เนื่องจากการเเพร่ระบาดของโควิด-19 ที่หนักขึ้นเรื่อย ๆ
จึงต้องมีมาตรการที่เข้มง้วดมากขึ้นในการปฏิบัติงานลงพื้นที่ทุกครั้ง
ข้าพเจ้านางสาววาสนา แก้วไธสง กลุ่มนักศึกษา ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติตามมาตราการต่าง ๆ
เพื่อเพิ่มความเชื่อใจ ไว้วางใจให้กับทางชุมชน ในการลงปฏิบัติงานในพื้นที่
และขอเป็นกำลังในให้ทุกท่านผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน

อบรมการขอมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ และการขึ้นทะเบียน OTOP รวมไปถึงมาตราฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2564 ได้มีการจัดอบรมการขอมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ การขึ้นทะเบียน OTOP รวมไปถึงมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน บรรยายโดยนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ และนักวิชาการสาธารณสุข โดยมีลายละเอียดดังนี้

1.อบรมเรื่อง การจัดตั้งกลุ่มอาชีพ พัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ OTOP โดยนักวิชาการพัฒาชุมชนชำนาญการ
นางภัทรวดี มักขุนทด การบรรยายเกี่ยวกับการจัดตั้งกลุ่มอาชีพของชาวบ้านเพื่อนำไปสู่ OTOP เพื่อเป็นเเนวทางในการสร้างรายได้อีกหนึ่งทางให้กับชุมชน

  • กลุ่มอาชีพคือ การรวมตัวของชาวบ้านที่ประกอบอาชีพเดียวกัน ดำเนินกิจกรรมด้านอาชีพ กิจกรรมผลิต และจำหน่ายอย่างต่อเนื่องโดยมีคณะกรรมการดำเนินงานของกลุ่ม มีระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ การบริหารงานที่ดีคือ การบริหารจัดการกลุ่ม (๕ ก.)
ก๑ : กลุ่ม/สมาชิก ที่สมัครใจพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการดำเนินงานของกลุ่ม
ก๒ : กรรมการ ซึ่งได้รับมอบหมายและเป็นตัวแทนจากสมาชิกให้บริหารกลุ่ม
ก๓ : กฎ กติกา ระเบียบข้อบังคับเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกัน ระหว่างสมาชิกและคณะกรรมการ
ก๔ : กองทุน ปัจจัย เงินและเครื่องมือที่ทำให้กิจกรรมของกลุ่มดำเนินการได้และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่ม
ก๕ : กิจกรรม เป็นสิ่งที่ร่วมกันปฏิบัติเพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนละชุมชน
  • การนำกลุ่มอาชีพเข้าสู่ OTOP เป็นแนวคิดหนึ่งที่เน้นกระบวนการ การสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ในแต่ละหมู่บ้าน ชุมชนหรือตำบล เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้แต่ละชุมชนได้นำทรัพยากร ภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ บริการคุณภาพที่มีจุดเด่น และมูลค่าเพิ่มเป็นที่ต้องการของตลาด สอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของท้องถิ่น โดยยึดหลักการพึ่งตนเองของชุมชน และรัฐพร้อมที่จะช่วยเหลือในด้านความรู้สมัยใหม่และการบริหารจัดการ เชื่อมโยงสินค้าชุมชนสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ
โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)

รัฐบาลได้ดำเนินโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภณั ฑ์ (OTOP) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2544และดาเนินการอย่างเป็นรูปธรรมทั่วทุกภูมิภาคทวั่ประเทศมีการ แต่งตั้งคณะกรรมการระดับประเทศในส่วนกลางและคณะกรรมการระดับภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
(1)สร้างงานและเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน
(2)เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน
(3) ส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
(4) ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
(5) ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของชุมชน

  • โดยประเภทของผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ที่จะนำมาดำเนินการลงทะเบียน ต้องผ่านกระบวนการผลิต โดยใช้ภูมิปัญญาจำนวน ๕ ประเภทดังนี้
1. ประเภทอาหาร

