นางสาวรัตนาพร แก้วแจ่มจันทร์ กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ปฏิบัติงานประจำเดือนพฤศจิกายน 2564 ณ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร HS03 การส่งเสริมและพัฒนาขนมไทย

เนื่องจากสถาณการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าหรือโควิด-19 ที่กำลังระบาดในขณะนี้ แม้จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น มีผู้ติดเชื่อลดลงและรวมไปถึงการได้รับวัคซีนที่มากขึ้น การลงพื้นที่ปฏิบัติงานยังคงเป็นไปตามมาตราการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าอย่างเคร่งครัด ในการจัดอบรมทุกครั้งมีการสวมหน้ากากอนามัยอย่างเคร่งคัด

    การปฏิบัติงานเดือนพฤศจิกายน สืบเนื่องมาจากเดือนตุลาคม โดยมีการปฏิบัติงาน ดังนี้

    วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม 2564 อบรมการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ คือ การขอ อย. และการขึ้นทะเบียน OTOP และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และนักวิชาการสาธารณสุข ณ ศาลาประชาคมบ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ในช่วงแรกเป็นการอบรมในหัวข้อการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ พัฒนาสู่ผลิภัณฑ์ OTOP โดยได้รับเกียรติจาก คุณภัทรวดี มักขุนทด นักวิชาการพัฒนาชุมชนวิชาการ อำเภอนางรอง เป็นวิทยากรให้ความรู้และแนะนำการขึ้นทะเบียน OTOP แก่ผู้เข้าร่วมอบรม เนื้อหาคือ การรวมกลุ่มการที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปมารวมกัน โดยมีการติดต่อสัมพันธ์กันหรือปฏิสัมพันธ์กันและมีจุดมุ่งหมายที่จะกระทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกันและความสัมพันธ์นี้จะช่วยให้สมาชิกกลุ่มอยู่ร่วมกันได้ในระดับที่พอดี การจัดตั้งกลุ่มต้องมีการบริหารจัดการกลุ่มที่ดีโดยยึดหลัก 5 ก.
ก1 : กลุ่ม/สมาชิก ที่มีความสมัครใจพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการดำเนินงานของกลุ่ม
ก2 : กรรมการ ซึ่งได้รับมอบหมายและเป็นตัวแทนจากสมาชิกให้บริหารกลุ่ม
ก3 : กฎ กติกา ระเบียบข้อบังคับกลุ่ม เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกัน ระหว่างสมาชิกและคณะกรรมการ
ก4 : กองทุน ปัจจัย เงินหรือเครื่องมือ ที่ท าให้กิจกรรมของกลุ่มดำเนินการได้และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่ม
ก5 : กิจกรรม เป็นสิ่งที่ร่วมกันปฏิบัติเพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน

การนำกลุ่มอาชีพเข้าสู่ OTOP หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (One Tambon One Product : OTOP) ที่เน้นกระบวนการ การสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ในแต่ละหมู่บ้าน ชุมชนหรือตำบล เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้แต่ละชุมชน ได้นำทรัพยากรภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการคุณภาพที่มีจุดเด่นและมูลค่าเพิ่มเป็นที่ต้องการของตลาด สอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิต
ของท้องถิ่น โดยยึดหลักการพึ่งตนเองของชุมชน และรัฐพร้อมที่จะ ช่วยเหลือในด้านความรู้สมัยใหม่และการบริหารจัดการ เชื่อมโยงสินค้าชุมชนสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
(1) สร้างงานและเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน
(2) เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน
(3) ส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
(4) ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
(5) ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของชุมชน
   ประเภทผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
1. ประเภทอาหาร หมายถึง ผลผลิตทางการเกษตร และอาหารแปรรูป ซึ่งได้รับมาตรฐาน อย., GAP,
GMP, HACCP, Qmark, มผช., มอก., มาตรฐานเกษตรอินทรีย์, ฮาลาล และมีบรรจุภัณฑ์ เพื่อการจำหน่ายทั่วไป แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้   ผลิตผลทางเกษตรที่ใช้บริโภคสด ผลิตผลทางการเกษตรที่เป็นวัตถุดิบ ผ่านกระบวนการแปรรูปเบื้องต้น และอาหารแปรรูปกึ่งสำเร็จรูป/สำเร็จรูป

2.ประเภทเครื่องดื่ม แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์
3. ประเภทผ้า เครื่องแต่งกาย
4. ประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก
5. ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร

  มาตราฐานผลิตภํณฑ์ชุมชน (มผช.) ครอบคลุมผลิภัณฑ์ทั้ง 5 ประเภท โดยมีหน่วยรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน  คือสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.)

