1. หน้าแรก
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  3. HS03 - ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง
  4. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการทำขนม ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ HS03 เรื่อง ต่อยอดผลิตภัณฑ์ สร้างสรรค์ พัฒนา สู่ชุมชนแห่งการพึ่งพาตนเอง ครั้งที่ 11

ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการทำขนม ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ HS03 เรื่อง ต่อยอดผลิตภัณฑ์ สร้างสรรค์ พัฒนา สู่ชุมชนแห่งการพึ่งพาตนเอง ครั้งที่ 11

ข้าพเจ้า นายปริญญา ไทยสืบชาติ ( ประเภทกลุ่มประชาชน ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ) หลักสูตรการส่งเสริมอาชีพและการพัฒนาขนม ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

        ด้วยสถานการณ์ในปัจจุบันยังคงพบปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในประเทศ แม้ประชาชนจะจีดวัคซีนเกิน 60 เปอร์เซ็น ตามที่รัฐบาลกำหนดไว้แล้วก็ตาม จากการที่ตรวจพบเชื้อตัวใหม่ชื่อว่า Omicron องค์กรอานามัยโลก หรือ (WHO) ประกาศให้เป็นสายพันธุ์ระดับที่น่ากังวล (Variants of Concern: VOC) สายพันธุ์ใหม่ล่าสุด อย่างไรก็ตามเราควรเฝ้าจับตามอง และติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันก็ปฏิบัติตามมาตรการในการป้องกันอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุและผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนซึ่งอาจมีผลกระทบจากเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนนี้ โดยผู้ปฏิบัติงานก็ได้ดูแลตนเอง ตามมาตราการการป้องกันตนเองของสาธารณสุขอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการติดเชื้อและทำให้การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายตรงตามวัตถุประสงค์และผลสัมฤทธิ์ที่กำหนดไว้

        สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับการดำเนินงาน ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการกิจกรรมอบรมเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์แปรรูปขนมโครงการแปรรูปขนมเพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชนภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ การลงพื้นที่แบบบูรณาการในการจัดเก็บข้อมูลรายชุมชนเพื่อให้เกิดการดำเนินงานที่บรรลุเป้าหมาย สามารถที่จะนำมาต่อยอดในการประสานงานโครงการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ และร่วมทำกิจกรรมจิตอาสาถวายพระราชกุศลเนื่องในวันที่ 5 ธันวาคม 2564 โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ร่วมกับผู้ปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการและส่วนราชการองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ดำเนินการทำความดีจิตอาสา แสดงออกถึงความร่วมมือระหว่าง ชุมชน วัด โรงเรียน และส่วนราชการ

        วันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 กิจกรรมอบรมเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์แปรรูปขนมโครงการแปรรูปขนมเพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน โดยมีวิทยากรผู้ให้ความรู้ อาจารย์ชินานาง สวัสดิ์รัมย์ และ อาจารย์ธนพล รามฤทธิ์ โดยมีประชาชนให้ความสนใจและเข้าร่วมในการอบรมเป็นจำนวนมาก โดนเนื้อหาการอบรมสรุปได้ดังนี้

        ปัจจุบัน โลโก้ ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นโลโก้แบรนด์สินค้า โลโก้ร้าน เพราะโลโก้ จะเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจมีความก้าวหน้า และประสบความสำเร็จได้ ซึ่งการทำโลโก้นั้น จะต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการเป็นหลัก เพื่อให้โลโก้มีความแปลกใหม่โดดเด่นและไม่เหมือนใคร โดยเป้าหมายส่วนใหญ่ของการทำโลโก้ขึ้นมานั้น ก็เพื่อการสร้างแบรนด์ให้กับสินค้าหรือบริการต่าง ๆ นั่นเอง ดังนั้นการออกแบบโลโก้ จึงมีความสำคัญมากที่สุด ทั้งนี้ก็เพื่อการสร้างแบรนด์สินค้าให้โดดเด่น และน่าสนใจ และยังเป็นการช่วยส่งเสริมธุรกิจให้เติบโตขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย
          ดังนั้นโลโก้จึงสามารถสร้างแรงบันดาลใจ ความเชื่อ ความนิยม และการจดจำเกี่ยวกับองค์กรหรือสินค้าและในการสร้างสรรค์โลโก้ เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว เพราะโลโก้นั้นไม่ได้เป็นแค่เครื่องหมายเฉย ๆ แต่โลโก้นั้นสะท้อนถึงภาพลักษณ์ในทางการตลาดของธุรกิจอีกด้วย
          จุดประสงค์หลักของการออกแบบโลโก้ (Logo) : ภาพลักษณ์แรกที่ลูกค้าจะได้รู้จัก ดังนั้น จึงมีความหมายต่อธุรกิจอย่างไม่ต้องสงสัย โลโก้ที่ดีจะช่วยสร้างเครดิตให้กับกิจการหรือองค์กรธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งถ้าขายสินค้าคุณภาพ โลโก้นั้นต้องสะท้อนสิ่งนี้ให้เห็นได้อย่างชัดเจนความสำคัญของการออกแบบโลโก้ ปัจจุบันการออกแบบโลโก้ควรใช้เวลาคิด วิเคราะห์ข้อมูลหลาย ๆ อย่าง เพื่อให้โลโก้ที่ออกแบบมานั้นตอบโจทย์กับบริษัท สินค้าหรือบริการนั้น ๆ สามารถสะท้อนถึงภาพลักษณ์ที่ต้องการออกไปสู่คนภายนอก ได้อย่างถูกต้องตามที่คาดหวังไว้  โดยมีผลิตภัณฑ์ขนมทองม้วน ขนมบ้าบิ่น และขนมกล้วยฉาบ เข้าร่วมอบรมการออกแบบดังกล่าว โดยในแต่ละท่านจะมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง

        ผลิตภัณฑ์ขนมทองม้วน ต้องการออกแบบโลโก้ ให้มีลักษณะที่สอดคล้องกับความทันสมัยและเมื่อผู้บริโภคเห็นแล้วสามารถจดจำโลโก้ได้ โดยมี คำที่สามารถพูดติดปากได้ เช่น ทองม้วนแม่ทองพูน กรอบ สด ใหม่ สนใจ โทร สถานที่ โดยแสดงให้เห็นถึงสถานที่จำหน่าย และความสดใหม่ที่ต้องการสื่อถึงผู้บริโภค โดยการออกแบบถึงลักษณะตัวการ์ตูนที่นำมาใช้ ตัวอักษร แม้กระทั้งรูแบบของสีที่ใช้ จะเป็นความสัมพันธ์ที่ลักษะบ่งบอกถึงความหมายที่จะสื่อเพื่อให้เกิดการจดจำ

 

        วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน 2564 เวลา 08.00 – 15.30 น. ผู้ควบคุมดูแลโครงการและผู้ปฏิบัติงานได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมสัมนาในหัวข้อ โครงการการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงสหวิทยาการทั้งแบบออนไซต์และออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะเดิมเพิ่มทักษะใหม่และรายได้เสริมให้ประชาชนในพื้นที่บริการวิชาการของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ณ ห้องประชุมมนุษยสังคมวัฒนา อาคาร 25 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยหลักการสำคัญเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามองค์การสหประชาชาติกำหนดโดยมีทั้งหมด 17 เป้า แบ่งออกเป็นครอบคลุมทั้ง 3 มิติ มิติสังคม มิติเศรษฐกิจ มิติความร่วมมือ และ

แบ่งออกเป็น 5P ซึ่งปรากฏอยู่ในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน คือ

  1. ประชาชน
  2. ความเจริญ
  3. โลกธรรม
  4. สันติสุข
  5. การมีส่วนร่วม

4P เป็นผู้ขับเคลื่อน คือ

  1. การร่วมกันดำเนินการ
  2. การทำโดยการส่งเสริมแบบคนเดียว
  3. ร่วมกันทำแบบสาธารณะ
  4. และให้เกิดการดำเนินการระหว่างชุมชน

โดยดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งครอบคลุมทั้ง 6 ด้าน

  1. พัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์
  2. สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
  3. สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ
  4. อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  5. ความมั่นคงและการพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่งยั่งยืน
  6. การบริหารภาครัฐให้เกิดความโปร่งใส

        และประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งกับการจัดสัมมนา “การพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงบูรณาการของคณะมนุษยศาสตร์เเละสังคมศาสตร์”โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจาก 5 หน่วยงานมาเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันคือสำนักพัฒนาฝีมือเเรงงานบุรีรัมย์  กศน. วิทยาลัยชุมชน วิทยาลัยเกษตรเเละเทคโนโลยีบุรีรัมย์ เเละสำนักส่งเสริมวิชาการฯ

 

วันที่ 2 ธันวาคม 2564 ประชุมผ่านระบบออนไลน์เพื่อมอบหมายงานให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน รายละเอียดดังนี้

  1. ข้อมูลตำบล 

2.  กลไกการดำเนินงาน 

  1. ประชุมวางแผนงานทุกครั้งก่อนลงพื้นที่ปฏิบัติงานในแต่ละเดือน
  2. ลงมือปฏิบัติตามแผนที่ได้วางไว้ ซึ่งกิจกรรมจะประกอบไปด้วย การลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเพื่อหาแนวทางการแก้ไข ช่วยเหลือ และพัฒนาส่งเสริมอาชีพและการพัฒนาขนมไทย ในชุมชนในลำดับต่อไป
  3. ประเมินขั้นตอนการดำเนินงาน โดยในการประเมินผลการปฏิบัติงานดังกล่าวได้มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบได้ตรวจสอบดูแลการปฏิบัติงาน
  4. นำผลการประเมินมามาวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไข เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงาน รามไปถึงการหาแนวทางที่เหมาะสมมาขับเคลื่อนในการปฏิบัติงาน และนำไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานในครั้งต่อๆไป

