ชื่อผู้ปฏิบัติงาน นางสาวปัทมพร  ทุมทอง
ประเภท นักศึกษา
HS03 ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ผลการปฏิบัติงานประจำเดือน ธันวาคม 2564

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (COVID-19)  ทำให้การลงพื้นที่ในการปฏิบัติงานแต่ละครั้งมีความยากมากขึ้น เนื่องจากการลงพื้นที่สอบถามข้อมูลจะต้องใกล้ชิดกับคนในชุมชนในการปฏิบัติงานทุกครั้งจะต้องปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ตามที่ประกาศจังหวัดบุรีรัมย์กำหนดไว้

การปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม มีดังนี้


วันที่ 19 พฤศจิกายน 2564

คณะอาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้ปฏิบัติงาน กลุ่มบัณฑิต กลุ่มนักศึกษาและกลุ่มประชาชน ตำบลบ้านสิงห์  พร้อมกับตัวแทนประชาชนเข้าร่วมอบรม ณ ศาลาประชาคมบ้านหนองบัวราย ในกิจกรรม อบรมการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์แปรรูปขนม “ออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์” โดยวิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ อ.ชินานาง สวัสดิ์รัมย์ และ อ.ธนพล รามฤทธิ์ ซึ่งได้ออกแบบทั้งหมด 3 ผลิตภัณฑ์ได้แก่

  • ขนมกล้วยฉาบรสปาปิก้า, อบเนย, รสเค็ม, รสหวานของแม่อารมณ์
  • ขนมทองม้วนของแม่ทองพูน

  • ขนมบ้าบิ่นของแม่มาลี


วันที่ 21 พฤศจิกายน 2564

      ตัวแทนผู้ปฏิบัติงานเข้าร่วมอบรมโครงการการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงสหวิทยาการทั้งแบบออนไซต์และออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะเดิมเพิ่มทักษะใหม่และรายได้เสริมให้ประชาชนนพื้นที่บริการวิชาการของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ณ ห้องประชุมมนุษยสังคมวัฒนา อาคาร ๒๕ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งสรุปได้ดังนี้

โครงการการแปรรูปขนมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

  1. ชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการมีกี่หมู่บ้านของแต่ละตำบลมีทั้งหมด 14 หมู่บ้าน

หมู่ที่ 1 บ้านหนองดุม

หมู่ที่ 2 บ้านหนองขาม

หมู่ที่ 3 บ้านสิงห์

หมู่ที่ 4 บ้านโคกไม้แดง

หมู่ที่ 5 บ้านหนองตาชี

หมู่ที่ 6 บ้านสระหมู

หมู่ที่ 7 บ้านหนองบัวราย

หมู่ที่ 8 บ้านหนองกง

หมู่ที่ 9 บ้านหนองจันทร์แดง

หมู่ที่ 10 บ้านหนองทะยิง

หมู่ที่ 11 บ้านหนองโคลน

หมู่ที่ 12 บ้านหนองม่วง

หมู่ที่ 13 บ้านหนองสองห้อง

หมู่ที่ 14 บ้านโพธิ์ทอง

  1. ผลผลิตและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการผลผลิต

จากเดิมมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอยู่แล้ว เช่น กลุ่มจักสาน  กลุ่มสัมมาชีพ โดยภาพรวมของตำบลผลผลิตที่เกิดจากโครงการ จะเป็นผลิตภัณฑ์ขนมแปรรูป ตัวอย่างเช่น ขนมทองม้วนแม่ทองพูน และขนมจากกล้วยแม่อารมณ์ บ้านหนองขาม ขนมบ้าบิ่นแม่มาลี บ้านหนองม่วง

นวัตกรรมการพัฒนา

1) เครื่องหมายการค้าแสดงสัญลักษณ์ทางการค้า (Trademark Logo Design)

2) รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ รูปแบบบรรจุภัณฑ์จากเดิมจะบรรจุด้วยพลาสติกใส ปรับเปลี่ยนเป็นถุงซิปล็อค เพื่อการเก็บรักษาที่นานขึ้นและเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์

