1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS03 - ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง
  4. โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) HS03-คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) HS03-คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ข้าพเจ้า นายพนม  กลิ่นหอม ประเภทบัณฑิตจบใหม่ HS03-คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ในเดือนธันวาคมนี้ ข้าพเจ้าได้วางแผนการทำงานและได้ทำการลงพื้นที่เพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูล ในพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ดังนี้

  1. ชื่อ-นามสกุล นายพนม กลิ่นหอม ประ​เภท​บัณฑิตจบใหม่

2. ผลการปฏิบัติงาน

บทความประจำเดือนธันวาคม ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) “บ้านหนองจันทร์แดง หมู่ที่ 9” ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ในส่วนขอการจัดกิจกรรมในครั้งนี้เป็นไปตามมาตรการการป้องกัน โควิด-19 ตามมาตรการของรัฐบาล อย่างเคร่งคัด ดังนี้

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2564

อาจารย์ธิดารัตน์ คีมกระโทก อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานอบรมการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์แปรรูปขนม เวลา 13.00-16.00 น. โดยการจัดการอบรมในครั้งนี้ได้จัดขึ้น ณ ศาลาประชาคมหมู่บ้าน “บ้านหนองบัวราย” ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยการอบรมในครั้งนี้มีวิทยากรที่มาให้ข้อมูล โดย อาจารย์ชินานาง สวัสดิ์รัมย์ และ อาจารย์ธนพล รามฤทธิ์ สาขาวิชาศิลปะดิจิทัล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในการอบรมในครั้งนี้เป็นการทำงานสืบเนื่องจากเดือนที่ผ่านมา จนมาถึงการสรุปการออกแบบบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์สินค้าให้กับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในโครงการนี้ คือ กล้วยแปรรูปของแม่อารมณ์ ขนมทองม้วนของแม่ทองพูน และขนมบ้าบิ่นของแม่มาลี เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน 2564

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จัดเสวนาการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงสหวิทยาการฯ ในหัวข้อ “โครงการการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงสหวิทยาการทั้งแบบออนไซส์และออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะเดิมเพิ่มทักษะใหม่และรายได้เสริมให้ประชาชนในพื้นที่บริการวิชาการของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ “ ณ ห้องประชุมมนุษยสังคมวัฒนา อาคาร 25 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยหลักการสำคัญเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามองค์การสหประชาชาติกำหนดโดยมีทั้งหมด 17 เป้าหมาย แบ่งออกเป็นครอบคลุมทั้ง 3 มิติ ได้แก่ มิติสังคม มิติเศรษฐกิจ มิติความร่วมมือ และแบ่งออกเป็น 5P ซึ่งปรากฏอยู่ในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน คือ ประชาชน ความเจริญ โลกธรรม สันติสุข การมีส่วนร่วม 4P เป็นผู้ขับเคลื่อน คือ การร่วมกันดำเนินการ การทำโดยการส่งเสริมแบบคนเดียว ร่วมกันทำแบบสาธารณะ และให้เกิดการดำเนินการระหว่างชุมชน โดยดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งกับการจัดสัมมนา “การพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงบูรณาการของคณะมนุษยศาสตร์เเละสังคมศาสตร์ ” โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจาก 5 หน่วยงานมาเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันคือสำนักพัฒนาฝีมือเเรงงานบุรีรัมย์  กศน. วิทยาลัยชุมชน วิทยาลัยเกษตรเเละเทคโนโลยีบุรีรัมย์ เเละสำนักส่งเสริมวิชาการฯ

วันที่ 28 – 30 พฤศจิกายน 2564

ข้าพเจ้าได้ลงเก็บข้อมูล “บ้านหนองจันทร์แดง หมู่ที่ 9” การสำรวจเพื่อเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของ Covid-19 สำหรับที่พักอาศัย จำนวน 50 ครัวเรือน การสำรวจมีข้อมูลดังนี้

1. ในแต่ละครัวเรือนมีการสำรวจประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนตลอดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือหากติดเชื้อแล้วจะมีอาการรุนแรงหรือไม่ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง เป็นต้น และมีการสำรวจว่าบุคคลในครัวเรือนมีการทำงานในที่เสี่ยงหรือเดินทางกลับจากที่เสี่ยงหรือไม่

2. มีการสังเกตอาการของตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกันหากพบว่ามีไข้ ร่วมกับมีไอ หรือมีอาการต่าง ๆ ที่เข้าค่ายเสี่ยงติดโรคโควิด-19 จะให้รีบไปพบแพทย์ทันที

3. มีการดูแลสุขอนามัยตลอดโดยการล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือน้ำสบู่ ทั้งก่อนปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ หลังหยิบจับสิ่งสกปรก และหลังกลับจากนอกบ้านทุกครั้ง

4. ส่วนใหญ่จะรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ และใช้ช้อนส่วนตัวในการรับประทานอาหาร

5. ส่วนใหญ่บุคคลในครัวเรือนจะแยกของใช้ส่วนตัวกัน เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า แต่ในบางครัวเรือนจะยังใช้แก้วน้ำร่วมกับคนในครัวเรือนอยู่

6. เมื่อกลับจากทำภารกิจหรือกิจกรรมนอกบ้านส่วนน้อยจะเปลี่ยนเสื้อผ้า ล้างมือ หรืออาบน้ำโดยทันที

วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม 2564

เวลา 18:00 น. อาจารย์ธิดารัตน์ คีมกระโทก อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าร่วมการประชุมออนไลน์ผ่าน Google meet เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับการดำเนินการ การถอดบทเรียน TSI ตำบลบ้านสิงห์ แบบฟอร์มถอดบทเรียน TSI ตำบล ประกอบด้วย

1. ข้อมูลพื้นที่ตำบล บรรยายพร้อมภาพประกอบ หรือสามารถนำเสนอในรูปแบบอื่นที่แสดงให้เห็นถึงพื้นที่

2. TPMAP ความต้องการพื้นฐาน 5 มิติ เสนอข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการพื้นฐาน 5 มิติของตำบล ทั้งนี้ อาจนำเสนอในรูปแบบแผนภูมิ กราฟ เป็นต้น

3. การพัฒนาพื้นที่ โจทย์พื้นที่ กิจกรรมที่ดำเนินการ

4. กลไกการดำเนินงาน นำเสนอกลไก/ขั้นตอน/รูปแบบวิธีการที่ใช้ รวมถึงความร่วมมือต่าง ๆ

ผลลัพธ์ นำเสนอผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการฯ ใน 4 หัวข้อ ได้แก่

    • 4.1  การจ้างงาน
    • 4.2  การพัฒนาทักษะ
    • 4.3  การยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
    • 4.4  Community Big Data

5. ผลลัพธ์เชิงเศรษฐกิจ ได้แก่

    • 5.1  รายได้ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ……บาท/ปี   …บาท/ครัวเรือน
    • 5.2  การเพิ่มผลิตภาพ (productivity) เช่น ต้นทุนที่ลดลง (ร้อยละ) ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น (ร้อยละ) แรงงานที่ลดลง (ร้อยละ) เป็นต้น

6. ผลลัพธ์เชิงสังคม ได้แก่

    • 6.1 คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
    • 6.2 การย้ายถิ่นฐานเพื่อออกไปหางานทำลดลง
    • 6.3 ลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของคนในชุมชน
    • 6.4 การเข้าถึงระบบการรักษาพยาบาลอย่างทั่วถึง

7. ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานโครงการ U2T ให้บรรลุเป้าหมาย ตามวัตถุประสงค์การยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล

8. ผู้รับผิดชอบ ได้แก่ ชื่อผู้รับผิดชอบ ข้อมูลติดต่อ หน่วยงาน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มบัณฑิตและประชาชนเฉลี่ยกลุ่มละ 9 – 10 คน โดยดำเนินการทำข้อมูลเป็น TP-MAP

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม 2564

เวลา 12:00 น. อาจารย์ธิดารัตน์ คีมกระโทก อาจารย์ประจำหลักสูตรได้นัดหมายให้ผู้ปฏิบัติงานในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการทุกท่าน ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง ได้เข้าร่วมกิจกรรม HUSOC “จิตอาสา ทำความดีด้วยหัวใจ” ถวายพระราชกุศล วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564  ณ วัดโพธิ์คงคา (วัดบ้านสิงห์) ตำบลบ้านสิงห์ ร่วมกับบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ และกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลบ้านสิงห์ โดยมีการรับประทานอาหารกลางวันร่วมกันก่อนเริ่มดำเนินกิจกรรมทำความสะอาด การทำความสะอาดรอบบริเวณวัด เช่น เก็บขยะ กวาดใบไม้ ล้างห้องน้ำ เป็นต้น

  1. สิ่งที่ได้เรียนรู้ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ

1. การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมทีม เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ

2. การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก เพราะจะช่วยให้ทีมสามารถปฏิบัติงาน ร่วมกันอย่างเข้าใจ

3. ความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ที่ต้องการการสนับสนุนอาชีพมากยิ่งขึ้นจากทางภาครัฐ

4. ออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์ รวมถึงการสร้างจุดดึงดูดให้กับผลิตภัณฑ์

5. ได้ประสบการณ์ใหม่จากกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ ซึ่งเป็นการปฏิบัติงานเดือนสุดท้ายของโครงการ

4. แผนการปฏิบัติงานต่อไป

1. ลงพื้นที่ปฏิบัติงานในส่วนที่ได้รับมอบหมาย และนําความ​รู้​และ​ข้อมูล​ที่​ได้จากการลงพื้น​ที่​ปฏิบัติ​งานมา​พัฒนา​และ​ก่อ​ให้​เกิด​ประโยชน์​ต่อ​ชาว​บ้าน​ใน​ชุมชน​ตำบล​บ้าน​สิงห์ ควบคู่กับการช่วยเหลือและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19)

2. ไม่หยุดเรียนรู้พัฒนาตนเอง การที่จะสามารถประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้ จะต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ไม่มีการหยุดนิ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของบุคลิกการวางตัว การแต่งกาย พฤติกรรม วิธีการทำงาน ความเข้าใจในการทำงานในหน้าที่ของตนเอง วิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และการประเมินความสามารถของตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน อะไรที่เราควรเรียนรู้เพิ่มเติมก็ควรจะต้องค้นคว้าหาเวลาเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อเป็นการพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไป

5.ลิงค์วิดีโอ https://www.youtube.com/watch?v=qRuZNPUQjYo

 

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู