นที่ในการดำเนินงาน ประกอบกับการได้ฉีดวัคซีนทั้ง 2 เข็มตามมาตรการของจังหวัดบุรีรัมย์จึงทำให้เกิดความกังวลน้อยลง

        ประเด็นที่น่าสนใจ การอบรมการขอมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ คือ การขอ อย. และการขึ้นทะเบียน otop และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และนักวิชาการสาธารณสุข การติดตามการลงบันทักข้อมูลระบบจัดเก็บข้อมูล U2T ระบบจัดเก็บข้อมูล U2T จะเข้ามาอํานวยความสะดวกในการจัดเก็บข้อมูลที่มี ความเฉพาะเจาะจงกับแต่ละพื้นที่หรือแต่ละสาขา  การเสวนาออนไลน์ผ่านระบบ Zoom ในหัวข้อ เรื่อง “Quadruple Helix : จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” ติดตามการวิเคราะห์ข้มมูลโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตําบล (U2T) เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง หรือจุดอ่อนของตําบลนั้น ๆ พร้อมสร้างแผนพัฒนา เพื่อยกระดับ เศรษฐกิจและสังคม ระบบที่สามารถอํานวยความสะดวกในการบันทึก ข้อมูลองค์ความรู้ต่าง ๆ จัดอบรมการทำลูกประคบสมุนไพร เป็นภูมิปัญญาไทยที่มีมาแต่ โบราณ เป็นการนำสมุนไพรพื้นบ้านชนิดต่าง ๆ มาใช้ ประโยชน์ทางการรักษาโรค

 

ในวันที่ 22 ตุลาคม 2564 ได้มีการอบรมการขอมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ คือ การขอ อย. และการขึ้นทะเบียน otop และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และนักวิชาการสาธารณสุข เวลา 13.30-16.00 น. และมอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานประสานกลุ่มที่แปรรูปขนมและกลุ่มที่จักสาน หรือผลิตภัณฑ์ที่สนใจอยากพัฒนา โดยตัวแทนหมู่บ้านละ 2 และให้กลุ่มบัณฑิตไปจัดสถานที่ศาลากลางหมู่บ้านหนองบัวราย

        โดยรายละเอียดมีนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ เป็นวิทยากรเพื่อให้ความรู้ การรวมกลุ่มอาชีพ เป็นการรวมตัวของชาวบ้านที่ประกอบอาชีพเดียวกัน ดำเนินกิจกรรมด้านอาชีพ กิจกรรมการผลิต และจำหน่ายอย่างต่อเนื่องโดยมีคณะกรรมการดำเนินงานของกลุ่ม ที่เน้นกระบวนการ การสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ในแต่ละหมู่บ้าน ชุมชน หรือตำบล เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้แต่ละชุมชน ได้นำทรัพยากร ภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการคุณภาพที่มีจุดเด่น และมูลค่าเพิ่มเป็นที่ต้องการของตลาด สอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิต ของท้องถิ่น โดยยึดหลักการพึ่งตนเองของชุมชน

        และมีผู้ที่สนใจที่นำผลิตภัณฑ์ของตนเองและของชุมชน มาร่วมรับฟังเป็นจำนวนมากเนื่องจากสนใจที่จะรับฟังนำความรู้เพื่อไปต่อยอดในการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น ผลิตภัณฑ์ขนมกล้วยทอด ขนมบ่าบิ่น มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนข้อกำหนดคุณลักษณะของ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยชุมชน มีภูมิปัญญาท้องถิ่น และเอกลักษณ์เฉพาะ อยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และเป็นที่ ยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้อง

ประโยชน์ของการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

  • ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดีขึ้น มีความปลอดภัย
  • ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสม่ำเสมอ
  • ผู้ซื้อ ผู้บริโภค และผู้เกี่ยวข้องตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
  • สร้างความเชื่อมั่น และความน่าเชื่อถือ
  • เพิ่มโอกาสทางการค้า ผู้ผลิตเข้าถึงตลาดได้ง่ายขึ้น

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรอง มผช.

  • เงื่อนไขของผู้ยื่นขอ เป็นผู้ผลิตในชุมชน ไม่เป็นผู้แอบอ้าง หรือทำการผลิตแอบแฝง และมีคุณสมบัติ

– บุคคลทั่วไป

– กลุ่มผู้ผลิตชุมชน (ขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานราชการ/วิสาหกิจชุมชน หรือ

– นิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบการ OTOP

  • ผลิตภัณฑ์ที่ยื่นขอ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในรายชื่อมาตรฐาน มผช. ทั้ง 5 ประเภท (http://tcps.tisi.go.th/public/StandardList.aspx) และต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ควบคุมที่ เกี่ยวข้องก่อน เช่น ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข กรมสรรพสามิต
  • ยอมรับการปฏิบัติตามข้อกำหนดทั่วไปในการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ และการรับรองคุณภาพ ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
  • ยื่นคำขอต่อหน่วยรับรองตามแบบคำขอที่กำหนด (สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดบุรีรัมย์)

เมื่อผู้ขอได้รับการรับรองต้อง

  • รักษาระบบการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรอง ตลอดระยะเวลาที่ได้รับการรับรอง และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรอง มผช.
  • นำใบรับรอง มผช. และเครื่องหมาย มผช. ไปใช้อ้างอิงได้เฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ได้รับ การรับรองเท่านั้น
  • ยุติการใช้ใบรับรอง และเครื่องหมาย มผช. เมื่อสิ้นอายุการรับรอง หรือ ในทันทีที่มีการ พักใช้ หรือยกเลิก หรือเพิกถอนการรับรอง
  • จัดเตรียมเอกสารหลักฐาน และข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการร้องเรียนผลิตภัณฑ์
  • แจ้งให้หน่วยรับรองทราบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เช่น เปลี่ยนผู้ติดต่อ ประสานงาน เปลี่ยนชื่อนิติบุคคล ย้านสถานที่ ปรับกระบวนการทำที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์

การต่ออายุใบรับรอง

  • ให้ยื่นขอใหม่ล่วงหน้า 120 วัน ก่อนที่ใบรับรองจะสิ้นอายุ (หากมีความประสงค์ขอต่ออายุใบรับรอง)
  • หน่วยรับรองจะดำเนินการตามกระบวนการรับรอง มผช.

การสิ้นอายุใบรับรอง

  •  ใบรับรองครบอายุ 3 ปี
  •  ผู้ได้รับการรับรองขอยกเลิกการรับรอง
  • ผู้ได้รับการรับรองเลิก หรือถูกสั่งให้เลิกประกอบกิจการ
  • มาตรฐานมีการแก้ไข ใบรับรองจะมีอายุ 1 ปี นับแต่วันที่มาตรฐาน ใหม่มีผลบังคับใช้
  • มาตรฐานมีการยกเลิก
  • ผลิตภัณฑ์ที่ตรวจติดตามผลไม่เป็นไปตามมาตรฐาน 2 ครั้ง ติดต่อกัน

การตรวจสุขลักษณะการผลิต

  1. สถานที่ตั้งอาคารที่ทำและบริเวณโดยรอบ สะอาด ไม่มีน้ำขังแฉะ ไม่สกปรก
  2. เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการทำมีความสะอาด ปราศจากเชื้อโรค
  3. การควบคุมกระบวนการทำ วัตถุดิบและส่วนผสมในการทำความสะอาด
  4. การสุขาภิบาล การบำรุงรักษา การทำความสะอาด – น้ำใช้ต้องสะอาดและเพียงพอมีวิธีป้องกันและกำจัดสัตว์นำเชื้อ
  5. บุคลากรและสุขลักษณะของผู้ทำต้องรักษาความสะอาดส่วนบุคคล เช่น เสื้อผ้าสะอาด มีผ้าคลุมผม ไม่ไว้เล็บยาว ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนทำ/หลังการใช้ห้องสุขา

 

        ต่อมา นักวิชาการสาธารณสุข ให้ความรู้เกี่ยวกับ สถานที่ผลิตอาหารแปรรูป ที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย ตามมาตรฐาน Primary GMP

โดยให้ความสำคัญในทุกขั้นตอน หัวใจ 3 ประการ ของการผลิตอาหารที่ปลอดภัย

  • ลดอันตรายเบื้องต้น คัดเลือกวัตถุดิบ ส่วนผสมที่มีคุณภาพดี ใช้ภาชนะบรรจุที่สะอาด และมีการล้างทำความสะอาดรวมทั้งผลิตในสถานที่ที่มี สภาพแวดล้อมที่ดีและเครื่องมือ อุปกรณ์ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อน
  • ลด/ยับยั้ง-ทำลายเชื้อจุลินทรีย์ ใช้ความร้อนฆ่าเชื้ออย่างเพียงพอ
  • ป้องกันการปนเปื้อนซ้ำ โดยการปฏิบัติงานอย่างถูกสุขลักษณะ แยกระหว่างของสุก และของดิบ

