ข้าพเจ้า นางสาวพนิดา สนทนา กลุ่มบัณฑิตจบใหม่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตรการส่งเสริมอาชีพและการพัฒนาขนมไทย รับผิดชอบลงพื้นที่ในหมู่ 1 บ้านหนองดุม ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
บทความประจำเดือนธันวาคม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
วันที่ 19 พฤศจิกายน 2564
ได้เข้าร่วมการจัดอบรมการออกแบบตราสินค้า โดยอาจารย์ที่ให้ความรู้ อาจารย์ธนพล รามฤทธิ์ และอาจารย์ชินานาง สวัสดิ์รัมย์ อาจารย์สาขาวิชาศิลปะดิจิทัล คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ การอบรมในครั้งนี้จัดขึ้นที่ ศาลากลางหมู่บ้าน บ้านหนองบัวราย ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยให้ความรู้การออกแบบตราสินค้าและแนะนำการออกแบบให้ดึงดูดผู้บริโภค และเพิ่มเติมการแก้ไขตราสินค้าที่ผู้ปฎิบัติงานบ้านสิงค์ได้ออกแบบไว้ โดยจะมีผลิตภัณฑ์คือ ขนมท้องม้วนแม่ทองพูน ขนมบ้าบิ่นแม่มาลี กล่วยแปรรูปแม่อารมณ์
วันที่ 2 ธันวาคม 2564
ได้ประชุมงานออนไลน์ผ่านทาง Google meet เพื่อมอบหมายงานการดำเนินงานรายตำบล (TSI) โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยบัณฑิตแบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 5 และ 6 คน และแบ่งประชาชนออกเป็นกลุ่มละ 3 คน
ข้อมูลพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
TRMAP
คนจน จำนวน 198 คน จากประชากรสำรวจ 4,477 คน
การพัฒนาพื้นที่
1) พัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมไทยในชุมชน
2) ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
กิจกรรมการพัฒนา
การพัฒนาและส่งเสริมสินค้าในตำบลบ้านสิงห์
1) สอบถามข้อมูลและความต้องการของผู้ประกอบการ
2) ให้ความรู้ออกแบบบรรจุภัณฑ์และตราสินค้า
3) การจัดทำตลาดออนไลน์
การป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
- รณรงค์การฉีดวัคซีนและให้ความรู้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
กลไกการดำเนินการ
1) ประชุมวางแผนงานทุกครั้งก่อนลงพื้นที่ปฏิบัติงานในแต่ละเดือน
2) ลงมือปฏิบัติตามแผนที่ได้วางไว้ ซึ่งกิจกรรมจะประกอบไปด้วย การลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเพื่อหาแนวทางการแก้ไข ช่วยเหลือ และพัฒนาส่งเสริมอาชีพและการพัฒนาขนมไทย ในชุมชนในลำดับต่อไป
3) ประเมินขั้นตอนการดำเนินงาน โดยในการประเมินผลการปฏิบัติงานดังกล่าวได้มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบได้ตรวจสอบดูแลการปฏิบัติงาน
4) นำผลการประเมินมามาวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไข เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงาน รามไปถึงการหาแนวทางที่เหมาะสมมาขับเคลื่อนในการปฏิบัติงาน และนำไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในครั้งต่อๆไป
ผลลัพธ์
- เกิดการจ้างงานกลุ่ม บัณฑิตจบใหม่ ประชาชน นักศึกษาจำนวน 25 อัตรา
- ผู้ปฏิบัติงานได้รับการพัฒนาทักษะทั้ง 4 ด้านดังนี้
- ด้านการเงิน
- ด้านดิจิตอล
- ด้านสังคม
- ด้านภาษาอังกฤษ
- การบูรณาการทักษะใหม่ กำลังคน และโครงการในพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามความต้องการของพื้นที่อย่างแท้จริง
- จัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชนอย่างละเอียด ทำให้วางแผนพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่างๆ รวมถึงความยากจนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผลลัพธ์เชิงเศรษฐกิจ
1) รายได้ที่เพิ่มขึ้น
– ร้อยละ 30
840,000 บาท/ปี
60,000 บาท/ปี
2) การเพิ่มผลิตภาพ (productivity)
– ต้นทุนที่ลดลง ร้อยละ 20
– ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 35
– แรงงานที่ลดลง ร้อยละ 25
ผลลัพธ์เชิงสังคม
1) รู้จักปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของตนเองให้ดีขึ้น
2) รู้จักป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ รักษาอนามัยครอบครัวให้ดีขึ้น
3) ช่วยลดความเหลื่อมล้ำแตกต่างในเรื่องชนชั้นในสังคมให้น้อยลง มีความเสมอภาคเป็นธรรมแก่สังคม
4) ช่วยปรับปรุงชีวิต ความสัมพันธ์ในครอบครัวและรับผิดชอบต่อสังคมให้ดีขึ้น
5) ประชาชนมีวิชาชีพ และความรู้ในการทำผลิตภัณฑ์ในชุมชนมากขึ้น
