ชื่อผู้ปฏิบัติงาน นางสาวปัทมพร  ทุมทอง
ประเภท นักศึกษา
HS03 ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ผลการปฏิบัติงานประจำเดือน พฤศจิกายน 2564

วันที่ 22 ตุลาคม 2564

      เข้าร่วมอบรมการขอมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ คือ การขอ อย. และการขึ้นทะเบียน OTOP และมาตรฐาน มผช. โดยนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และนักวิชาการสาธารณสุข เวลา 13.30-16.00 น. ณ ศาลากลางบ้านหนองบัวลาย หมู่ 7 ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

   

       •ช่วงแรกเป็นการอบรมการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ พัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ OTOP โดย นางภัทรวดี มักขุนทด นักวิชาการพัฒนาชุมชนชานาญการ ทั้งนี้โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP ) มีความเป็นมาดังนี้รัฐบาลได้ดำเนินโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2544และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมทั่วทุกภูมิภาคทั่วประเทศ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการระดับประเทศในส่วนกลางและคณะกรรมการระดับ ภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

  1. สร้างงานและเพิ่มรายได้ให้แก่ชุ่มชน
  2. เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุ่มชน
  3. ส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
  4. ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  5. ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของชุมชน

ประเภทผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์

ที่จะนำมาดำเนินการลงทะเบียน ต้องผ่านกระบวนการผลิต โดยใช้ภูมิปัญญา จำนวน 5 ประเภท ดังนี้

  1. ประเภทอาหาร

   หมายถึง ผลผลิตทางการเกษตร และอาหารแปรรูป ซึ่งได้รับมาตรฐาน อย., GAP, GMP, HACCP, Qmark, มผช., มอก., มาตรฐานเกษตรอินทรีย์, ฮาลาล และมี บรรจุภัณฑ์ เพื่อการจาหน่ายทั่วไป แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

รูปเบื้องต้น

  1. ผลิตผลทางเกษตรที่ใช้บริโภคสด
  2. ผลิตผลทางการเกษตรที่เป็นวัตถุดิบ และผ่านกระบวนการแปร
  3. อาหารแปรรูปกึ่งสำเร็จรูป/สำเร็จรูป

2.ประเภทเครื่องดื่ม

  แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

  1. เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  2. เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอลเลย
  3. ประเภทผ้า เครื่องแต่งกาย
  4. ประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก
  5. ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ( มผช.)

“ข้อกำหนดคุณลักษณะของ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยชุมชน มีภูมิปัญญา ท้องถิ่นและเอกลักษณ์เฉพาะ อยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และเป็นที่ยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้อง”สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดบุรีรัมย์

ประโยชน์ของการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

  • ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดีขึ้น มีความปลอดภัย
  • ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสม่าเสมอ
  • ผู้ซื้อ ผู้บริโภค และผู้เกี่ยวข้องตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
  • สร้างความเชื่อมัน และความน่าเชื่อถือ
  • เพิ่มโอกาสทางการค้า ผู้ผลิตเข้าถึงตลาดได้ง่ายขึ้น

    •ช่วงที่สองอบรมกรณีศึกษาสถานที่ผลิตอาหารแปรรูป ที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย ตามมาตรฐาน :Primary GMP เป็นหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหารขั้นต้นเพื่อใช้บังคับกับอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะ พร้อมจําหน่าย ซึ่งได้แก่ กลุ่มอาหารพร้อมปรุงและอาหารสําเร็จรูปพร้อมบริโภคทันทีบางชนิด และกลุ่ม อาหารทั่วไป ทั้งนี้ไม่รวมอาหารดังกล่าวที่จําหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภคและที่ผลิตเพื่อจําหน่ายเป็น วัตถุดิบ เนื่องจากอาหารข้างต้นยังไม่ได้ถูกบังคับให้สถานที่ผลิตอาหารต้องปฏิบัติตามประกาศ กระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่193) หรือที่เรียกทั่วไปว่าGMP ทั่วไปซึ่งปัจจุบันบังคับใช้กับอาหาร 57 ประเภท สําหรับประโยชน์ที่ผู้ประกอบการผลิตอาหารตาม Primary GMP จะได้รับ คือ อาหารที่ผลิต สร้างความมั่นใจในคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัย เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค และสอดคล้องกับ กฎหมายไทย เพื่อส่งเสริมการค้าและเปิดตลาดจําหน่ายทั้งภายในและภายนอกประเทศ