ผลผลิตทางการเกษตร และอาหารแปรรูป ซึ่งได้รับมาตรฐาน อย., GAP, GMP, HACCP, Qmark, มผช., มอก., มาตรฐานเกษตรอินทรีย์, ฮาลาล และมี บรรจุภัณฑ์ เพื่อการจาหน่ายทั่วไป แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1) ผลิตผลทางเกษตรที่ใช้บริโภคสด
2) ผลิตผลทางการเกษตรที่เป็นวัตถุดิบ และผ่านกระบวนการแปรรูปเบื้องต้น
3) อาหารแปรรูปกึ่งสาเร็จรูป/สาเร็จรูป

2. ประเภทเครื่องดื่ม แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
1) เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
2) เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์
3. ประเภทเครื่องแต่งกาย อาทิเช่น ผ้าไหม ผ้าเขาม้า ผ้าโสร่ง เป็นต้น
4. ประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก อาทิเช่น ของจักรสาน เป็นต้น
5. ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร อาทิเช่น ยาหม่อง ยาเหลือง ลูกประคบ เป็นต้น
  • มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) คือ ข้อกำหนดคุณลักษณะของ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยชุมชนมีภูมิปัญญา ท้องถิ่นและเอกลักษณ์เฉพาะ อยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และเป็นท่ียอมรับของผู้ท่ีเก่ียวข้อง (สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดบุรีรัมย์) โดยเครื่องหมายการรับรองคุณภาพที่แสดงกับผลิตภัณฑ์ชุมชนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กาหนด
  • หน่วยรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้แก่
    – สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
    – สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.)
  • ประโยชน์ของการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
    – ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดีขึ้น มีความปลอดภัย
    – ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสม่าเสมอ
    – ผู้ซื้อ ผู้บริโภค และผู้เกี่ยวข้องตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
    – สร้างความเชื่อมัน และความน่าเชื่อถือ
    – เพิ่มโอกาสทางการค้า ผู้ผลิตเข้าถึงตลาดได้ง่ายขึ้น

 

 

2. อบรมเรื่อง กรณีศึกษาสถานที่ผลิตอาหารแปรรูป ที่บรรจุในภาชนะพร้อมจาหน่าย ตามมาตรฐาน Primary GMP โดยนักวิชาการอาหารและยาปฏิบัติการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา นายชยุต ชำนาญเนาว์ การบรรยายเกี่ยวกับ Primary GMP วิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษาอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย

อันตราย 3 ประการ
(ปลอดภัยจากอันตราย 3 ประการ)
กายภาพ เคมี จุลินทรีย์
  • หัวใจ 3 ประการ ของการผลิตอาหารที่ปลอดภัย
    – หัวใจท่ี 1 ลดอันตรายเบื้องต้น คัดเลือกวัตถุดิบส่วนผสมที่มีคณุภาพดีใช้ภาชนะบรรจุที่สะอาด และมีการล้างทาความสะอาดรวมทั้งผลิตในสถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่ดีและเครื่องมืออปุกรณ์ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อน
    – หัวใจท่ี 2 ลด/ยับยั้งทำลายเชื้อจุลินทรีย์ ใช้ความร้อนฆ่าเชื่ออย่างเพียงพอ
    – หัวใจท่ี 3 ป้องกันการปนเปื้อนซ้ำโดยการปฏิบัติงานอย่างถูกสุขลักษณะ แยกระหว่างของสุกและของดิบ

การเสวนาเรื่อง จตุรภาคีสี่ประสาน สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน (Quadruple Helix) เสวนาออนไลน์
ผ่านระบบ Zoom

วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.2564 ดิฉันได้เข้าร่วมการเสวนาเรื่อง จตุรภาคีสี่ประสาน สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน (Quadruple Helix) เสวนาออนไลน์ผ่านระบบ Zoom เวลา 09.00-12.00 น. โดยมีลายละเอียดดังนี้

 

อบรมการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์

วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2564 ได้มีการจัดอบรมการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของชุมชนเรื่อง ตลาด Online สำหรับผู้ประกอบการ
โดยอาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  การบรรยยายเพื่อการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เป็นที่ต้องการของตลาด
เพิ่มมูลค่าและรายได้ในกับผลิตภัณฑ์ของชุมชน และเพื่อเพิ่มช่องทางในการสร้างได้ ทั้งทาง Line , Facebook  สู่ตลาดระดับประเทศ

