HS03-บ้านสระหมูเก็บข้อมูลในพื้นที่ ต.บ้านสิงห์ อ.นางรอง
การทำงานภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือน พฤศจิกายน
ดิฉัน นางสาวธนัชพร สมใจเรา กลุ่มประชาชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง โครงการแปรรูปขนมเพื่อสร้างรายได้ในชุมชน ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รับผิดชอบลงพื้นที่ในหมู่ 6 บ้านสระหมู ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ในเดือน พฤศจิกายน นี้มีกิจกรรมที่ทำ ดังนี้
– กิจกรรม อบรมเพื่อขอมาตรฐานให้กับผลิตภัณฑ์
– ลงพื้นที่เก็บข้อมูล
– กิจกรรม อบรมการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์จากการแปรรูป
– ประชุมงานออนไลน์
– การเสวนาออนไลน์ผ่านระบบ Zoom ในหัวข้อเรื่อง “Quadruple Helix : จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน”
– วิเคราะห์ปัญหารายพื้นที่จากข้อมูล CBD เกี่ยวกับภูมิปัญญาในท้องถิ่น
– อบรมการทำลูกประคบและการนวดแผนไทย
วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2564
กิจกรรม อบรมเพื่อขอมาตรฐานให้กับผลิตภัณฑ์ โครงการแปรรูปขนมเพื่อสร้างรายได้ในชุมชน ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ( 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ) ณ ศาลากลางหมู่บ้าน “บ้านหนองบัวราย” ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้เรียนเชิญตัวแทนหมู่บ้านละ 2 ท่านในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมกับผู้ปฏิบัติงาน โดยมีรวมไปถึงวิทยากรที่มาให้ข้อมูล โดย นางภัทรวดี มักขุนทด “นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ”
จากการอบรมในครั้งนี้ได้รับสาระความรู้จาก นางภัทรวดี มักขุนทด “นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ” ดังนี้
กลุ่ม คือ การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปมารวมกัน โดยมีการติดต่อสัมพันธ์กัน หรือปฏิสัมพันธ์กัน และมีจุดมุ่งหมายที่จะกระทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน และความสัมพันธ์นี้ จะช่วยให้สมาชิกกลุ่มอยู่ร่วมกันได้ในระดับที่พอดี
การที่บุคคลมารวมกันเป็นกลุ่ม จะต้องมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือหลายลักษณะต่อไปนี้เกิดขึ้น
(ก) จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กันเสมอ
(ข) แต่ละคนจะถือว่าคนเองเป็นสมาชิกกลุ่ม
(ค) แต่ละคนในกลุ่มจะยอมรับกันเป็นสมาชิกกลุ่ม
(ง) มีปทัสถานร่วมกัน
(จ) แต่ละคนจะมีบทบาทที่ชัดเจน
(ฉ) มีการเลียนแบบลักษณะบางอย่างที่ตนเองคิดว่าเหมาะสมจากสมาชิกในกลุ่ม
(ช) สมาชิกมีความคิดว่ากลุ่มจะต้องให้ผลประโยชน์ต่อสมาชิก
(ซ) สมาชิกจะแสวงหาเป้าหมายร่วมกัน
(ฌ) มีการรับรู้ความเป็นเอกภาพของกลุ่มร่วมกัน
(ญ) สมาชิกกลุ่มจะปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของกลุ่ม
กลุ่มอาชีพ คือ การรวมตัวของชาวบ้านที่ประกอบอาชีพเดียวกัน ดำเนินกิจกรรมด้านอาชีพ กิจกรมผลิต และจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง โดยมีคณะกรรมการดำเนินงานของกลุ่ม มีระเบียบข้อบังคับ
การบริหารจัดการกลุ่ม (5 ก.)
ก1 : กลุ่ม/สมาชิก ที่มีความสมัครใจพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการดำเนินงานของกลุ่ม
ก2 : กรรมการ ซึ่งได้รับมอบหมายและเป็นตัวแทนจากสมาชิกให้บริหารกลุ่ม
ก3 : กฎ กติกา ระเบียบข้อบังคับกลุ่ม เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกัน ระหว่างสมาชิกและคณะกรรมการ
ก4 : กองทุน ปัจจัย เงินหรือเครื่องมือ ที่ทำให้กิจกรรมของกลุ่มดำเนินการได้และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่ม
ก5 : กิจกรรม เป็นสิ่งที่ร่วมกันปฏิบัติ
เพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน
การนำกลุ่มอาชีพเข้าสู่ OTOP
จากแนวคิด…..
หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (One Tambon One Product : OTOP)
ที่เน้นกระบวนการ การสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ในแต่ละหมู่บ้าน ชุมชน หรือตำบล เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้แต่ละชุมชน ได้นำทรัพยากร ภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการคุณภาพที่มีจุดเด่นและมูลค่าเพิ่มเป็นที่ต้องการของตลาด สอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของท้องถิ่น โดยยึดหลักการพึ่งตนเองของชุมชน และรัฐพร้อมที่จะช่วยเหลือในด้านความรู้สมัยใหม่และการบริหารจัดการ เชื่อมโยงสินค้าชุมชนสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ
โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)
ความเป็นมา รัฐบาลได้ดำเนินโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมทั่วทุกภูมิภาคทั่วประเทศ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการระดับประเทศในส่วนกลางและคณะกรรมการระดับภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
(1) สร้างงานและเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน
(2) เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน
(3) ส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
(4) ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
(5) ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของชุมชน
ประเภทผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
- ประเภทอาหาร
หมายถึง ผลผลิตทางการเกษตร และอาหารแปรรูป ซึ่งได้รับมาตรฐาน อย., GAP, GMP, HACCP, Qmark, มผช., มอก., มาตรฐานเกษตรอินทรีย์, ฮาลาล และมีบรรจุภัณฑ์ เพื่อการจำหน่ายทั่วไป แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1) ผลิตผลทางเกษตรที่ใช้บริโภคสด
2) ผลิตผลทางการเกษตรที่เป็นวัตถุดิบ และผ่านกระบวนการแปรรูปเบื้องต้น
3) อาหารแปรรูปกึ่งสำเร็จรูป/สำเร็จรูป
2.ประเภทเครื่องดื่ม
แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
1) เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
2) เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์
- ประเภทผ้า เครื่องแต่งกาย
- ประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก
5 ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ( มผช.)
สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดบุรีรัมย์
“ข้อกำหนดคุณลักษณะของ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยชุมชน มีภูมิปัญญาท้องถิ่นและเอกลักษณ์เฉพาะ อยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และเป็นที่ยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้อง”
เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
เครื่องหมายการรับรองคุณภาพที่แสดงกับผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด
มีลักษณะเป็นรูปมือประสานต่อเนื่องกันภายในกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัสเอียงเป็นมุม 45 องศา
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 2546-2563
ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ 5 ประเภท
- ประเภทอาหาร
- ประเภทเครื่องดื่ม
- ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร
- ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย
- ประเภทเครื่องใช้เครื่องประดับตกแต่ง ศิลปะประดิษฐ์ และของที่ระลึก
หน่วยรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
– สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
– สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.)
สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดบุรีรัมย์ 97/7 ถ.อินจันทร์ณรงค์ ต.ในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 31000
โทร.044-612934 ต่อ 401-404
ประโยชน์ของการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
– ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดีขึ้น มีความปลอดภัย
– ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสม่ำเสมอ
– ผู้ซื้อ ผู้บริโภค และผู้เกี่ยวข้องตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
– สร้างความเชื่อมัน และความน่าเชื่อถือ
– เพิ่มโอกาสทางการค้า ผู้ผลิตเข้าถึงตลาดได้ง่ายขึ้น
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรอง มผช.
เงื่อนไขของผู้ยื่นขอ
เป็นผู้ผลิตชุมชน ไม่เป็นผู้แอบอ้าง หรือทาการผลิตแอบแฝง และมีคุณสมบัติเป็น
– บุคคลทั่วไป
– กลุ่มผู้ผลิตชุมชน(ขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานราชการ/วิสาหกิจชุมชน หรือ
– นิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบการ OTOP
– ผลิตภัณฑ์ที่ยื่นขอ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในรายชื่อมาตรฐาน มผช. ทั้ง 5 ประเภท (http://tcps.tisi.go.th/public/StandardList.aspx) และต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ควบคุมที่เกี่ยวข้องก่อน เช่น ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข กรมสรรพสามิต
– ยอมรับการปฏิบัติตามข้อกำหนดทั่วไปในการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ และการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
– ยื่นคำขอต่อหน่วยรับรองตามแบบคำขอที่กำหนด (ตั้งแต่วันที่1 ตุลาคม ถึงวันที่ 30 มิถุนายน )
(สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดบุรีรัมย์)
ขั้นตอนการรับรอง
ตรวจรับเอกสารและประเมินความพร้อม 1 วันทำการ
พิจารณา : สถานที่ผลิต เก็บตัวอย่าง นำส่งตัวอย่าง ประเมินผลการตรวจสอบ 34 วันทำการ
การลงนาม/คณะกรรมการมีมติ : จัดทำใบรับรอง เสนอ ลงนาม แจ้งผลการพิจารณา 14 วันทำการ
รวม 49 วันทำการ
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรอง มผช.
เงื่อนไขสำหรับผู้ได้รับการรับรอง มผช.
ผู้ได้รับการรับรอง ต้อง
– รักษาระบบการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรอง ตลอดระยะเวลาที่ได้รับการรับรอง และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรอง มผช.
– นำใบรับรอง มผช. และเครื่องหมาย มผช. ไปใช้อ้างอิงได้เฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ได้รับ การรับรองเท่านั้น
– ยุติการใช้ใบรับรอง และเครื่องหมาย มผช. เมื่อสิ้นอายุการรับรอง หรือ ในทันทีที่มีการพักใช้ หรือยกเลิก หรือเพิกถอนการรับรอง
– จัดเตรียมเอกสารหลักฐาน และข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการร้องเรียนผลิตภัณฑ์
– แจ้งให้หน่วยรับรองทราบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เช่น เปลี่ยนผู้ติดต่อประสานงาน เปลี่ยนชื่อนิติบุคคล ย้ายสถานที่ ปรับกระบวนการทำที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรอง มผช.
การตรวจติดตามผล
– ตรวจติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์ภายหลังได้รับการรับรอง
อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
– ตรวจประเมิน ณ สถานที่ทาของผู้ได้รับการรับรอง
– อาจเก็บตัวอย่างเพื่อส่งทดสอบ/ตรวจสอบ
– แจ้งผลการตรวจสอบให้ผู้ได้รับการรับรองทราบ
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรอง มผช.
การต่ออายุใบรับรอง
– ให้ยื่นขอใหม่ล่วงหน้า 120 วัน ก่อนที่ใบรับรองจะสิ้นอายุ (หากมีความประสงค์ขอต่ออายุใบรับรอง)
– หน่วยรับรองจะดำเนินการตามกระบวนการรับรอง มผช.
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรอง มผช.
