ข้าพเจ้า นางสาวทัตติยา ชุบรัมย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ HS03

เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2564 เวลา 13.30 – 16.00 น.เข้าร่วมการอบรมเกี่ยวกับการขอมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ คือ การขอ อย. และการขึ้นทะเบียน OTOP และมาตรฐาน มผช. โดยนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และนักวิชาการสาธารณะสุข

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 เวลา 10.00 น.ลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูล CBD เกษตรกร ณ หมู่ 4 บ้านโคกไม้แดง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

เมื่อวันที่ วันที่ 28 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00 -12.00 เข้าร่วมงาน จตุรภาคีสี่ประสาน สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน (Quadruple Helix) เสวนาออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom

เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00 น. เข้าร่วมการอบรมการตลาด Online สำหรับผู้ประกอบการ ณ ศาลากลางบ้านหมู่บ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวีดบุรีรัมย์

เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2564 เวลา 16.00 น.เข้าร่วมการประชุมออนไลน์ ผ่านทาง google meet  เพื่อที่จะพูดถึงการเก็บข้อมูล CBD

เมื่อวันที่ 9  พฤศจิกายน 2564 เวลา 10.00 น. ทำรายงาน PPT หัวข้อเรื่อง แหล่งน้ำในท่องถิ่น

เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2564 เวลา 13.30 น. เข้าร่วมอบรมการทำลูกประคบและนวดแผนไทย ณ ศาลากลางบ้านหมู่บ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวีดบุรีรัมย์

เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2564 เวลา 13.30 – 16.00 น.เข้าร่วมการอบรมเกี่ยวกับการขอมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ คือ การขอ อย. และการขึ้นทะเบียน OTOP และมาตรฐาน มผช. โดยนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และนักวิชาการสาธารณะสุข 

อาจารย์ประจำกลุ่มได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกท่าน เข้าร่วมการอบรมเกี่ยวกับการขอมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ คือ การขอ อย. และการขึ้นทะเบียน OTOP และมาตรฐาน มผช. โดยนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และนักวิชาการสาธารณะสุข

ในการอบรมในช่วงแรก จะมีนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ โดย นางภัทรวดี มักขุนทด มาให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดตั้งกลุ่มอาชีพพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ (OTOP) โดยพูดถึงความเป็นมาของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ว่ารัฐบาลได้ดำเนินโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTPO) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1) สร้างงานและเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน

2) เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน

3) ส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

4) ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

5) ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของชุมชน

ประเภทผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ที่จะนำมาดำเนินการลงทะเบียน ต้องผ่านกระบวนการผลิต โดยใช้ภูมิปัญญา จำนวน 5 ประเภท ดังนี้

1.ประเภทอาหาร หมายถึง ผลผลิตทางการเกษตร และอาหารแปรรูป ซึ่งได้รับมาตรฐาน อย., GAP, GMP, HACCP, Qmark, มผช., มอก., มาตรฐานเกษตรอินทรีย์, ฮาลาล และมีบรรจุภัณฑ์ เพื่อการจาหน่ายทั่วไป แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1) ผลิตผลทางเกษตรที่ใช้บริโภคสด

2) ผลิตผลทางการเกษตรที่เป็นวัตถุดิบ และผ่านกระบวนการแปรรูปเบื้องต้น

3) อาหารแปรรูปกึ่งสำเร็จรูป/สำเร็จรูป

2.ประเภทเครื่องดื่ม แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

1) เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

2) เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์

3.ประเภทผ้า เครื่องแต่งกาย

4.ประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก

5.ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ( มผช.)  “ข้อกำหนดคุณลักษณะของ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยชุมชน มีภูมิปัญญาท้องถิ่นและเอกลักษณ์เฉพาะ อยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และเป็นที่ยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้อง”

เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน  “เครื่องหมายการรับรองคุณภาพที่แสดงกับผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด”

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 2546 – 2563 ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ 5 ประเภท

1.ประเภทอาหาร

2.ประเภทเครื่องดื่ม

3.ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร

4.ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย

5.ประเภทเครื่องใช้ เครื่องประดับตกแต่ง ศิลปะประดิษฐ์ และของที่ระลึก

หน่วยรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

  • สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
  • สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.)

ประโยชน์ของการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

  • ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดีขึ้น มีความปลอดภัย
  • ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสม่ำเสมอ
  • ผู้ซื้อ ผู้บริโภค และผู้เกี่ยวข้องตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
  • สร้างความเชื่อมัน และความน่าเชื่อถือ
  • เพิ่มโอกาสทางการค้า ผู้ผลิตเข้าถึงตลาดได้ง่ายขึ้น

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรอง มผช.

การตรวจติดตามผล

ตรวจติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์ภายหลังได้รับการรับรองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

ตรวจประเมิน ณ สถานที่ทาของผู้ได้รับการรับรอง

   – อาจเก็บตัวอย่างเพื่อส่งทดสอบ/ตรวจสอบ

– แจ้งผลการตรวจสอบให้ผู้ได้รับการรับรองทราบ

การต่ออายุใบรับรอง

  • ให้ยื่นขอใหม่ล่วงหน้า 120 วัน ก่อนที่ใบรับรองจะสิ้นอายุ (หากมีความประสงค์ขอต่ออายุใบรับรอง)
  • หน่วยรับรองจะดำเนินการตามกระบวนการรับรอง มผช.

