ดิฉันนางสาวพัชรียา ลามั่น  ประเภทนักศึกษา
หลักสูตร: การส่งเสริมและพัฒนาการทำขนมไทย
ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาลัย 1 ตำบล
(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)


              ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง ในช่วงเวลาที่ผ่านมาถือเป็นความท้าทายและเป็นบทพิสูจน์ครั้งสำคัญที่ประเทศไทยได้ข้ามผ่านอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ที่ได้แพร่ระบาดไปทั่วโลกโดยอาศัยการประสานความร่วมมือจากประชาชนทุกภาคส่วน พนักงานเจ้าหน้าที่ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่ร่วมดำเนินการและปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคตามที่ได้กำหนดไว้ประกอบกับอัตราผู้ได้รับวัคซีนป้องกันโรคที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ป่วยอาการรุนแรงและผู้เสียชีวิตมีจำนวนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ                                                                                                                                                                       อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังคงเน้นย้ำถึงเจตนารมณ์ที่จะผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้ให้ดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้การดำเนินกิจการและกิจกรรมของบุคคลและสถานที่ต่างๆ อยู่ภายใต้เงื่อนไขการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรค เพื่อรักษาสมดุลด้านความมั่นคงทางสาธารณสุขกับการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศและฟื้นฟูความเป็นอยู่ของประชาชนให้ใกล้เคียงกับภาวะปกติ

การปฏิบัติงานประจำเดือนพฤศจิกายน 

การอบรมการขอมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ คือ การขอ อย. และการขึ้นทะเบียน OTOP และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 

       ในวันที่ 22 ตุลาคม 2564 เวลา 13.30 – 16.00 นาฬิกา ณ ศาลาประชาคมบ้านหนองบัวลาย ได้มีการจัดอบรมการขอมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ (อย.) และการขึ้นทะเบียนสินค้า OTOP และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมการอบรม ได้แก่ ตัวแทนแต่ละหมู่บ้านจำนวน 2 คน กลุ่มนักศึกษา บัณฑิตจบใหม่และประชาชน โดยมีวิทยากรที่บรรยายการอบรม ได้แก่ นางภัทรวดี มักขุนทด ตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และนักวิชาการสาธารณสุขอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีรายละเอียดการอบรม ดังนี้

สถนที่ผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่ายตามมาตรฐาน Primary GMP

          มาตรฐาน Primary GMP คือ หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีขั้นต้น ในการผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย เพื่อควบคุมกระบวนการผลิตให้มีมาตรฐาน ลดและขจัดความเสี่ยงจากอันตรายที่อาจเกิดจากกระบวนการผลิต โดยหลักเกณฑ์ดังกล่าวครอบคลุมตั้งแต่อาคาร สถานที่ผลิต อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต การคัดสรรวัตถุดิบกระบวนการผลิต บุคลากร การจัดเก็บผลิตภัณฑ์จนกระทั่งการขนส่งผลิตภัณฑ์จนถึงมือผู้บริโภค โดยมีหลักการหัวใจที่สำคัญ 3 ประการได้แก่ ป้องกันการปนเปื้อนเบื้องต้น ลดยับยั้งทำลายจุลินทรีย์ก่อโรค และป้องกันการปนเปื้อนซ้ำหลังการแปรรูป ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 342) พ.ศ.2555 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษาอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่ายได้จำแนกเกณฑ์การตรวจสถานที่ออกเป็น 6 หมวด ดังนี้

หมวดที่ 1 สถานที่ตั้งและอาคารผลิต

  • สถานที่ตั้งตัวอาคารและที่ใกล้เคียงต้องอยู่ในที่ ๆ จะไม่ทำให้อาหารเกิดการปนเปื้อนได้ง่าย เช่น ไม่มีการสะสมสิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว ไม่มีสิ่งปฏิกูล ไม่มีฝุ่นควันมากผิดปกติ ไม่มีน้ำขังสกปรก และไม่มีคอกปศุสัตว์หรือสถานเลี้ยงสัตว์
  • อาคารผลิตหรือบริเวณผลิตต้องรักษาความสะอาดและรักษาให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ เช่น มีการระบายอากาศที่เหมาะสมสำหรับการปฏิบัติงาน สะอาด ถูกสุขลักษณะเป็นระเบียบ อาคารผลิตสามารถป้องกันการปนเปื้อนจากสัตว์ และแมลงเข้าสู่บริเวณผลิตหรือสัมผัสอาหาร