    ประโยชน์ของการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
• ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดีขึ้น มีความปลอดภัย
• ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสม่ำเสมอ
• ผู้ซื้อ ผู้บริโภค และผู้เกี่ยวข้องตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
• สร้างความเชื่อมัน และความน่าเชื่อถือ
• เพิ่มโอกาสทางการค้า ผู้ผลิตเข้าถึงตลาดได้ง่ายขึ้น

ในช่วงที่สองได้รับเกียรติจากนักวิชาการสาธารณสุขอำเภอนางรอง เป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับ สถานที่ผลิตอาหารแปรรูป ที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย ตามมาตรฐาน Primary GMP โดยให้ความสำคัญในทุกขั้นตอน หัวใจ 3 ประการ ของการผลิตอาหารที่ปลอดภัย คือ ลดอันตรายเบื้องต้น คัดเลือกวัตถุดิบ ส่วนผสมที่มีคุณภาพดี ใช้ภาชนะบรรจุที่สะอาด และมีการล้างทำความสะอาดรวมทั้งผลิตในสถานที่ที่มี สภาพแวดล้อมที่ดีและเครื่องมือ อุปกรณ์ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อน  ลด/ยับยั้ง-ทำลายเชื้อจุลินทรีย์ ใช้ความร้อนฆ่าเชื้ออย่างเพียงพอ และป้องกันการปนเปื้อนซ้ำ โดยการปฏิบัติงานอย่างถูกสุขลักษณะ แยกระหว่างของสุก และของดิบ

      สถานที่ตั้งและอาคารผลิต สถานที่ตั้งตัวอาคารและที่ใกล้เคียง ต้องอยู่ในที่ ๆ จะไม่ทำให้อาหารเกิดการปนเปื้อนได้ง่าย อาคารผลิตหรือบริเวณผลิตต้องรักษาความสะอาดและรักษาให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ

     เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต ออกแบบเครื่องมือเครื่องใช้ที่เหมาะสม และคำนึงการปนเปื้อนที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งทำความสะอาดได้ง่าย ภาชนะหรืออุปกรณ์ในการผลิตที่สัมผัสกับอาหาร ต้องทำจากวัสดุที่ไม่ทำปฏิกิริยากับอาหารและง่ายต่อการทำความสะอาด หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย โต๊ะหรือพื้นผิวที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตในส่วนที่สัมผัสกับอาหารต้องทำด้วยวัสดุที่ไม่เกิดสนิม ทำความสะอาดง่ายมีความสูงที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานหรือมีมาตรการในการป้องกันการปนเปื้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

     บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน  ผู้ปฏิบัติงานในบริเวณผลิตอาหารไม่มีบาดแผล ไม่เป็นโรคหรือพาหะของโรคตามที่ระบุในกฎกระทรวง หรือมีบาดแผลมี่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของผลิตภัณฑ์ผู้ปฏิบัติงานทุกคนที่ทำหน้าที่สัมผัสอาหาร ต้องสวมเสื้อผ้าที่สะอาด สวมหมวก หรือ ผ้าคลุมผมหรือตาข่าย, มีมาตรการการจัดการรองเท้าที่ใช้ในการผลิตที่เหมาะสม ไม่สวมเรื่องประดับ พร้อมทั้งล้างมือและดูแลเล็บมือให้สะอาด อยู่เสมอ แสดงคำเตือน ห้ามหรือป้องกันมิให้บุคคลแสดงพฤติกรรมอันน่ารังเกียจในการผลิตอาหาร วิธีการหรือข้อปฏิบัติสำหรับผู้ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตที่มีความจำเป็นต้องเข้าไปให้ปฏบัติตามมาตราการ

     วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม 2564 ลงพื้นที่เก็บข้อมูลลงในระบบ https://cbd.u2t.ac.th ณ หมู่ 10 บ้านหนองทะยิง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ การเก็บแบบสอบถามเพิ่มเติม โดยสรุปข้อมูลได้ดังนี้

