ข้าพเจ้า นางสาวเจตจิรา แก้วพลงาม ผู้ปฏิบัติงานประเภท บัณฑิตจบใหม่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตรโครงการแปรรูปขนมเพื่อสร้างรายได้ในชุมชน รับผิดชอบลงพื้นที่ในหมู่ 4 บ้านโคกไม้แดง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

 

บทความประจำเดือนธันวาคม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)

ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

 

อบรมการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์แปรรูปขนม

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 เวลา 13.00 น. ณ ศาลากลาง หมู่บ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์ การจัดอบรมการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์แปรรูปขนมในครั้งนี้ได้รับเกียรติวิทยากรมาให้ความรู้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในการออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์ คือ อาจารย์ธนพล รามฤทธิ์ และอาจารย์ชินานาง สวัสดิ์รัมย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปะดิจิทัล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยจะแบ่งกลุ่มออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์ 3 กลุ่มให้กับผู้ประกอบการตามที่ผู้ประกอบการต้องการซึ่งจะมีเนื้อหารายละเอียดของผลิตภัณฑ์ตนเอง เช่น ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับขนมทองม้วน กล้วยฉาบ เป็นต้น

           

   

   

สำรวจข้อมูลสำหรับที่พักอาศัยในหมู่ 4 บ้านโคกไม้แดง ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 50 ชุด

ในการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ข้าพเจ้าได้ติดต่อประสานงานกับผู้ใหญ่บ้านหรือผู้นำชุมชนเพื่อให้สะดวกต่อการเก็บข้อมูลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในการดำเนินการสำรวจพบว่า

– ประชากรในหมู่บ้านมีการประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือน

– มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกันหากพบว่ามีไข้ร่วมกับไอ
มีน้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็วหายใจเหนื่อยหรือหายใจลำบากอย่างใดอย่างหนึ่งและอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วยให้รีบไปพบแพทย์ทันที

– มีการดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์โดยเฉพาะก่อนเตรียมปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งสกปรก หลังเยี่ยมผู้ป่วยในสถานพยาบาล หลังสัมผัสหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยงและหลังกลับจากนอกบ้าน

– มีการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่และใช้ช้อนส่วนตัว

– ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกันเช่นผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ช้อน แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ

– เมื่อกลับจากการทำภารกิจหรือกิจกรรมนอกบ้านให้ล้างมือ ชำระร่างกาย เปลี่ยนเครื่องแต่งกายทันที

โดยภาพรวมยังถือว่ามีการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้เป็นอย่างดีซึ่งจะเห็นได้จากการที่ไม่มีประชากรในชุมชนที่ได้รับเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เลย

 

การประชุมออนไลน์มอบหมายแผนงานเพิ่มเติม

วันที่ 2 ธันวาคม 2564 ได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ผ่าน Google meet ในการประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรได้ชี้แจงและมอบหมายงานให้ผู้ปฏิบัติงานถอดบทเรียน TSI ตำบลบ้านสิงห์ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ในแต่ละกลุ่มผู้ปฏิบัติงานทุกคนช่วยกันวิเคราะห์เพื่อสรุปเป็นการดำเนินงานรายตำบล (TSI) ที่รับผิดชอบคือตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยให้ระยะเวลาภายในวันที่ 5 ธันวาคม 2564 และได้แจ้งกิจกรรมครั้งต่อไปในวันที่ 6 ธันวาคม 2564

     

ถอดบทเรียน TSI ตำบลบ้านสิงห์

กลุ่มของข้าพเจ้าได้ดำเนินการรายตำบล (TSI) ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้นำข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการดำเนินงานมาวิเคราะห์ ดังต่อไปนี้

        1. ข้อมูลพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

        2. TPMAP ความต้องการพื้นฐาน 5 มิติ

คนจน จำนวน 198 คน จากประชากรสำรวจ 4,477 คน ในปี พ.ศ.2561 – พ.ศ.2562

ด้านสุขภาพ ความเป็นอยู่ การเข้าถึงบริการภาครัฐ ยังคงมีความต้องการพื้นฐานคงที่ แต่การศึกษามีความต้องการพื้นฐานลดลงและรายได้ในชุมชนมีความต้องการพื้นฐานเพิ่มขึ้น

       3. การพัฒนาพื้นที่

มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมไทยในชุมชนและให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยกิจกรรมการพัฒนา ในการพัฒนาและส่งเสริมสินค้าในตำบลบ้านสิงห์

1) สอบถามข้อมูลและความต้องการของผู้ประกอบการ

2) ให้ความรู้ออกแบบบรรจุภัณฑ์และโลโก้

3) การจัดทำตลาดออนไลน์

ส่วนการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รณรงค์การฉีดวัคซีนและให้ความรู้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

        4. กลไกการดำเนินงาน

1) ประชุมวางแผนงานทุกครั้งก่อนลงพื้นที่ปฏิบัติงานในแต่ละเดือน

2) ลงมือปฏิบัติตามแผนที่ได้วางไว้ ซึ่งกิจกรรมจะประกอบไปด้วย การลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเพื่อหาแนวทางการแก้ไข ช่วยเหลือ และพัฒนาส่งเสริมอาชีพและการพัฒนาขนมไทย ในชุมชนในลำดับต่อไป

3) ประเมินขั้นตอนการดำเนินงาน โดยในการประเมินผลการปฏิบัติงานดังกล่าวได้มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบได้ตรวจสอบดูแลการปฏิบัติงาน

4) นำผลการประเมินมามาวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไข เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงาน รามไปถึงการหาแนวทางที่เหมาะสมมาขับเคลื่อนในการปฏิบัติงาน และนำไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในครั้งต่อ ๆ ไป