การสิ้นอายุใบรับรอง
– ใบรับรองครบอายุ 3 ปี
– ผู้ได้รับการรับรองขอยกเลิกการรับรอง
– ผู้ได้รับการรับรองเลิก หรือถูกสั่งให้เลิกประกอบกิจการ
– มาตรฐานมีการแก้ไข ใบรับรองจะมีอายุ 1 ปี นับแต่วันที่มาตรฐานใหม่มีผลบังคับใช้
– มาตรฐานมีการยกเลิก
– ผลิตภัณฑ์ที่ตรวจติดตามผลไม่เป็นไปตามมาตรฐาน 2 ครั้งติดต่อกัน
การตรวจสุขลักษณะการผลิต
- สถานที่ตั้งอาคารที่ทำและบริเวณโดยรอบ :
– สะอาด ไม่มีน้ำขังแฉะ ไม่สกปรก
– อยู่ห่างสถานที่ที่มีฝุ่น เขม่า ควัน มากผิดปกติ
– ไม่อยู่ใกล้สถานที่น่ารังเกียจ เช่น แหล่งเก็บขยะ บริเวณที่เพาะเลี้ยงสัตว์
– พื้น ผนัง เพดาน เป็นวัสดุที่คงทน เรียบ สะอาด อยู่ในสภาพดี
– แยกเป็นสัดส่วน ไม่อยู่ใกล้สุขา
– พื้นที่ปฏิบัติงานไม่แออัด แสงสว่างเพียงพอ การระบายอากาศเหมาะสม
- เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการทำ : สะอาด เหมาะสมกับการใช้งาน ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อน มีเพียงพอ เป็นวัสดุผิวเรียบ ไม่เป็นสนิม ล้างทำความสะอาดง่าย
- การควบคุมกระบวนการทำ :
– วัตถุดิบและส่วนผสมในการทำความสะอาด มีคุณภาพดี ล้างก่อนนำไปใช้
– การทำ เก็บรักษา ขนย้ายมีการป้องกันการปนเปื้อนและการเสื่อมเสียของสินค้า
- การสุขาภิบาล การบำรุงรักษา การทำความสะอาด
– น้ำใช้ต้องสะอาดและเพียงพอ
– มีวิธีป้องกันและกาจัดสัตว์นำเชื้อ แมลง ฝุ่นผง
– มีการกำจัดขยะ สิ่งสกปรก น้ำทิ้งอย่างเหมาะสม
– สารเคมีที่ใช้ทำความสะอาดและกำจัดแมลง สัตว์นำเชื้อ ใช้ในปริมาณที่เหมาะสม และเก็บแยกจากบริเวณที่ทำ
- บุคลากรและสุขลักษณะของผู้ทำ : ต้องรักษาความสะอาดส่วนบุคคล เช่น เสื้อผ้าสะอาด มีผ้าคลุมผม ไม่ไว้เล็บยาว ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนทำ/หลังการใช้ห้องสุขา
การเตรียมผลิตภัณฑ์ เพื่อการส่งตรวจ
ประเภทผ้า
คุณลักษณะที่ต้องการตามมาตรฐาน
คุณลักษณะทั่วไป : ต้องสะอาดและอยู่ในสภาพเรียบร้อยตลอดทั้งผืน ความสม่ำเสมอของลวดลายและเนื้อผ้าตามแนวเส้นด้ายยืน และแนวเส้นด้ายพุ่งให้เป็นไปตามลักษณะของผ้านั้น ๆ และต้องไม่มีข้อบกพร่องที่เกิดจากกรรมวิธีการทำให้เห็นอย่างชัดเจนและมีผลต่อการใช้งาน เช่น สีและเนื้อผ้าไม่สม่ำเสมอ ลายผิดหรือลายไม่ต่อเนื่อง ผ้าเป็นร่อง รู แยก เส้นด้ายขาด เส้นด้ายตึงหรือหย่อน ร้อยเส้นยืนผิด ริมผ้าเสีย
– เอกลักษณ์ของผ้า (แบบดั้งเดิม / แบบสมัยนิยม)
– ชนิดเส้นใย (เส้นใยธรรมชาติ /เส้นไหมแท้ / เส้นใยประดิษฐ์ / เส้นใยผสม)
– ความเป็นกรด-ด่าง
– การทดสอบสีเอโซที่ให้แอโรแมนติกแอมีน 24 ตัว(ยกเว้นสีธรรมชาติ) (ไม่เกิน 30 mg/kg)
– การเปลี่ยนแปลงขนาดภายหลังการซักและการทำให้แห้ง (ไม่เกินร้อยละ 10)
– ความคงทนของสีต่อการซัก และความคงทนของสีต่อเหงื่อ (ยกเว้นผ้าสีขาวและสีธรรมชาติของเส้นใย)
ประเภทผ้าชนิดเครื่องแต่งกาย
คุณลักษณะที่ต้องการตามมาตรฐาน
คุณลักษณะทั่วไป : ต้องสะอาด ไม่มีรอยเปรอะเปื้อน อยู่ในสภาพที่เรียบร้อยตลอดทั้งผืน และไม่มีข้อบกพร่องที่มีผลเสียต่อการใช้งานให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น รู รอยแยก สีด่าง ลายผิด เส้นด้ายขาด ริมเสีย รูปทรง และสัดส่วนสวยงาม
– ริมผ้า และชายผ้า เรียบร้อย ประณีต สวยงาม ไม่มีรอยแยก ย่น หรือขาดหลุดลุ่ย ม้วนริมแล้วเย็บให้เรียบร้อย
– การเย็บ ตะเข็บส่วนต่าง ๆ เรียบร้อย แน่น ไม่หลุดลุ่ยง่าย ฝีเข็มสม่ำเสมอ
– ชนิดเส้นใย (เส้นใยธรรมชาติ /เส้นไหมแท้ / เส้นใยประดิษฐ์ / เส้นใยผสม)
– ความเป็นกรด-ด่าง
– การทดสอบสีเอโซที่ให้แอโรแมนติกแอมีน 24 ตัว (ยกเว้นสีธรรมชาติ)
– การเปลี่ยนแปลงขนาดภายหลังการซักและการทำให้แห้ง
– ความคงทนของสีต่อการซัก และความคงทนของสีต่อเหงื่อ (ยกเว้นผ้าสีขาวและสีธรรมชาติของเส้นใย)
ประเภทของใช้ของตกแต่ง
ผลิตภัณฑ์จากกก คุณลักษณะที่ต้องการตามมาตรฐาน
คุณลักษณะทั่วไป : ต้องประณีต สวยงาม มีรูปแบบรูปทรงที่เหมาะสมกับการใช้งาน ไม่มีขอบคมและปลายแหลม ยกเว้นกรณีที่เป็นลักษณะเฉพาะของชิ้นงาน ไม่มีรอยแตก ขาด รา หรือตำหนิที่เกิดจากการทำลายของแมลงปรากฏในชิ้นงานให้เห็นเด่นชัด ยกเว้นรอยที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือเป็นลักษณะเฉพาะของชิ้นงานซึ่งไม่มีผลเสียต่อการใช้งาน
