บทความประจำเดือน พฤศจิกายน ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) “บ้านหนองขาม” ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ในส่วนขอการจัดกิจกรรมในครั้งนี้เป็นไปตามมาตรการการป้องกัน โควิด ตามมาตรการของรัฐบาล อย่างเคร่งคัด

ข้าพเจ้า นายปริวัติ จำเนียรกูล กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตรการส่งเสริมอาชีพและการพัฒนาขนมไทย รับผิดชอบลงพื้นที่ในหมู่ 2 บ้านหนองขาม ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ในเดือน พฤศจิกายน นี้ ข้าพเจ้าได้วางแผนการทำงานและได้ทำการลงพื้นที่เพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูล ในพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ดังนี้

 

วันที่ 22 ตุลาคม 2564 นัดหมายการอบรมการขอมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ คือ การขอ อย. และการขึ้นทะเบียน otop และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และนักวิชาการสาธารณสุข เวลา 13.30-16.00 น. และมอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานประสานกลุ่มที่แปรรูปขนมและกลุ่มที่จักสาน หรือผลิตภัณฑ์ที่สนใจอยากพัฒนา โดยตัวตัวแทนหมู่บ้านละ 2 และให้กลุ่มบัณฑิตไปจัดสถานที่ศาลากลางหมู่บ้านหนองบัวราย โดยนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการกล่าวถึงการดำเนินงานและผลิตภัณฑ์ของคนในชุมชนผู้สนใจเข้ามารับฟังและนำความรู้เพื่อไปต่อยอดขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ประโยชน์ของการรับรองมาตรฐานในด้านต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์ต้องมีคุณภาพมีความปลอดภัยสร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือจึงจะผ่านเงื่อนไขของการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ผู้ต้องขอได้รับการรับรองต้องดำเนินการอย่างไรการต่ออายุเมื่อได้รับการรับรองแล้วจนถึงการรักษาสุขลักษณะการผลิตของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นสถานที่อาคารเครื่องมือเครื่องใช้บุคลากรในลักษณะผู้ต้องทำความสะอาดส่วนบุคคล นักวิชาการสาธารณสุข ให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่การผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่ายตามมาตรฐาน   ส่วนในระหว่าง วันที่ 22 ตุลาคม 2564 – 11 พฤศจิกายน 2564 ได้มีการประชุมผ่านระบบออนไลน์ ในเรื่องต่าง ๆ การอบรมการขอมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ คือ การขอ อย. และการขึ้นทะเบียน otop และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และนักวิชาการสาธารณสุข การติดตามการลงบันทักข้อมูลระบบจัดเก็บข้อมูล ติดตามการวิเคราะห์ข้มมูลโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตําบล (U2T) เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง หรือจุดอ่อนของตําบลนั้น ๆ พร้อมสร้างแผนพัฒนา เพื่อยกระดับ เศรษฐกิจและสังคม ระบบที่สามารถอํานวยความสะดวกในการบันทึก ข้อมูลองค์ความรู้ต่าง ๆ จัดอบรมการทำลูกประคบสมุนไพร เป็นภูมิปัญญาไทยที่มีมาแต่ โบราณ เป็นการนำสมุนไพรพื้นบ้านชนิดต่าง ๆ มาใช้ ประโยชน์ทางการรักษาโรค วันที่ 25 ตุลาคม 2564 ติดตามการลงบันทักข้อมูลระบบจัดเก็บข้อมูล U2T ระบบจัดเก็บข้อมูล U2T จะเข้ามาอํานวยความสะดวกในการจัดเก็บข้อมูลที่มี ความเฉพาะเจาะจงกับแต่ละพื้นที่หรือแต่ละสาขา โดยเน้นความยืดหยุ่น และ ความสะดวกต่อการลงพื้นที่ให้มาก เพื่อให้การทำงานออกมามีประสิทธิภาพมากที่สุด