       5. ผลลัพธ์

1) เกิดการจ้างงานกลุ่ม บัณฑิตจบใหม่ ประชาชน นักศึกษาจำนวน 25 อัตรา

2) ผู้ปฏิบัติงานได้รับการพัฒนาทักษะทั้ง 4 ด้านดังนี้ ด้านการเงิน ด้านสังคม ด้านดิจิตอล และด้านภาษาอังกฤษ

3) การบูรณาการทักษะใหม่ กำลังคน และโครงการในพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามความต้องการของพื้นที่อย่างแท้จริง

4) จัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชนอย่างละเอียด ทำให้วางแผนพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่างๆ รวมถึงความยากจนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

        6. ผลลัพธ์เชิงเศรษฐกิจ

1) รายได้ที่เพิ่มขึ้น

– ร้อยละ 30

840,000 บาท/ปี

60,000 บาท/ปี

2) การเพิ่มผลิตภาพ (productivity)

– ต้นทุนที่ลดลง ร้อยละ 20

– ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ  35

– แรงงานที่ลดลง ร้อยละ 25

        7. ผลลัพธ์เชิงสังคม

1) รู้จักปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของตนเองให้ดีขึ้น

2) รู้จักป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ รักษาอนามัยครอบครัวให้ดีขึ้น

3) ช่วยลดความเหลื่อมล้ำแตกต่างในเรื่องชนชั้นในสังคมให้น้อยลง มีความเสมอภาคเป็นธรรมแก่สังคม

4) ช่วยปรับปรุงชีวิต ความสัมพันธ์ในครอบครัวและรับผิดชอบต่อสังคมให้ดีขึ้น

5) ประชาชนมีวิชาชีพ และความรู้ในการทำผลิตภัณฑ์ในชุมชนมากขึ้น

        8.ข้อเสนอแนะ

สร้างภาคีเครือข่ายเพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐกับชุมชน หากิจกรรมทำที่สามารถเกิดประโยชน์และสร้างรายได้ ยกระดับมาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจ และสามารถเพิ่มมูลค่าสินค้า ยกระดับมาตรฐานความโดดเด่นของชุมชนให้เป็นที่รู้จัก เน้นการทำงานแบบบรูณาการและให้ประชาชนสามารถต่อยอดผลิตภัณฑ์ของตนเองได้เมื่อสิ้นสุดโครงการ

     

อบรมการมีจิตอาสาเพื่อส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรในชุมชนท้องถิ่น

วันที่ 6 ธันวาคม 2564 เวลา 12.00 น. การจัดอบรมการมีจิตอาสาเพื่อส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรในชุมชนท้องถิ่น ณ วัดโพธิ์คงคา ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ในครั้งนี้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนได้ช่วยกันทำความสะอาดภายในบริเวณวัด ไม่ว่าจะเป็นการเก็บกวาดขยะหรือใบไม้แห้งให้ชุมชนในท้องถิ่นมีสิ่งแวดล้อมที่ดีเอื้อต่อสุขภาพของคนในชุมชนในด้านบวก และการทำความสะอาดห้องสุขาภายในวัด รวมถึงยังเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ต่อไปได้

     

      

   

     

สรุปบทเรียนที่ได้รับจากการปฏิบัติงานในครั้งนี้

  • ในการจัดอบรมการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์แปรรูปขนม ได้รับความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์สินค้าเพื่อแสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือ การที่เรามีสติ๊กเกอร์โลโก้สินค้าติดประดับอยู่บนผลิตภัณฑ์นั้นช่วยเสริมสร้างความน่าเชื่อถือของทั้งตัวสินค้าเองและทั้งตัวผู้ผลิต หากมีปัญหาอะไรก็สามารถค้นหาและติดต่อได้ตามที่สติ๊กเกอร์ระบุไว้ ช่วยในการจดจำง่ายและคุ้นตาสำหรับผู้บริโภค สร้างความโดดเด่นได้จากดีไซน์การจัดเรียงและการคัดเลือกสีสันที่นำมาใช้ อีกทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์ไปในตัว ทำให้คนรู้จักสินค้าได้มากยิ่งขึ้น จะทำให้สินค้าดูน่ารับประทานและสามารถดึงดูดคนได้มากขึ้นอีกด้วย ช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า ทำให้รู้ถึงราคาของสินค้า สามารถแจ้งรายละเอียดของสินค้าได้บนสติ๊กเกอร์โลโก้สินค้าได้โดยกระชับและเข้าใจง่าย อาจแทรกเพิ่มเติมวัตถุดิบหรือวัสดุของตัวสินค้า เพื่อบอกความชัดเจน แสดงให้เห็นถึงความเหมาะของราคาที่กำหนด รวมไปถึงแสดงคุณภาพของตัววัสดุหรือวัตถุดิบที่ใช้ทำตัวสินค้า เพื่อเพิ่มความมั่นใจและน่าเชื่อถือให้แก่ตัวผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นการเพิ่มยอดขายเพิ่มขึ้นในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้อีกด้วย
  • การจัดอบรมการมีจิตอาสาเพื่อส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรในชุมชนท้องถิ่นนั้น ได้ทำงานร่วมกันกับผู้ปฏิบัติงานสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่คณะ ได้พัฒนาชุมชนด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรในท้องถิ่นเป็นการสร้างสรรค์สังคมให้น่าอยู่ เป็นตัวอย่างในการทำความดี สิ่งที่สอนได้ดีสุดก็คือการทำเป็นตัวอย่างให้ดู และยังช่วยกันรักษาสังคมให้สะอาดไม่มีเชื้อโรคหรือแบคทีเรียสะสมอันเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้

 

อื่นๆ

เมนู