3) การพัฒนาสูตรขนมให้มีความหลากหลาย ตัวอย่างเช่น การพัฒนาสูตรขนมบ้าบิ่น จากการพัฒนาสิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือปริมาณน้ำมันที่ลดลงทำให้สามารถทานได้มากขึ้น โดยความหนึบของตัวแป้งทำให้เคี้ยวเพลิน และเนื่องจากการใช้กระทะเทฟล่อนทำให้ลดการใช้น้ำมันลง ช่วยให้ประหยัดทรัพยากรและดีต่อสุขภาพ

  1. ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างดำเนินโครงการ

3.1 การตลาดที่ยังไม่กว้างขวาง ผลิตภัณฑ์ขนมไทยแปรรูปนี้มีการวางจำหน่ายอยู่ในขอบเขตของชุมชนตนเองและชุมชนใกล้เคียง ในด้านการตลาดที่ยังไม่กว้างขวาง การผลิตตามยอดการสั่งซื้อ

3.2 โลโก้ผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่เป็นเอกลักษณ์ เดิมผลิตภัณฑ์นั้นมีฉลากผลิตภัณฑ์เป็นเพียงข้อมูลขนมและข้อมูลการติดต่อ ตราหรือสัญลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ยังไม่มี

3.3 ความร่วมมือของชุมชนจากการลงพื้นที่ปฏิบัติ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ที่มีการแพร่ระบาดอย่างหนักทำให้มีประชาชนติดเชื้อจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วงการปฏิบัติงานช่วงแรก ทำให้การลงพื้นที่ปฏิบัติงานช่วงแรกเป็นไปได้ค่อนข้างยาก

  1. แนวทางและวิธีแก้ปัญหา/อุปสรรค ที่เกิดขึ้น

4.1 วางแผนการตลาด โดยมีจัดการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโซเชียลมิเดีย เพจเฟซบุ๊คและไลน์แอด ชื่อว่า “บ้านสิงห์ ของดีบอกต่อ” พร้อมอบรมวิธีการใช้และเทคนิคการประชาสัมพันธ์ให้แก่ชุมชน

4.2 ออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์ มีการออกแบบผลิตภัณฑ์หลัก 3 อย่าง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์กล้วยแปรรูปของแม่อารมณ์ ขนมทองม้วนของแม่ทองพูน หมู่ 2 บ้านหนองขาม และขนมบ้าบิ่นของแม่มาลี หมู่ 12 บ้านหนองม่วง

4.3 นำสื่อเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 19 ที่ทำให้การปฏิบัติงานประสบกับปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ก็ได้มีการนำสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ประโยชน์ในการอบรมและการจัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้

  1. กิจกรรมที่ดำเนินการสามารถตอบโจทย์BCG และ SDGs ข้อไหนจะต่อยอดกิจกรรมให้เกิดผลผลิต/นวัตกรรม อะไรและอย่างไร

BCG in Action : The New Sustainable Growth Engine (Bio-Circular-Green Economy) โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

B = Bio technology เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ การประดิษฐ์คิดค้น

C = Circular economy เศรษฐกิจหมุนเวียน

G = Green economy เศรษฐกิจสีเขียว เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อม

BCG คืออะไร

BCG Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) คือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นแนวคิดการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้กับ 4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curves) ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ โดยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ผลิตที่เป็นฐานการผลิตเดิม เช่น เกษตรกรและชุมชน ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงหรือนวัตกรรม

นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน คือ สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด (Eco-design & Zero-Waste)  ส่งเสริมการใช้ซ้ำ (Reuse, Refurbish, Sharing) และให้ความสำคัญกับการจัดการของเสียจากการผลิตและบริโภค ด้วยการนำวัตถุดิบที่ผ่านการผลิตและบริโภคแล้วเข้าสู่กระบวนการแปรสภาพเพื่อกลับมาใช้ใหม่ (Recycle, Upcycle) ซึ่งต่างจากระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม ที่เน้นการใช้ทรัพยากร การผลิต และการสร้างของเสีย (Linear Economy)