ข้อเสนอแนะ
สร้างภาคีเครือข่ายเพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐกับชุมชน หากิจกรรมทำที่สามารถเกิดประโยชน์และสร้างรายได้ ยกระดับมาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจ และสามารถเพิ่มมูลค่าสินค้า ยกระดับมาตรฐานความโดดเด่นของชุมชนให้เป็นที่รู้จัก เน้นการทำงานแบบบรูณาการและให้ประชาชนสามารถต่อยอดผลิตภัณฑ์ของตนเองได้เมื่อสิ้นสุดโครงการ
วันที่ 6 ธันวาคม 2564
ได้เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาทำความดีด้วยใจ ถวายพระราชกุศลวันพ่อแห่งชาติ วันที่ 5 ธันวาคม 2564 โดยได้ทำจิตอาสาทำความสะอาดที่วัดโพธิ์คงคา ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ กวาดลานวัดและบริเวณในวัด ทำความสะอาดห้องน้ำ เก็บขยะ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมมือร่วมใจกันทำความสะอาดทำให้บริเวณวัดโพธิ์คงคาสะอาดมากขึ้น และหลังจากทำความสะอาดเรียบร้อยแล้ว อาจารย์ประจำโครงการได้นัดหมายประชุมการปฎิบัติงานและการส่งงานในเดือนธันวาคม
ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลสำหรับที่พักอาศัยในหมู่ 1 บ้านหนองดุม ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 50 ชุด ประจำเดือนธันวาคม
1. มีการประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนว่า
- เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือหากติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรงหรือไม่ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง หรือไม่
- ในการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ปฏิบัติงานในสถานบันเทิง/สถานบริการต่างๆ เป็นต้น หรือไม่
- ตนเองหรือบุคคลในครัวเรือนมีการเดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ระบาด
2. มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกัน หากพบว่ามีไข้ ร่วมกับไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบากอย่างใดอย่างหนึ่ง และอาจมีอาการ ท้องเสียร่วมด้วย ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
ตำบลบ้านสิงห์ มีโรงเรียนทั้งหมด 5 โรงเรียน
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- ศูนย์เด็กเล็กบ้านหนองกง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านสิงห์
โรงเรียนในสังกัดอื่น ๆ
- โรงเรียนบ้านสิงห์ (ราษฎร์อนุสรณ์)
- โรงเรียนบ้านหนองกง
- โรงเรียนสิงหวิทยาคม
การลงพื้นที่สำรวจเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับโรงเรียน
- มีมาตรการคัดกรองวัดไข้และอาการเสี่ยงก่อนเข้าสถานศึกษา
- สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
- จัดจุดล้างมือหรือเจลแอลกอฮอล์อย่างเพียงพอ
- จัดระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1-2 เมตร
- ทำความสะอาดห้องเรียน/พื้นผิวสัมผัสร่วม เปิดหน้าต่างประตู ระบายอากาศ
- ไม่จัดกิจกรรมรวมกลุ่มคนจำนวนมาก ลดเวลาทำกิจกรรม
- ควบคุมทางเข้า-ออก ลงทะเบียนด้วยแอปพลิเคชันที่ทางราชการกำหนด หรือใช้การบันทึกข้อมูลรายงาน
- จัดให้มีการแนะนำผู้ที่อยู่ในสถานศึกษาทุกกลุ่ม ตรวจตรา ควบคุม กำกับการเรียนการสอน ทำกิจกรรมตามมาตรการควบคุมหลักอย่างเคร่งครัด
- มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์แนะนำการปฏิบัติเพื่อ สุขอนามัยที่ดี เช่น วิธีล้างมือที่ถูกต้อง การสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล เป็นต้น
สรุปผลการปฏิบัติงานเดือนธันวาคมซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของการปฎิบัติงาน ได้เรียนรู้จากการทำงานโดยมุ่งเน้นให้ผลิตภัณฑ์ในชุมชนต่อยอดและพัฒนาตามเป้าหมายที่คาดหวังไว้ โดยผู้ร่วมปฎิบัติงานได้ออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ให้กับคุณแม่มาลี คุณแม่ทองพูน และคุณแม่อารมณ์ ได้ตามที่เจ้าของผลิตภัณฑ์ต้องการ และในการทำงานของเดือนธันวาคม ได้ทำกิจกรรมร่วมกันโดยได้รวมความคิดและทักษะต่างๆในการปฏิบัติงานทำให้การทำงานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และยังได้ทำจิตอาสาเพื่อส่งเสริมจิตใจให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน สุดท้ายนี้ขอขอบคุณอาจารย์ประจำโครงการ ขอบคุณค่ะ