หลักเกณฑ์ของ Primary GMP ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) มีการกําหนดเกณฑ์ ไว้ 6 ข้อคือ

  1. สถานที่ตั้งและการผลิต
  2. เครื่องมือและอุปกรณ์การผลิต
  3. การควบคุมกระบวนการผลิต
  4. การสุขาภิบาล
  5. การบํารุงรักษาและการทําความสะอาด
  6. บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน

หลักเกณฑ์วิธีการท่ีดีในการผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย

หัวข้อที่ 1 สถานที่ตั้งและอาคารผลิต

  1. สถานที่ตั้งตัวอาคารและที่ใกล้เคียง ต้องอยู่ในที่ที่จะไม่ให้อาหารเกิดการปนเปื้อนได้ง่าย
  2. อาคารผลิตหรือบริเวณผลิตต้อง รักษาความสะอาดและรักษาให้ อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ

หมวดที่ 1 คะแนนเต็ม = 11 คะแนน

หัวข้อที่ 2 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต

1.ออกแบบเครื่องมือเครื่องใช้ที่เหมาะสม และคำนึงถึงการปนเปื้อนที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งทำความสะอาดได้ง่าย

2.ภาชนะหรืออุปกรณ์ในการผลิตที่สัมผัส กับอาหาร ต้องทำจากวัสดุที่ไม่ทำ ปฏิกิริยากับอาหารและง่ายต่อการทำ ความสะอาด

3.โต๊ะหรือพื้นผิวที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตในส่วนที่สัมผัสกับอาหาร ต้องทำด้วย วัสดุท่ีไม่เกิดสนิม ทำความสะอาดง่าย มีความสูงที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานหรือมี มาตรการในการป้องกันการปนเปื้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

  หมวดที่ 2 คะแนนเต็ม = 6 คะแนน

หัวข้อที่ 3 การควบคุมกระบวนการผลิต

  1. วัตถุดิบ ส่วนผสมในการผลิตอาหาร ต้องมีการคัดเลือกให้อยู่ในสภาพที่สะอาด มีคุณภาพ ต้องล้างทาความสะอาดตามความจำเป็นเพื่อขจัดสิ่งสกปรก และต้องเก็บรักษาวัตถุดิบภายใต้สภาวะที่ป้องกันการปนเปื้อนโดยมีการเสื่อมสลายน้อยที่สุด และหมุนเวียนของวัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพ หากมีการใช้วัตถุเจือปนอาหารต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร
  2. การดำเนินการระหว่าง ผลิตอาหาร มีการขนย้ายวัตถุดิบ ส่วนผสม ภาชนะบรรจุ และบรรจุภัณฑ์ในลักษณะท่ีไม่เกิดการปนเปื้อน
  3. ผู้ผลิตมีขั้นตอนและวิธีการในการควบคุมกระบวนการผลิตเป็นไป ตามข้อกำหนดหรือตามความเหมาะสมของกระบวนการผลิตนั้นอย่างเคร่งครัด
  4. น้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตที่สัมผัสกับอาหารต้องเป็นน้ำที่สะอาด บริโภคได้ มีคุณภาพมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องน้ำบริโภค และการประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง น้ำแข็ง และการนำไปใช้ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ
  5. น้ำแข็งใช้ในกระบวนการผลิตที่สัมผัสกับอาหาร สะอาด มีคุณภาพมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง น้ำแข็ง และการนาไปใช้ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ
  6. การผลิต เก็บรักษา ขนย้าย และขนส่งผลิตภัณฑ์อาหารต้องป้องกันการปนเปื้อนและกันการเสื่อมสลายของอาหารและภาชนะบรรจุด้วย

   หมวดที่ 3 คะแนนเต็ม = 15 คะแนน

หัวข้อที่ 4 การสุขาภิบาล

  1. น้ำที่ใช้ภายในสถานที่ผลิต ต้องเป็นน้ำสะอาดและจัดให้มีการปรับคุณภาพน้ำตามที่จำเป็น
  2. จัดให้มีภาชนะรองรับขยะมูลฝอยที่มีฝาปิดในจานวนท่ีเพียงพอ และมี ระบบกำจัดขยะมูลฝอยที่เหมาะสม
  3. จัดให้มีห้องส้วมและอ่างล้างมือหน้าห้องส้วมให้เพียงพอสาหรับผู้ปฏิบัติงาน และต้องถูกสุขลักษณะ มีอุปกรณ์ล้างมือครบถ้วน ใช้งานได้ สะอาด และต้องแยกต่างหากจากบริเวณที่ผลิตหรือไม่เปิดสู่บริเวณผลิตโดยตรง
  4. จัดให้มีอ่างล้างมือในบริเวณผลิตให้เพียงพอใช้งานได้ สะอาด และมีอุปกรณ์ล้างมืออย่างครบถ้วน
  5. การจัดการระบายน้าท้ิงและสิ่งโสโครกอย่างมีประสิทธิภาพ