  • ในแต่ละครัวเรือนมีการสำรวจประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนตลอดว่า เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือหากติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรงหรือไม่เช่นผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง เป็นต้น อีกทั้งยังมีการสำรวจว่าตนเองและบุคคลในครัวเรือนมีการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันมีความเสี่ยต่อการติดเชื้อ หรือเดินทางกลับจากที่เสี่ยงหรือไม่
  • มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกันหากพบว่ามีไข้ ร่วมกับมีไอ หรือมีอาการต่าง ๆ ที่เข้าข่ายเสี่ยงติดโรคโควิด-19 ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
  • มีการดูแลสุขอนามัยตลอดโดยการล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือน้ำสบู่ ทั้งก่อนปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งสกปรก และหลังกลับจากนอกบ้านทุกครั้ง
  • มีการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ และใช้ช้อนส่วนตัวในการรับประทานอาหาร
  • ส่วนใหญ่บุคคลในครัวเรือนจะแยกของใช้ส่วนตัวกัน เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า แต่ในบางครัวเรือนจะยังใช้แก้วน้ำร่วมกับคนในครัวเรือนอยู่
  • เมื่อกลับจากทำภารกิจหรือกิจกรรมนอกบ้านจะเปลี่ยนเสื้อผ้า ล้างมือ หรืออาบน้ำโดยทันที

    วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม 2564 ได้เข้าร่วมการเสวนาออนไลน์ผ่านระบบ Zoom ในหัวข้อ เรื่อง “Quadruple Helix : จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” วิทยากรผู้เข้าร่วมเสวนา ดังนี้

  1. นายคำเดื่อง ภาษี ประธานปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์
  2. นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา นายกเทศมนตรีตำบลอีสาณ
  3. นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้า จังหวัดบุรีรัมย์
  4. รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาท เนืองเฉลิม จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดี คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์

ดำเนินเสวนาโดย อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายพันธกิจชุมชนสัมพันธ์ และภูมิทัศน์

      วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม 2564อบรมการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ในชุมชนด้วยการตลาดออนไลน์ ณ ศาลากลาง หมู่บ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์  โดยได้รับเกียรติจากอาจารย์สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นวิทยากรในการให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมอบรมการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ในชุมชนด้วยการตลาดออนไลน์ โดยเริ่มจากการมอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานได้ช่วยกันสร้าง page ใน Facebook และการสร้าง Line @ และได้อบรมเทคนิควิธีที่ช่วยส่งเสริมการขายให้น่าสนใจ น่าซื้อมากยิ่งขึ้น   

         @448rjmed       https://www.facebook.com/NRbansing/

    หลังจากเรียนรู้การทำตลาดออนไลน์ ยังมีการสอนเทคนิคการถ่ายรูปสินค้าให้น่าสนใจ และการเพิ่มลายน้ำบนรูปภาพ

     วันที่ 10- 11 พฤศจิกายน 2564 ติดตามรวบรวมข้อมูลในระบบ cbd  ร่วมกับกลุ่มบัณฑิต เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนในมิติต่าง ๆ ได้แก่ สุขภาพ ความเป็นอยู่ การศึกษา รายได้ และการเข้าถึงบริการภาครัฐ เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง หรือจุดอ่อนของตําบลนั้น ๆ โดยการเก็บข้อมูลตัวอย่างข้างต้น ได้จากการนำข้อมูลจาก CBD เข้าสู่ G-Map    ทั้งนี้ แต่ละตำบล เลือกเพียง  3 หัวข้อจาก 10 หัวข้อ ใน CBD มา วิเคราะห์ Pain point (SWOT, VROI หรือ เครื่องมือวิเคราะห์ ใดๆ ตามเหมาะสม) และนำเสนอข้อมูลผ่าน Dash Board หรือ G-map โดยกลุ่มบัณฑิตได้แบ่งออกเป็น 2 ทีมคือ วิเคราะห์แหล่งน้ำและวิเคราะห์อาหาร 

    อาหารที่นำมาวิเคราะห์ข้อมูล มีดังนี้

ชื่ออาหาร : กล้วยฉาบแม่อารมณ์
ประเภทอาหาร / เครื่องดื่ม : อาหารหวาน
ชื่อร้านที่จำหน่าย / ผลิต : –
สถานที่จำหน่าย : บ้านหนองโคลน หมู่ 11 ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์
พิกัดที่จำหน่าย / ผลิต
Latitude : 14.73960655274309
Longitude : 102.81536795375432
มีที่จอดรถหรือไม่ : –
กำลังการผลิตต่อวัน : ผลิตตามออเดอร์
ส่วนผสมหลัก : กล้วยน้ำว้าดิบ น้ำมันพืช น้ำตาล ผงปาปิก้า