– การประกอบ(ถ้ามี) ต้องเรียบร้อย สวยงาม ติดแน่น เหมาะสมกับชิ้นงาน ไม่มีกลิ่นสารเคมีและรอยเปรอะเปื้อนของสารที่ใช้ยึดติดชิ้นส่วนเข้าด้วยกัน
– การเย็บ(ถ้ามี) การเก็บริม(ถ้ามี) เรียบร้อย ประณีต ฝีเข็มสม่ำเสมอ ริมเรียบแน่น ไม่ย้วย หลุดลุ่ย
– ลวดลาย(ถ้ามี) สวยงาม ตรงตามลักษณะของลวดลาย
– สี (ถ้ามี) ติดแน่น ไม่หลุดลอกติดมือ หรือเปรอะเปื้อน
– การเคลือบผิว(ถ้ามี) เรียบ สม่ำเสมอ ไม่เป็นเม็ด เป็นคราบ แตก หลุด ลอก
ประเภทของใช้ของตกแต่ง
เช่น ผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ คุณลักษณะที่ต้องการตามมาตรฐาน
คุณลักษณะทั่วไป : ต้องประณีต สวยงาม มีรูปแบบรูปทรงที่เหมาะสมกับการใช้งาน ไม่ผุ ไม่มีรา หรือตำหนิที่เกิดจากการทำลายของมอด ปลวก หรือแมลงอื่น ไม่มีขอบคมและปลายแหลม ยกเว้นกรณีที่เป็นลักษณะเฉพาะของชิ้นงาน ไม่มีเส้นขน เสี้ยน ฝุ่นผง รอยแตก รอยร้าว บิด โก่ง หัก งอ หรือตำหนิในชิ้นงานให้เห็นเด่นชัด ยกเว้นรอยที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือเป็นลักษณะเฉพาะของชิ้นงานซึ่งไม่มีผลเสียต่อการใช้งาน กรณีเป็นชุดเดียวกันต้องมีรูปแบบ ลวดลาย และสีที่กลมกลืนเข้ากันได้ พื้นผิวด้านในและบริเวณที่สัมผัสได้ต้องขัดผิวให้เรียบ
– การประกอบ(ถ้ามี) ต้องเรียบร้อย สวยงาม ติดแน่น เหมาะสมกับชิ้นงาน ไม่มีกลิ่นสารเคมีและรอยเปรอะเปื้อนของสารที่ใช้ยึดติดชิ้นส่วนเข้าด้วยกัน
– การเย็บ(ถ้ามี) การเก็บริม(ถ้ามี) เรียบร้อย ประณีต ฝีเข็มสม่ำเสมอ ริมเรียบแน่น ไม่ย้วย หลุดลุ่ย
– ลวดลาย(ถ้ามี) สวยงาม ตรงตามลักษณะของลวดลาย
– สี (ถ้ามี) ติดแน่น ไม่หลุดลอกติดมือ หรือเปรอะเปื้อน
– การเคลือบผิว(ถ้ามี) เรียบ สม่ำเสมอ ไม่เป็นเม็ด เป็นคราบ แตก หลุด ลอก
ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร
เช่น สบู่ก้อน สบู่เหลว สบู่ก้อนกลีเซอรีน สารที่ใช้เป็นส่วนประกอบ ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ออกตาม พ.ร.บ. เครื่องสำอาง คุณลักษณะที่ต้องการตามมาตรฐาน
คุณลักษณะทั่วไป : เป็นก้อน (สบู่เหลว เป็นเนื้อเดียวกัน ไม่แยกชั้น สีสม่ำเสมอ) อาจมีกลิ่นหอม ไม่มีสิ่งแปลกปลอม
– สถานที่ในการทำสบู่ ต้องถูกสุขลักษณะ (สถานที่ตั้ง อาคาร เครื่องมือ อุปกรณ์ กระบวนการทำ การสุขาภิบาล การบำรุงรักษา การทำความสะอาด สุขลักษณะผู้ทำ)
– การทดสอบทางวิทยาศาสตร์ เช่น ไขมันทั้งหมด ไฮดรอกไซด์อิสระ คลอไรด์ ความเป็นกรดด่าง ปริมาณกลีเซอรีน(สบู่กลีเซอรีน) จุลินทรีย์(สบู่เหลว) ความคงสภาพ(สบู่เหลว)
ข้อมูลเพิ่มเติม
- ในการลงทะเบียน สามารถลงทะเบียนได้ที่ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ ชั้น 2
- ทะเบียนพาณิชย์ สามารถขอได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบล มีค่าใช้จ่ายประมาณ 200-250 บาท
- เบอร์ติดต่อ นางภัทรวดี มักขุนทด “นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ” ( 0869910576 )
กรณีศึกษาสถานที่ผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่ายตามมาตรฐาน Primary GMP
ความปลอดภัยจากอันตราย 3 ประการ : กายภาพ เคมี จุลินทรีย์
หัวใจ 3 ประการ ของการผลิตอาหารที่ปลอดภัย
หัวใจที่ 1 ลดอันตรายเบื้องต้น
คัดเลือกวัตถุดิบ ส่วนผสมที่มีคุณภาพดี ใช้ภาชนะบรรจุที่สะอาดและมีการล้างทำความสะอาดรวมทั้งผลิตในสถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่ดีและเครื่องมือ อุปกรณ์ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อน
หัวใจที่ 2 ลด / ยับยั้ง – ทำลายเชื้อจุลินทรีย์
ใช้ความร้อนฆ่าเชื้ออย่างเพียงพอ
หัวใจที่ 3 ป้องกันการปนเปื้อนซ้ำ
โดยการปฏิบัติงานอย่างถูกสุขลักษณะ แยกระหว่างของสุก และของดิบ
หลักเกณฑ์ Primary GMP
- สถานที่ตั้งและอาคารผลิต
– สถานที่ตั้งตัวอาคารและที่ใกล้เคียง ต้องอยู่ในที่ ๆ จะไม่ทำให้อาหารเกิดการปนเปื้อนได้ง่าย
– อาคารผลิตหรือบริเวณผลิตต้องรักษาความสะอาดและรักษาให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ
หมวดที่ 1 คะแนนเต็ม = 11 คะแนน
- เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต
– ออกแบบเครื่องมือเครื่องใช้ที่เหมาะสมและคำนึงการปนเปื้อนที่อาจจะเกิดขึ้นรวมทั้งทำความสะอาดได้ง่าย