  หมวดที่ 4 คะแนนเต็ม = 13 คะแนน

หัวข้อที่ 5 การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด

  1. ตัวอาคารสถานที่ผลิต ต้องทำความสะอาดและรักษาให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะอย่างสม่ำเสมอ
  2. เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการผลิต มีการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมออยู่ในสภาพที่ใช้งานได้
  3. การจัดเก็บสารเคมีทำความสะอาดหรือสารเคมีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาสุขลักษณะต้องแยกให้เป็น สัดส่วน ปลอดภัย พร้อมมีการแสดงป้ายชื่อ

  หมวดที่ 5 คะแนนเต็ม = 5 คะแนน

หัวข้อที่ 6 บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน

  1. ผู้ปฏิบัติงานในบริเวณผลิตอาหารไม่มีบาดแผล ไม่เป็นโรคหรือพาหะของโรคตามที่ระบุใน กฎกระทรวง หรือมีบาดแผลมี่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของผลิตภัณฑ์
  2. ผู้ปฏิบัติงานทุกคนท่ีทำหน้าที่สัมผัสอาหาร ต้องสวมเสื้อผ้าที่สะอาด สวมหมวก หรือ ผ้าคลุมผมหรือตาข่าย, มีมาตรการการจัดการรองเท้าที่ใช้ในการผลิตที่เหมาะสม ไม่สวมเรื่องประดับ พร้อมทั้งล้างมือและดูแลเล็บมือให้สะอาด อยู่เสมอ
  3. แสดงคำเตือน ห้ามหรือป้องกันมิให้บุคคลแสดงพฤติกรรมอันน่ารังเกียจในการผลิตอาหาร

     4. วิธีการหรือข้อปฏิบัติสาหรับผู้ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตที่มีความจาเป็นต้องเข้าไปในบริเวณผลิต ต้องปฏิบัติตามข้อ 2 เมื่ออยู่ในบริเวณที่ผลิต
   หมวดที่ 6 คะแนนเต็ม= 10 คะแนน

วันที่ 26 ตุลาคม 2564

ลงพื้นที่เก็บข้อมูล ณ หมู่ 9 บ้านหนองจันทร์แดง  ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ 

     การเก็บข้อมูลครั้งนี้เป็นการเก็บข้อมูลสำหรับข้อมูลเกษตรกรและแหล่งน้ำในท้องถิ่น เพื่อที่จะได้นำข้อมูลมากรอกลงในระบบ CBD จาก สป.อว. ตามพื้นที่ที่ได้นับมอบหมาย

วันที่ 28 ตุลาคม 2564

       

 

 

       ได้เข้าร่วมการเสวนาออนไลน์ผ่านระบบ Zoom ในหัวข้อ เรื่อง “Quadruple Helix : จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน”

การจัดเสวนาชุมชนในครั้งนี้ก็เนื่องจากเป็นการสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ที่กำลังจะเข้าสู่รับการประเมินผลงาน ซึ่งเป็นการสนองงานตามนโยบายของการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนเป็นนโยบายขององค์การสหประชาชาติในเรื่องของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และมหามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์มีความพร้อมในการเข้ารับการประเมิน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้ดำเนินการกิจกรรมพัฒนาชุมชนให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน อย่างต่อเนื่อง

วันที่ 29 ตุลาคม 2564

      อบรมการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปขนมโครงการแปรรูปขนมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ณ ศาลากลางบ้านหนองบัวลาย หมู่ 7 ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

วิทยากรได้ให้ความรู้รายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น การสร้างเพจ Facebook การยิงแอดโฆษณา การสร้าง Content

       ระบบเศรษฐกิจ ของชุมชนท้องถิ่นที่สามารถพึ่งตนเอง มีการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน มีคุณธรรม และเป็นระบบ เศรษฐกิจที่เอื้อให้เกิดการพัฒนาด้านอื่นๆ ในพื้นที่ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม ผู้คน ชุมชน วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน ระบบเศรษฐกิจฐานรากหรือเศรษฐกิจชุมชน เป็นระบบเศรษฐกิจแนวราบที่ส่งผลและสร้างความสัมพันธ์ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมระหว่างผู้คนใน ชุมชนท้องถิ่น มิใช่เป็นเฉพาะเศรษฐกิจแนวดิ่งแบบปัจเจกแต่สามารถทาให้เกิดความร่วมมือ เกิดโอกาส และความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเศรษฐกิจร่วมของชุมชนกับเศรษฐกิจของปัจเจก เป็นระบบเศรษฐกิจที่มี ลักษณะความร่วมมือเป็นหุ้นส่วนสร้างความสัมพันธ์ทั้งในชุมชนท้องถิ่นและในระดับที่กว้างขวางอื่น

      ระบบฐานราก จะต้องมีแนวทางการพัฒนาและการจัดการโดยชุมชนท้องถิ่น ให้ครบ วงจรมากที่สุด มีการสร้างทุนและกองทุนที่เข้มแข็ง มีการผลิตพื้นฐาน การแปรรูป การบริการ การตลาด การผลิตอาหาร และความจาเป็นพื้นฐานเพื่อการดารงชีวิตต่างๆ สาหรับคนในพื้นที่อย่างพอเพียง และ พัฒนาเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมหรือธุรกิจของชุมชน (ในมิติของการเกื้อกูล เอื้อเฟื้อ การมีส่วนร่วมของคนใน ตาบล) ทั้งขนาดย่อมหรือขนาดใหญ่ขึ้น โดยใช้ทั้งความรู้ในที่สั่งสมในพื้นที่ หรือที่เป็นเอกลักษณ์ วัฒนธรรมของพื้นที่ และมีการพัฒนาให้ทันสมัย พร้อมกับมีเทคนิค วิทยาการและความรู้ เทคโนโลยี มาพัฒนาเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับตลาด หรือสังคมเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ทาให้ผู้คนและชุมชนท้องถิ่น โดยรวมสามารถพึ่งตนเอง มีรายได้มากกว่ารายจ่าย และสามารถพัฒนาเป็นผู้ผลิต ผู้สร้างงานบริการ ต่างๆ จากท้องถิ่นที่เข้มแข็ง สร้างสรรค์ หลากหลาย มีเอกลักษณ์ ทันสมัย และเชื่อมโยงกับระบบตลาด อย่างมีประสิทธิภาพโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด เป็นผู้ประสานงานและมีทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพระดับอำเภอซึ่งสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเป็นพี่เลี้ยงทำให้หมู่บ้านที่ได้รับการสนับสนุนมีอาชีพ มีผลิตภัณฑ์ชุมชนสามารถก้าวไปสู่สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) โดยเพิ่มช่องทางการขายสินค้าของคนในหมู่บ้านสร้างเพจ Facebook ชื่อเพจ ‘บ้านสิงห์ ของดีบอกต่อ’ เพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยการจัดทำบรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม ทันสมัย ถ่ายรูปสินค้าให้สวยงามน่าสนใจ ใช้คำโฆษณาสินค้าให้ทันสมัยทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน และควรนำเทคโนโลยีมาช่วยในการผลิตสินค้าเน้นความสะอาดและปลอดภัยต่อผู้บริโภค

วันที่ 13 พฤศจิกายน 2564

อบรมการทำลูกประคบและการนวดกดจุดเบื้องต้น ณ ศาลากลางบ้านหนองบัวลาย หมู่ 7 ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

      การนำลูกประคบสมุนไพรสดหรือสมุนไพรแห้ง นึ่งให้ร้อน และนำมาประคบตามส่วนต่างๆของร่างกาย ส่วนใหญ่มักนิยมประคบหลังจากการนวด การประคบสมุนไพรจะช่วยส่งเสริมการนวดไทยแบบราชสำนัก ให้ผลการรักษาดีขึ้น ทั้งจากตัวยาสมุนไพร และความร้อน การประคบสมุนไพรมีประโยชน์ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ช่วยลดอาการบวม บรรเทาการอักเสบของกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ในหญิงหลังคลอดช่วยลดอาการตึงคัดของเต้านมด้วย ช่วยลดอาการบวม อักเสบของกล้ามเนื้อ ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิต ลดอาการปวด

การทำลูกประจบสมุนไพร

วัสดุ-อุปกรณ์ (ได้ลูกประคบประมาณ 10 ลูก)