หมวดที่ 2 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต

  • ออกแบบเครื่องมือเครื่องใช้ที่เหมาะสม และคำนึงการปนเปื้อนที่อาจจะเกิดขึ้นรวมทั้งทำความสะอาดได้ง่าย 
  • ภาชนะหรืออุปกรณ์ในการผลิตที่สัมผัสกับอาหารต้องทำจากวัสดุที่ไม่ทำปฏิกิริยากับอาหารและง่ายต่อการทำความสะอาด หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย
  • โต๊ะหรือพื้นผิวที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตในส่วนที่สัมผัสกับอาหารต้องทำด้วยวัสดุที่ไม่เกิดสนิม ทำความสะอาดง่าย มีความสูงที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานหรือมีมาตรการในการป้องกันการปนเปื้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

หมวดที่ 3 การควบคุมกระบวนการผลิต

  • วัตถุดิบ ส่วนผสมในการผลิตอาหาร ต้องมีการคัดเลือกให้อยู่ในสภาพที่สะอาดมีคุณภาพ
  • การดำเนินการระหว่างผลิตอาหารมีการขนย้ายวัตถุดิบ ส่วนผสม ภาชนะบรรจุ และบรรจุภัณฑ์ในลักษณะที่ไม่เกิดการปนเปื้อน
  • ผู้ผลิตมีขั้นตอนและวิธีการในการควบคุมกระบวนการผลิตเป็นไปอย่างเคร่งครัด
  • น้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตที่สัมผัสกับอาหารต้องเป็นน้ำที่สะอาด
  • น้ำแข็งใช้ในกระบวนการผลิตที่สัมผัสกับอาหารสะอาด มีคุณภาพมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
  • การผลิต เก็บรักษา ขนย้าย และขนส่งผลิตภัณฑ์อาหารต้องป้องกันการปนเปื้อน และกันการเสื่อมสลายของอาหารและภาชนะบรรจุด้วย

หมวดที่ 4 การสุขาภิบาล

  • น้ำที่ใช้ภายในสถานที่ผลิตต้องเป็นน้ำสะอาดและจัดให้มีการปรับคุณภาพน้ำตามที่จำเป็น
  • จัดให้มีภาชนะรองรับขยะมูลฝอยที่มีฝาปิดในจำนวนที่เพียงพอ และมีระบบกำจัดขยะมูลฝอยที่เหมาะสม
  • จัดให้มีห้องส้วมและอ่างล้างมือหน้าห้องส้วมให้เพียงพอสำหรับผู้ปฏิบัติงาน และต้องถูกสุขลักษณะมีอุปกรณ์ล้างมือครบถ้วนใช้งานได้ สะอาด และต้องแยกต่างหากจากบริเวณที่ผลิตหรือไม่เปิดสู่บริเวณผลิตโดยตรง
  • จัดให้มีอ่างล้างมือในบริเวณผลิตให้เพียงพอใช้งานได้สะอาด และมีอุปกรณ์ล้างมืออย่างครบถ้วน
  • การจัดการระบายน้ำทิ้งและสิ่งโสโครกอย่างมีประสิทธิภาพ

หมวดที่ 5 การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด

  • ตัวอาคารสถานที่ผลิตต้องทำความสะอาด และรักษาให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะอย่างสม่ำเสมอ
  • เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการผลิตมีการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมออยู่ในสภาพที่ใช้งานได้
  • การจัดเก็บสารเคมีทำความสะอาดหรือสารเคมีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาสุขลักษณะต้องแยกให้เป็นสัดส่วนปลอดภัยพร้อมมีการแสดงป้ายชื่อ