วันที่ 28 ตุลาคม 2564 ได้เข้าร่วมการเสวนาออนไลน์ผ่านระบบ Zoom ในหัวข้อ เรื่อง “Quadruple Helix : จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” การจัดเสวนาชุมชนในครั้งนี้ก็เนื่องจากเป็นการสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ที่กำลังจะเข้าสู่รับการประเมินผลงาน ซึ่งเป็นการสนองงานตามนโยบายของการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนเป็นนโยบายขององค์การสหประชาชาติในเรื่องของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และมหามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์มีความพร้อมในการเข้ารับการประเมิน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้ดำเนินการกิจกรรมพัฒนาชุมชนให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน อย่างต่อเนื่อง วันที่ 29 ตุลาคม 2564 ประสานกลุ่มที่ต้องการเข้าร่วม ให้เตรียมอุปกรณ์ เช่น ผลิตภัณฑ์ที่กำลังทำอยู่ อุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการทำ เพื่อนำมาถ่ายรูปในการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ จัดอบรม เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับผู้ผลิต ผู้ประกอบการฯ ได้รับความรู้เพิ่มพูนทักษะ ความสามารถในการดำเนินการธุรกิจด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการตลาด การบริหารจัดการด้านการตลาดแบบเชิงรุก เพื่อเชื่อมโยงการตลาด โดยการจำหน่ายจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เกตภัณฑ์ และสถานที่ท่องเที่ยว การประชาสัมพันธ์การ จำหน่ายผลผลิตในรูปการตกแต่งสถานที่จำหน่าย ด้วยป้ายคัดเอ้าท์ แผ่นผ้า และสื่อประชาสัมพันธ์อื่น ๆ ให้แก่ผลิตภัณฑ์ประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์ทางสื่อออนไลน์ เช่น ไทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือ เป็นต้น จึงทำให้เกิดเพจ https://www.facebook.com/บ้านสิงห์-ของดีบอกต่อ-111144401364423/  เป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของตำบล ให้แพร่หลาย มียอดการสั่งซื้อเพิ่มหลังเสร็จสิ้นโครงการ ฯ โดยต่อเนื่อง ส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำทั้งในการผลิตเป็นอาชีพหาและอาชีพเสริม วันที่ 8 – 11 พฤศจิกายน 2564 ติดตามการวิเคราะห์ข้มมูลโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตําบล (U2T) โครงการ U2T ร่วมกับประชาชน เพื่อลงพื้นที่ทํางานชุมชนพร้อมกัน เช่น การจัดทําข้อมูลชุมชนในมิติต่าง ๆ ได้แก่ สุขภาพ ความเป็นอยู่ การศึกษา รายได้ และการเข้าถึงบริการภาครัฐ เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง หรือจุดอ่อนของตําบลนั้น ๆ พร้อมสร้างแผนพัฒนา เพื่อยกระดับ เศรษฐกิจและสังคม ระบบที่สามารถอํานวยความสะดวกในการบันทึก ข้อมูลองค์ความรู้ต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งสําคัญ ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานลงพื้นที่ สามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ในแต่ละชุมชนได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น โดย ข้อมูลต่าง ๆ จะถูกนําไปจัดเก็บยังระบบบริหารจัดการข้อมูล ขนาดใหญ่ เพื่อนําไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป งานที่ผมได้รับมอบหมายในการลงสำรวจมี 2 อย่าง คือ

ขนมดอกจอก และ ขนมทองม้วน

ปัญหา ราคาขายค่อนข้างถูก วัตถุดิบและส่วนผสมมีมีราคาแพง

แนวทางการแก้ไข

การหาตลาดที่ส่งวัตถุดิบที่ถูกลง   การหาตลาดเพื่อรองรับหรือกลุ่มลูกค้าที่เฉพาะ เนื่องจากเป็นสินค้าที่จะขายได้ดีในช่วงวัยทำงานจึงมีการจัดทำรูปแบบขนมที่มีสีสันต่างๆ เพื่อ ให้ดูเข้าถึงได้ในทุกๆวัย

การต่อยอดและพัฒนา

ศักยภาพคนในชุมชน ที่มีความรู้ด้านการทำขนมไทยไห้เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน เพื่อเพิ่มมูลค่า และ หาตลาดรองรับที่กว้างขึ้นส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อขยายตลาด และ การเพิ่มความน่าสนใจให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้นในทุกช่วงวัยอายุ เพื่อขยายตลาดให้ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

     