วิสัยทัศน์ 10 ปี

“เปลี่ยนข้อได้เปรียบ (Comparative Advantage) ที่ไทยมีจากความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม ให้เป็นความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ด้วยนวัตกรรม เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจ BCG ที่เติบโต แข่งขันได้ในระดับโลก เกิดการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ ชุมชนเข้มแข็ง มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน”

สำคัญอย่างไร

BCG เป็นแนวทางการพัฒนาที่สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติอย่างน้อย 5 เป้าหมาย ได้แก่ การผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การอนุรักษ์ความหลากหลาย ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การลดความเหลื่อมล้ำ อีกทั้งยังสอดรับกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย

ซึ่งตำบลบ้านสิงห์ มีความสอดคล้องกับ C (Circular Economy)เนื่องจากภายในตำบลบ้านสิงห์เป็นชุมชนที่มีทรัพยากรวัตถุดิบเพื่อการหมุนเวียนเพื่อให้เกิดการสร้างรายได้ในชุมชน


วันที่ 29 พฤศจิกายน 2564

ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานสำรวจข้อมูลชุมชน บ้านหนองจันทร์แดง ตำบลบ้านสิงห์เพิ่มเติม เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ  โดยดิฉันได้รับมอบหมายให้เก็บแบบสำรวจการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVD-19) ที่พักอาศัยประจำเดือนกันยายน

  • มีการประเมินตนเองเเละบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือน
  • มีการสังเกตอาการเเละบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือน
  • มีการดูเเลสุขอนามัยตนเองเเละบุคคลที่อาศัยอยู่ในครัวเรือน
  • มีการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่เเละใช้ช้อนส่วนตัว
  • ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกัน
  • ทำความสะอาดตนเองหลังกลับจากการทำภารกิจหรือกิจกกรมนอกบ้าน

จากการสำรวจพบว่าประชาชนบ้านหนองจันทร์แดง ได้ประเมินอาการของตนเองและคนในครอบครัว  มีการเว้นระยะห่าง รักษาความสะอาดและปฏิบัติตามมารตราการการป้องกันโควิด(COVID-19) อยู่เสมอ


วันที่ 6 ธันวาคม 2564

       คณะอาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้ปฏิบัติงาน กลุ่มบัณฑิต กลุ่มนักศึกษาและกลุ่มประชาชน ตำบลบ้านสิงห์  พร้อมกับตัวแทนประชาชนและ อบต.บ้านสิงห์ เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสา ณ.วัดโพธิ์คงคา ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ได้ทำความสะอาดกวาดบริเวณวัด ล้างห้องสุขา และรับประทานอาหารร่วมกัน

 


สรุปการปฏิบัติงาน

การประฏิบัติงานประจำเดือนธันวาคมดิฉันได้ความรู้ในการออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์  เข้าร่วมอบรมโครงการการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงสหวิทยาการทั้งแบบออนไซต์และออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะเดิมเพิ่มทักษะใหม่และรายได้เสริมให้ประชาชนนพื้นที่บริการวิชาการ ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลชุมชนและเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสา กลุ่มผู้ปฏิบัติงานและทีมชาวบ้านได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เนื่องด้วยผู้ปฏิบัติงานได้ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา (COVID-19) กันแล้วแต่ปัจจุบันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องเฝ้าระวังและควรปฏิบัติตามมารตราการการป้องกันไวรัสอย่างเคร่งครัด


สิ่งที่ได้เรียนรู้

ได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น ได้ฝึกตนเองให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มีโอกาสได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ จากการทำงานได้เรียนรู้การปฏิบัติตัวในขณะลงพื้นที่เสี่ยงโควิดได้ความรู้ในการออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์  เข้าร่วมอบรมโครงการการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นเชิงสหวิทยาการทั้งแบบออนไซต์และออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะเดิมเพิ่มทักษะใหม่และรายได้เสริมให้ประชาชนนพื้นที่บริการวิชาการและได้รู้จักผู้คนมากมายจากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล

 

อื่นๆ

เมนู