หมวดที่ 6 บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน

  • ผู้ปฏิบัติงานในบริเวณผลิตอาหารไม่มีบาดแผล ไม่เป็นโรคหรือพาหะของโรคตามที่ระบุในกฎกระทรวง หรือมีบาดแผลมี่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของผลิตภัณฑ์
  • ผู้ปฏิบัติงานทุกคนที่ทำหน้าที่สัมผัสอาหารต้องสวมเสื้อผ้าที่สะอาด สวมหมวก หรือผ้าคลุมผมหรือตาข่าย มีมาตรการการจัดการรองเท้าที่ใช้ในการผลิตที่เหมาะสม ไม่สวมเรื่องประดับพร้อมทั้งล้างมือและดูแลเล็บมือให้สะอาดอยู่เสมอ
  • แสดงคำเตือนห้ามหรือป้องกันมิให้บุคคลแสดงพฤติกรรมอันน่ารังเกียจในการผลิตอาหาร
  • วิธีการหรือข้อปฏิบัติสำหรับผู้ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตที่มีความจำเป็นต้องเข้าไปให้ปฏิบัติตามมาตราการ

พนักงานที่สัมผัสกับอาหารต้องปฏิบัติ ดังนี้

    1. สะอาด

    2. สวมหมวกคลุมผม และผ้ากันเปื้อน

    3. ตัดเล็บให้สั้น งดทาเล็บ

    4. จัดรองเท้าที่ใช้ในโรงงานอย่างเหมาะสม

    5. ไม่สวมเครื่องประดับ น้ำหอม พกของใช้ส่วนตัว

การจัดตั้งกลุ่มอาชีพ พัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ OTOP 

            การตั้งกลุ่มอาชีพ คือ การรวมตัวของชาวบ้านที่ประกอบอาชีพเดียวกัน ดำเนินกิจกรรมด้านอาชีพ กิจกรมผลิต และจำหน่ายอย่างต่อเนื่องโดยมีคณะกรรมการดำเนินงานของกลุ่ม มีระเบียบข้อบังคับที่เน้นกระบวนการการสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ในแต่ละหมู่บ้าน ชุมชน หรือตำบล เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้แต่ละชุมชนได้นำทรัพยากรภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการคุณภาพที่มีจุดเด่น และมูลค่าเพิ่มเป็นที่ต้องการของตลาดสอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของท้องถิ่น โดยยึดหลักการพึ่งตนเองของชุมชน และรัฐพร้อมที่จะช่วยเหลือในด้านความรู้สมัยใหม่และการบริหารจัดการเชื่อมโยงสินค้าชุมชนสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยการบริหารจัดการกลุ่ม (5 ก.) ดังนี้

  • ก1 : กลุ่ม/สมาชิก ที่มีความสมัครใจพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการดำเนินงานของกลุ่ม
  • ก2 : กรรมการ ซึ่งได้รับมอบหมายและเป็นตัวแทนจากสมาชิกให้บริหารกลุ่ม
  • ก3 : กฎ กติกา ระเบียบข้อบังคับกลุ่ม เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกันระหว่างสมาชิกและคณะกรรมการ
  • ก4 : กองทุน ปัจจัย เงิน หรือเครื่องมือที่ทำให้กิจกรรมของกลุ่มดำเนินการได้และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่ม
  • ก5 : กิจกรรม เป็นสิ่งที่ร่วมกันปฏิบัติเพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน คือ ข้อกําหนดด้านคุณภาพที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นที่เชื่อถือเป็นที่ยอมรับ และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็ นไปตามมาตรฐานที่กําหนด และสอดคล้องกับนโยบาย OTOP โดยในแต่ละผลิตภัณฑ์ก็จะมีข้อกําหนดที่แตกต่างกันออกไป

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)

 

ขั้นตอนการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน

การเสวนาออนไลน์ผ่านระบบ Zoom ในหัวข้อ เรื่อง “Quadruple Helix : จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” 