สถานที่ตั้งและอาคารผลิต

  1. สถานที่ตั้งตัวอาคารและที่ใกล้เคียง ต้องอยู่ในที่ ๆ จะไม่ทำให้อาหารเกิดการปนเปื้อนได้ง่าย
  2. อาคารผลิตหรือบริเวณผลิตต้อง รักษาความสะอาดและรักษาให้ อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต

  1. ออกแบบเครื่องมือเครื่องใช้ที่เหมาะสม และคำนึงการปนเปื้อนที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งทำความสะอาดได้ง่าย
  2. ภาชนะหรืออุปกรณ์ในการผลิตที่สัมผัส กับอาหาร ต้องทำจากวัสดุที่ไม่ทำ ปฏิกิริยากับอาหารและง่ายต่อการทำ ความสะอาด หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย
  3. โต๊ะหรือพื้นผิวที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตในส่วนที่สัมผัสกับอาหาร ต้องทำด้วย วัสดุที่ไม่เกิดสนิม ทำความสะอาดง่าย มีความสูงที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานหรือมี มาตรการในการป้องกันการปนเปื้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

การควบคุมกระบวนการผลิต

  1. วัตถุดิบ ส่วนผสมในการผลิตอาหาร ต้องมีการคัดเลือกให้อยู่ใน สภาพที่สะอาด มีคุณภาพ
  2. การดำเนินการระหว่าง ผลิตอาหาร มีการขนย้ายวัตถุดิบ ส่วนผสม ภาชนะบรรจุ และบรรจุภัณฑ์ในลักษณะที่ไม่เกิดการปนเปื้อน
  3. ผู้ผลิตมีขั้นตอนและวิธีการในการควบคุมกระบวนการผลิตเป็นไป อย่างเคร่งครัด
  4. น้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตที่สัมผัสกับอาหารต้องเป็นน้ำที่สะอาด
  5. น้ำแข็งใช้ในกระบวนการผลิตที่สัมผัสกับอาหาร สะอาด มีคุณภาพมาตรฐานตาม ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
  6. การผลิต เก็บรักษา ขนย้าย และขนส่งผลิตภัณฑ์อาหารต้องป้องกันการปนเปื้อนและ กันการเสื่อมสลายของอาหารและภาชนะบรรจุด้วย

การสุขาภิบาล

  1. น้ำที่ใช้ภายในสถานที่ผลิต ต้องเป็นน้ำสะอาดและจัดให้มีการปรับคุณภาพน้ำ ตามที่จำเป็น
  2. จัดให้มีภาชนะรองรับขยะมูลฝอยที่มีฝาปิดในจำนวนที่เพียงพอ และ มี ระบบกำจัดขยะมูลฝอยที่เหมาะสม
  3. จัดให้มีห้องส้วมและอ่างล้างมือหน้าห้องส้วมให้เพียงพอสำหรับผู้ปฏิบัติงาน และต้องถูกสุขลักษณะ มีอุปกรณ์ล้างมือครบถ้วน ใช้งานได้ สะอาด และต้องแยกต่างหากจากบริเวณที่ผลิตหรือไม่เปิดสู่บริเวณผลิตโดยตรง
  4. จัดให้มีอ่างล้างมือในบริเวณผลิตให้เพียงพอ ใช้งานได้ สะอาด และมีอุปกรณ์ล้างมืออย่างครบถ้วน
  5. การจัดการระบายน้ำทิ้งและสิ่งโสโครกอย่างมีประสิทธิภาพ

การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด

  1. ตัวอาคารสถานที่ผลิตต้องทำความสะอาดและรักษา ให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะอย่างสม่ำเสมอ
  2. เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการผลิต มีการ ทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมออยู่ในสภาพที่ใช้งานได้
  3. การจัดเก็บสารเคมีทำความสะอาดหรือสารเคมีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาสุขลักษณะ ต้องแยกให้เป็น สัดส่วน ปลอดภัย พร้อมมีการแสดงป้ายชื่อ

บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน

  1. ผู้ปฏิบัติงานในบริเวณผลิตอาหารไม่มีบาดแผล ไม่เป็นโรคหรือพาหะของโรคตามที่ระบุใน กฎกระทรวง หรือมีบาดแผลมี่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของผลิตภัณฑ์
  2. ผู้ปฏิบัติงานทุกคนที่ทำหน้าที่สัมผัสอาหาร ต้องสวมเสื้อผ้าที่สะอาด สวมหมวก หรือ ผ้าคลุมผมหรือตาข่าย, มีมาตรการการจัดการรองเท้าที่ใช้ในการผลิตที่เหมาะสม ไม่สวมเรื่องประดับ พร้อมทั้งล้างมือและดูแลเล็บมือให้สะอาด อยู่เสมอ
  3. แสดงคำเตือน ห้ามหรือป้องกันมิให้บุคคลแสดงพฤติกรรมอันน่ารังเกียจในการผลิตอาหาร
  4. วิธีการหรือข้อปฏิบัติสำหรับผู้ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตที่มีความจำเป็นต้องเข้าไปให้ปฏบัติตามมาตราการ