ผ้าดิบ หรือผ้าฝ้าย ขนาด 40 x 40 เซนติเมตร

•เชือก ยาว 200 เซนติเมตร

•ภาชนะสำหรับผสมสมุนไพร

•เครื่องชั่ง

ในสูตรนี้ใช้สมุนไพรแห้ง (สามารถนำสมุนไพรสดไปตากหรืออบให้แห้งได้)

  • ไพล 400 กรัม
  • ขมิ้นชัน 100 กรัม
  • ตะไคร้ 200 กรัม
  • ผิวมะกรูด 100 กรัม
  • ใบมะขาม 100 กรัม
  • ใบส้มป่อย 50 กรัม
  • การบูร 30 กรัม
  • พิมเสน 30 กรัม
  • – เกลือ 60 กรัม

วิธีการทำ

  1. บดหรือทุบสมุนพรแห้งพอหยาบ 
  2. ผสมส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน
  3. ชั่งส่วนผสม 100 กรัม วางลงบนผ้าห่อผ้าและมัดเชือกให้แน่น
  4. บรรจุลูกประคบไว้ในถุง เก็บในที่แห้ง สามารถเก็บได้ประมาณ 1 ปี

สมุนไพรสำหรับทำลูกประคบ ใช้สมุนไพรสดหรือแห้งก็ได้แต่ต้องไม่มีรา

กลุ่มน้ำมันหอมระเหย (ใช้อย่างน้อย 3 อย่าง)

ไพล-ช่วยลดอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก คลายกล้ามเนื้อ ลดอาการอักเสบ ฟกช้ำ บวม

ตะไคร้-แต่งกลิ่น ลดอาการฟกช้ำ ลดอาการปวดเมื่อย

ขมิ้นอ้อย-ช่วยลดอาการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง

ขมิ้นชัน-ช่วยลดอาการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง

ผิวมะกรูด-มีน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน (ถ้าไม่มีใช้ใบแทนได้)

ผิวส้ม-บรรเทาลมวิงเวียน

ข่า-รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน

⋅กลุ่มที่มีรสเปรี้ยว (กรดอ่อนๆ)⋅

ใบมะขาม-ช่วยให้เส้นเอ็นหย่อน แก้โรคผิวหนังผื่นคัน ช่วยบำรุงผิว

ใบขี้เหล็ก-ช่วยละลายไขมันใต้ผิวหนัง ทำให้หลับสบาย

ใบส้มป่อย-ช่วยบำรุงผิว แก้โรคผิวหนัง ลดความดัน

กลุ่มสารที่มีกลิ่นหอม จะระเหยเมื่อถูกความร้อน

การบูร-แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ

พิมเสน-แต่งกลิ่น ลดอาการพุพองผดผื่น บำรุง หัวใจ

เกลือ-ช่วยดูดความร้อน และช่วยพาให้ตัวยาซึม ผ่านผิวหนังได้ดีขึ้น

การเก็บรักษาลูกประคบ

•เก็บไว้ในที่แห้ง ไม่มีฝุ่น

•สำหรับลูกประคบสมุนไพรสด สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้ 3 – 5 วัน

การใช้งาน

•สำหรับลูกประคบแห้ง ควรพรมน้ำบนลูกประคบก่อนนำไปนึ่ง

•นำลูกประคบที่ได้ไปนึ่งในหม้อนึ่ง ใช้เวลานึ่งประมาณ 15 – 20 นาที

หลังจากอบรมวิธีการทำลูกประคบมีการสาธิตเกี่ยวกับการนวดแผนไทยโดยกลุ่มแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลนางรอง ให้กับชาวบ้าน และผู้ปฏิบัติงานเพื่อนำความรู้ไปใช้ในครัวเรือนหรือชีวิตประจำวันต่อไป

สรุปผลการปฏิบัติงาน

      ผลการปฏิบัติงานประจำเดือนพฤศจิกายน 2564 ในส่วนแรกเป็นการปฏิบัติงานออนไลน์ เนื่องด้วยเป็นสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 การปฏิบัติการและทำกิจกรรมต่างๆยังอยู่ภายใต้มาตราการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 หน้ากากอนามัยที่กระชับกับใบหน้าช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ที่สวมแพร่กระจายไวรัสไปยังผู้อื่น อย่างไรก็ตาม หน้ากากอนามัยเพียงอย่างเดียวป้องกันเชื้อโควิด-19 ไม่ได้ จึงควรรักษาระยะห่างและหมั่นทำความสะอาดมือร่วมด้วย รวมถึงปฏิบัติตามคำแนะนำจากหน่วยงานด้านสาธารณสุขในท้องถิ่น

อื่นๆ

เมนู