ชื่ออาหาร : ทองม้วน
ประเภทอาหาร / เครื่องดื่ม : อาหารหวาน
ชื่อร้านที่จำหน่าย / ผลิต : –
สถานที่จำหน่าย : บ้านหนองขาม หมู่ 2 ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์
พิกัดที่จำหน่าย / ผลิต
Latitude : 14.739605987173613
Longitude : 102.81536290880027
มีที่จอดรถหรือไม่ : –
กำลังการผลิตต่อวัน : ผลิตตามออเดอร์
ส่วนผสมหลัก : แป้งมันสำปะหลัง แป้งข้าวจ้าว น้ำตาลปี๊บ กระทิ ไข่ไก่ งาดำ เกลือ

ชื่ออาหาร : บ้าบิ่น
ประเภทอาหาร / เครื่องดื่ม : อาหารหวาน
ชื่อร้านที่จำหน่าย / ผลิต : –
สถานที่จำหน่าย : บ้านหนองม่วง ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์
พิกัดที่จำหน่าย / ผลิต
Latitude : 14.715459064230071
Longitude : 102.76169994077851
มีที่จอดรถหรือไม่ : –
กำลังการผลิตต่อวัน : ผลิตตามออเดอร์
ส่วนผสมหลัก : มะพร้าวทึนทึกขูด
แป้งข้าวเหนียว น้ำตาลทราย  
เกลือ กะทิ งาดำหรืองาขาว

ปัญหา
– มีระยะเวลาในการเก็บรักษาน้อย
– ใช้ต้นทุนในการผลิตสูง
– ได้กำไรน้อย
– วัตถุดิบบางอย่างหายากและมีราคาสูง
– ไม่มีตลาดรองรับ
– ยอดขายตกเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19

การแก้ไขปัญหา
– สั่งแบบพรีออเดอร์
– หาแหล่งตลาดใหม่ ๆ เช่นตลาดออนไลน์
– จัดโปรโมชั่นที่น่าสนใจ
– โพสต์ขายสินค้าให้มีความน่าสนใจ และดึงดูดลูกค้า

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
มียอดขายเพิ่มขึ้น เนื่องจากการทำตลาดออนไลน์ ส่งผลให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงสินค้าได้มากขึ้นและสะดวกในการติดต่อซื้อขาย

     วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2564 อบรมการทำลูกประคบสมุนไพร โดยได้รับเกียรติจาก ดร.สุกัญญา ทองขัน และ ดร.วิริญรัชญ์ สื่อออก อาจารย์สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม โดยมีเนื้อหาดังนี้ 

     วัสดุอุปกรณ์

  • ผ้าดิบ หรือผ้าฝ้าย ขนาด 40 x 40
  • เชือกยาว 200 เซนติเมตร
  • ภาชนะสำหรับผสมสมุนไพร
  • เครื่องช่าง

     ในการอบรมครั้งนี้ใช้สมุนไพรแห้ง (สามารถนำสมุนไพรสดไปตากหรืออบให้แห้งตาย)

  • ไพร 400 กรัม
  • ขมิ้นชัน 100 กรัม
  • ตะไคร้ 200 กรัม
  • ผิวมะกรูด 100 กรัม
  • ใบมะขาม 100 กรัม
  • ใบส้มป๋อย 50 กรัม
  • การบูร 30 กรัม
  • พิมเสน 30 กรัม
  • เกลือ 60 กรัม

     วิธีทำ

  1. บดหรือทุบสมุนไพรแห้งพอหยาบ
  2. ชั่งส่วนผสม 100 กรัม วางลงบนผ้า
  3. ผสมส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน
  4. ห่อผ้าและมัดเชือกให้แน่น
  5. บรรจุลูกประคบไว้ในถุงเก็บในที่แห้งสามารถเก็บได้ 1 ปี

    การเก็บรักษาลูกประคบ

  • เก็บไว้ในที่แห้ง ไม่มีฝุ่น
  • สำหรับลูกประคบสมุนไพรสด สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้ 2-3 วัน

   การใช้งาน

  • สำหรับลูกประคบแห้ง ควรพรมน้ำบนลูกประคบก่อนนำไปนึ่ง
  • นำลูกประคบที่ได้ไปนึ่งในหม้อนึ่ง ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที

หลังจากการทำลูกประคบสมุนไพร ได้รับเกียรติจากทีมแพทย์แผนโบราณโรงพยาบาลนางรอง ได้ให้ความรู้และสอนการนวดเบื้องต้นให้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม

อื่นๆ

เมนู