การสิ้นอายุใบรับรอง

  • ใบรับรองครบอายุ 3 ปี
  • ผู้ได้รับการรับรองขอยกเลิกการรับรอง
  • ผู้ได้รับการรับรองเลิก หรือถูกสั่งให้เลิกประกอบกิจการ
  • มาตรฐานมีการแก้ไข ใบรับรองจะมีอายุ 1 ปี นับแต่วันที่มาตรฐานใหม่มีผลบังคับใช้
  • มาตรฐานมีการยกเลิก
  • ผลิตภัณฑ์ที่ตรวจติดตามผลไม่เป็นไปตามมาตรฐาน 2 ครั้งติดต่อกัน

และในช่วงที่สอง ก็ได้มีนักวิชาการอาหารและยาปฏิบัติการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดย

นายลักษิกา คำศรี ได้มาให้ความรู้เกี่ยวกับกรณีศึกษาสถานที่ผลิตอาหารแปรรูป ที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่ายตามมาตรฐาน Primary GMP

ความปลอดภัยจากอันตราย 3 ประการ

1.กายภาพ

2.เคมี

3.จุลินทรีย์

หัวใจ 3 ประการ ของการผลิตอาหารที่ปลอดภัย

  • หัวใจที่ 1 ลดอันตรายเบื้องต้น คัดเลือกวัตถุดิบ ส่วนผสมที่มีคุณภาพดี ใช้ภาชนะบรรจุที่สะอาดและมีการล้างทาความสะอาดรวมทั้งผลิตในสถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่ดีและเครื่องมือ อุปกรณ์ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อน
  • หัวใจที่ 2 ลด/ยับยั้ง-ทาลายเชื้อจุลินทรีย์ ใช้ความร้อนฆ่าเชื้ออย่างเพียงพอ
  • หัวใจที่ 3 ป้องกันการปนเปื้อนซ้ำ โดยการปฏิบัติงานอย่างถูกสุขลักษณะ แยกระหว่างของสุก และของดิบ

กำหนดหลักเกณฑ์การตรวจประเมินสถานที่ ฯ 6 หมวด

1.สถานที่ตั้งและอาคารผลิต

  1. สถานที่ตั้งตัวอาคารและ ที่ใกล้เคียง ต้องอยู่ในที่ๆจะไม่ทา ให้อาหารเกิดการปนเปื้อนได้ง่าย
  2. อาคารผลิตหรือบริเวณผลิตต้อง รักษาความสะอาดและรักษาให้ อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ

หมวดที่ 1 คะแนนเต็ม = 11 คะแนน

2.เครื่องมือและอุปกรณ์

  1. ออกแบบเครื่องมือเครื่องใช้ที่เหมาะสม และคำนึงการปนเปื้อนที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งทาความสะอาดได้ง่าย
  2. ภาชนะหรืออุปกรณ์ในการผลิตที่สัมผัส กับอาหาร ต้องทาจากวัสดุที่ไม่ทา ปฏิกิริยากับอาหารและง่ายต่อการทำความสะอาด
  3. โต๊ะหรือพื้นผิวที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตในส่วนที่สัมผัสกับอาหาร ต้องทาด้วยวัสดุที่ไม่เกิดสนิม ทาความสะอาดง่าย มีความสูงที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานหรือมีมาตรการในการป้องกันการปนเปื้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

หมวดที่ 2 คะแนนเต็ม = 6 คะแนน

3.การควบคุมกระบวนการผลิต

  1. วัตถุดิบ ส่วนผสมในการผลิตอาหาร ต้องมีการคัดเลือกให้อยู่ในสภาพที่สะอาด มีคุณภาพ ต้องล้างทาความสะอาดตามความจาเป็นเพื่อขจัดสิ่งสกปรก และต้องเก็บรักษาวัตถุดิบภายใต้สภาวะที่ป้องกันการปนเปื้อนโดยมีการเสื่อมสลายน้อยที่สุด และหมุนเวียนของวัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพ หากมีการใช้วัตถุเจือปนอาหาร ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร
  2. การดาเนินการระหว่าง ผลิตอาหาร มีการขนย้ายวัตถุดิบ ส่วนผสม ภาชนะบรรจุ และบรรจุภัณฑ์ในลักษณะที่ไม่เกิดการปนเปื้อน
  3. ผู้ผลิตมีขั้นตอนและวิธีการในการควบคุมกระบวนการผลิตเป็นไปตามข้อกำหนดหรือตามความเหมาะสมของกระบวนการผลิตนั้นๆอย่างเคร่งครัด
  4. น้าที่ใช้ในกระบวนการผลิตที่สัมผัสกับอาหารต้องเป็นน้าที่สะอาด บริโภคได้ มีคุณภาพมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง น้าบริโภค และการนาไปใช้ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ
  5. น้าแข็งใช้ในกระบวนการผลิตที่สัมผัสกับอาหาร สะอาด มีคุณภาพมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง น้าแข็ง และการนาไปใช้ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ
  6. การผลิต เก็บรักษา ขนย้าย และขนส่งผลิตภัณฑ์อาหารต้องป้องกันการปนเปื้อนและกันการเสื่อมสลายของอาหารและภาชนะบรรจุด้วย