 

วันที่ 25 ตุลาคม 2564 ติดตามการลงบันทักข้อมูลระบบจัดเก็บข้อมูล U2T ระบบจัดเก็บข้อมูล U2T จะเข้ามาอํานวยความสะดวกในการจัดเก็บข้อมูลที่มี ความเฉพาะเจาะจงกับแต่ละพื้นที่หรือแต่ละสาขา โดยเน้นความยืดหยุ่นและ ความสะดวกต่อการลงพื้นที่ให้มากที่สุด คุณลักษณะของระบบ มีดังนี้ • สามารถบันทึกและจัดเก็บข้อมูลหลากหลายแขนงได้โดยสะดวก รองรับอุปกรณ์หลากหลายขนาด ทั้งบนระบบปฏิบัติการ iOS Android Windows เป็นต้น • สามารถบันทึกและจัดเก็บข้อมูลได้ครบถ้วน ตรงตามแบบฟอร์ม ที่ถูกกําหนดไว้ • สามารถเรียกดูประวัติข้อมูลที่แต่ละผู้ปฏิบัติงานบันทึกไว้ ด้วยตนเองได้ • สามารถแก้ไข เพิ่มเติม หรือลบข้อมูลที่ตนเองเป็นผู้บันทึกได้รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลชมชช

        การจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งน้ำในชุมชน การเก็บแบบสอบถามเพิ่มเติม หมู่บ้านหนองสองห้อง หมู่ที่ 13 ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยการทำแบบสอบถามในด้านต่าง ๆ ของแบบฟอมร์ ได้แก่ เกษรตกรในชุมชน สุขภาพ ความเป็นอยู่ในชุมชน  รายได้ ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน เพิ่มเติม เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง หรือจุดอ่อนของชุมชนนั้น ๆ และเป็นแนวทางการวางแผนพัฒนา เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคม ในการเก็บข้อมูลเบื้องต้นในชุมชน จากการสอบถามข้อมูลชุมชนและพบว่าข้อมูลการจัดการแหล่งน้ำในชุมชน มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่อยู่ในชุมชนซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำที่ใช้อุปโภค และมีการจัดการน้ำโดยผู้นำชุมชน เมื่อทราบข้อมูลการจัดการน้ำของชุมชนน ก็สามารถนำมาพัฒนานาปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน โดยมีผู้นำชุมชนเป็นผู้ขับเคลื่อนและวางแผนเพื่อให้มีนำใว้ใช้ตลอดทั้งปี

        ประชาชนส่วนใหญ่ดูแลสุขภาพตนเองตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขกำหนด และมีการประเมินตนเอง คอยสังเกตอาการเบื้องต้นของคนในครอบครัวเมื่อมีอาการต่าง ๆ พื่อป้องกันการรับเชื้อและแพร่เชื้อให้กับคนในครอบครัว และลดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVD 19) ในชุมชนด้วย และได้สอบถามในอีกหลายประเด็นคือการป้องกันตนเองเป็นอย่างไร ส่วนใหญ่คนในชุมชนตอบเป็นเสียงเดียวกันว่ามาตการการป้องกันตนเองจะใช้วิธีเหล่านี้

  1. ล้างมือบ่อย ๆ โดยใช้สบู่และน้ำ หรือเจลล้างมือที่มีส่วนผสมหลักเป็นแอลกอฮอล์
  2. รักษาระยะห่างที่ปลอดภัยจากผู้ที่ไอหรือจาม
  3. สวมหน้ากากอนามัยเมื่อเว้นระยะห่างไม่ได้
  4. ไม่สัมผัสตา จมูก หรือปาก
  5. ปิดจมูกและปากด้วยข้อพับด้านในข้อศอกหรือกระดาษชำระเมื่อไอหรือจาม

 

วันที่ 28 ตุลาคม 2564 ได้เข้าร่วมการเสวนาออนไลน์ผ่านระบบ Zoom ในหัวข้อ

เรื่อง “Quadruple Helix : จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” วิทยากรผู้เข้าร่วมเสวนา ดังนี้