 

ประชุมผ่านระบบออนไลน์วางแผนการปฏิบัติงาน

วันที่ 07 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 ดิฉันได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ เพื่อเตรียมความพร้อมในการลงพื้นที่เก็บแบบสำรวจเพิ่มเติมเดือนพฤศจิกายน และอาจารย์ได้ชี้แจงแบ่งหน้าที่การรับผิดชอบในการจัดเก็บข้อมูล CBD เพิ่มเติม และการวิเคราะห์ Pain Point การจัดทำ PowerPoint นำเสนอข้อมูลผ่าน Dash Board หรือ G-Map โดยแบ่งกลุ่มได้ดังนี้

1. กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ แหล่งน้ำ
2. กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ อาหาร
3. กลุ่มประชาชน และกลุ่มนักศึกษา ภูมิปัญญา

 

กิจกรรมอบรมรมการส่งเสริมารพัฒนาชุมชนเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นในระดับตำบล

วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 ดิฉันได้เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมรมการส่งเสริมารพัฒนาชุมชนเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นในระดับตำบล โดยได้มีการจัดอบรมการทำลูกประคบจากสมุนไพร และการนวดแผนไทยหรือการนวดกดจุดเบื้องต้น โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • การทำลูกประคบสมุนไพร
วัสดุ – อุกรณ์ (ได้ลูกประคบประมาณ 10 ลูก)
1. ผ้าดิบหรือผ้าฝ้าย ขนาด 40*40 เซนติเมตร
2. เชือกยาว 200 เซนติเมตร
3. ภาชนะสำหรับผสมสมุนไพร
4. เครื่องช่าง
ในสูตรนี้ใช้สมุนไพรแห้ง (สามารถนำสมุนไพรสดไปตากหรืออบให้แห้งได้)
1. ไพล 400 กรัม 4. ขมิ้นชัน 100 กรัม 7. ตะไคร้ 200 หรัม
2. ผิวมะกรูด 100 กรัม 5. ใบมะขาม 100 กรัม 8. ใบส้มป่อย 50 กรัม
3. การบูร 30 กรัม 6. พิมเสน 30 กรัม 9. เกลือ 60 กรัม
วิธีการทำ
1. บดหรือทุบสมุนไพรแห้งพอหยาบ 3. ชั้งส่วนผสม 100 กรัมวางลงบนผ้า
2. ผสมส่วนผสมทั้งหมด 4. ห่อผ้าและมัดเชือกให้แน่น
5. บรรจุลูกประคบไว้ในถุง เก็บในที่แห้งจะสามารถเก็บได้ประมาณ 1 ปี

  • กิจกรรมนวดแผนไทยหรือนวดกดจุดเบื้องต้น

สำหรับเดือนพฤศจิกายน เนื่องด้วยสถานะการณ์โควิดที่เเพร่ระบาดมากขึ้น
จึงมีการป้องกันที่มากขึ้นตามไปด้วย จากมาตราการต่าง ๆ
ในเดือนนี้พวกเราได้จัดกิจกรรมถึง 3 กิจกรรมด้วยกัน ประกอบไปด้วย
1.อบรมการขอมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ และการขึ้นทะเบียน OTOP รวมไปถึงมาตราฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
2.อบรมการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ และ 3.กิจกรรมอบรมรมการส่งเสริมารพัฒนาชุมชน
เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นในระดับตำบล
เพื่อเพิ่มความรู้และแนะเเนวทางอาชีพให้กับคนในชุมชน และได้จัดเก็บแบบสำรวจข้อมูลเพิ่มเติม
โดยการปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงานจะต้องสวมใส่หน้ากากอนามัย พกเจลแอลกอฮอล์ ตลอดเวลาในการปฏิบัติงาน
เพื่อความปลอดภัยต่อตนเองเเละสร้างความมั่นใจให้เเก่ชาวบ้านที่พบเจอ

 

อื่นๆ

เมนู