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 จัดอบรมการทำลูกประคบสมุนไพร เป็นภูมิปัญญาไทยที่มีมาแต่ โบราณ เป็นการนำสมุนไพรพื้นบ้านชนิดต่าง ๆ มาใช้ ประโยชน์ทางการรักษาโรค ลูกประคบโดยทั่วไปมีพืช สมุนไพรเป็นส่วนประกอบหลัก อย่างน้อย 3 ชนิด ได้แก่ ไพล ขมิ้นชันและตะไคร้ อาจผสมสมุนไพรชนิดอื่น ๆ เช่น ผิวมะกรูด ใบมะขาม การบูร พิมเสน โดยนำสมุนไพรมาบด และห่อด้วยผ้าดิบหรือผ้าฝ้าย แล้วมัดให้แน่นเป็นลูกกลมๆ นำไปนึ่งให้อุ่น ๆ วางประคบตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ช่วย คลายกล้ามเนื้อ ลดการปวดเมื่อย นอกจากนี้กลิ่นของน้ำมัน หอมระเหยในสมุนไพร การบูรและพิมเสน ช่วยทำให้รู้สึก สดชื่น ผ่อนคลายความเครียด ลูกประคบสมุนไพรมีอยู่ ด้วยกันหลายสูตรทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสรรพคุณที่ต้องการ และได้มีการสอนนวดแผนไทย จากทีมแพทย์โรงพยาบาลนางรอง นำโดย หมอ ขนิษฐา จันทวี ที่มาให้ความรู้เกี่ยวกับการนวดแผนโบราณด้านต่างๆ แก่ตัวแทนชาวบ้านทั้ง 14 หมู่บ้านและยังสอนการนวดแผนโบราณแก่ชาวบ้านเพื่อไปใช้นวดผ่อนคลายความเหนื่อยล้า จากการทำงาน และสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน และ เกิดประโยชน์ต่อผู้มาเข้ารับการอบรมอีกด้วย

       

       

ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ณ ตลาดนัดเย็นสี่แยกบ้านหนองขามและตลาดนัดเย็นบ้านโคกไม้แดง

มีการกำหนดทางเข้าออกอย่างชัดเจน และมีการคัดกรองพนักงาน เจ้าหน้าที่ และผู้รับบริการ พร้อมทำสัญลักษณ์ให้กับผู้ที่ผ่านการคัดกรอง หากพบว่ามีอาการไข้หรือวัดอุณหภูมิได้ ตั้งแต่ 37.5 องศา เซลเซียสขึ้นไป ร่วมกับ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจ ลำบาก อย่างใดอย่างหนึ่ง และอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วย แนะนำไปพบแพทย์ทันทีและห้ามเข้าไปซื้อของในตลาด มีมาตรการให้ผู้ค้าและผู้ใช้บริการต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ใช้บริการ จัดให้มีที่ล้างมือด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์ ให้บริการแก่ผู้ค้าและผู้ซื้ออย่างเพียงพอ มีการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อโควิดตามช่องทางต่าง ๆ และสื่อสาร เน้นย้ำประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบกิจการเจ้าของร้าน/แผงในตลาด รวมถึงผู้ช่วยขายทั้งชาวไทยและแรงงาน ต่างด้าว ให้สังเกตอาการตนเอง หรือถ้าได้เดินทางไป หรือเกี่ยวข้องกับแหล่งที่เกิดการระบาด แนะนำให้ไป ตรวจคัดกรอง COVID-19 โดยเร็วที่สุด

ลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ หมู่ 2 บ้านหนองขาม ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ การเก็บข้อมูลครั้งนี้เป็นการเก็บข้อมูลสำหรับการทำเกษตร เกี่ยวกับพืช และ อาชีพของกลุ่มประชาชนในชุมชน เพื่อ ที่จะได้นำข้อมูลมาต่อยอดและพัฒนาอย่างยั่งยืน

 ปัญหาที่พบในการปฏิบัติงาน

– การดำเนินงานของโครงการมุ่งเน้นเพียงแค่การพัฒนาเฉพาะกลุ่มในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ บางชนิด ซึ่งการดำเนินงานของโครงการที่มุ่งเน้นในการเก็บแบบสอบถามเป็นหลัก

– ประประชนมีส่วนร่วมน้อยจึงทำไห้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการลดน้อยลงไม่ได้รับความสนหรือดึงดูดเพื่อมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนร่วมกันกับโครงการ

– เมื่อดำเนินเข้าไปเก็บแบบสอบสามในชุมชนช่วงหลังประชาชนเริ่มให้ความร่วมมือน้อยลงเพราะประโยชน์ที่ได้รับน้อยมาก

– เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินงานในด้านต่าง เช่น การรวมกลุ่มเพื่อทำความเข้าใจร่วมกันกับโครงการ

– ประชาชนส่วนใหญ่ไม่อยู่บ้านเนื่องจากเข้าสู่ช่วงการทำเกษตรและแบบสอบถามรายละเอียดมาก และหลายชุด ในชุดข้อมูลคล้ายกัน

สิ่งที่ได้เรียนรู้ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ

การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมทีม เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ ที่ต้องการดำเนินงานโดยความร่วมมือของทุกคน การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก เพราะจะช่วยให้ทุกคนในทีมสามารถปฏิบัติงาน ร่วมกัน อย่างเข้าใจบทบาทของตนเอง และทำให้ผลงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

