โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (Buriram Rajabhat University)

นางสาวระวิวรรณ ฉิมกูล ประเภทบัณฑิตจบใหม่ กลุ่ม กพร. ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอนางรอง

แนวทางการปฏิบัติงานรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์

 

1. ประเภทเรื่องร้องเรียน
(1) ร้องเรียนเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงาน หมายถึง การที่ผู้ร้องเรียนหรือผู้เสียหายร้องเรียนเจ้าหน้าที่/หน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับการกระทำการใด ๆ ที่มีผลก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่งต่อผู้ร้องเรียน/หน่วยงานเอง
(2) ร้องเรียนการให้บริการ หมายถึง การที่ผู้ร้องเรียนแจ้งร้องเรียนเกี่ยวกับการให้บริการที่อยู่ในภารกิจความรับผิดชอบของหน่วยงานของรัฐนั้น ๆ เช่น ร้องเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมการให้บริการของเจ้าหน้าที่การใช้วาจาไม่สุภาพหรือมีลักษณะไม่เต็มใจให้บริการ
(3) เรื่องร้องเรียนที่ขอให้ส่วนราชการช่วยเหลือเยียวยาหรือปลดเปลื้องทุกข์ เช่น ปัญหาหนี้นอกระบบ ขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับระบบสาธารณูปโภค ปัญหาที่ดิน ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เป็นต้น
(4) ข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นทั่วไป

2. หลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์
พระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. ๒๕๒๒ ว่าด้วยเรื่องสิทธิร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์หมวด ๓ ได้บัญญัติสาระสำคัญของเรื่องราวร้องทุกข์ไว้

3. การรับและเจรจากับผู้ร้องรายบุคคลและแบบกลุ่ม
3.1 ผู้ร้องรายบุคคล 3.2 ผู้ร้องแบบกลุ่มลักษณะผู้ร้องตั้งแต่ ๕ คนขึ้นไป ซึ่งมีวัตถุประสงค์ส่วนใหญ่ คือ ต้องการพบผู้บังคับบัญชาระดับสูง 