– ภาชนะหรืออุปกรณ์ในการผลิตที่สัมผัสกับอาหาร ต้องทำจากวัสดุที่ไม่ทำปฏิกิริยากับอาหารและง่ายต่อการทำความสะอาด
– โต๊ะหรือพื้นผิวที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตในส่วนที่สัมผัสกับอาหาร ต้องทำด้วยวัสดุที่ไม่เกิดสนิม ทำความสะอาดง่าย มีความสูงที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานหรือมีมาตรการในการป้องกันการปนเปื้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้
หมวดที่ 2 คะแนนเต็ม = 6 คะแนน
- การควบคุมกระบวนการผลิต
– วัตถุดิบ ส่วนผสมในการผลิตอาหาร ต้องมีการคัดเลือกให้อยู่ในสภาพที่สะอาด มีคุณภาพ ต้องล้างทำความสะอาดตามความจำเป็น เพื่อขจัดสิ่งสกปรก และต้องเก็บรักษาวัตถุดิบภายใต้สภาวะที่ป้องกันการปนเปื้อนโดยมีการเสื่อมสลายน้อยที่สุด และหมุนเวียนของวัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพ (หากมีการใช้วัตถุเจือปนอาหารต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร)
- การดำเนินการระหว่าง ผลิตอาหาร มีการขนย้ายวัตถุดิบ ส่วนผสม ภาชนะบรรจุ และบรรจุภัณฑ์ในลักษณะที่ไม่เกิดการปนเปื้อน
- ผู้ผลิตมีขั้นตอนและวิธีการในการควบคุมกระบวนการผลิตเป็นไปตามข้อกำหนดหรือตามความเหมาะสมของกระบวนการผลิตนั้น ๆ อย่างเคร่งครัด
- น้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตที่สัมผัสกับอาหารต้องเป็นน้ำที่สะอาด บริโภคได้ (มีคุณภาพมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง น้ำบริโภค) และการนำไปใช้ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ
- น้ำแข็งใช้ในกระบวนการผลิตที่สัมผัสกับอาหาร สะอาด มีคุณภาพมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณะสุข เรื่อง น้ำแข็ง และการนำไปใช้ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ
- การผลิต เก็บรักษา ขนย้าย และขนส่งผลิตภัณฑ์อาหารต้องป้องกันการปนเปื้อนและการเสื่อมสลายของอาหารและภาชนะบรรจุด้วย
หมวดที่ 3 คะแนนเต็ม = 15 คะแนน
- การสุขาภิบาล
– น้ำที่ใช้ภายในสถานที่ผลิต ต้องเป็นน้ำสะอาดและจัดให้มีการปรับคุณภาพน้ำตามที่จำเป็น
– จัดให้มีภาชนะรองรับขยะมูลฝอยที่มีฝาปิดในจำนวนที่เพียงพอ และมีระบบกำจัดขยะมูลฝอยที่เหมาะสม
– จัดให้มีห้องส้วมและอ่างล้างมือหน้าห้องส้วมให้เพียงพอสำหรับผู้ปฏิบัติงานและต้องถูกสุขลักษณะ มีอุปกรณ์ล้างมือครบถ้วน ใช้งานได้ สะอาดและต้องแยกต่างหากจากบริเวณที่ผลิตหรือไม่เปิดสู่บริเวณผลิตโดยตรง
– จัดให้มีอ่างล้างมือในบริเวณผลิตให้เพียงพอ ใช้งานได้ สะอาด และมีอุปกรณ์ล้างมืออย่างครบถ้วน
– การจัดการระบายน้ำทิ้งและสิ่งโสโครกอย่างมีประสิทธิภาพ
- การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด
– ตัวอาคารสถานที่ผลิตต้องทำความสะอาดและรักษาให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะอย่างส่ำเสมอ
– เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการผลิต มีการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมออยู่ในสภาพที่ใชงานได้
– การจัดเก็บสารเคมีทำความสะอาดหรือสารเคมีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาสุขลักษณะ ต้องแยกให้เป็นสัดส่วน ปลอดภัย พร้อมมีการแสดงป้ายชื่อ
หมวดที่ 5 คะแนนเต็ม = 5 คะแนน
- บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน
– ผู้ปฏิบัติงานในบริเวณผลิตอาหารไม่มีบาดแผล ไม่เป็นโรคหรือพาหะของโนคตามที่ระบุในกฎกระทรวง หรือมีบาดแผลที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของผลิตภัณฑ์
– ผู้ปฏิบัติงานทุกคนที่ทำหน้าที่สัมผัสอาหาร ต้องสวมเสื้อผ้าที่สะอาด สวมหมวก หรือผ้าคลุมผมหรือตาข่าย มีมาตรการการจัดการรองเท้าที่ใช้ในการผลิตที่เหมาะสม ไม่สวมเครื่องประดับ พร้อมทั้งล้างมือและดูแลเล็บมือให้สะอาดอยู่เสมอ
– แสดงคำเตือน ห้ามหรือป้องกันมิให้บุคคลแสดงพฤติกรรมอันน่ารังเกียจในการผลิตอาหาร
– วิธีการหรือข้อปฏิบัติสำหรับผู้ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตที่มีความจำเป็นต้องเข้าไปในบริเวณผลิต ต้องปฏิบัติตามข้อ 2 เมื่ออยู่ในบริเวณผลิต
หมวดที่ 6 คะแนนเต็ม = 10 คะแนน
เอกสารด้านอาหารสำหรับขอเลขสารบบอาหาร (อย.)