หมวดที่ 3 คะแนนเต็ม = 15 คะแนน

4.การสุขาภิบาล

  1. น้าที่ใช้ภายในสถานที่ผลิต ต้องเป็นน้าสะอาดและจัดให้มีการปรับคุณภาพน้า ตามที่จาเป็น
  2. จัดให้มีภาชนะรองรับขยะมูลฝอยที่มีฝาปิดในจานวนที่เพียงพอ และมี ระบบกาจัดขยะมูลฝอยที่เหมาะสม
  3. จัดให้มีห้องส้วมและอ่างล้างมือหน้าห้องส้วมให้เพียงพอสาหรับผู้ปฏิบัติงาน และต้องถูกสุขลักษณะ มีอุปกรณ์ล้างมือครบถ้วน ใช้งานได้ สะอาด

และต้องแยกต่างหากจากบริเวณที่ผลิตหรือไม่เปิดสู่บริเวณผลิตโดยตรง

  1. จัดให้มีอ่างล้างมือในบริเวณผลิตให้เพียงพอ

ใช้งานได้ สะอาด และมีอุปกรณ์ล้างมืออย่างครบถ้วน

  1. การจัดการระบายน้าทิ้งและสิ่งโสโครกอย่างมีประสิทธิภาพ

                หมวดที่ 4 คะแนนเต็ม = 13 คะแนน

5.การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด

  1. ตัวอาคารสถานที่ผลิตต้องทาความสะอาดและรักษาให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะอย่างสม่ำเสมอ
  2. เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการผลิต มีการทาความสะอาดอย่างสม่ำเสมออยู่ในสภาพที่ใช้งานได้
  3. การจัดเก็บสารเคมีทาความสะอาดหรือสารเคมีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาสุขลักษณะ ต้องแยกให้เป็นสัดส่วน ปลอดภัย พร้อมมีการแสดงป้ายชื่อ

หมวดที่ 5 คะแนนเต็ม = 5 คะแนน

6.บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน

  1. ผู้ปฏิบัติงานในบริเวณผลิตอาหารไม่มีบาดแผล ไม่เป็นโรคหรือพาหะของโรคตามที่ระบุใน กฎกระทรวง หรือมีบาดแผลมี่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของผลิตภัณฑ์
  2. ผู้ปฏิบัติงานทุกคนที่ทาหน้าที่สัมผัสอาหาร ต้องสวมเสื้อผ้าที่สะอาด สวมหมวก หรือ ผ้าคลุมผมหรือตาข่าย, มีมาตรการการจัดการรองเท้าที่ใช้ในการผลิตที่เหมาะสม ไม่สวมเรื่องประดับ พร้อมทั้งล้างมือและดูแลเล็บมือให้สะอาด อยู่เสมอ
  3. แสดงคาเตือน ห้ามหรือป้องกันมิให้บุคคลแสดงพฤติกรรมอันน่ารังเกียจในการผลิตอาหาร
  4. วิธีการหรือข้อปฏิบัติสาหรับผู้ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตที่มีความจาเป็นต้องเข้าไปใน บริเวณผลิต ต้องปฏิบัติตามข้อ 2 เมื่ออยู่ในบริเวณที่ผลิต

หมวดที่ 6 คะแนนเต็ม = 10 คะแนน

พนักงานที่สัมผัสกับอาหารต้องปฏิบัติ ดังนี้

การแต่งกาย

  • สะอาด
  • สวมหมวกคลุมผม และผ้ากันเปื้อน
  • ตัดเล็บให้สั้น งดทาเล็บ
  • จัดรองเท้าที่ใช้ในโรงงานอย่างเหมาะสม
  • ไม่สวมเครื่องประดับ น้าหอม พกของใช้ส่วนตัว

สุขลักษณะในการผลิต(ก่อนปฏิบัติงาน)

สำรวจความเรียบร้อยของตัวเองก่อนปฏิบัติงาน

  • เสื้อผ้า เครื่องประดับ ของใช้ส่วนตัว
  • หมวกคลุมผม เก็บผมให้หมด
  • ผ้ากันเปื้อน
  • รองเท้า
  • เล็บมือ
  • ล้างมือให้สะอาดก่อนทาการผลิต
  • สวมถุงมือที่สะอาด กรณีไม่สวมถุงมือ ต้องมีมาตรการทาความสะอาด และฆ่าเชื้อที่มือ
  • ฆ่าเชื้อที่มือและ/หรือผ้ากันเปื้อน ด้วยน้ายาฆ่าเชื้อโรค (สารละลาย คลอรีน หรือแอลกอฮอล์)

เนื่องจากปัจจุบันอาหารที่บริโภค มีความเสี่ยงมากขึ้นทุกวัน ไม่ว่าจะเกิดจากสภาพแวดล้อมหรือเกิดจากผู้ผลิตก็ตาม การแสดงเครื่องหมาย อย. บนผลิตภัณฑ์อาหาร ก็ยังเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากตัวเลขในเครื่องหมาย อย. สามารถตรวจความเป็นมาของผลิตภัณฑ์อาหารได้ และการอบรมในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติงานทุกท่านและชาวบ้านเป็นอย่างมาก

 

 

 

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 เวลา 10.00 น.ลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูล CBD เกษตรกร ณ หมู่ 4 บ้านโคกไม้แดง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

อาจารย์ประจำกลุ่มได้มอบหมายงานให้ผู้ปฏิบัติงานทุกท่าน ให้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล CBD เพิ่มเติม ขอให้ผู้ปฏิบัติงานทุกท่านเก็บข้อมูลในหมู่บ้านที่ตนเองรับผิดชอบ ตามจำนวน ดังนี้

1.บัณฑิต จำนวน 50 คน

2.ประชาชน จำนวน 30 คน

3.นักศึกษา จำนวน 20 คน

ส่งข้อมูลได้ถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2564 เวลา 18.00 น.