4.การประสานงานกับผู้ร้อง
4.1 คุณสมบัติของผู้เจรจา
(1) ควรเป็นผู้ที่มีความรอบรู้ในเรื่องต่างๆ เช่น กฎหมายทั่วไป นโยบายของรัฐบาล และได้ติดตามข้อมูลข่าวสารอยู่เสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลข่าวสารที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับการดำเนินงานร้องเรียน เช่น โครงการต่าง ๆ ของรัฐบาลที่มีวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือประชาชน
(2) มีมนุษยสัมพันธ์ ยิ้มแย้มแจ่มใส สร้างความเป็นกันเอง และแสดงออกให้ผู้ร้องเห็นว่าเจ้าหน้าที่เป็นพวกเดียวกันกับผู้ร้อง
(3) มีความจริงใจในการให้บริการด้วยหัวใจ สร้างความรู้สึกว่า ผู้ร้องเป็นญาติมิตรของเจ้าหน้าที่เอง
(4) มีความเห็นอกเห็นใจผู้ร้อง เห็นว่าปัญหาของผู้ร้องเป็นเสมือนปัญหาของตนเองและคิดว่าหากเจ้าหน้าที่ต้องประสบปัญหาเช่นเดียวกับผู้ร้อง เจ้าหน้าที่ก็ต้องขอความช่วยเหลือเหมือนกับผู้ร้อง
(5) สำนึกและตระหนักถึงหน้าที่ว่าเราปฏิบัติงานในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้ร้องจึงต้องมีความอดทน อดกลั้น ระมัดระวังในการเจรจากับผู้ร้อง ประกอบกับเจ้าหน้าที่ที่เป็นที่พึ่ง เป็นความหวังของผู้ร้อง และสมัครใจมาทำหน้าที่นี้เอง ไม่มีผู้ใดบังคับเจ้าหน้าที่
(6) ควรมีเจ้าหน้าที่ที่สามารถพูดภาษาท้องถิ่นได้ทุกภูมิภาค เช่น ภาษาอีสานเหนือใต้เพื่อความสะดวกในการสื่อสารกับผู้ร้องและทำให้ผู้ร้องรู้สึกอบอุ่น เนื่องจากได้พบปะพูดคุยกับคนบ้านเดียวกัน ไม่รู้สึกอ้างว้างหรือหวาดระแวง และควรมีผู้ที่สามารถสื่อสารภาษาสากลไว้เจรจากับผู้ร้องที่เป็นชาวต่างชาติ            4.2 เทคนิคในการเจรจา
(1) กรณีผู้ร้องทั่วไป
(1.1) กรณีที่เป็นผู้ร้องรายเดิม ก่อนการเจรจาให้ศึกษาข้อมูลลักษณะนิสัยของผู้ร้อง เพื่อใช้วิธีการที่เหมาะสมในการเจรจากับผู้ร้อง เช่น ผู้ร้องมีอารมณ์รุนแรงก็พยายามชวนพูดคุยเรื่องอื่น ๆ ก่อนจนกระทั่งผู้ร้องรู้สึกผ่อนคลายหรืออารมณ์ดีขึ้น จึงเจรจาประเด็นข้อร้องเรียน รวมทั้งศึกษาเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ของ
ผู้ร้องก่อนว่า อยู่ระหว่างขั้นตอนใด หากยังไม่มีข้อยุติให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางโทรศัพท์ในเบื้องต้นเพื่อติดตามความคืบหน้า และนำผลไปแจ้งผู้ร้องเพื่อบรรเทาสถานการณ์ความตึงเครียด และเป็นการแสดงให้ผู้ร้องเห็นว่าเรามีความเอาใจใส่ในเรื่องของผู้ร้องเป็นอย่างดีคู่มือการปฏิบัติงานศูนย์ดำรงธรรม
(1.2) จัดเจ้าหน้าที่ที่เหมาะสมในการเจรจากับผู้ร้อง เช่น หากผู้ร้องพูดภาษาท้องถิ่นใดควรจัดเจ้าหน้าที่ที่สามารถพูดภาษาถิ่นนั้นเป็นผู้ร่วมเจรจาเพื่อความสะดวกในการสื่อสาร และเพื่อสร้างความอบอุ่น เป็นกันเอง หากผู้ร้องร้องเรียน/ร้องทุกข์เรื่องกฎหมายควรมอบให้เจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ด้านกฎหมายเป็นผู้ร่วมเจรจา หากผู้ร้องมีอารมณ์รุนแรงก้าวร้าว หรือไม่ยอมรับฟังเหตุผลควรมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์ในการเจรจากับผู้ร้องและมีความใจเย็นเข้าร่วมเจรจากับผู้ร้อง

5. หลักการพิจารณาเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ในเบื้องต้นของผู้บังคับบัญชาเพื่อคัดแยกและมอบหมายเจ้าหน้าที่ดำเนินการเรื่องร้องเรียน
1)เมื่อได้รับเรื่องจะต้องอ่านและวิเคราะห์ว่า มีประเด็นอะไรบ้าง มีบุคคลและมีหน่วยงานใดเกี่ยวข้อง มีการกำหนดเวลาชั้นความเร็ว (ด่วน ด่วนมาก ด่วนที่สุด) มีความสำคัญหรือชั้นความลับ (ลับ ลับมากลับที่สุด) หรือไม่ เพื่อนำไปสู่การพิจารณาพิจารณาเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ว่าเป็นเรื่องประเภทใด และควรมอบหมายบุคคลและเจ้าหน้าที่คนใดดำเนินการ โดยพิจารณาจากเรื่องไม่ซับซ้อน เช่น เรื่องเกี่ยวกับระบบสาธารณูปโภค เช่น ขอไฟฟ้า ขอประปา
2) เรื่องที่ซับซ้อนต้องใช้การวิเคราะห์และมีขั้นตอนที่ยุ่งยากคู่มือการปฏิบัติงานศูนย์ดำรงธรรม
2.1การของบประมาณ ขอความช่วยเหลือด้านต่างๆ เช่น ที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัย การขอสัญชาติ
2.2 ร้องเรียน/ร้องทุกข์หน่วยงานภาครัฐ หรือภาคเอกชน กรณีต้องดำเนินงานแล้วมีผลกระทบต่อบุคคล/ประชาชนให้ได้รับความเดือดร้อนถึงขั้นต้องร้องเรียนขอความเป็นธรรม
2.3 ร้องเรียน/ร้องทุกข์พฤติกรรมเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ประพฤติตนไม่เหมาะสม
2.4 ปัญหาหนี้นอกระบบ
3) เรื่องที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย เป็นเรื่องที่ต้องใช้การวิเคราะห์แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมาย ได้แก่การได้รับความเดือดร้อนดังต่อไปนี้
3.1 การทำนิติกรรม/สัญญา/ข้อตกลง
3.2 การกู้ยืม/ถูกหลอกลวง/ข่มเหงรังแก
4) เรื่องที่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายต้องใช้เวลาในการดำเนินการมากและต้องลงตรวจพื้นที่หาข้อมูล ข้อเท็จจริงในพื้นที่ประกอบการพิจารณา มีลักษณะเดียวกับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมาย แต่มีขั้นตอนวิธีและใช้เวลาในการดำเนินการมากกว่า ต้องใช้หลักกฎหมายในการพิจารณาได้แก่
4.1 ข้อพิพาทต่างๆ
4.2 การขอคำปรึกษาเกี่ยวกับข้อกฎหมาย
4.3 การขอกรรมสิทธิ์/ลิขสิทธิ

6. แนวทางการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้ข้อยุติทันทีและรวดเร็ว
6.1 การประสานทางโทรศัพท์กับเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นการหาข้อมูลก่อนดำเนินการส่งเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ เนื่องจากเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์บางเรื่องเมื่อได้รับข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานแล้ว อาจยุติเรื่องได้ทันที
6.2 การประสานกับหน่วยงานเป็นหนังสือ เช่น การติดตามเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ของหน่วยงานโดยอาจเป็นหนังสือประทับตรา หรือเป็นหนังสือลงนาม ทั้งนี้อาจอ้างมติคณะรัฐมนตรีแนบไปพร้อมกับหนังสือเพื่อขอให้หน่วยงานเร่งรัดผลการพิจารณาและรายงานผลให้ทราบภายในระยะเวลา ที่กำหนด โดยอาจติดตามเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์เป็นรายเรื่องหรือทำเป็นบัญชีก็ได้ส่วนการส่งเรื่องร้องเรียนให้หน่วยงานอิสระนั้นเนื่องจากองค์กรอิสระต่างๆ มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ต่างๆ โดยอิสระ ดังนั้น ในการพิจารณาส่งเรื่องจึงมักเป็นการส่งเรื่องไปเพื่อให้หน่วยงานรับทราบเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา และแจ้งให้ผู้ร้องทราบการดำเนินการ ซึ่งหากผู้ร้องติดตามเรื่องก็ให้ชี้แจงให้ผู้ร้องติดตามเรื่องยังหน่วยงานนั้นๆ โดยตรงต่อไป

7. ขั้นตอนการดำเนินงานเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ของศูนย์ดำรงธรรม เมื่อศูนย์ดำรงธรรมได้รับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์จากช่องทางต่างๆ แล้ว จะตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูล จำแนกเรื่องและพิจารณาว่าเกี่ยวข้องกับส่วนราชการ/หน่วยงานใด และจะดำเนินการ ดังนี้
(1) กรณีข้อร้องเรียนนั้นมิได้ทำเป็นหนังสือให้จัดการให้มีการบันทึกข้อร้องเรียนลงในแบบฟอร์มแจ้งข้อร้องเรียน ซึ่งจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายใน 1 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ได้รับข้อร้องเรียน
(2) กรณีเรื่องสำคัญเร่งด่วนที่มีผลกระทบต่อสาธารณะในวงกว้าง เช่น การรวมตัวเรียกร้องของประชาชน ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มบุคคล หรือเรื่องนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาล เช่น การป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จะประสานหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ
เพื่อรับทราบและพิจารณาสั่งการ หรือประสานชุดเคลื่อนที่เร็วลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงทันทีและติดตามตรวจสอบผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาหรือเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน เป็นประเด็นข้อร้องเรียนทางกฎหมายหรือเรื่องร้องเรียนที่มีข้อเท็จจริงและรายละเอียดตามคำร้องยังไม่ชัดแจ้งหรือไม่แน่นอน ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดคู่มือการปฏิบัติงานศูนย์ดำรงธรรม จะลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไปและจะแจ้งให้ผู้ร้องทราบไว้ชั้นหนึ่งก่อน
(3) กรณีเรื่องร้องเรียนทั่วไป ศูนย์ดำรงธรรมจะดำเนินการจัดส่งเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการ โดยทำบันทึกเสนอผู้บังคับบัญชาและทำหนังสือแจ้งส่วนราชการ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงและดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ภายใน 3 วันนับตั้งแต่ได้รับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์และแจ้งให้ผู้ร้องทราบไว้ชั้นหนึ่งก่อน ทั้งนี้ จะกำหนดให้ส่วนราชการ/หน่วยงาน รายงานผลการดำเนินการหรือความคืบหน้า ภายใน 15 – 30 วัน ซึ่งศูนย์ดำรงธรรมจะพิจารณาแล้วแต่กรณี เนื่องจากบางเรื่องมีความสลับซับซ้อน/เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ดังนั้น ระยะเวลาการพิจารณาดำเนินการของหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับขั้นตอนการดำเนินการให้การช่วยเหลือของแต่ละกรณีปัญหาด้วย
(4) เมื่อส่วนราชการ/หน่วยงาน ตรวจสอบและรายงานผลการดำเนินการให้ศูนย์ดำรงธรรมทราบแล้ว หากเจ้าหน้าที่พิจารณาแล้วเห็นว่า ผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาเป็นที่ยุติ จะทำบันทึกเสนอผู้บังคับบัญชาและรายงานผลการดำเนินการให้หน่วยงานที่ส่งเรื่องร้องเรียนและแจ้งผู้ร้องทราบ ภายใน 7 วัน
นับตั้งแต่ได้รับผลการดำเนินการ แต่หากพิจารณาแล้วเรื่องยังไม่ยุติ/ผลการตรวจสอบไม่ครบถ้วนทุกประเด็นจะทำหนังสือแจ้งส่วนราชการ/หน่วยงาน เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม และกำหนดระยะเวลาการรายงานผลภายใน 7 วัน

8. การติดตามเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ให้ได้ข้อยุติ
1. เรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ที่ต้องมีารติดตาม
(1) เรื่องที่อยู่ในความคาดหวังของผู้ร้องว่า ปัญหาจะได้รับการแก้ไข ซึ่งมักจะมีการติดตามเร่งรัดขอทราบผลการพิจารณาจากเจ้าหน้าที่นับแต่วันยื่นคำร้องอย่างต่อเนื่อง
(2) เรื่องที่ผู้บังคับบัญชาให้ความสำคัญหรือมอบหมายให้ดำเนินการเป็นกรณีเร่งด่วน
(3) เรื่องที่ต้องติดตามภายในระยะเวลาที่กำหนด
(4) เรื่องที่หน่วยงานได้รายงานผลการพิจารณาให้ทราบแล้ว หากแต่ยังมีข้อเคลือบแคลงหรือเห็นว่ายังมีการดำเนินการที่ไม่เหมาะสมหรือผู้ร้องยังโต้แย้งผลการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. วิธีการ/ขั้นตอนการติดตามเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ให้ได้ข้อยุติการติดตามเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์สามารถดำเนินการได้ทุกช่องทางต่าง ๆ ตามลำดับความสำคัญดังนี้
(1) การติดตามเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ทางโทรศัพท์ควรดำเนินการในทุกกรณีที่มีการติดตามขอทราบผลจากผู้ร้องหรือติดตามภายในระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ เพื่อขอทราบความคืบหน้า ปัญหาหรืออุปสรรคในการดำเนินการเพื่อตอบชี้แจงผู้ร้องทราบได้ในเบื้องต้น
(2) การติดตามเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์โดยทำเป็นหนังสือ กรณีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่ได้รายงานผลการพิจารณาให้ทราบ ให้ดำเนินการโดยทำเป็นหนังสือประทับตรา โดยแบ่งการดำเนินการติดตามเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ออกเป็นเป็นระยะๆ

“การปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่20 ตุลาคม-วันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ณ ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอนางรอง ที่ว่าการอำเภอนางรอง  ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายจากปลัดประจำห้อง และปลัดท่านอื่น ๆ ดังนี้ “

1.งานด้านธุรการ

1.1 รับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์

1.2 สแกนไฟล์หนังสือส่งในระบบสารบรรรอิเล็กทรอนิกส์

1.3 พิมพ์หนังสือราชการ

1.4 ส่งหนังสือ ออกเลขหนังสือในระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์

1.5 รายงานผลการดำเนินงานประจำรายสัปดาห์ ศปก.ปค

   