– แผนที่ตั้งสถานที่ผลิตอาหาร
– แผนที่ใกล้เคียงสถานที่ผลิตอาหาร
– แผนผังภายใน
– สำเนาทะเบียนบ้านสถานที่ผลิต
– สำเนาบัตรประชาชนผู้ขออนุญาต
– สำเนาทะเบียนพาณิชย์
– กระบวนการผลิตอาหาร
– ตัวอย่างฉลากอาหาร
ฉลากอาหาร
– ชื่ออาหาร
– สถานที่ผลิต
– ส่วนประกอบ (รวมกันได้ 100%)
– อย.
– วันเดือนปีที่ผลิต
– วันเดือนปีที่หมดอายุ
– ปริมาณสุทธิ
วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2564
ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล จาก สป.อว ที่ต้องทำการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติม โดยให้ผู้ดำเนินงานทุกท่านเก็บข้อมูลในหมู่บ้านที่รับผิดชอบ ตามจำนวน ดังนี้
- บัณฑิตจบใหม่ จำนวน 50 คน เก็บเพิ่มอีก 20 คน
- ประชาชน จำนวน 30 คน เก็บเพิ่มอีก 15 คน
- นักศึกษา จำนวน 20 คน
ได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลตามที่ได้รับมอบหมาย ลงพื้นที่ในหมู่บ้านสระหมู หมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านขนาดเล็กที่สุดในตำบลบ้านสิงห์ ซึ่งมีทั้งหมด 54 ครัวเรือน พื้นที่ตั้งของหมู่บ้านอยู่ห่างไกลจากถนนหลักพอสมควรบริเวณรอบ ๆ เต็มไปด้วยป่าไม้และพื้นที่ทำเกษตร ประชากรส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรอีกด้วย จากการลงพื้นที่พบว่า
เกษตรกรในท้องถิ่นส่วนใหญ่ทำนาข้าว ทำสวนมันสำปะหลัง และเลี้ยงสัตว์
พืชในท้องถิ่นส่วนใหญ่เป็นข้าว มันสำปะหลัง ผักสวนครัว
สัตว์ในท้องถิ่นส่วนใหญ่เป็น วัว ควาย เป็ด และไก่
แหล่งน้ำที่พบมี 1 แห่ง คือ หนองสระหมู อยู่ในพื้นที่ของหมู่บ้าน
เนื่องจากหมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านขนาดเล็กชาวบ้านดำรงชีวิตโดยการทำเกษตรและปลูกผักรับประทานเองและหาอาหารที่มีตามฤดูการในพื้นที่จึงมีร้านขายของชำเพียงที่เดียว ชาวบ้านดำรงชีวิตด้วยความสงบจึงไม่มีแหล่งท่องเที่ยว
วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.2564
ร่วมการเสวนาออนไลน์ผ่านระบบ Zoom ในหัวข้อ
เรื่อง “Quadruple Helix : จตุรภาคีสี่ประสานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” วิทยากรผู้เข้าร่วมเสวนา ดังนี้
- นายคำเดื่อง ภาษี ประธานปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์
- นายสุพจน์ สวัสดิ์พุทรา นายกเทศมนตรีตำบลอีสาณ
- นายณัชอิสร์ ศรีสุขพรชัย ประธานหอการค้า จังหวัดบุรีรัมย์
- รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาท เนืองเฉลิม จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดี คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์
มีวัตถุประสงค์
- เพื่อเผยแพร่ผลงานด้านการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งทำมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน
- เพื่อที่จะประสานเครือข่ายชุมชนที่คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้ลงพื้นที่ทำงานร่วมกับประชาชน เพื่อขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาชุมชนต่อไป
วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2564
กิจกรรม อบรมการประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปขนม โครงการแปรรูปขนมเพื่อสร้างรายได้ในชุมชน ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ( 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ) ณ ศาลากลางหมู่บ้าน “บ้านหนองบัวราย” ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้เรียนเชิญตัวแทนหมู่บ้านละ 2 ท่านในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมกับผู้ปฏิบัติงาน รวมไปถึงวิทยากรที่มาให้ข้อมูล อาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง จากสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้มาเป็นวิทยากร พร้อมทั้งผู้ช่วยวิทยากร 2 ท่าน
จากการอบรมในครั้งนี้ได้รับสาระความรู้จาก อาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง จากสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ดังนี้