             วันที่ 28 ตุลาคม 2564  เวลา 09.00 – 12.00 นาฬิกา ได้เข้าร่วมงานเสวนาออนไลน์ เรื่อง Quadruple Helix จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ผ่านระบบออนไลน์ Zoom โดยมีนายชมพู อิสรียาวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายพันธกิจชุมชนสัมพันธ์และภูมิทัศน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รับหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการเสวนาในครั้งนี้ โดยมีวิทยากรผู้ร่วมเสวนาดังนี้

      1. นายคำเดื่อง ภาษี ประธานกลุ่มปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบบุรีรัมย์

      2. รศ.ดร. ประสาท เนืองเฉลิม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

      3. นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้าจังหวัดบุรีรัมย์

      4. นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทธา นายกเทศบาลมนตรีตำบลอีสาน

      5. รศ.ดร. อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

           จากการเสวนาเรื่อง Quadruple Helix จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ได้เสวนาในหัวข้อเรื่อง SDGs เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs สหประชาชาติให้แนวคิด การทำอย่างไรให้การศึกษาเท่าเทียมกัน เท่าเทียม (Equality) ความเสมอภาค (Equality) โดยใช้แนวคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สหประชาชาติพูดถึง Sustainable Development Goals หรือ การพัฒนาอย่างยั่งยืนมี 3 มิติ คือ

  • มิติที่ 1 เรื่องสังคม Society  เช่น วิถีการใช้ชีวิต สังคมไทย ทางความคิด ทางการศึกษาโดยการศึกษาจะเน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  • มิติที่ 2 สมรรถนะ (Competency)  เป็นปรัชญาของการเรียนการสอน เหล่านักศึกษาต้องไปอยู่กับสังคมในชุมชนหาปัญหาและแก้ปัญหาโดยตนเอง
  • มิติที่ 3 การหยุดชะงัก (Disruption) คือ โลกที่มันพันพรวนไม่สามารถกำหนดได้

 

การอบรมออกแบบการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์

            วันที่ 29 ตุลาคม 2564  เวลา 09.00 นาฬิกา ณ ศาลาประชาคมบ้านหนองบัวลาย ได้จัดกิจกรรมการอบรมการออกแบบการประชาสัมพันธ์โดยมีวิทยากรมาให้ความรู้ในการประชาสัมพันธ์ การเชื่อมโยงตลาดช่องทางการจำหน่าย การจัดระเบียบการตกแต่งผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจ เช่น การถ่ายภาพผลิตภัณฑ์ การจัดสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย เพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น OTOP พร้องทั้งเพิ่มช่องทางการตลาดให้เป็นที่รู้จักในพื้นที่ต่าง ๆ มากขึ้นโดยผู้ที่เข้าร่วมการอบรม คือ  กลุ่มผู้ผลิตสินค้าผลิตภัณฑ์แปรรูปจากชุมชน เช่น ขนมท้องม้วน ขนมบ้าบิ่น ขนมดอกจอก มะพร้าวเผา กล้วยฉาบ และกระเป๋าสาน 

            จากการอบรมพบว่าผลที่คาดว่าจะได้รับจากการเข้าร่วมอบรมการออกแบบการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ คือ มีการเชื่อมโยงการตลาดมากขึ้น มีช่องทางการตลาดที่หลากหลาย มีการประชาสัมพันธ์ทางสื่อออนไลน์ผ่าน Facebook โดยการสร้างเพจ บ้านสิงห์ – ของดีบอกต่อ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ที่แพร่หลายมากขึ้น 

เพจ Facebook บ้านสิงห์ – ของดีบอกต่อ

https://www.facebook.com/บ้านสิงห์-ของดีบอกต่อ-111144401364423/

 

ภาพผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการอบรม

 

 

การวิเคราะห์ข้อมูลโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตําบล (U2T) โครงการ U2T จากข้อมูล CBD

         วันที่ 8 – 11 พฤศจิกายน 2564 ได้เก็บรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลจาก CBD โดยมีกลุ่มประชาชนได้ลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหา SWOT และแนวทางการแก้ไข ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์เกี่ยวกับภูมิปัญญาในท้องถิ่นโดยใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ Pain point (SWOT, VROI หรือ เครื่องมือวิเคราะห์ใด ๆ ตามเหมาะสม) และนำเสนอข้อมูลผ่าน Dash Board หรือ G-map ได้แก่ ตะกร้าพลาสติก ถักแห และผักหวาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 