เมื่อเวลา 10.00 น. ดิฉันได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลสำรวจ CBD เพิ่มเติม ณ หมู่ 4 บ้านโคกไม้แดง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัด บุรีรัมย์ เป็นการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเกษตรกรในท้องถิ่น และข้อมูลที่ต้องสำรวจมี ดังนี้

ชื่อเกษตรกร,ที่อยู่,พิกัด ละติจูด ลองติจูด ,เบอร์ติดต่อ (ถ้ามี),LIND ID (ถ้ามี),Facebook (ถ้ามี),เว็บไซต์ (ถ้ามี),ประเภทของเกษตรกร ,รายการพืช / สัตว์ ที่ทำการเกษตร,พื้นที่ทำการเกษตร (ไร่),รายได้เฉลี่ยต่อปี (บาท),จำนวนแรงงานที่ใช้ (คน),ใช้ระบบหรือเทคโนโลยีทุ่นแรงหรือไม่,เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชมได้หรือไม่,ภาพถ่าย (อย่างน้อย 5 ภาพ)

จากข้อมูลที่ดิฉันได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลพบว่า ชาวบ้านในหมู่บ้านโคกไม้แดงส่วนใหญ่ ทำอาชีพเกษตรกร ทำอาชีพ ปลูกข้าวหอมมะลิ ปลูกมันสำปะหลัง และเลี้ยงวัวเป็นหลัก ส่วนมากมีพื้นที่ทำการเกษตรอยู่ระหว่าง 10-20 ไร่ ขึ้นไป รายได้ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับว่าในปีนั้นๆ ราคามันสำปะหลังและข้าวมีราคาอยู่ที่ประมาณกี่บาท ถ้าเป็นในช่วงปีที่แล้ว รายได้ส่วนใหญ่อยู่ที่ ประมาณ 100,000 – 200,000 บาทขึ้นไป ต่อปี เพราะต้องหักลบค่าแรงงานคนและเครื่องจักรที่ใช้ในการเกษตรออกไปด้วย และ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เปิดให้คนนอกเข้าชมที่นา หรือไร่มัน เพราะอาจจะไปทำลายให้ ข้าวและมันสำปะหลังได้รับความเสียหายได้

เมื่อวันที่ วันที่ 28 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00 -12.00 เข้าร่วมงาน จตุรภาคีสี่ประสาน สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน (Quadruple Helix) เสวนาออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom 

ดิฉันได้เข้าร่วมงาน จตุรภาคีสี่ประสาน สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน (Quadruple Helix) เสวนาออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom เวลา 09.00 – 12.00 น . ในการเข้าร่วมการอบรมรมในครั้งนี้ มีเกียรติบัตรออนไลน์มอบให้แก่ผู้เข้าร่วมอบรมทุกคนด้วย

และในการประชุมมีผู้กล่าวรายงาน โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และมีพิธีกร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คําภีรภาพ อินทะนู รองคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และดําเนินการเสวนาโดย อาจารย์ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณบดีฝ่ายพันธกิจชุมชนสัมพัน์และภูมิทัศน์

มีผู้ร่วมเสวนา ด้วยกันทั้งหมด 5 ท่านได้แก่

– นายคําเดื่อง ภาษี ประธานปราชญ์ชาวบ้านบุรีรัมย์

– รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาท เนืองเฉลิม จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

– นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรานายกเทศมนตรีตําบลอิสาณ

– นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้า จังหวัดบุรีรัมย์

– รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ในการเสวนาในครั้งนี้ผู้ดำเนินงาน และผู้ร่วมเสวนา ได้ให้ความรู้และความสนุกมากมายเป็นการเสวนาที่ไม่น่าเบื่อ ดิฉันได้รับความรู้มากมายจากการเสวนาในครั้งนี้

เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00 น. เข้าร่วมการอบรมการตลาด Online สำหรับผู้ประกอบการ ณ ศาลากลางบ้านหมู่บ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวีดบุรีรัมย์ 

อาจารย์ประจำกลุ่มได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกท่าน เข้าร่วมการอบรมการตลาด Online สำหรับผู้ประกอบการ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีใน ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวีดบุรีรัมย์ และได้มอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกท่าน เรียนเชิญชาวบ้านตำบลบ้านสิงห์ ทีสนใจในการเข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้ เรียนเชิญมาหมู่บ้านละ 2 ท่าน เพื่อเข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้

การอบรม การตลาด Online สำหรับผู้ประกอบการ โดยมีอาจารย์ ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง อาจารย์สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ ได้มาให้ความรู้เรื่องการทำเพจ ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานและชาวบ้านที่มาเข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้ อาจารย์ได้ให้ความรู้และวิธีการทำเพจขึ้นมา เพื่อที่จะเพิ่มช่องทางการหารายได้ให้แก่ชาวบ้านมากขึ้น ต่อมา อาจารย์ได้มอบหมายให้ตัวแทนผู้ปฏิบัติงานสร้างเพจบน Facebook ขึ้นมา เพื่อที่จะได้เอาผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในตำบลบ้านสิงห์ มาลงขายในเพจ และวิธีการสร้างเพจบน Facebook  มีดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 : สร้างเพจขายของบนเฟสบุ๊ค (FACEBOOK PAGE)

