ข้าพเจ้านางสาวกมลชนก จงชิดกลาง ผู้ปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลบ้านสิงห์

รับผิดชอบในเขตพื้นที่ บ้านสิงห์ หมู่ 3 ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2564

เข้าร่วมการอบรมเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ การออกแบบตราผลิตภัณฑ์ (Logo) ณ ศาลาประชาคม บ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้รับเกียรติจากท่านวิทยากร 2 ท่าน คือ อาจารย์ชินานาง สวัสดิ์รัมย์ และ อาจารย์ธนพล รามฤทธิ์ อาจารย์จากสาขาวิชาศิลปะดิจิทัล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ที่สละเวลามาให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงานทุก ๆ ท่านและประชาชนในตำบลบ้านสิงห์ ซึ่งในกิจกรรมนี้ มีผู้สนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

โลโก้ ( Logo ) คือเครื่องหมาย หรือ สัญลักษณ์ที่เป็นผลงานการออกแบบ ด้านกราฟฟิก ที่เกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์และเครื่องหมายต่าง ๆ ที่จะเป็นตัวสร้างเอกลักษณ์ให้แก่สินค้า เพื่อให้กลุ่มผู้ซื้อหรือลูกค้าในกลุ่มต่างๆเมื่อได้พบเห็น จะมีจุดสังเกตและจดจำได้ง่าย

ภาพตัวอย่างตราผลิตภัณฑ์สินค้าตำบลบ้านสิงห์

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2564

อาจารย์ผู้ดูแลโครงการและตัวแทนผู้ปฏิบัติงานเข้าร่วมสัมมนา ในหัวข้อ “ โครงการการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงสหวิทยาการทั้งแบบออนไซต์และออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะเดิมเพิ่มทักษะใหม่และรายได้เสริมให้ประชาชนในพื้นที่บริการวิชาการของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ”  ณ ห้องประชุมมนุษยสังคมวัฒนา อาคาร 25 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ซึ่งในหัวข้อการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงสหวิทยาการฯ มีผู้ร่วมเสวนาดังนี้

  • นายสิทธิชัย สุดสวาท ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานบุรีรัมย์
  • คุณไขแสง ซอกรัมย์ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)
  • นายปฐม นิ่มหัตถา วิทยาลัยชุมชนบุรีรัมย์
  • นายอาทิตย์ จำปาตุม วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์
  • ผศ.ดร.รพีพรรณ พงษ์อินทร์วงศ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน

ดำเนินรายการโดย

  • รศ.ดร.อัครพนธ์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

รายละเอียดการอบรมมีดังนี้

โครงการการแปรรูปขนมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

  1. ชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการมีกี่หมู่บ้านของแต่ละตำบล มีทั้งหมด 14 หมู่บ้าน
  • หมู่ที่ 1 บ้านหนองดุม
  • หมู่ที่ 2 บ้านหนองขาม
  • หมู่ที่ 3 บ้านสิงห์
  • หมู่ที่ 4 บ้านโคกไม้แดง
  • หมู่ที่ 5 บ้านหนองตาชี
  • หมู่ที่ 6 บ้านสระหมู
  • หมู่ที่ 7 บ้านหนองบัวราย
  • หมู่ที่ 8 บ้านหนองกง
  • หมู่ที่ 9 บ้านหนองจันทร์แดง
  • หมู่ที่ 10 บ้านหนองทะยิง
  • หมู่ที่ 11 บ้านหนองโคลน
  • หมู่ที่ 12 บ้านหนองม่วง
  • หมู่ที่ 13 บ้านหนองสองห้อง
  • หมู่ที่ 14 บ้านโพธิ์ทอง
  1. ผลผลิตและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ

ผลผลิต

จากเดิมมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอยู่แล้ว เช่น กลุ่มจักสาน  กลุ่มสัมมาชีพ โดยภาพรวมของตำบลผลผลิตที่เกิดจากโครงการ จะเป็นผลิตภัณฑ์ขนมแปรรูป ตัวอย่างเช่น ขนมทองม้วนแม่ทองพูน และขนมจากกล้วยแม่อารมณ์ บ้านหนองขาม ขนมบ้าบิ่นแม่มาลี บ้านหนองม่วง