สานตะกร้าพลาสติก

  • ที่อยู่ บ้านหนองกง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
  • ตำแหน่ง 14.715455 / 102.761949
  • ประเภท ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ปัญหา

  • วัสดุมีราคาแพง 

แนวทางการแก้ใข

  • การเสริมเหล็กโครงเพื่อให้เกิดความแข็งแรง 
  • มีการใช้วัสดุที่ราคาปานกลางแต่มีคุณภาพ
  • มีการออกแบบลวดลายกระเป๋าให้ทันสมัยและหลากหลาย
  • มีการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายเพื่อการเพิ่มยอดขายสินค้า
ถักแห

  • ที่อยู่ บ้านหนองกง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
  • ตำแหน่ง  14.715167  /  102.760998
  • ประเภท ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ปัญหา 

  • ราคาค่อนข้างถูก 
  • การสานแหใช้เวลานาน

แนวทางการแก้ใข

  • การหาตลาดเพื่อรองรับหรือกลุ่มลูกค้าที่เฉพาะ เนื่องจากเป็นสินค้าที่จะขายได้ดีเป็นช่วง ๆ ของแต่ละปีโดยเฉพาะช่วงหน้าฝน พอถึงฤดูอื่น ๆ จึงทำให้ยอดขายตกลงจึงต้องมีตลาดเพื่อจำหน่ายสินค้าโดยเฉพาะ
  • มีการเพิ่มช่องทางการขายสินค้า เช่น ตลาดออนไลน์
ผักหวาน

  • ที่อยู่ บ้านหนองกง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
  • ตำแหน่ง  14.713814  /  102.764467
  • ประเภท ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ปัญหา

  • การปลูกผักหวานต้นจะตายง่ายในพื้นที่ที่ดินไม่เหมาะสม 
  • การขยายพันธุ์ทำได้ยาก
  • การกําจัดศัตรูพืช ผักหวานป่าสามารถอยูรอดได้ในสภาพธรรมชาติค่อนข้างลําบาก เพราะมีแมลงศัตรูรบกวนตั้งแต่ยังไม่งอกจากเมล็ดผลสุกที่หล่นจากต้นเป็นอาหารของสัตว์ป่า

แนวทางการแก้ใข

  • การเลือกพื้นที่ปลูก ควรเลือกพื้นที่ที่มีดินดี ไม่มีนํ้าท่วมขัง ดินดีที่เหมาะกับการปลูกผักหวานป่า ก็เหมือนกบพืชทั่วไปคือเป็นดินร่วนปนทราย ระบายนํ้าดี
  • การพรวนดินและกําจัดวัชพืช จากความจริงที่พบว่ารากผักหวานงอกใหม่ได้ ดังนั้นการพรวนดินและกำจัดวัชพืชจึงสามารถใช้จอบ เสียม พรวนดินให้ร่วนซุยได้ตามปกติ แต่การพรวนดินอาจก่อปัญหา หากมีฝนตกชุกจนดินที่พรวนอุ้มนํ้ามากจนอิ่มตัวเป็นแอ่งโคลนรากผักหวานป่าก็จะเน่าได้ง่ายเท่านั้นเอง
  • การคลุมโคนต้น เพื่อช่วยให้ดินชุ่มในฤดูแล้ง การคลุมโคนต้นด้วยเศษไม้ใบหญ้า หรือฟางข้าวช่วยลดระยะการให้นํ้าในฤดูแล้ง เมื่อเศษพืชยอยสลายจะเพิ่มธาตุอาหารและจุลินทรีในดินอีกทางหนึ่ง
  • การพรางแสง ดังที่กล่าวแล้ววาผักหวานป่าเป็นพืชต้องการร่มเงาของไม้อื่น หากปลูกในที่โล่งแจ้งการพรางแสงประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ด้วยตาข่ายเป็นเรื่องจําเป็นในระยะ 2 -3 ปีแรกของการปลูก เมื่อผักหวานโตพอแล้วก็ไม่จําเป็นอีกต่อไป