  • เข้าไปที่ https://www.facebook.com/pages/create
  • จากนั้นคลิกเลือกประเภทของเพจ (ถ้าคุณอยากเปิดร้านค้า แนะนำให้เลือกเป็น “ธุรกิจหรือแบรนด์” )

ขั้นตอนที่ 2 : ใส่รายละเอียด

  • ตั้งชื่อเพจ ควรตั้งให้จำง่ายและมีคีย์เวิร์ดของสินค้าที่เราขาย
  • เลือกหมวดหมู่
  • คลิก ‘ดำเนินการต่อ’ หรือ ‘สร้างหน้า’

ขั้นตอนที่ 3 : ตั้งรูปโปรไฟล์และภาพปก (PROFILE & COVER IMAGE)

  • เลือกภาพโปรไฟล์ (ขนาด 180 x 180 px)
  • กด ‘อัปโหลดรูปโปรไฟล์’
  • เลือกภาพปก (Cover Image) (ขนาด 1,640 x 856 px)
  • กด ‘อัปโหลดรูปภาพหน้าปก’
  • Tips: รูปภาพหน้าปก ควรจัดวาง ข้อความ รูปภาพ ใจความสำคัญไว้ส่วนกลางของรูปภาพ เนื่องจากการแสดงผลบนโทรศัพท์ จะแสดงผลความกว้างรูปภาพเพียง 1,255 px เท่านั้น

ขั้นตอนที่ 4 : ตั้งค่าข้อมูลเพจ ข้อมูลร้านค้า ราควรใส่รายละเอียดต่างๆของร้านเราให้ครบถ้วน ชัดเจน

  • กด ‘เพิ่มคำอธิบายสั้นๆ’ เพื่อเข้าสู่กระบวนการตั้งค่าข้อมูลเพจร้านขายของของเรา ซึ่งจะให้เราใส่ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเพจ วิธีการติดต่อกับร้าน ตำแหน่งที่ตั้งร้าน วันและเวลาเปิด-ปิดร้าน (สามารถกดข้ามและย้อนมาใส่ภายหลังได้ ให้เข้าไปที่ ตั้งค่า ▶ ข้อมูลเพจ)
  • ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเพจ

คำอธิบายเพจ ในส่วนนี้ แนะนำให้คุณแม่ค้าใส่รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้า (ขายอะไร, ขายยังไง) การจัดส่ง และข้อมูลการติดต่อ ให้ลูกค้าอ่านแล้วรู้ได้ทันทีเลยว่าเราขายอะไร และจะติดต่อเราได้ยังไงค่ะ

 

หมวดหมู่ เลือกหมวดหมู่ให้ตรงกับประเภทสินค้าที่เราขาย เพราะเฟสบุ๊คจะเลือกแนะนำเพจเราไปให้กับกลุ่มเป้าหมายที่ชอบสินค้าที่เราขาย

  • การติดต่อ

เลขโทรศัพท์มือถือ หากใส่เบอร์ไว้จะทำให้ลูกค้าสามารถติดต่อร้านได้ง่าย เป็นอีกวิธีที่ปิดการขายง่าย

 

เว็บไซต์ (Website) ถ้ามีเว็บไซต์ให้เอาลิงก์เว็บไซต์มาวางไว้ เพื่อให้ลูกค้าสามารถกดเข้าไปดูสินค้าตัวอื่นของเราได้ง่ายขึ้น เพิ่มโอกาสการซื้อมากขึ้น ซึ่งหากไม่มีคุณแม่ค้าท่านไหนยังไม่มีเว็บไซต์ สามารถว่างไว้ได้ หรือสามารถสมัครใช้งาน Page365 Store เว็บไซต์ฟรีที่ดึงสินค้าจากเพจเฟสบุ๊คไปแสดงในรูปแบบเว็บไซต์

 

อีเมล (Email)

  • ตำแหน่งที่ตั้ง ให้ใส่ที่อยู่ร้านค้า
  • เวลาทำการ ให้ระบุช่วงเวลาทำการของร้าน

ขั้นตอนที่ 5 : สร้าง URL ให้ร้าน เพื่อให้คนเข้าถึงและแชร์ได้ง่ายๆ

                ควรสร้างชื่อที่จำง่าย พิมพ์ง่าย เพื่อให้แฟนเพจติดต่อเราได้ง่าย แชร์ข้อมูลเราได้ง่าย ขั้นตอนนี้ถ้ายังคิดชื่อไม่ออก สามารถกดข้ามและมาตั้งค่าย้อนหลังได้ กด ‘สร้างชื่อผู้ใช้ของเพจ’ ที่อยู่ใต้ภาพโปรไฟล์ (Profile Image) จากหน้าแรกของเพจได้เลย

ขั้นตอนที่ 6 : สร้างปุ่มให้ลูกค้า INBOX ง่ายขึ้น

  • คลิก ‘+ เพิ่มปุ่ม’
  • เลือก ‘ส่งข้อความ’
  • คลิก ‘Messenger’
  • และคลิก ‘เสร็จสิ้น’

ตอนนี้เราก็มีปุ่ม ส่งข้อความ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ลูกค้าที่เข้ามาดูสินค้าในเพจเราก็สามารถกดปุ่มนี้เพื่อส่งข้อความถึงคุณแม่ค้าได้ทันที

การทำเพจ ทำให้เราสามารถนำเสนอเรื่องราวต่างๆ ให้กับลูกค้าได้หลากหลาย มากกว่าแค่ขายของอย่างเดียว ซึ่งด้วยการเข้าถึงที่เรียบง่ายและสะดวกรวดเร็วนี้เอง ทำให้ร้านค้าสามารถนำเสนอเรื่องราวอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์กับลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงบอกข่าวสารโปรโมชั่นต่างๆ ก่อให้เกิดเป็นการคุยกัน 2 ทาง และสร้างเป็นกลุ่มสังคมขึ้นมา

เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2564 เวลา 16.00 น.เข้าร่วมการประชุมออนไลน์ ผ่านทาง google meet  เพื่อที่จะพูดถึงการเก็บข้อมูล CBD

อาจารย์ประจำกลุ่มได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกท่านประชุมออนไลน์ ผ่านทาง google meet  เพื่อที่จะพูดถึงการเก็บข้อมูล CBD

ในการประชุม อาจารย์ประจำกลุ่มได้พูดถึงเกี่ยวกับข้อมูลของ CBD ว่าเป็นการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับอะไรบ้าง และการเก็บข้อมูลของ CBD  มีข้อมูลทั้งหมด 10 หัวข้อ ดังนี้

1.ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด

2.แหล่งท่องเที่ยว

3.ที่พัก/โรงแรม

4.ร้านอาหารในท้องถิ่น

5.อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น

6.เกษตรกรในท้องถิ่น

7.พืชในท้องถิ่น

8.สัตว์ในท้องถิ่น

9.ภูมิปัญญาในท้องถิ่น

10.แหล่งน้ำในท้องถิ่น

และทางส่วนกลางอยากให้แต่ละตำบลเลือกหัวข้อ CBD ที่เด่น ๆ ในตำบลมาทำ PPT ซึ่งทางตำบลบ้านสิงห์ได้เลือกหัวข้อ CBD มา 3 หัวข้อ ได้แก่

1.อาหารในท้องถิ่น

2.ภูมิปัญญาในท้องถิ่น

3.แหล่งน้ำในท้องถิ่น

ซึ่งอาจารย์ประจำกลุ่มก็ได้แบ่งกลุ่มให้ผู้ปฏิบัติงานทุกท่านทำ PPT ทั้ง 3 หัวข้อดังนี้

1.กลุ่มบัณฑิต แบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม

2.กลุ่มประชาชนและกลุ่มนักศึกษา

แบ่งได้ดังนี้

  • กลุ่มบัณฑิต กลุ่มที่ 1 มีสมาชิกทั้งหมด 6 คน รับผิดชอบทำ PPT หัวข้อ แหล่งน้ำในท้องถิ่น
  • กลุ่มบัณฑิต กลุ่มที่ 2 มีสมาชิกทั้งหมด 6 คน รับผิดชอบ ทำ PPT หัวข้อ ภูมิปัญญาในท้องถิ่น
  • กลุ่มประชาชนและกลุ่มนักศึกษา มีสมาชิกทั้งหมด 12 คน รับผิดชอบทำ PPT หัวข้อ ภูมิปัญญาในท้องถิ่น

และเมื่ออาจารย์ประจำกลุ่ม แบ่งกลุ่มทำ PPT เรียบร้อยแล้ว อาจารย์ก็ได้แจ้งให้ผู้ปฏิบัติงานทุกท่าน เก็บฐานข้อมูล CBD ที่ส่วนกลางได้แจ้งยอกสถิติไว้คือ 1,000 คน (ส่งภายในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564)

และเมื่ออาจารย์ประจำกลุ่มได้มอบหมายงานให้แก่ผู้ปฏิบัติงานทุกท่านเรียบร้อยแล้ว อาจารย์ประจำกลุ่มได้ให้ตัวแทน ผู้ปฏิบัติงานได้สรุปข้อมูลที่ประชุมในวันนี้ ว่าพูดถึงเกี่ยวกับงานอะไรบ้าง เมื่อตัวแทนผู้ปฏิบัติงานได้สรุปข้อมูลที่ประชุมในวันนี้เสร็จ เป็นอันเสร็จสิ้นการประชุมออนไลน์ในวันนี้

 

เมื่อวันที่ 9  พฤศจิกายน 2564 เวลา 10.00 น. ทำรายงาน PPT หัวข้อเรื่อง แหล่งน้ำในท้องถิ่น 

ดิฉันและเพื่อน ๆ กลุ่มบัณฑิต ได้นัดหมายกันทำรายงาน PPT หัวข้อเรื่อง แหล่งน้ำในท่องถิ่น และอาจารย์ประจำกลุ่มได้แจ้งรายละเอียดใน PPT ว่าต้องมีข้อมูลอะไรบ้าง และใน PPT จะมีเอกสารด้วยกันทั้งหมด 3 แผ่น

แผ่นแรกคือ painpoint  เป็นการอธิบายปัญหาในประเด็นที่เราเลือกมาว่ามีปัญหาอะไร

แผ่นที่ 2 เป็นการบรรยายถึงข้อมูลของประเด็นที่เราทำ เช่น ในชุมชนมีอาหารท้องถิ่นอะไรบ้าง มีภูมิปัญญาอะไร  หรือมีแหล่งน้ำที่ไหน ใส่ชื่อและระบุตำแหน่ง

แผ่นที่ 3 เป็นการเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาในประเด็นที่เราเลือก

และในส่วนของกลุ่มดิฉันได้ทำ PPT ในหัวข้อเรื่อง แหล่งน้ำในท้องถิ่น ซึ่งมีข้อมูล ดังนี้

ข้อมูลในแผ่นที่ 1

ผลของการดำเนินงานวิเคราะห์ปัญหาแหล่งน้ำในชุมชนรายพื้นที่ของ ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์

