ข้าพเจ้านายรุ่งโรจน์ ราชนาคา เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน กลุ่มประชาชน ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตร :การส่งเสริมและพัฒนาการทำขนม (HS03) ขอนำเสนอการปฏิบัติงาน ประจําเดือน  ตุลาคม – พฤศจิกายน 2564 มีดังนี้

วันที่ 22 ตุลาคม 2564

เข้าร่วมอบรมการลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ณ ศาลากลางบ้านหนองบัวลาย หมู่ 7 ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมลงทะเบียนสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ สามารถลงทะเบียนได้ที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอที่สถานประกอบการตั้งอยู่ โดยศึกษาหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ตามที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด

ลักษณะและคุณสมบัติของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ที่มีสิทธิลงทะเบียน

1. เป็นผู้ผลิต ดังต่อไปนี้

  1. กลุ่มผู้ผลิตชุมชน
  2. ผู้ผลิตชุมชนที่เป็นเจ้าของรายเดียว
  3. ผู้ผลิตที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

2. กลุ่มเป้าหมายตามข้อ 1 ต้องมีความเชื่อมโยงกับชุมชน โดยเข้าเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่ง ต่อไปนี้

  1. ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิต เช่น ใช้แรงงานในชุมชน (ภายในจังหวัดที่ขอลงทะเบียน) มีการใช้วัตถุดิบ การผลิตในชุมชน เป็นต้น
  2. ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ
  3. ชุมชนได้รับประโยชน์

3. สถานที่ผลิตของกลุ่มเป้าหมายตามข้อ 1 ต้องตั้งอยู่ภายในอำเภอ
4. ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และสมาชิกกลุ่มต้องมีสัญชาติไทย
5. กรณีส่งตัวแทนมาแจ้งการลงทะเบียน จะต้องเป็นผู้ได้รับมอบอำนาจ (มีเอกสารมอบอำนาจ)

ลักษณะผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ที่สามารถลงทะเบียนได้ต้องแสดงถึงภูมิปัญญาไทยและมีลักษณะ ดังนี้

  1. วัตถุดิบที่นำมาผลิต ต้องไม่ผิดกฎหมาย
  2. ไม่เป็นสินค้าที่เลียนแบบ ดัดแปลง นำเข้า หรือนำเข้าเพื่อดัดแปลงหรือละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
  3. ไม่เป็นสินค้าที่ก่ออันตรายอย่างร้ายแรงต่อชุมชนหรือสิ่งแวดล้อม รวมทั้งไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อันดีของไทย
  4. กรณีเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีกฎหมายบังคับต้องได้รับอนุญาตให้ผลิต

ประเภทผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่จะนำมาดำเนินการลงทะเบียน ต้องผ่านกระบวนการผลิต โดยใช้ภูมิปัญญา จำนวน 5 ประเภท ดังนี้

1. ประเภทอาหาร หมายถึง ผลผลิตทางการเกษตร และอาหารแปรรูป ซึ่งได้รับมาตรฐาน อย. GAP  GMP  HACCP  Qmark  มผช.  มอก.  มาตรฐานเกษตรอินทรีย์  ฮาลาล และมีบรรจุภัณฑ์ เพื่อการจำหน่ายทั่วไป แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

  1. ผลิตผลทางเกษตรที่ใช้บริโภคสด
  2. ผลิตผลทางการเกษตรที่เป็นวัตถุดิบ และผ่านกระบวนการแปรรูปเบื้องต้น
  3. อาหารแปรรูปกึ่งสำเร็จรูป/สำเร็จรูป

2. ประเภทเครื่องดื่ม แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

  1. เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  2. เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์

3. ประเภทผ้า เครื่องแต่งกาย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

  1. ผ้า
  2. เครื่องแต่งกาย

4. ประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก แบ่งเป็น 7 กลุ่ม

  1. ไม้
  2. จักสาน
  3. ดอกไม้ประดิษฐ์/วัสดุจากเส้นใยธรรมชาติ
  4. โลหะ
  5. เซรามิค/เครื่องปั้นดินเผา
  6. เคหะสิ่งทอ
  7. อื่น ๆ

5. ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร แบ่งเป็น 3 กลุ่ม

  1. ยาจากสมุนไพร
  2. เครื่องสำอางสมุนไพร
  3. วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน

    มาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองจากทางราชการ

    ในการลงทะเบียน หากผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรองมาตรฐานจากทางราชการ ให้ผู้มาลงทะเบียน ได้นำใบรับรองมาตรฐานจากทางราชการมาด้วย เพื่อกรอกข้อมูล และแสดงต่อเจ้าหน้าที่ผู้รับลงทะเบียน ในกรณีที่อยู่ระหว่างการดำเนินการยื่นขอการรับรองให้นำเอกสารที่แสดงรายละเอียดการยื่นขอดังกล่าวมาประกอบด้วย