3. ด้านผลลัพธ์

  1. เกิดการจ้างงานกลุ่ม บัณฑิตจบใหม่ ประชาชน นักศึกษาจำนวน 25 อัตรา
  2. การบูรณาการทักษะใหม่ กำลังคน และโครงการในพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามความต้องการของพื้นที่อย่างแท้จริง
  3. จัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชนอย่างละเอียด ทำให้วางแผนพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่างๆ รวมถึงความยากจนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้ปฏิบัติงานได้รับการพัฒนาทักษะ ทั้ง 4 ด้านดังนี้   

  • ด้านการเงิน           
  • ด้านดิจิทัล             
  • ด้านสังคม               
  • ด้านภาษาอังกฤษ   

4. การพัฒนาพื้นที่

1) พัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมไทยในชุมชน       

2) ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019     

4. ผลลัพธ์เชิงเศรษฐกิจ

  1. รายได้ที่เพิ่มขึ้น- ร้อยละ 30   840,000 บาท/ปี  60,000 บาท/ปี
  2. การเพิ่มผลิตภาพ (productivity)
  • ต้นทุนที่ลดลง ร้อยละ 20
  • ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ  35
  • แรงงานที่ลดลง ร้อยละ 25

5. ผลลัพธ์เชิงสังคม

  1. รู้จักปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของตนเองให้ดีขึ้น
  2. รู้จักป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ รักษาอนามัยครอบครัวให้ดีขึ้น
  3. ช่วยลดความเหลื่อมล้ำแตกต่างในเรื่องชนชั้นในสังคมให้น้อยลง มีความเสมอภาคเป็นธรรมแก่สังคม
  4. ช่วยปรับปรุงชีวิต ความสัมพันธ์ในครอบครัวและรับผิดชอบต่อสังคมให้ดีขึ้น
  5. ประชาชนมีวิชาชีพ และความรู้ในการทำผลิตภัณฑ์ในชุมชนมากขึ้น

ข้อเสนอแนะ 

        สร้างภาคีเครือข่ายเพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐกับชุมชน หากิจกรรมทำที่สามารถเกิดประโยชน์และสร้างรายได้ ยกระดับมาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจ และสามารถเพิ่มมูลค่าสินค้า ยกระดับมาตรฐานความโดดเด่นของชุมชนให้เป็นที่รู้จัก เน้นการทำงานแบบบรูณาการและให้ประชาชนสามารถต่อยอดผลิตภัณฑ์ของตนเองได้เมื่อสิ้นสุดโครงการ

       วันพ่อแห่งชาติ ปี 2564  ทางองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จัดกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร ร 9

         วันที่ 5 ธันวาคม 2564 ตั้งแต่เวลา 12.00 น เป็นต้นไปของวันที่ 5 ธ.ค. วัดโพธ์คงคา ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีกิจกรรมใน”วันชาติ ”วันพ่อแห่งชาติ “ 5 ธันวาคม ประจำปี 2564 เนื่องคล้ายวันพระราชสมภพ เพื่อถวายเป็นพระกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ร.9 โดยมีทางนายกองค์การบริหารส่วนตำบล  และสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลพร้อมทุกภาคส่วนราชการ ทั้ง 14 หมู่บ้าน และผู้ปฎิบัติงาน ประชาขนทุกหมู่เหล่า ร่วมประกอบพิธีกิจกรรมจำนวนมาก ต่อมาได้ร่วมกันทำกิจกรรมทำความสะอาด เพื่อถวายเป็นราชกุศลพร้อมกันอทั่วหน้าทุกภาคส่วน เพื่อร่วมน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้จำนวนหลายหน่วยงานอย่างพร้อมเพียง  

        จัดกิจกรรม จิตอาสาพัฒนาในโอกาสวันสำคัญของชาติไทย ตามสถานที่สำคัญและในชุมชน และเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม2564 รู้รักสามัคคี ทางส่วนราชการ เชิญชวนหน่วยงานในพื้นที่จัดกิจกรรมจิตอาสา “รู้รักสามัคคี รักษ์สิ่งแวดล้อม พัฒนา คุณภาพชีวิต” หรือในช่วงเดือนธันวาคม เช่น  กิจกรรมปรับภูมิทัศน์ศาสนาสถานหรือสถานที่สาธารณะ หรือกิจกรรม สาธารณประโยชน์และสาธารณกุศลอื่น ๆ เพื่อให้การจัดกิจกรรมดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย  ให้จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมและดำเนินการตามมาตรการ ส่วนด้านสาธารณสุขเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเคร่งครัดต่อไป

อื่นๆ

เมนู