ก่อนจะทำการตลาดบ facebook สิ่งที่ควรรู้ / ควรคิด
- เป้าหมายในการสร้างแฟนเพจ มีหรือยัง “ทำมาหากิน” “ทำมาค้าขาย”
- กลุ่มลูกค้าของเราคือใคร : เพศอะไร อายุเท่าไร ทำอาชีพอะไร ประมาณเท่าไร
- สินค้าที่จะขาย
- Fan Page
- Content คอนเทนต์ : รูป คลิป VDO ข้อความ
- เงินทุน ในการซื้อโฆษณา : Fanpage facebook LAZADA SHOPEE ขายในกลุ่ม
รู้จักกับ Facebook Profile / Group / Page ต่างกันอย่างไร
- Profile
– เมื่อสมัคร Facebook ครั้งแรก จะได้โปรไฟล์ส่วนบุคคล (Profile) เป็นชื่อของเราเอง ส่วนนี้ไม่ใช่ที่สำหรับทำธุรกิจ ถ้าจะเข้าไปดู Profile ของใครสักคน ต้อง Login Facebook ก่อน และบางทีเขาอาจจะต้องรับ Add Friend ก่อน เราจึงจะเห็น Profile ของเขา ซึ่งขึ้นอยู่กับการอนุญาตของเขา
– Group
– หากเรามีกลุ่มเพื่อน กลุ่มทีมงานอยู่แล้ว เราก็สามารถสร้างเป็น Group ขึ้นมาเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารเฉพาะกลุ่มนั้น ๆ มีฟังก์ชั่นแชททกันเป็นกลุ่ม มีการโพสต์บนกระดานข้อความของกลุ่ม มีระบบการขายสินค้าในกลุ่ม
– ดังนั้น Group อาจจะใช้ในการสร้างความสัมพันธ์นัดสังสรรค์ หรือให้ข้อมูลอัพเดตบางสิ่งบางอย่างเฉพาะกลุ่ม โดยสามารถตั้งค่าเป็นกลุ่มเปิด กลุ่มปิด หรือกลุ่มลับเฉพาะก็ได้และใน 1 Profile สามารถสร้างได้หลาย Group
– Page
– ต้องการจะโปรโมท แบรนด์ / ธุรกิจ / สินค้า ออกไปในวงกว้าง จะใช้ Page ในการโปรโมท ประชาสัมพันธ์ถ้าเป็น Facebook Page เข้าไปแล้วก็จะเห็น (ถึงจะไม่เป็น สมาชิก Facebook ก็ตาม)
โพสต์ให้ปัง ตรงกลุ่มเป้าหมาย
Workshop
โพสต์ content / เนื้อหาไหนถึงปัง
ชื่อสินค้า
รสชาติ
คุณสมบัติ ผลิตจากอะไร เรื่องราว
ราคา ติดต่อ
รับรองความอร่อย #สด #สะอาดใหม่ส่งถึงบ้านลูกค้าเลยจ้า ใส่#
การอบรมในครั้งนี้ วิทยากรได้ให้ผู้ปฏิบัติงานร่วมกันสร้างกลุ่มใน Facebook เพื่อเป็นพื้นที่ให้ชาวบ้านในตำบลได้ลงขายสินค้า เพื่อให้เป็นการขายสินค้าที่ง่ายขึ้นและกว้างมากขึ้น รวมไปถึงสอนวิธีการถ่ายภาพสินค้าให้ดูน่าสนใจ และคิดแคปชั่นให้กับสินค้าเพื่อดึงดูดลูกค้าอีกด้วย
วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2564
อาจารย์ประจำหลักสูตรได้ให้ผู้ดำเนินงานทุกคนเข้าร่วมประชุมผ่าน Google Meet เพื่อชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานในเดือน พฤศจิกายน คือการเพิ่มจำนวนในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลให้ได้จำนวนตามที่กำหนด แบ่งกลุ่มเพื่อหาข้อมูลและหาวิธีการแก้ปัญหาโดยการนำเสนอในรูปแบบ PowerPoint และแจ้งวันและเวลาในการจัดอบรมในครั้งถัดไป
วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2564
การดำเนินงานวิเคราะห์ปัญหารายพื้นที่ของ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ต่อเนื่องจากที่ได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้ดำเนินงานประจำตำบลนั้น จึงได้มีการดำเนินงานวิเคราะห์ปัญหารายพื้นที่ โดยให้เลือกข้อมูลที่สนใจในพื้นที่ 3 ประเด็น
ประเด็นที่ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เลือกมี ดังนี้
- อาหารที่น่าสนใจประจำท้องถิ่น
- ภูมิปัญญาในท้องถิ่น
- แหล่งน้ำในท้องถิ่น
ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้มีการแบ่งกลุ่มในการทำงานออกเป็นสามกลุ่ม โดยกลุ่มข้าพเจ้าเป็นกลุ่มประชาชนและกลุ่มนักศึกษารับผิดชอบวิเคราะห์ข้อมูลในประเด็น “ภูมิปัญญาในท้องถิ่น” จากการวิเคราะห์ข้อมูล ได้ข้อมูล ดังนี้
สานตะกร้าพลาสติก
ที่อยู่ บ้านหนองกง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ตำแหน่ง 14.715455 / 102.761949
ประเภท ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ปัญหา วัสดุมีราคาแพง เครื่องใช้ โดยนำวัสดุวัสดุจากธรรมชาติมาใช้ในการจักสาน เช่น ไม่ไผ่ หญ้าแฝก แต่ในปัจจุบัน ได้นำพาลสติกมาสานเพื่อความสะดวก และสร้างอาชีพได้ เพื่อให้เกิดความทันสมัย จึงทำให้ราคาสูง
แนวทางการแก้ใข