  1. นายคำเดื่อง ภาษี ประธานปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์
  2. นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา นายกเทศมนตรีตำบลอีสาณ
  3. นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้า จังหวัดบุรีรัมย์
  4. รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาท เนืองเฉลิม จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดี คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์

ดำเนินเสวนาโดย อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายพันธกิจชุมชนสัมพันธ์ และภูมิทัศน์

มีวัตถุประสงค์ดังนี้

  1. เพื่อเผยแพร่ผลงานด้านการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งทำมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน
  2. เพื่อที่จะประสานเครือข่ายชุมชนที่คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้ลงพื้นที่ทำงานร่วมกับประชาชน เพื่อขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาชุมชนต่อไป

        การจัดเสวนาชุมชนในครั้งนี้ก็เนื่องจากเป็นการสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ที่กำลังจะเข้าสู่รับการประเมินผลงาน ซึ่งเป็นการสนองงานตามนโยบายของการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนเป็นนโยบายขององค์การสหประชาชาติในเรื่องของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และมหามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์มีความพร้อมในการเข้ารับการประเมิน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้ดำเนินการกิจกรรมพัฒนาชุมชนให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน อย่างต่อเนื่อง คำว่า Quadruple Helix : จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน เป็นคำที่กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัย และนวัฒตกรรมได้ใช้ในการดำเนินการนโยบาย เรื่องพลิกโฉมมหาวิทยาลัย ซึ่งสอดคล้องกับองค์การสหประชาชาติ จตุรภาคีสี่ประสานเชื่อมกันก็จะนำไปสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน จตุรภาคีสี่ประสานดังกล่าวคือ

  1. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  2. ชุมชน และวัด
  3. หน่วยงานเอกชน
  4. หน่วงงานราชการ

          SDGs คือ หลังจากเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ ( Millennium Development Goals – MDGs ) ซึ่งต้องการเสริมสร้างมาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน องค์การสหประชาชาติ จึงจัดทำเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals –SDGs) ทั้งหมด 17 ข้อ มุ่งหวังจะช่วยแก้ปัญหาที่โลกกำลังเผชิญอยู่ เช่น ความยากจน ความไม่เท่าเทียม สภาวะโลกร้อน และสันติสุข เพื่อเสริมแนวคิด “ ไม่เป็นการทิ้งใครไว้ข้างหลัง” คาดว่าจะทำสำเร็จได้ภายในปี 2030 คือเป้าหมาย SDGs 17 ข้อ ที่สหประชาชาติ ที่ทั่วโลกจะทำให้ได้ภายในปี 2030 ซึ่งหลายประเทศก็ได้ออกวิสัยทัศน์เชิงนโยบายหลายแบบ ทั้งญี่ปุ่นกับ Society 5.0 , ประเทศไทย 4.0 และ Smart Nation ของสิงคโปร์ เป็นต้น ในการเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ได้ความรู้เกี่ยวกับการประสานงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และองค์การสหประชาชาติใน เรื่องของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ทำงานร่วมกับประชาชน เพื่อขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาชุมชนต่อไป

 

วันที่ 29 ตุลาคม 2564 ประสานกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ต้องการเข้าร่วม ให้เตรียมอุปกรณ์ เช่น ผลิตภัณฑ์ที่กำลังทำอยู่ อุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการทำ เพื่อนำมาถ่ายรูปในการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์

วัตถุประสงค์ของการอบรม

  1. เพื่อให้ผู้ผลิตได้รับการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ให้มีความเหมาะสม มีความหลากหลาย เป็นที่ต้องการของตลาด เพิ่มมูลค่าและรายได้
  2. เพื่อพัฒนาชุมชนให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองในด้านการประกอบธุรกิจการค้า การบริหารจัดการด้วยตนเอง จนสามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการอื่น ๆ ได้อย่างยั่งยืน และเพิ่มอำนาจการต่อรอง ทั้งในลักษณะการรวมกลุ่มผู้ผลิต การรวมกลุ่มจำหน่าย ตลอดจนการสร้างจุดแข็งในด้านคุณภาพ ราคาและการคัดแยกเกรดสินค้าตามมาตรฐานคุณภาพ เป็นการเรียนรู้และเพิ่มทักษะด้านการตลาด
  3. เพื่อประชาสัมพันธ์สินค้า ผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น OTOP ผลิตภัณฑ์แปรรูป ที่ผลิตได้มาตรฐานของตำบล ให้เป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้น
  4. เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาด เรียนรู้การบริหารจัดการด้านการตลาด ส่งผลให้มีรายได้