นวัตกรรมการพัฒนา

  • เครื่องหมายการค้าแสดงสัญลักษณ์ทางการค้า (Trademark Logo Design)
  • รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ รูปแบบบรรจุภัณฑ์จากเดิมจะบรรจุด้วยพลาสติกใส ปรับเปลี่ยนเป็นถุงซิปล็อค เพื่อการเก็บรักษาที่นานขึ้นและเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์
  • การพัฒนาสูตรขนมให้มีความหลากหลาย ตัวอย่างเช่น การพัฒนาสูตรขนมบ้าบิ่น จากการพัฒนาสิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือปริมาณน้ำมันที่ลดลงทำให้สามารถทานได้มากขึ้น โดยความหนึบของตัวแป้งทำให้เคี้ยวเพลิน และเนื่องจากการใช้กระทะเทฟล่อนทำให้ลดการใช้น้ำมันลง ช่วยให้ประหยัดทรัพยากรและดีต่อสุขภาพ
  1. ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างดำเนินโครงการ
  • การตลาดที่ยังไม่กว้างขวาง ผลิตภัณฑ์ขนมไทยแปรรูปนี้มีการวางจำหน่ายอยู่ในขอบเขตของชุมชนตนเองและชุมชนใกล้เคียง ในด้านการตลาดที่ยังไม่กว้างขวาง การผลิตตามยอดการสั่งซื้อ
  • โลโก้ผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่เป็นเอกลักษณ์ เดิมผลิตภัณฑ์นั้นมีฉลากผลิตภัณฑ์เป็นเพียงข้อมูลขนมและข้อมูลการติดต่อ ตราหรือสัญลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ยังไม่มี
  • ความร่วมมือของชุมชนจากการลงพื้นที่ปฏิบัติ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 19 ที่มีการแพร่ระบาดอย่างหนักทำให้มีประชาชนติดเชื้อจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วงการปฏิบัติงานช่วงแรก ทำให้การลงพื้นที่ปฏิบัติงานช่วงแรกเป็นไปได้ค่อนข้างยาก
  1. แนวทางและวิธีแก้ปัญหา/อุปสรรค ที่เกิดขึ้น
  • วางแผนการตลาด โดยมีจัดการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโซเชียลมิเดีย เพจเฟซบุ๊คและไลน์แอด ชื่อว่า “บ้านสิงห์ ของดีบอกต่อ” พร้อมอบรมวิธีการใช้และเทคนิคการประชาสัมพันธ์ให้แก่ชุมชน
  • ออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์ มีการออกแบบผลิตภัณฑ์หลัก 3 อย่าง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์กล้วยแปรรูปของแม่อารมณ์ ขนมทองม้วนของแม่ทองพูน หมู่ 2 บ้านหนองขาม และขนมบ้าบิ่นของแม่มาลี หมู่ 12 บ้านหนองม่วง
  • นำสื่อเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 19 ที่ทำให้การปฏิบัติงานประสบกับปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ก็ได้มีการนำสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ประโยชน์ในการอบรมและการจัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้
  1. กิจกรรมที่ดำเนินการสามารถตอบโจทย์ BCG และ SDGs ข้อไหนจะต่อยอดกิจกรรมให้เกิดผลผลิต/นวัตกรรม อะไรและอย่างไร

BCG in Action : The New Sustainable Growth Engine (Bio-Circular-Green Economy) โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

B = Bio technology เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ การประดิษฐ์คิดค้น

C = Circular economy เศรษฐกิจหมุนเวียน

G = Green economy เศรษฐกิจสีเขียว เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อม

BCG คืออะไร

BCG Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) คือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นแนวคิดการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้กับ 4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curves) ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ โดยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ผลิตที่เป็นฐานการผลิตเดิม เช่น เกษตรกรและชุมชน ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงหรือนวัตกรรม นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน คือ สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด (Eco-design & Zero-Waste)  ส่งเสริมการใช้ซ้ำ (Reuse, Refurbish, Sharing) และให้ความสำคัญกับการจัดการของเสียจากการผลิตและบริโภค ด้วยการนำวัตถุดิบที่ผ่านการผลิตและบริโภคแล้วเข้าสู่กระบวนการแปรสภาพเพื่อกลับมาใช้ใหม่ (Recycle, Upcycle) ซึ่งต่างจากระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม ที่เน้นการใช้ทรัพยากร การผลิต และการสร้างของเสีย (Linear Economy)

วิสัยทัศน์ 10 ปี

“เปลี่ยนข้อได้เปรียบ (Comparative Advantage) ที่ไทยมีจากความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม ให้เป็นความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ด้วยนวัตกรรม เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจ BCG ที่เติบโต แข่งขันได้ในระดับโลก เกิดการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ ชุมชนเข้มแข็ง มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน”

สำคัญอย่างไร

BCG เป็นแนวทางการพัฒนาที่สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติอย่างน้อย 5 เป้าหมาย ได้แก่ การผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การอนุรักษ์ความหลากหลาย ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การลดความเหลื่อมล้ำ อีกทั้งยังสอดรับกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย

ซึ่งตำบลบ้านสิงห์ มีความสอดคล้องกับ C (Circular Economy) เนื่องจากภายในตำบลบ้านสิงห์เป็นชุมชนที่มีทรัพยากรวัตถุดิบเพื่อการหมุนเวียนเพื่อให้เกิดการสร้างรายได้ในชุมชน

SDGs

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นมีทั้งหมด 17 เป้าหมาย

ซึ่งสามารถจำแนกออกได้เป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย:

  1. กลุ่ม People ที่ว่าด้วยเรื่องคุณภาพชีวิตของผู้คน (เป้าหมายที่ 1, 2, 3, 4, 5)
  2. กลุ่ม Prosperity ที่ว่าด้วยเรื่องความเจริญทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและครอบคลุม (เป้าหมายที่ 7, 8, 9, 10, 11)
  3. กลุ่ม Planet ที่ว่าด้วยเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (เป้าหมาย 6, 12, 13, 14, 15)
  4. กลุ่ม Peace ที่ว่าด้วยเรื่อง สันติภาพ สถาบันที่เข้มแข็ง และความยุติธรรม (เป้าหมาย 16)
  5. กลุ่ม Partnership ที่ว่าด้วยเรื่องการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (เป้าหมาย 17)