ตามที่ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานด้านธุรการนั้น ซึ่งเริ่มจากการรับเรื่องร้อง/ร้องทุกข์ข้อพิพาททางเเพ่ง (ทุนทรัพย์ไม่เกิน 2 แสนบาท) และเมื่อประชาชน walk in เข้ามาที่ศูนย์ดำรงธรรม ข้าพเจ้าจะสอบถามเบื้องต้นในเรื่องที่จะขอคำปรึกษาและให้ประชาชนเขียนคำร้องทุกข์ / ร้องเรียน หรือข้อพิพาททางแพ่ง พร้อมทั้งให้แนบเอกสารหลักฐาน สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และลงลายมือชื่อทุกครั้งในการยื่นเอกสาร จากนั้น ปลัดประจำห้องจะให้คำแนะนำและบอกกระบวนการขั้นตอนในการดำเนินเรื่องต่อไป ต่าจากนั้นข้าพเจ้าจะลงเลขรับในคำร้องพอสังเขปลงในสมุดคุม สมุดคุมจะคอยให้เลขข้อพิพาทในปีนั้น ๆ มี 3 แบบคือ 1. สมุดคุมเรื่องร้องเรียนทั่วไปของอำเภอนางรอง 2. สมุดคุมข้อพิพาททางแพ่งอำเภอนางรองและ3. สมุดคุมเรื่องที่ร้องเรียนจากศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดโดยศดธ.จังหวัดบุรีรัมย์จะส่งเรื่องร้องเรียนของราษฏรที่ร้องเรียนผ่านเว็ปไซน์จังหวัดหรือผ่านเว็ปไซน์ของกรมการปกครอง ทางจังหวัดจะดำเนินการส่งเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมดูแลของอำเภอนั้นๆ ตรวจสอบข้อเท็จจริง และเมื่ออำเภอตรวจสอบข้อพิพาทดังกล่าวเรียบร้อยแล้วนั้น ก็จะต้องรายงานให้จังหวัดทราบภายในวันและเวลาดังกล่าว เมื่อดำเนินการกระบวนการขั้นตอนแรกเสร็จสิ้นและถูกต้องแล้วนั้น ก็จะนำแบบคำร้องที่ประชาชนเขียนไว้เกษียณหนังสือเสนอให้กับปลัดประจำห้อง โดยปลัดจะร่างหนังสือสำหรับใช้ทางราชการให้กับเจ้าหน้าที่ เมื่อพิมพ์หนังสือเสร็จเรียบร้อยก็นำคำร้อง (ต้นเรื่อง) แนบเอกสารหนังสือที่พิมพ์ ปั้มตรวจทาน  เสนอปลัดอาวุสโส และเดินแฟ้มเข้าห้องนายอำเภอเป็นที่สิ้นสุด เมื่อนำแฟ้มออกมา ตรวจทานลายเซ็นเรียบร้อย ข้าพเจ้าก็จะออกเลขหนังสือผ่านระบบสารบรรรอิเล็กทรอนิกส์ของจังหวัดบุรีรัมย์ ตรวจทานผู้รับหนังสือฉบับนั้น หากผู้ร้บเป็นหัวหน้าส่วนราชการทางศดธ.นางรองก็สามารถสแกนหนังสือเป็นไฟล์ PDF ส่งในระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ได้เรย หากส่งถึงประชาชนสามารถส่งได้ที่ไปรษณีย์ตามที่อยู่ในคำร้อง

*วันพฤหัสบดีที่ 25  ตุลาคม 2564 รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทยของกรมการปกครอง รายสัปดาห์ (ศปก.ปค) เพื่อสรุปผลการปฏิบัติงานให้กับจังหวัดบุรีรัมย์ ทางด้านการจัดระเบียบทางสังคม การลดความเหลื่อมล่ำทางสังคม การดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรม และการการรักษาความสงบเรียบร้อยรวมทั้งการป้องกันการแก้ไขปัญหา ยาเสพติดในสังคม

2.งานอื่น ๆ ของที่ว่าการอำเภอนางรอง

2.1 อำนวยความสะดวกให้กับผู้มารับบริการวัคซีน

2.2 จัดประชุม-บริการเครื่องดื่ม เบรคเช้าแก่ หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารสถานศึกษา กำนัน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำเดือน พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ณ ห้องประชุมอำเภอนางรอง ชั้น ๒ จังหวัดบุรีรัมย์

2.3 วันอังคาร ที่ 2 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09.00 น.นางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรองพร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ ประชุมประจำเดือนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ณ ศาลาประชาคมอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