 ปัญหา

1.ช่วงฤดูร้อนน้ำแห้งขอด

2.ปริมาณน้ำไม่เพียงพอในการทำเกษตรในช่วงหน้าแล้ง

3.คุณภาพน้ำอยู่ในระดับน้อย มีตะกอน (ใช้ทำการเกษตร/อุตสาหกรรมได้)

4.ช่วงฤดูฝนน้ำหลากเข้าท่วมหมู่บ้าน

5.ไม่สามารถระบายน้ำได้ดีเท่าที่ควร

6.ฝายชำรุดไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อมูลในแผ่นที่ 2

สระหนองโคตร

ที่อยู่ : หมู่ 7 บ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ตำแหน่ง x : 14.736379989892422

y : 102.79708365487313

ประเภทแหล่งน้ำ : หนอง

คุณภาพของน้ำ : น้อย (ใช้ในการเกษตร/อุตสาหกรรม ปะปาหมู่บ้าน)

ปัญหา : น้ำขุ่น , ลึกและชัน

แนวทางแก้ปัญหา : ปรับสภาพพื้นดินโดยรอบ

ห้วยลำมาศ

ที่อยู่ : ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ( ไหลผ่าน หมู่ 5 บ้านหนองตาชี , หมู่ 8 บ้านหนองกง , หมู่ 9 บ้านหนองจันทร์แดง , หมู่ 13 บ้านหนองสองห้อง )

ตำแหน่ง x : ​14.7734292

y: 102.7646936

ประเภทแหล่งน้ำ : ห้วย

คุณภาพของน้ำ : น้อย ( ใช้ในการเกษตร/อุตสาหกรรม ประปาหมู่บ้าน )

ปัญหา :ช่วงฤดูร้อนน้ำแห้งขอด , ช่วงฤดูฝนน้ำหลากท่วมหมู่บ้าน

แนวทางแก้ปัญหา : ฝายชะลอน้ำ , โรงสูบน้ำไฟฟ้า

ลำห้วยน้อย

ที่อยู่ : หมู่ 3 บ้านสิงห์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

( ไหลผ่าน หมู่ 2 หนองขาม , หมู่ 4 บ้านโคกไม้แดง , หมู่ 6 บ้านสระหมู , หมู่ 14 บ้านโพธิ์ทอง )

ตำแหน่ง x : 14.7401320

y : 102.8211975

ประเภทแหล่งน้ำ : ฝาย

คุณภาพของน้ำ : ปานกลาง (ใช้ทำการประมง / อุตสาหกรรมได้)

ปัญหา : ฝายชำรุด, ต้องรอน้ำจากที่สูงลงที่ต่ำ

แนวทางแก้ปัญหา : ซ้อมแซมฝายชะลอน้ำ

สระหนองดุม

ที่อยู่ : หมู่ 1 บ้านหนองดุม ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ตำแหน่ง x :14.7297988

y : 102.8106906

ประเภทแหล่งน้ำ : หนอง

คุณภาพของน้ำ : น้อย ( ใช้ในการเกษตร/อุตสาหกรรม ปะปาหมู่บ้าน )

ปัญหา : น้ำขุ่นไม่ค่อยสะอาด

แนวทางแก้ปัญหา :  มีระบบกรองน้ำเสียก่อนนำไปใช้

ข้อมูลในแผ่นที่ 3

แนวทางการแก้ปัญหา

  • ซ่อมแซมฝายชะลอน้ำเพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ,เพียงพอต่อการทำเกษตรในหน้าแล้ง
  • วางทอระบายน้ำเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมขังในเขตชุมชนและพื้นที่ทำการเกษตร
  • ปรับปรุงคุณภาพของน้ำดิบให้เป็นน้ำประปาที่สะอาดและมีคุณภาพที่ได้มาตรฐานเพียงพอต่อการนำไปใช้อุปโภคบริโภค

ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

  • น้ำอยู่ในลำห้วยได้นานขึ้น , มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการทำเกษตรในช่วงหน้าแล้ง
  • ระบายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่หลากเข้าท่วมหมู่บ้าน
  • คุณภาพน้ำดีขึ้นและอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่สามารถนำมาใช้อุปโภคบริโภคได้โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย

     

    เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2564 เวลา 13.30 น. เข้าร่วมอบรมการทำลูกประคบและนวดแผนไทย ณ ศาลากลางบ้านหมู่บ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวีดบุรีรัมย์

อาจารย์ประจำกลุ่มนัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุกท่านมาร่วมอบรมการทำลูกประคบและนวดแผนไทยเวลา 13.30 น.และให้ผู้ปฏิบัติงานทุกท่านเรียนเชิญชาวบ้านที่ตนรับผิดชอบที่มีความสนใจ มาหมู่บ้านละ 2 คน  เพื่อมาเข้าร่วมอบรมกับทางทีมเราด้วย

ในการอบรมการทำลูกประคบสมุนไพร ก็ได้มีวิทยากร คือ ดร.วิริญรัชญ์ สื่อนอก สาขาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้มาให้ความรู้และสอนวิธีทำลูกประคบด้วย โดยอาจารย์ จะแบ่งผู้ปฏิบัติงานและชาวบ้านออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ เพื่อที่จะได้สอนวิธีทำได้ทั่วถึงและรวดเร็ว และวิธีการทำลูกประคบสมุนไพร มีดังนี้