 

การอบรมการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร และการให้ความรู้ด้านภูมิปัญญาพื้นบ้าน

        ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 ได้เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมการการอบรมการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร และการให้ความรู้ด้านภูมิปัญญาพื้นบ้าน ณ ศาลาประชาคมบ้านหนองบัวลาย มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมการอบรม ได้แก่ ตัวแทนแต่ละหมู่บ้านจำนวน 2 คน กลุ่มนักศึกษา บัณฑิตจบใหม่และประชาชน โดยมีวิทยากรที่บรรยายการอบรม คือ อาจารย์จากสาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งในการอบรมครั้งนี้จะเป็นการสาธิตการทำลูกประคบและการนวดแผนไทย 

ลูกประคบสมุนไพร

 

วัสดุอุปกรณ์ (สำหรับลูกประคบ 10 ลูก)

  • ผ้าดิบ หรือผ้าฝ้าย ขนาด 40 x 40 เซนติเมตร
  • เชือก ยาว 200 เซนติเมตร
  • ภาชนะสำหรับผสมสมุนไพร
  • เครื่องชั่ง

ในสูตรนี้ใช้สมุนไพรแห้ง (สามารถนำสมุนไพรสดไปตากหรืออบให้แห้งได้)

 

วิธีการทำลูกประคบสมุนไพร (สำหรับลูกประคบ 10 ลูก)

การเก็บรักษาลูกประคบ

  • เก็บไว้ในที่แห้ง ไม่มีฝุ่น
  • สำหรับลูกประคบสมุนไพรสด สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้ 2-3 วัน

การใช้งาน

  • สำหรับลูกประคบแห้ง ควรพรมน้ำบนลูกประคบก่อนนำไปนึ่ง
  • นำลูกประคบที่ได้ไปนึ่งในหม้อนึ่ง ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที

สรรพคุณของสมุนไพรสำหรับทำลูกประคบ

กลุ่มน้ำมันหอมระเหย (ใช้อย่างน้อย 3 อย่าง)

ไพล           :    ช่วยลดอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก คลายกล้ามเนื้อ ฟกช้ำ บวม

ตะไคร้        :    แต่งกลิ่น ลดการฟกช้ำ ลดการปวดเมื่อย

ขมิ้นอ้อย     :    ช่วยลดการอักเสบ โรคผิวหนัง

ขมิ้นชัน       :    ช่วยลดการอักเสบ โรคผิวหนัง

ผิวมะกรูด    :    มีน้ำมันหอมระเหย แก้วิงเวียน

ผิวส้ม         :    บรรเทาลมวิงเวียน

ข่า             :    รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน

กลุ่มที่มีรสเปรี้ยว (กรดอ่อน ๆ)

ใบมะขาม     :    ช่วยให้เส้นเอ็นหย่อน แก้ผื่นคัน บำรุงผิว

ใบขี้เหล็ก    :    ช่วยละลายไขมันใต้ผิวหนัง ทำให้หลับสบาย

ใบส้มป่อย   :    บำรุงผิว ลดความดัน

กลุ่มสารที่มีกลิ่นหอม (จะระเหยมื่อถูกความร้อน)

การบูร        :    แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ

พิมเสน      :    แต่งกลิ่น ลดผิวผุผองผดผื่น บำรุงหัวใจ

เกลือ        :    ช่วยดูดความร้อน และช่วยให้ยาดูดซึมได้ดี

นวดแผนไทย 

นวดแผนไทย คือ การนวดชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นศาสตร์บำบัดและรักษาโรคแขนงหนึ่งของการแพทย์แผนไทย โดยจะเน้นในลักษณะการกด การคลึง การบีบ การดัด การดึง การอบ และประคบ ซึ่งรู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อ “นวดแผนโบราณ” ซึ่งไม่ใช่เพื่อรักษาความเจ็บปวดเท่านั้น แต่ยังดีต่อสุขภาพ และสามารถรักษาโรค เพราะการนวดจะส่งผลโดยตรงต่อร่างกายและจิตใจ โดยอาศัยการสัมผัสอย่างมีศิลปะ 