2.4 ข้าพเจ้ามอบหมายให้เป็นผู้ช่วยสอบสวนสำหรับผู้ประสงค์ลงลายมือชื่อถอดถอนผู้ใหญ่บ้าน ตั้งแต่วันที่ 25-31 ตุลาคม 2564

2.5 เข้าร่วมกิจกรรมทอดกฐินสามัคคีอำเภอนางรอง ประจำปี 2564 ทอดถวาย ณ วัดหนองโบสถ์ ต.หนองโบสถ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์

ในการปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมายมีดังต่อไปนี้

วันศุกร์ ที่ 5 พฤศิกายน 2564 เวลา 11.00 น. นายอำเภอนางรอง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่อำเภอนางรองและข้าพเจ้า ปฏิบัติหน้าที่ประจำจุดบริการประชาชน แจกบัตรคิวแก่ประชาชนที่มารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) สำหรับนักเรียน จำนวน 1,500 ราย ณ โรงพยาบาลสนามโรงพยาบาลนางรอง อาคารอเนกประสงค์ เทศบาลเมืองนางรอง อำเภอนางรอง

    

วันจันทร์ ที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09.00น.
นางสาว เพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรองพร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารสถานศึกษา กำนัน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำเดือน พฤศจิกายน 2564 ณ ห้องประชุมอำเภอนางรอง ชั้น 2 จังหวัดบุรีรัมย์ โดยข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ประจำจุดบริการเครื่องดื่มและขนมเบรค ร่วมทั้งคัดกรองผู้เข้าร่วมประชุมตามมาตรการกระทรวงสาธารณสุข
     
วันอังคาร ที่ 2 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09.00 น.
นางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ ประชุมประจำเดือนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ ณ ศาลาประชาคมอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ประจำจุดบริการคัดกรองผู้เข้าร่วมประชุมตามมาตรการกระทรวงสาธารณสุข
 
วันที่ 25 -31 ตุลาคม 2564
ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายจากปลัดประจำห้องให้เป็นผู้ช่วยสอบสวนคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณี ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงรายมือชื่อถอดถอนผู้ใหญ่บ้าน ณ ศาลาประคมอำเภอนางรอง จำนวน 102 คน
    
วันอาทิตย์ ที่ 7 พฤศจิกายน 2564 เวลา 08.30 น.นางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง ประธานในพิธี พร้อมด้วย ปลัดอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กิ่งกาชาดอำเภอนางรอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและพี่น้องชาวนางรอง ร่วมทอดกฐินสามัคคีอำเภอนางรอง ประจำปี 2564 ทอดถวาย ณ วัดหนองโบสถ์ ต.หนองโบสถ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์
      
**สรุปจากข้อมูลเบื่องต้นทางศูนย์ดำรงธรรมอำเภอนางรองได้ร่วมกับส่วนราชการอื่น ๆ ที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงกับเรื่องร้องเรียนเกิดการประสานงานแบบบูรณาการจนเกิดผลสำเร็จ ประชาชนบางเคสได้รับการบรรเทาทุกข์ ตรวจสอบข้อร้องเรียนดังกล่าวแล้วเกิดข้อเท็จจริงโดยมีคนกลางคอยแนะนำ ส่วนบางรายทางอำเภอก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ให้คำปรึกษาทางกฎหมายและดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป แนะแนวให้ข้อมูลประกอบการพัฒนาประมวลเหตุจนเกิดผลสรุปให้ประชาชน อ้างอิงจากข้อกฎหมายอย่างถูกต้องและเป็นธรรม สร้างความสบายใจให้กับสองฝ่าย หาข้อยุติและเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน และทำให้ตัวเจ้าหน้าที่เองได้มีแนวคิดแบบแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบแบบแผน เข้าใจการทำงานของระบบราชการ ด้านธุรการ ด้านการปฏิบัติตน และด้านการประสานงานต่างหน่วยงาน ทำให้เกิดการประมวลผลอย่างถูกต้องและเข้าใจง่าย  
**แผนการปฏิบัติงานในเดือนธันวาคมนั้น ข้าพเจ้าต้องทำความเข้าใจและปฏิบัติงานด้านเอกสารประกอบการเบิกไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เอกสารสารบบคดี การเขียนสัญญาประนีประนอมยอมความและรายงานผลประจำรายสัปดาห์-รายงานผลสรุปสิ้นเดือนกรมการปกครอง 

อื่นๆ

เมนู