สมุนไพรสำหรับทำลูกประคบ ใช้สมุนไพรสดหรือแห้งก็ได้แต่ต้องไม่มีรา

กลุ่มน้ำมันหอมระเหย (ใช้อย่างน้อย 3 อย่าง)

ไพล                         ช่วยลดอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก คลายกล้ามเนื้อ ลดอาการอักเสบ ฟกช้ำ บวม

ตะไคร้                     แต่งกลิ่น ลดอาการฟกช้ำ ลดอาการปวดเมื่อย

ขมิ้นอ้อย                 ช่วยลดอาการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง

ขมิ้นชัน                   ช่วยลดอาการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง

ผิวมะกรูด               มีน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน (ถ้าไม่มีใช้ใบแทนได้)

ผิวส้ม                      บรรเทาลมวิงเวียน

ข่า                           รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน

กลุ่มที่มีรสเปรี้ยว (กรดอ่อน ๆ )

ใบมะขาม               ช่วยให้เส้นเอ็นหย่อน แก้โรคผิวหนังผื่นคัน ช่วยบำรุงผิว

ใบขี้เหล็ก               ช่วยละลายไขมันใต้ผิวหนัง ทำให้หลับสบาย

ใบส้มป่อย              ช่วยบำรุง แก้โรคผิวหนัง ลดความดัน

กลุ่มสารที่มีกลิ่นหอม จะระเหยเมื่อถูกความร้อน

การบูร    แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ

พิมเสน    แต่งกลิ่น ลดอาการพุพองผดผื่น บำรุงหัวใจ

เกลือ       ช่วยดูดความร้อน และช่วยพาให้ตัวยาซึม ผ่านผิวหนังได้ดีขึ้น

การเก็บรักษาลูกประคบ

  • เก็บไว้ในที่แห้ง ไม่มีฝุ่น
  • สำหรับลูกประคบสมุนไพรสด สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้ 3 – 5 วัน

การใช้งาน

  • สำหรับลูกประคบแห้ง ควรพรมน้ำบนลูกประคบก่อนนำไปนึ่ง
  • นำลูกประคบที่ได้ไปนึ่งในหม้อนึ่ง ใช้เวลาประมาณ 15 – 20 นาที

วัสดุ – อุปกรณ์ (ได้ลูกประคบประมาณ 10 ลูก)

  • ผ้าดิบ หรือผ้าฝ้าย ขนาด 40*40 เซนติเมตร
  • ภาชนะสำหรับผสมสมุนไพรแห้ง
  • เชือกยาว 200 เมตร
  • เครื่องชั่ง

ในสูตรนี้ใช้สมุนไพรแห้ง (สามารถนำสมุนไพรสดไปตากหรืออบแห้งได้)

  • ไพล 400 กรัม
  • ผิวมะกรูด 100 กรัม
  • การบูร 30 กรัม
  • ขมิ้นชัน 100 กรัม
  • ใบมะขาม 100 กรัม
  • พิมเสน 30 กรัม
  • ตะไคร้ 200 กรัม
  • ใบส้มป่อย 50 กรัม
  • เกลือ 60 กรัม

วิธีการทำ

1.บดหรือทุบสมุนไพรแห้งพอหยาบ

2.ผสมส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน

3.ชั่งส่วนผสม 100 กรัม วางลงบนผ้า

4.ห่อผ้าและมัดเชือกให้แน่น

5.บรรจุลูกประคบไว้ในถุง เก็บในที่แห้ง สามารถเก็บได้ประมาณ 1 ปี

การทำลูกประคบเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อซึ่งเป็นการรักษาพยาบาลในเบื้องต้นได้ เป็นการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน สมุนไพรพื้นบ้าน หาได้ไม่ยากนักในหมู่บ้าน การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการรักษาโรคมาทำเป็นลูกประคบ เพื่อสะดวกในการใช้ สำหรับบรรเทาอาการปวดเมื่อย คลายความแข็งเกร็งของกล้ามเนื้อช่วยให้เส้นเอ็นที่ตึงแข็ง อ่อนตัวลง ช่วยระบบการไหลเวียนของโลหิต

และในช่วงต่อมา คือ การทำกิจกรรมนวดแผนไทย โดยมีวิทยากร คือ อาจารย์แพทย์แผนไทยจากโรงพยาบาลนางรอง ได้มาให้ความรู้และสาธิตวิธีการนวดที่ถูกต้อง และใครที่มีโรคประจำตัวต่อไปนี้ควรจะต้องงด หรือระมัดระวังให้มากในระหว่างการนวด เพราะการกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต หรือการยืดดัดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นนั้น อาจทำให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บได้ โรคที่ว่ามีดังต่อไปนี้ โรคความดันโลหิต, โรคหัวใจ, โรคกระดูกพรุน, โรคเกี่ยวกับระบบประสาท โดยเฉพาะไขสันหลัง, โรคข้อต่อหลวม, โรคหลอดเลือด หรือน้ำเหลืองอุดตัน, โรคเบาหวาน เป็นต้น

ทั้งนี้ ไม่ใช่ว่าผู้เป็นโรคเหล่านี้ไม่สามารถนวดแผนไทยได้ เพียงแค่ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อน ว่าสามารถที่จะนวดแผนไทย แบบกดจุด ยืดเส้นได้หรือไม่ เพื่อป้องกันเอาไว้ ไม่ให้เกิดอาการฟกช้ำ ระบบหมุนเวียนเลือดแปรปรวนหรือกระดูกหัก

 

อื่นๆ

เมนู