การเสริมเหล็กโครงเพื่อให้เกิดความแข็งแรง และพลาสติกอาจต้องใช้ความร้อน เพื่อให้พลาสติกมีความอ่อนเพื่อจัดรูปทรง และความทันสมัย
การต่อยอดและพัฒนา
ศักยภาพคนในชุมชน ที่มีความรู้ด้านการ ทอ สาน ซึ่งสามารถที่จะทำเป็นฟอนิเจอร์ ของใช้ในบ้าน เช่น กระเป๋าแฟชั่น ชั้นวางหนังสือ ตะกร้าผ้า โดยใช้โครงเหล็กเป็นแบบ เพื่อให้เกิดความแข็งแรง รวดลายที่เป็นเอกลักณ์ของชุมชน เพื่อเพื่มมูลค่า
ถักแห
ที่อยู่ บ้านหนองกง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ตำแหน่ง 14.715167 / 102.760998
ประเภท ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ปัญหา ราคาค่อนข้างถูก จำหน่ายเฉาะในชุมชน ปัญหาด้านสุขภาพ เครื่องใช้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องการสานแห เริ่มมาจากสมัยก่อนนั้น นายเหรียญ เข็มทอง เป็นครอบครัวภาคเกษตรกรรม มีการทำมาหากินตามธรรมชาติ จับปลาโดยใช้เป็ด ยกยอ และใช้แหเป็นเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำ เพื่อนำมาประกอบเป็นอาหารการกิน เลี้ยงดูครอบครัว
แนวทางการแก้ใข
การหาตลาดเพื่อรองรับหรือกลุ่มลูกค้าที่เฉาะ เนื่องจากเป็นสินค้าที่จะขายได้ดีเป็นช่วง ๆ ของแต่ละปี สิ่งสำคัญการแก้ไขปัญหาคือต้องสร้างเครือข่ายเพื่อจำหน่ายสินค้า
การต่อยอดและพัฒนา
– ส่งเสริมการเรียนเพื่อสืบสานภูมิปัญญารู้ในชุมชน
– นำความรู้ไปเผยแผ่ให้กับผู้ที่สนใจ
ปลูกผักหวาน
ที่อยู่ บ้านหนองกง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ตำแหน่ง 14.713814 / 102.764467
ประเภท ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ปัญหา การปลูกผักหวานต้นจะตายง่ายในพื้นที่ที่ดินไม่เหมาะสม อาหารธรรมชาติ เนื่องจากการปลูกผักหวานเป็นผักที่มีการปลูกได้อยากมาก นางสมพงษ์ คงพลปาน จึงใช้วิธีการตัดรากผักหวานแล้วปล่อยทิ้งไว้ตามธรรมชาติก่อนนำมาปลูก โดยต้องปลูกให้ต้นผักหวานมีพี่เลี้ยงด้วย ซึ่งต้องปลูกไว้ข้างกัน
แนวทางการแก้ใข
แก้ไขปัญหาเรื่องดิน ซึ่งสำคัญมากเนื่องจากผักหวานเป็นพืชที่เจริญเตินโตได้ยากมาก ต้องทำให้ดินมีความชื้น และปลูกในบริเวณใกล้เคียงกัน
การต่อยอดและพัฒนา
สร้างการรับรู้ที่ถูกต้องเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน เช่นเดียวกับเศรษฐกิจพอเพียง หรือจะเป็นการปลูกผักชนิดอื่นที่เป็นพืชผลไม้ การเลี้ยงมดแมงจำหน่ายพร้อมผักหวานเพื่อเพิ่มมูลค่า
วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2564
กิจกรรม อบรมการทำลูกประคบและการนวดแผนไทย โครงการแปรรูปขนมเพื่อสร้างรายได้ในชุมชน ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ( 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ) ณ ศาลากลางหมู่บ้าน “บ้านหนองบัวราย” ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้เรียนเชิญตัวแทนหมู่บ้านละ 2 ท่านในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมกับผู้ปฏิบัติงาน โดยมีวิทยากร คือ ด.ร วิริญรัชญ์ สื่อนอก อาจารย์ประจำสาขาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มาให้ความรู้ในครั้งนี้
สารที่มีกลิ่นหอม
-การบูร แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ
-พิมเสน แต่งกลิ่น ลดอาการพุพองผดผื่น บำรุงหัวใจ
-เกลือ ช่วยดูดความร้อนและช่วยพาให้ตัวยาซึมผ่านผิวหนังได้ดี
ลูกประคบ
วัสดุอุปกรณ์
–ผ้าดิบหรือผ้าฝ้ายขนาด 40 × 40 เซนติเมตร
–เชือกยาว 200 เซนติเมตร
–ภาชนะสำหรับผสมสมุนไพร
–เครื่องชั่ง
ส่วนผสม
–ไพล 400 กรัม
–ขมิ้นชัน 100 กรัม
–ตะไคร้ 200 กรัม
–ผิวมะกรูด 100 กรัม
–ใบมะขาม 100 กรัม
–ใบส้มป่อย 50 กรัม
–การบูร 30 กรัม
–พิมเสน 30 กรัม
–เกลือ 60 กรัม
วิธีการทำ
1.บดหรือทุบสมุนไพรแห้งพอหยาบ
2.ผสมส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน
3.ชั่งส่วนผสม 160 กรัมวางบนผ้า
4.ห่อผ้าและมัดเชือกให้แน่น
จากนั้นมีวิทยากรจากโรงพยาบาลนางรองเป็นอาจารย์แพทย์แผนไทยได้มาสาธิตวิธีการนวดแผนไทย และได้ให้ความรู้และข้อควรระวังเกี่ยวกับการนวดแผนไทย