    กรมการพัฒนาชุมชน ได้กำหนดแผนปฏิบัติการลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP แต่ละปีไว้ โดยสามารถติดต่อสำนักงานพัฒนาชุมชนได้ทุกแห่ง เพื่อสอบถามช่วงเวลาละทะเบียนในแต่ละไตรมาส
    ระยะเวลาดำเนินการ ประมาณ 75 วัน

    เอกสารที่ต้องใช้

    1. สำเนาบัตรประชาชน
    2. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี)
    3. หนังสือมอบอำนาจจากกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP
    4. ภาพถ่ายผลิตภัณฑ์ทุกประเภทที่จะลงทะเบียน ขนาด 4″x6″ หรือไฟล์ภาพดิจิตอล
    5. เอกสารอนุญาตให้ทำการผลิต (กรณีมีกฎหมายกำหนด)
    6. หนังสือรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่จะแจ้งให้ในแบบลงทะเบียน (ถ้ามี)
    7. เอกสารการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน (ถ้ามี)
    8. แบบฟอร์มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)
    9. แบบฟอร์มผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)

วันที่ 29 ตุลาคม 2564

อบรมการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปขนมโครงการแปรรูปขนมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(1 ตำบล 1 มหาลัย) ณ ศาลากลางบ้านหนองบัวลาย หมู่ 7 ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

วิทยากรได้ให้ความรู้รายละเอียดต่างๆ รวมถึงการโพสต์ขายสินค้าในโซเชียล

การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก โดยมุ่งเน้นให้คนภายในชุมชนเกิดการพัฒนาอาชีพขึ้นจากสิ่งที่มีอยู่เป็นทุนเดิม เป็นภูมิปัญญาที่สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดการเรียนรู้ไปสู่การสร้างอาชีพที่พึ่งพาตนเองได้อย่างแท้จริง

เพื่อวิถีตนเป็นที่พึ่งแหตนและสร้างชุมชนที่เข้มแข็งให้เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริงกรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานหลัก  รับผิดชอบบูรณาการไปสู่การปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก นั่นคือ “สร้างรายได้” ที่ต้องทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยการสร้างอาชีพจากวิถีท้องถิ่น จึงเป็นที่มาของ “สัมมาชีพชุมชน” ซึ่งกำหนดแผนการสร้างสัมมาชีพชุมชนบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยการดำเนินงานของกรมการพัฒนาชุมชน ได้นำไปสู่แผนการปฏิบัติงานในพื้นที่ ที่เน้นการยกระดับความเป็นอยู่ให้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น ด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการเสริมสร้างสัมมาชีพชุมชนอันเป็นการสนองต่อหลักการสัมมาชีพชุมชนที่มุ่งเน้นไปที่ความสุจริตในการประกอบอาชีพ การไม่เบียดเบียนทั้งต่อตนเองและสังคม รวมถึงสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยกระบวนการที่ซึ่งให้ชาวบ้านที่เป็นปราชญ์ชาวบ้าน สอนชาวบ้านในสิ่งที่ถนัดและที่สนใจในการฝึกอาชีพใหม่ ๆ จากการต่อยอดภูมิปัญญาในท้องถิ่น โดยสำนักงานพัฒนชุมชนจังหวัด เป็นผู้ประสานงานและมีทีมสนับสนุนการขับเคลื่อนสัมมาชีพระดับอำเภอซึ่งสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเป็นพี่เลี้ยงทำให้หมู่บ้านที่ได้รับการสนับสนุนมีอาชีพ มีผลิตภัณฑ์ชุมชนสามารถก้าวไปสู่สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) เพื่อก่อให้เกิดรายได้เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งต่อไป

ควรมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีความสวยงามน่าสนใจเพื่อดึงดูดผู้บริโภค และมีลวดลายที่เหมาะสมกับรูปแบบของผลิตภัณฑ์และทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน ในขั้นตอนการผลิตควรนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการผลิต เพื่อให้ทันต่อความต้องการของผู้บริโภค และเน้นด้านความปลอดภัยของผู้ผลิต ผู้บริโภค รวมถึงการสร้างาสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ  ควรเพิ่มช่องทางให้ผู้บริโภค เปิดโอกาสในการเลือกซื้อสินค้าเพิ่มมากขึ้น โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร เช่น เฟซบุ๊ค ไลน์ เป็นต้น และควรสร้างบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัยและทนต่อการใช้งาน อาจอยู่ในรูปแบบกล่อง กระป๋อง วัสดุอาจทำด้วยพลาสติก ทนต่อแรงกระแทก และสิ่งที่สำคัญคือ การสร้างแบรนด์ให้คนรู้จัก

วันที่ 13 พฤศจิกายน  2564

อบรมการส่งเสริมการพัฒนาชุมชนเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นในระดับตำบลโครงการแปรรูปขนมเพื่อสร้างรายได้ในชุมชนภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(1 ตำบล 1 มหาลัย) ณ ศาลากลางบ้านหนองบัวลาย หมู่ 7 ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