ข้อระวังสำหรับผู้ที่จะนวดแผนไทย 

  • สตรีมีครรภ์
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
  • ใส่อวัยวะเทียมหลังผ่าตัดกระดูก
  • ผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุน กระดูกบาง 
  • ผู้ที่เพิ่งรับประทานอาหารอิ่มใหม่ ๆ (ไม่เกิน 30 นาที) และก่อนให้บริการนวดไทย

ข้อห้ามในการนวด 

  • ห้ามนวดบริเวณที่เป็นมะเร็ง
  • ผู้ที่มีไข้สูงเกิน 38.5 องศา
  • บริเวณที่มีอาการอักเสบ บวม แดง ร้อน
  • ผู้ที่มีภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
  • กระดูกแตก หัก ปริ ร้าว ที่ยังไม่หายดี
  • โรคติดเชื้อทางผิวหนังทุกชนิด

 

สรุปผลการปฏิบัติงานเดือนพฤศจิกายน

จากการดำเนินการปฏิบัติงานประจำเดือนพฤศจิกายน เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานและคนในพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา 2019 จำนวนมากพอสมควรแล้ว จึงทำให้การปฏิบัติมีการลงพื้นที่มากขึ้น มีการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการเชื่อมโยงช่องทางการตลาด โดยได้มีวิทยากรมาให้ความรู้ในการถ่ายภาพประชาสัมพันธ์ให้เกิดความน่าสนใจ และได้เพิ่มช่องทางตลาดออนไลน์ ได้แก่ การสร้างเพจ Facebook ชื่อเพจบ้านสิงห์ – ของดีบอกต่อ ซึ่งจะมีแอดมินผู้ดูแลเพจในการลงโปรโมทผลิตภัณฑ์ของตำบลบ้านสิงห์ อาทิเช่น ขนมดอกจอก ขนมบ้าบิ่น กล้วยฉาบ มะพร้าวเผา กระเป๋าสาน และยังมีการนำข้อมูล CBD มาวิเคราะห์แหล่งน้ำในชุมชน อาหารในท้องถิ่น และภูมิปัญญาในท้องถิ่น เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหา SWOT และวิธีการแก้ไข สำหรับการเรียนรู้การอบรมการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร และการให้ความรู้ด้านภูมิปัญญาพื้นบ้าน คือการทำลูกประคบสมุนไพร ซึ่งเป็นภูมิปัญญาไทยที่มีมาแต่โบราณ เป็นการนำสมุนไพรพื้นบ้านชนิดต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ทางการรักษาโรคต่าง ๆ ช่วยคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดเมื่อย นอกจากนี้กลิ่นของน้ำมันหอมระเหยในสมุนไพร การบูร และพิมเสนช่วยทำให้รู้สึก สดชื่น ผ่อนคลายความเครียด และมีการสาธิตการนวดแผนไทย ผู้ปฏิบัติงานจะได้เรียนรู้ข้อควรระวังในการนวดทุกครั้งจะต้องมีการซักประวัติทุกครั้ง เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดจากการนวด เช่น ตั้งครรภ์ ผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุน หรือผู้ที่มีการผ่าตัดใส่อวัยวะเทียม ซึ่งข้อดีของการนวดจะช่วยให้เลือดลมไหลเวียนคล่อง เพื่อให้เลือดสามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ  ภายในร่างกายได้อย่างทั่วถึง ขับของเสีย ไม่ว่าจะเป็นทางน้ำเหลือง เพื่อไม่ให้มีการสะสมของเสียไว้ในร่างกาย สุขภาพก็ดีขึ้น แก้อาการปวดต่างๆ เช่น ปวดขัดยอก ปวดคอ ปวดหลัง ปวดสะโพก อาการชา เนื่องจากไหลเวียนเลือดไม่ดี เป็นต้น

 

 

 

อื่นๆ

เมนู