กลุ่มเป้าหมาย

       กลุ่มผู้ผลิตสินค้า ผู้ประกอบการสินค้า ผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP) ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากชุมชน

แนวทางการดำเนินงานต่อยอด

  • จัดประชุม ระหว่างผู้ผลิต/ผู้ประกอบการสินค้า ผลิตภัณฑ์ ฯลฯ ตัวแทน เพื่อเป็นการเปิดโอกาส ให้มีการจับคู่ทางธุรกิจ และประชุมปรึกษาหารือ ข้อเสนอแนะ เพื่อส่งเสริมสินค้า ผลิตภัณฑ์ในรูปแบบ ต่าง ๆ เช่นเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ การตลาด แกกลุ่มผลิตสินค้า ฯ ให้มีมาตรฐานสากลและ ตอบสนองความต้องการของตลาด และผู้บริโภค
  • จัดอบรม เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ฯ ได้รับความรู้เพิ่มพูนทักษะ ความสามารถในการดำเนินการธุรกิจด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการตลาด การบริหารจัดการด้านการตลาดแบบเชิงรุก
  • เพื่อเชื่อมโยงการตลาด โดยการจำหน่ายจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ การประชาสัมพันธ์การจำหน่ายผลผลิตในรูปการตกแต่งสถานที่จำหน่าย  และสื่อประชาสัมพันธ์อื่น ๆ ให้แก่ผลิตภัณฑ์ประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์ทางสื่อออนไลน์ ไทรทัศน์ และวิทยุ หนังสือ เป็นต้น จึงทำให้เกิดเพจ https://www.facebook.com/บ้านสิงห์-ของดีบอกต่อ-111144401364423/

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการสินค้า OTOP ที่สำคัญของตำบล มีรายได้เพิ่มขึ้น
  2. สินค้าที่ผลิตตรงกับความต้องการของตลาด ยกระดับคุณภาพ รูปแบบและมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ และช่วยให้ผลผลิตของตำบล เป็นที่รู้จักและยอมรับของตลาดทั้งภายในชุมชน และต่างพื้นที่
  3. มีการเชื่อมโยงการผลิตและการตลาด เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ ตำบล ให้กว้างขวางขึ้น สร้างรายได้เข้าสู่ชุมชนเพิ่มขึ้น และมีการเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิต และการตลาดที่เข้มแข็งเป็นรูปธรรม มีการบูรณาการกิจกรรม โครงการและงบประมาณร่วมกัน โดยกลุ่มผู้ผลิตในท้องถิ่นร่วมเป็นเครือข่ายพันธมิตรทางด้านการผลิตและการค้า มีการแบบเปลี่ยนความรู้ ข่าวสารความคิดเห็น และสามารถขยายตลาดของสินค้า ช่วยให้ประชาชนในชนบท มีงานทำ มีรายได้เพิ่มขึ้น
  4. เป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของตำบล ให้แพร่หลาย มียอดการสั่งซื้อเพิ่มหลังเสร็จสิ้นโครงการ ฯ โดยต่อเนื่อง ส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำทั้งในการผลิตเป็นอาชีพหาและอาชีพเสริม

 

วันที่ 8 – 11 พฤศจิกายน 2564 ติดตามการวิเคราะห์ข้มมูลโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตําบล (U2T) โครงการ U2T รวบรวมผู้ปฏิบัติงาน ร่วมกับประชาชน เพื่อลงพื้นที่ทํางานชุมชนพร้อมกัน เช่น การจัดทําข้อมูลชุมชนในมิติต่าง ๆ ได้แก่ สุขภาพ ความเป็นอยู่ การศึกษา รายได้ และการเข้าถึงบริการภาครัฐ เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง หรือจุดอ่อนของตําบลนั้น ๆ พร้อมสร้างแผนพัฒนา เพื่อยกระดับ เศรษฐกิจและสังคม ระบบที่สามารถอํานวยความสะดวกในการบันทึก ข้อมูลองค์ความรู้ต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งสําคัญ ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานลงพื้นที่ สามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ในแต่ละชุมชนได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น โดย ข้อมูลต่าง ๆ จะถูกนําไปจัดเก็บยังระบบบริหารจัดการข้อมูล ขนาดใหญ่ เพื่อนําไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

โดยการเก็บข้อมูลตัวอย่างข้างต้น ได้จากการนำข้อมูลจาก CBD เข้าสู่ G-Map    ทั้งนี้ แต่ละตำบล เลือกเพียง  3 หัวข้อจาก 10 หัวข้อ ใน CBD มาทำ   (ทำมาในสไลด์เดียวกัน)