จุดมุ่งหมายเดียวกัน ซึ่งจะทำให้การตัดสินใจและการทำงานมีทิศทางที่ชัดเจน และเป็นเอกภาพ ไม่ใช่แต่ละคน ต่างปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตน โดยไม่ทราบความต้องการและแผนงานของทีม ดังนั้น จำเป็นต้องจัดสรรเวลาในการกำหนดเป้าหมายการทำงานเป็นทีมร่วมกัน โดยการจัดประชุมทีมและหารือเรื่องเป้าหมายที่ได้รับจากผู้บังคับบัญชาหรือจากองค์กร และให้สมาชิกทีมได้มีโอกาสเสนอความคิดเห็น หาแนวทางการปฏิบัติ หาวิธีการทำงาน และทราบกำหนดงาน ตัวชี้วัดความสำเร็จ อุปกรณ์เครื่องมือสนับสนุน และเป้าหมาย ของงานโดยพร้อมเพรียงกันทั้งทีม เพื่อให้บรรลุเป้า

แผนการปฏิบัติงาน

  1. กำหนดเป้าหมายความสำเร็จในแบบของเราเอง

ความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นความสำเร็จในการทำงาน การเรียน หรืออะไรก็ตาม ไม่ได้จะต้องเป็นไปตามสิ่งที่คนอื่นคิดเสมอไป ความสำเร็จของเรา เราควรเป็นผู้กำหนดเป้าหมาย และเส้นทางการเดินทาง เพื่อที่เราจะสามารถบรรลุความสำเร็จของเราได้ เพราะว่าเป้าหมายเป็นสิ่งสำคัญ

       2. เวลาทำงาน คิดอะไรออกให้รีบจด

บางครั้งบางที ความคิดดี ๆ โผล่มา ไม่ว่าจะเป็นตอนขับรถ ก่อนนอน นั่งทานข้าวกลางวัน หากไม่รีบจดไว้ดีไม่ดีจะลืมเอาได้ บางครั้งเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการทำงาน การพกสมุดจดเล็ก ๆ ติดตัวไว้ หรือจะใช้แอปในโทรศัพท์มือถืออัดเสียงเอาไว้   

  1. มีความอดทนและขยันหมั่นเพียรในการทำงาน

          การมีความอดทนอดกลั้น เพียรพยายามในการทำงาน เป็นพลังที่จะส่งเสริมให้เราไปสู่ความสำเร็จได้ คือ อดทนต่อพฤติกรรมคำพูด อดทนต่อความเครียดความเหนื่อยในการทำงาน อดทนต่อสถานการณ์ที่เลวร้าย รู้จักปรับตัว และคิดหาทางแก้ไขปัญหาได้จะสามารถทำให้เราเผชิญปัญหาต่าง ๆ ได้ และประสบความสำเร็จในการทำงานและการใช้ชีวิตในที่สุด

  1. ไม่หยุดเรียนรู้พัฒนาตนเอง

การที่จะสามารถประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้ จะต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ไม่มีการหยุดนิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของบุคลิกการวางตัว การแต่งกาย พฤติกรรม วิธีการทำงาน ความเข้าใจในการทำงานในหน้าที่ของตนเอง วิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และการประเมินความสามารถของตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน อะไรที่เราควรเรียนรู้เพิ่มเติมก็ควรจะต้องค้นคว้าหาเวลาเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อเป็นการพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไป

  1. รู้จักบริหารเวลา 

จากคำกล่าวที่ว่า ทุกคนอาจมีทรัพยากรอื่นไม่เท่าเทียมกัน แต่ทุกคนมีทรัพยากร .เวลาวันละ 24 ชั่วโมง\ จะเกิดประโยชน์คุ้มค่าแค่ไหนขึ้นอยู่กับการรู้จักบริหารเวลาของแต่ละคน ..เวลาเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จแขนงที่สำคัญ … ทุกคนชอบพูดว่าเวลาเป็นของมีค่า แต่น้อยคนที่จะใช้เวลานั้นให้คุ้มค่าจริง ๆ คนที่ไม่เข้าใจถึงความสำคัญของเวลาเท่านั้นที่ชอบปล่อยให้เวลาล่วงไปอย่างว่างเปล่า ด้วยการไม่สนใจที่จะไขว่เรียนรู้ ฆ่าเวลาโดยไร้ประโยชน์ ความสำคัญของเวลา และการรู้จักบริหารเวลาการบริหารเวลาให้เป็นจะช่วยลดความไม่เป็นระเบียบในชีวิต เพิ่มความสุข และความสำเร็จให้แก่ตนเองและการทำ

 

 

อื่นๆ

เมนู