การทำลูกประคบสมุนไพร คือ การใช้สมุนไพรหลายๆ อย่างมาห่อรวมกัน ส่วนใหญ่เป็นสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย โดยนำมานึ่งให้ร้อนประคบบริเวณปวดหรือเคล็ดขัดยอก อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตได้ดีเยี่ยม ด้วยศาสตร์แห่งการคิดค้นที่สามารถนำสารสำคัญในสมุนไพรมาช่วยในการดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังได้อีกด้วย ประโยชน์ของลูกประคบโดยรวมก็ ช่วยรักษาอาการเคล็ด ขัด ยอก และลดปวดได้

อุปกรณ์การทำลูกประคบ

1. ผ้าดิบสำหรับห่อลูกประคบ ขนาด  40 x 40 เซนติเมตร 
2. เชือก หรือ หนังยาง
3. ตัวยาที่ใช้ทำลูกประคบ
4. ภาชนะสำหรับผสมสมุนไพร
5. เครื่องชั่ง

ตัวยาที่นิยมใช้ทำลูกประคบแห้ง

1. ไพล (400 กรัม)    แก้ปวดเมื่อย ลดการอักเสบ

2. ผิวมะกรูด (100 กรัม)  มีน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน3. ตะไคร้บ้าน (200 กรัม)  แต่งกลิ่น

4. ใบมะขาม (100 กรัม)  แก้อาการคันตามร่างกาย ช่วยบำรุงผิว
5. ขมิ้นชัน (100 กรัม)   ช่วยลดการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง
6. เกลือ (60 กรัม)   ช่วยดูดความร้อนและช่วยพาตัวยาซึมผ่าน ผิวหนังได้สะดวกขึ้น
7. การบูร (30 กรัม)   แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ
8. ใบส้มป่อย (50 กรัม)   ช่วยบำรุงผิว แก้โรคผิวหนัง ลดความดัน

9. พิมเสน (30 กรัม)  แต่งกลิ่น ลดอาการพุพองผดผื่น บำรุงหัวใจ

วิธีการทำลูกประคบ

1. หั่นหัวไพล ขมิ้นชัน ต้นตะไคร้ ผิวมะกรูด ตำมะกรูด ตำพอหยาบๆ ตำพอหยาบๆ (เวลาประคบจะได้ไม่ระคายเคือง)
2. นำใบมะขาม ใบส้มป่อย (เฉพาะใบ) ผสมกับสมุนไพรข้อ เสร็จ แล้วให้ใส่เกลือ การบูร คลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกัน 
3. 
แบ่งตัวยาที่เรียบร้อยแล้ว ใส่ผ้าดิบห่อเป็นลูกประคบประมาณลูกส้มโอ รัดด้วยเชือกให้แน่น (ลูกประคบเวลาถูกความร้อนยาสมุนไพรจะฝ่อลง ให้รัดใหม่ให้แน่นเหมือนเดิม)
4. นำลูกประคบที่ได้ไปนึ่งในหม้อนึ่ง ใช้เวลานึ่งประมาณ 15-20 นาที
5. นำลูกประคบที่รับความร้อนได้ที่แล้วมาประคบคนไข้ที่มีอาการต่างๆ โดยสับเปลี่ยนลูกประคบ

วิธีการประคบ

1. จัดท่าคนไข้ให้เหมาะสม เช่น นอนหงาย นั่ง นอนตะแครง ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่จะทำการประคบสมุนไพร
2. นำลูกประคบที่รับร้อนได้ที่แล้วมาประคบบริเวณที่ต้องการประคบ (การทดสอบความร้อนของลูกประคบคือ แตะที่ท้องแขนหรือหลังมือ)
3. ในการวางลูกประคบบนผิวหนังคนไข้โดยตรงในช่วงแรกๆ ต้องทำด้วยความเร็ว ไม่วางแช่นานๆ เพราะคนไข้จะทนร้อนไม่ได้มาก
4. เมื่อลูกประคบคลายความร้อนลงก็สามารถเปลี่ยนลูกประคบอีกลูกหนึ่งแทน (นำลูกเดิมไปนึ่งต่อ) ทำซ้ำตามข้อ 2,3,4

ประโยชน์ของการประคบ (จากตัวยาสมุนไพรและความร้อน)

1. บรรเทาอาการปวดเมื่อย
2. ช่วยลดอาการบวม อักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อหลัง 24-48 ชั่วโมง
3. ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
4. ช่วยให้เนื้อเยื่อ พังผืด ยืดตัวออก
5. ลดการติดขัดของข้อต่อ
6. ลดอาการปวด
7. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต

สรุปการทำงาน
ผลปฏิบัติงานประจำเดือนพฤศจิกายน 2564 การลงพื้นที่ในครั้งนี้เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจอีกหนึ่งกิจกรรมที่สนุกได้ความรู้ทั้ง 3 กิจกรรมที่จัดขึ้น โดยมีเกร็ดความรู้และวิธีการอย่างละเอียดทุกขั้นตอน ได้ทำงานเป็นทีมกับชาวบ้านในชุมชนและทีมผู้ปฏิบัติงาน การลงพื้นที่ในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านอย่างดียิ่ง
https://www.youtube.com/watch?v=fva7UjlMbxM

อื่นๆ

เมนู