  1. วิเคราะห์ Pain point (SWOT, VROI หรือ เครื่องมือวิเคราะห์ ใดๆ ตามเหมาะสม)
  2. นำเสนอข้อมูลผ่าน Dash Board หรือ G-map

โดยมอบหมายการดำเนินงานดังนี้ กลุ่มประชาชน และกลุ่มนักศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับภูมปัญญาท้องถิ่น ได้ดังนี้

สานตะกร้าพลาสติก

  • ที่อยู่ บ้านหนองกง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
  • ตำแหน่ง  14.715455  /  102.761949
  • ประเภท ภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • ปัญหา วัสดุมีราคาแพง เครื่องใช้ โดยนำวัสดุวัสดุจากธรรมชาติมาใช้ในการจักสาน เช่น ไม้ไผ่ หญ้าแฝก  แต่ในปัจจุบัน ได้นำพาลสติกมาสานเพื่อความสะดวก และสร้างอาชีพได้ เพื่อให้เกิดความทันสมัย จึงทำให้ราคาสูง

แนวทางการแก้ใข

        การเสริมเหล็กโครงเพื่อให้เกิดความแข็งแรง และพลาสติกอาจต้องใช้ความร้อน เพื่อให้พลาสติกมีความอ่อนเพื่อจัดรูปทรง และความทันสมัย

การต่อยอดและพัฒนา

        ศักยภาพคนในชุมชน ที่มีความรู้ด้านการ ทอ สาน ซึ่งสามารถที่จะทำเป็นฟอนิเจอร์ ของใช้ในบ้าน เช่น กระเป๋าแฟชั่น ชั้นวางหนังสือ ตะกร้าผ้า โดยใช้โครงเหล็กเป็นแบบ เพื่อให้เกิดความแข็งแรง รวดลายที่เป็นเอกลักณ์ของชุมชน เพื่อเพื่มมูลค่า

ถักแห

  • ที่อยู่ บ้านหนองกง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
  • ตำแหน่ง  14.715167  /  102.760998
  • ประเภท ภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • ปัญหา  ราคาค่อนข้างถูก จำหน่ายเฉาะในชุมชน ปัญหาด้านสุขภาพ เครื่องใช้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องการสานแห เริ่มมาจากสมัยก่อนนั้น นายเหรียญ เข็มทอง เป็นครอบครัวภาคเกษตรกรรม มีการทำมาหากินตามธรรมชาติ จับปลาโดยใช้เป็ด ยกยอ และใช้แหเป็นเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำ เพื่อนำมาประกอบเป็นอาหารการกิน เลี้ยงดูครอบครัว

แนวทางการแก้ใข

        การหาตลาดเพื่อรองรับหรือกลุ่มลูกค้าที่เฉาะ เนื่องจากเป็นสินค้าที่จะขายได้ดีเป็นช่วง ๆ ของแต่ละปี สิ่งสำคัญการแก้ไขปัญหาคือต้องสร้างเครือข่ายเพื่อจำหน่ายสินค้า

การต่อยอดและพัฒนา

        – ส่งเสริมการเรียนเพื่อสืบสานภูมิปัญญารู้ในชุมชน

        – นำความรู้ไปเผยแผ่ให้กับผู้ที่สนใจ

ปลูกผักหวาน

  • ที่อยู่ บ้านหนองกง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
  • ตำแหน่ง  14.713814  /  102.764467
  • ประเภท ภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • ปัญหา การปลูกผักหวานต้นจะตายง่ายในพื้นที่ที่ดินไม่เหมาะสม อาหารธรรมชาติ  เนื่องจากการปลูกผักหวานเป็นผักที่มีการปลูกได้อยากมาก นางสมพงษ์ คงพลปาน จึงใช้วิธีการตัดรากผักหวานแล้วปล่อยทิ้งไว้ตามธรรมชาติก่อนนำมาปลูก โดยต้องปลูกให้ต้นผักหวานมีพี่เลี้ยงด้วย ซึ่งต้องปลูกไว้ข้างกัน

แนวทางการแก้ใข

        แก้ไขปัญหาเรื่องดิน ซึ่งสำคัญมากเนื่องจากผักหวานเป็นพืชที่เจริญเตินโตได้ยากมาก ต้องทำให้ดินมีความชื้น และปลูกในบริเวณใกล้เคียงกัน