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)

เป้าหมายที่ 1 : ขจัดความยากจน

เป้าหมายที่ 2 : ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการสำหรับทุกคนในทุกวัย

เป้าหมายที่ 3 : สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย

เป้าหมายที่ 4 : สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

เป้าหมายที่ 5 : บรรลุความเท่าเทียมระหว่างเพศ และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สตรีและเด็กหญิง

เป้าหมายที่ 6 : สร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดให้มีน้ำและสุขอนามัยสำหรับทุกคนและมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืน

เป้าหมายที่ 7 : สร้างหลักประกันให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาที่ย่อมเยา

เป้าหมายที่ 8 : ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน

เป้าหมายที่ 9 : สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความทนทาน ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม

เป้าหมายที่ 10 : ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ

เป้าหมายที่ 11 : ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัย มีภูมิต้านทานและยั่งยืน

เป้าหมายที่ 12 : สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

เป้าหมายที่ 13 : เร่งต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น

เป้าหมายที่ 14 : อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

เป้าหมายที่ 15 : ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟิ้นสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

เป้าหมายที่ 16 : ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรมและสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผลรับผิดชอบและครอบคลุมในทุกระดับ

เป้าหมายที่ 17 : เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน

SCGs  เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่สอดคล้องกับตำบลบ้านสิงห์มีดังนี้

เป้าหมายที่ 2 : ยุติความหิวโหยบรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการสำหรับทุกคนในทุกวัย

เป้าหมายที่ 8 : ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพและการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564

ลงพื้นที่เก็บข้อมูลประจำเดือนพฤศจิกายน สำรวจข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือน และชุมชน เพื่อติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าหรือโควิด 19

จากการสำรวจข้อมูลที่พักอาศัยพบว่า ประชากรในชุมชนบ้านสิงห์ หมู่ 3 ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ส่วนใหญ่มีการดูแลและป้องกันตนเองจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า หรือ โควิด 19 ดังนี้
  1. มีการประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนว่า เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือหากติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรงหรือไม่  ในการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือไม่ และตนเองหรือบุคคลในครัวเรือนมีการเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ระบาดหรือไม่
  2. มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกันหากพบว่ามีไข้ร่วมกับไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็วหายใจเหนื่อยหรือหายใจลำบากอย่างใดอย่างหนึ่งและอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วยให้รีบไปพบแพทย์ทันที
  3. มีการดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์โดยเฉพาะก่อนเตรียมปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งสกปรก หลังเยี่ยมผู้ป่วยในสถานพยาบาล หลังสัมผัสหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยงและหลังกลับจากนอกบ้าน
  4. มีการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่และใช้ช้อนส่วนตัว
  5. ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกันเช่นผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ช้อน แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ เป็นต้น 
จากการสำรวจข้อมูลโรงเรียนบ้านสิงห์(ราษฎร์อนุสรณ์) พบว่า เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า หรือโควิด 19 ยังมีการแพร่ระบาดอย่างรุนแรง ส่งผลให้ทางโรงเรียนมีการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์สลับออนไซส์ เพื่อลดการแออัดในห้องเรียน ซึ่งอาจจะนำไปสู่การระบาดของไวรัสที่อาจจะเกิดขึ้นได้ อีกทั้งโรงเรียนยังมีมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดโดยมีการเตรียมสถานที่สำหรับชำระล้างเชื้อโรค เช่นอ่างล้างมือสำหรับนักเรียนก่อนเข้าไปยังอาคารเรียน มีการจัดที่นั่งพักแบบเว้นระยะห่าง มีการติดป้ายแนะนำการปฏิบัติเพื่อสุขอนามัยที่ดี และมีการคัดกรองสำหรับนักเรียน ครู หรือผู้เข้ามาติดต่อก่อนเข้าโรงเรียน

วันที่ 2 ธันวาคม 2564

อาจารย์ผู้ดูแลโครงการมอบหมายงานให้ผู้ปฏิบัติงาน ทำการถอดบทเรียนตั้งแต่เริ่มโครงการ โดยแบ่งกลุ่มผู้ปฏิบัติงานออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 9-10 คน 

ซึ่งมีแบบฟอร์มดังนี้

  • ข้อมูลพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
  • TPMAP ความต้องการพื้นฐาน 5 มิติ
  • การพัฒนาพื้นที่
  • กลไกการดำเนินงาน
  • ผลลัพธ์
  • ผลลัพธ์เชิงเศรษฐกิจ
  • ผลลัพธ์เชิงสังคม
  • ข้อเสนอแนะ

วันที่ 6 ธันวาคม 2564

อาจารย์ผู้ดูแลโครงการนัดหมายผู้ปฏิบัติงานทุกท่าน เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาทำความดีด้วยหัวใจ ณ วัดโพธิ์คงคา ร่วมกับทีมองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์

 

 

 

อื่นๆ

เมนู