การต่อยอดและพัฒนา

        สร้างการรับรู้ที่ถูกต้องเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน เช่นเดียวกับเศรษฐกิจพอเพียง หรือจะเป็นการปลูกผักชนิดอื่นที่เป็นพืชผลไม้ การเลี้ยงมดแมงจำหน่ายพร้อมผักหวานเพื่อเพิ่มมูลค่า

 

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 จัดอบรมการทำลูกประคบสมุนไพร เป็นภูมิปัญญาไทยที่มีมาแต่ โบราณ เป็นการนำสมุนไพรพื้นบ้านชนิดต่าง ๆ มาใช้ ประโยชน์ทางการรักษาโรค ลูกประคบโดยทั่วไปมีพืช สมุนไพรเป็นส่วนประกอบหลัก อย่างน้อย 3 ชนิด ได้แก่ ไพล ขมิ้นชันและตะไคร้ อาจผสมสมุนไพรชนิดอื่น ๆ เช่น ผิวมะกรูด ใบมะขาม การบูร พิมเสน โดยนำสมุนไพรมาบด และห่อด้วยผ้าดิบหรือผ้าฝ้าย แล้วมัดให้แน่นเป็นลูกกลม ๆ นำไปนึ่งให้อุ่น ๆ วางประคบตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ช่วย คลายกล้ามเนื้อ ลดการปวดเมื่อย นอกจากนี้กลิ่นของน้ำมัน หอมระเหยในสมุนไพร การบูรและพิมเสน ช่วยทำให้รู้สึก สดชื่น ผ่อนคลายความเครียด ลูกประคบสมุนไพรมีอยู่ ด้วยกันหลายสูตรทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสรรพคุณที่ต้องการ

วัสดุอุปกรณ์

  • ผ้าดิบ หรือผ้าฝ้าย ขนาด 40 x 40
  • เชือกยาว 200 เซนติเมตร
  • ภาชนะสำหรับผสมสมุนไพร
  • เครื่องชั่ง

ในการอบรมครั้งนี้ใช้สมุนไพรแห้ง (สามารถนำสมุนไพรสดไปตากหรืออบให้แห้งตาย)

  • ไพร 400 กรัม
  • ขมิ้นชัน 100 กรัม
  • ตะไคร้ 200 กรัม
  • ผิวมะกรูด 100 กรัม
  • ใบมะขาม 100 กรัม
  • ใบส้มป๋อย 50 กรัม
  • การบูร 30 กรัม
  • พิมเสน 30 กรัม
  • เกลือ 60 กรัม

วิธีทำ

  1. บดหรือทุบสมุนไพรแห้งพอหยาบ
  2. ชั่งส่วนผสม 100 กรัม วางลงบนผ้า
  3. ผสมส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน
  4. ห่อผ้าและมัดเชือกให้แน่น
  5. บรรจุลูกประคบไว้ในถุงเก็บในที่แห้งสามารถเก็บได้ 1 ปี

การเก็บรักษาลูกประคบ

  • เก็บไว้ในที่แห้ง ไม่มีฝุ่น
  • สำหรับลูกประคบสมุนไพรสด สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้ 2-3 วัน

การใช้งาน

  • สำหรับลูกประคบแห้ง ควรพรมน้ำบนลูกประคบก่อนนำไปนึ่ง
  • นำลูกประคบที่ได้ไปนึ่งในหม้อนึ่ง ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที

 

การเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน

       ผู้นำมีหน้าที่ในการบอกวัตถุประสงค์ที่จะต้องทำงานร่วมกันให้ชัดเจน ชี้นำ สอนงาน สั่งงาน อำนวยการ พร้อมทั้งติดตามควบคุมการทำงานของทีมเพื่อให้เกิดมีประสิทธิภาพ อย่างต่อเนื่อง ยินดีรับฟังและพร้อมให้การสนับสนุนช่วยเหลือ และมีความสามารถทางด้าน การสื่อสาร ต้องมีความสามารถในด้านบริหารหรือการจัดการ (วางแผน จัดองค์กร จัดคน เข้าทํางาน สั่งการหรืออำนวยการ และการควบคุม) ต้องมีความสามารถในด้านการเจรจา ต่อรองและแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างดีเยี่ยม สมาชิกมีจิตใจเปิดกว้างยอมรับการทำงานภายใต้ ความแตกต่างไม่ว่าจะเป็นสถานภาพ การศึกษา ความคิด และการกระทํา โดยมองความแตกต่าง เหล่านั้นอย่างมีคุณค่าในการนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง ต่องาน และต่อทีม มีน้ำใจไมตรีต่อกัน และเห็นความสําเร็จของทีมจะเกิดขึ้นได้ด้วยตัวเราเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ

อื่นๆ

เมนู